กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร

สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย เป็นการเก็บภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สำหรับสินค้าที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือศีลธรรมอันดี หรือสินค้าที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร

หน่วยงานที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิต


กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486

แผนผังแสดงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ภายในกรมสรรพสามิต

กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร


(ที่มา https://www.excise.go.th/ABOUT_US/ORG_CHART/index.htm)

กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต


ผู้มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิต ได้แก่ 1) ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2) ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ 3) ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า และ 4) บุคคลอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น
  • เจ้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 42
  • ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการซึ่งตั้งขึ้นใหม่โดยการควบเข้ากัน หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่รับโอนกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมเดิมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 57
  • ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 (3) สำหรับสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 12 วรรคสอง (2)
  • ผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้า ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (2) และ (3)
  • ผู้โอนและผู้รับโอนที่ได้รับเอกสิทธิตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102 (3) ที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 12 วรรคสอง (1)
  • ผู้โอนและผู้รับโอนสินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้น หรือลดอัตราภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (1)
  • ผู้จัดการมรดก หรือทายาทผู้ได้รับมรดกสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดอัตราภาษี ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 11 วรรคสอง (4)
  • ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 56
  • ผู้ชำระบัญชี และกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้จัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการสถานบริการเป็นนิติบุคคล และเลิกกิจการ โดยมีการชำระบัญชี ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 58
  • ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 144 เบญจ
  • ผู้กระทำความผิดฐานมีไว้ครอบครอง ขาย และมีไว้เพื่อขาย ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 161 และมาตรา 162

กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร

สินค้าและบริการที่จัดเก็บ


สินค้าและบริการที่กรมสรรพสามิตดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ สินค้าที่รัฐต้องการควบคุมการบริโภค เนื่องจากมีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีลักษณะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ ซึ่งได้แก่สินค้าดังต่อไปนี้
  • น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  • เครื่องดื่ม
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • แก้วเลคคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
  • รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
  • เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
  • น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
  • พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
  • รถจักรยานยนต์
  • แบตเตอรี่
  • ไนต์คลับและดิสโก้เธค
  • สถานอาบน้ำหรืออบตัว
  • สนามแข่งม้า
  • สนามกอล์ฟ
  • กิจการโทรคมนาคม (ยกเว้นภาษี)
  • สลากกินแบ่งรัฐบาล (ยกเว้นภาษี)
  • สุรา
  • ยาสูบ
  • ไพ่

กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร

ฐานภาษี


การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทยจะคิดคำนวณฐานภาษีตามปริมาณ หรือตามมูลค่า หรือทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสินค้านั้น ๆ
  • ฐานภาษีตามปริมาณ

    ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า × อัตราภาษีสรรพสามิต


  • ฐานภาษีตามมูลค่า การคำนวณภาษีสรรพสามิต โดยฐานตามมูลค่าสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
    • กรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร จะถือมูลค่าตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย (พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 8 (1))

      ฐานภาษีสรรพสามิต = ราคา ณ โรงงานอุตสาหกรรม


    • กรณีสินค้านำเข้า อาศัยฐานในการคำนวณภาษีซึ่งคำนวณได้จากราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าและอากร ดังนี้

      ฐานภาษีสรรพสามิต = ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า + อากร


    • กรณีบริการ ฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตกรณีสถานให้บริการ ได้แก่ รายรับของสถานบริการนั้น ๆ เช่น รายรับของสนามม้า คือ ค่าผ่านประตูและรายรับที่หักไว้จากผู้เล่นการพนันแข่งม้า รายรับของสนามกอล์ฟ คือ ค่าสมาชิกและค่าใช้บริการสนามกอล์ฟ เป็นต้น

      ฐานภาษีสรรพสามิต = รายรับของสถานบริการ


    • กรณีดัดแปลงรถยนต์ ฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต ได้แก่ มูลค่ารถยนต์จากการดัดแปลง โดยคิดจาก ราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลงบวกด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าจ้างทาของซึ่งรวมค่าวัสดุอุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามที่อธิบดีกำหนด

      ฐานภาษีสรรพสามิต = มูลค่าจากการดัดแปลง โดยให้ถือราคาค่าจ้างแรงงานดัดแปลง บวกด้วยค่าวัสดุ อุปกรณ์หรือค่าจ้างทาของซึ่งรวมค่าวัสดุ อุปกรณ์อยู่ด้วย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามที่อธิบดีกำหนด

      ใช้กฎหมายอะไรในการจัดเก็บภาษีอากร

      ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อานาจกรมสรรพากร กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสาระสาคัญดังนี้

      กฎหมายภาษีอากรมีกี่ประเภท

      ปัจจุบันเป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรเพียง 4 ประเภทด้วยกันคือ ประเภทที่หนึ่ง ภาษีเงินได้ แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีนี้จัดเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง ประเภทที่สอง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทที่สาม ภาษีธุรกิจเฉพาะ

      หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี มีอะไรบ้าง

      จากหนังสือเรื่อง The Wealth of Nation (1776) ของ Adam Smith ได้อธิบายหลักการภาษีอากรที่ดีไว้ 4. ประการ คือ 1) ความเป็นธรรม (equity) Fuente. 2) ความแน่นอน (certainty) 3) ความสะดวก (convenience of payment) 4) ความประหยัด (economy of collection) สำหรับแนวคิดสมัยใหม่ของการปฏิรูปภาษีอากร ซึ่งนักวิชาการนำมาใช้กับประเทศต่างๆ

      ความสําคัญของภาษีมีอะไรบ้าง

      ภาษี เป็นเครื่องมือสำหรับจัดเก็บรายได้ของประเทศและใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการระบบเศรษฐกิจด้วย ภาษีจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนนโยบายการคลังของภาครัฐ รวมถึงมีอิทธิพลต่อการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม เพราะเมื่อกิจกรรมใดที่มีนโยบายภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ปริมาณของกิจกรรมนั้นๆ ก็จะแปรผันขึ้นลงตามนโยบายภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการ ...