สูตรการหาค่า t-test dependent

t-test dependent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของข้อมูล 2 ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เช่น ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 1 ห้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน หรือการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาด้านการศึกษา

วิธีการคำนวณ t-test dependent ด้วย Microsoft Excel

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel ขึ้นมา เตรียมข้อมูลคะแนนสอบก่อน-หลัง เรียนให้เรียบร้อย

2. ติดตั้ง Add-ins โดยไปที่เมนู “File” > “Options” จะมีหน้าต่าง Excel Options ขึ้นมา เลือกที่แท็บ “Add-ins” แล้วคลิกที่ปุ่ม “Go…“

สูตรการหาค่า t-test dependent


3. คลิกเลือก “Analysis ToolPak” คลิกปุ่ม “OK”

สูตรการหาค่า t-test dependent


4. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว สังเกตที่แท็บ “Data” ถ้ามี “Data Analysis” ขึ้นมาแสดงว่าพร้อมใช้งาน

สูตรการหาค่า t-test dependent


5. เริ่มต้นวิเคราะห์ “Data Analysis” เพื่อเปิด Add-ins ขึ้นมา แล้วเลือก “t-test: Paired Two Sample for Means” แล้วคลิกปุ่ม “OK”

สูตรการหาค่า t-test dependent


6. เลือกส่วนของข้อมูลดังนี้

6.1 ในส่วน Input “Variable 1 Range:” เลือกส่วนข้อมูลก่อนเรียน และ “Variable 2 Range:” เลือกส่วนข้อมูลหลังเรียน

6.2 ในช่อง Hypothesized Mean Difference ให้ใส่เลข 0 (ค่าความแตกต่างของ สมมุติฐานของ Mean ของกลุ่มตัวอย่าง โดยปกติ เรามักจะกำหนด ให้เป็น 0 คือไม่แตกต่างกัน)

6.3 ในช่อง Labels ให้คลิกเลือก เนื่องจากในช่วงที่กำหนด มีชื่อหัวแถว จึงต้องคลิกเครื่องหมายถูก เพื่อบอกว่ามีชื่อหัวแถว (ในตัวอย่าง ขั้นตอน 6.1 เลือกแอดมินไม่ได้เลือกส่วนหัว จึงไม่ได้คลิกเลือก)

6.4 ในช่อง Alpha ให้ระบุค่าระดับความเชื่อมั่น ปกติคือ 0.05 หรือ 0.01

6.5 ในส่วน output option ให้คลิกเลือกตรง Output Range หลังจากนั้นเอาเมาท์ไปที่ สเปรดชีตหรือเวิร์กบุ๊ก แล้วคลิกตรงช่องว่างในตำแหน่งที่ต้องการให้แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ถ้าพูดถึงสถิติ T – test หลายคนๆ คงจะคุ้นๆ หู กับคำว่า T – test dependent และ T – test independent  กันมาบ้างแล้ว

ในบทความนี้จะมาบอกถึงความแตกต่างของสถิติ T – test ทั้ง 2 ตัวนี้ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และ สถิติ T – test dependent กับ สถิติ T – test independent ควรนะไปใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง โดยสามารถแยกย่อยเป็น 2 ประเด็น ดังนี้…

1. สถิติ T – test dependent

สถิติ T – test dependent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ในกลุ่มเดียวกัน ที่มีขนาดน้อยกว่า 30 คน (n<30) ส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัยเชิงทดลอง 

และในบางครั้ง สถิติ T – test dependent สามารถเรียกอีกชื่อว่า “สถิติ Paired Samples T-test” สาเหตุนี้มากจาก Paired Samples T-test นั้นเป็นชื่อคำสั่งบนแถบเมนูในโปรแกรม SPSS เวลาที่ผู้วิจัยเริ่มทำการวิเคราะห์สถิติ T – test dependent ซึ่งเป็นภาษาที่นักวิจัยพูดกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน นั่นเอง

สูตรการหาค่า t-test dependent
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำ is รับทำดุษฎีนิพนธ์

ดังนั้น สถิติ T – test dependent  ส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัยของ สาขาวิชาครูทุกสาขาวิชา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์บางสาขาวิชา ที่ต้องมีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการทำงาน

ในสาขาวิชาครูจะเห็นบ่อยมาก เช่น การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน ว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ 

ส่วนสาขาวิทยาศาสตร์ เรามักจะเห็นในงานทดลอง เพื่อทดสอบในสิ่งที่ทีมวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์กำลังทดลองสิ่งนั้นอยู่ เช่น การทดสอบประสิทธิผลไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อฉีดพ่นเชื้อโควิด 19 (COVID-19) ว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่

สูตรของสถิติ T – test dependent จึงสามารถแสดงได้ ดังนี้

สูตรการหาค่า t-test dependent
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำ is รับทำดุษฎีนิพนธ์

2.  สถิติ T – test independent

ส่วน สถิติ T – test independent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินี้ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะต้องไม่สัมพันธ์กันหรือเป็นอิสระต่อกัน อีกทั้งค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยต้องเป็นอิสระต่อกัน 

และกลุ่มตัวอย่างได้มาต้องสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติด้วย ผู้วิจัยจะเห็นการใช้สถิตินี้ใช้เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยอาจเปรียบเทียบได้ทั้งค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ 

ส่วนใหญ่ผู้วิจัยจะเห็นการใช้ สถิติ T – test independent ได้ในทุกสาขาวิชา เช่น การเปรียบเทียบปัจจัยประชาศาสตร์ ด้านเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในเซเว่น สาขาบางนา แตกต่างกัน

สูตรของสถิติ T – test independent จึงสามารถแสดงได้ ดังนี้

สูตรการหาค่า t-test dependent
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำ is รับทำดุษฎีนิพนธ์

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สถิติ T – test dependent และ T – test independent แตกต่างกันที่ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ความเป็นอิสระของตัวแปร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: [email protected]
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สูตรการหาค่า t-test dependent
สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย

แอดเพิ่มเพื่อน

Post Views: 2,171

  • Facebook iconfacebook
  • Twitter icontwitter
  • LINE iconline

T - test dependentT - test dependent กับ T - test independentT - test dependent กับ T - test independent แตกต่างกันอย่างไรT - test independentการทำงานวิจัยการทำงานวิทยานิพนธ์การทำดุษฎีนิพนธ์การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทการวิเคราะห์ข้อมูลการเขียน Proposal งานวิจัยการเขียนวิจัยบทที่ 1การเขียนโครงร่างงานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยข้อมูลงานวิจัยงานดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยงานวิทยานิพนธ์จ้างทำวิจัย 5 บทจ้างทําวิจัยดุษฎีนิพนธ์ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยบริการจ้างทำวิทยานิพนธ์บริการรับทำวิจัยปัญหางานวิจัยรับจัดหน้าวิทยานิพนธ์รับทำวิจัยรับทำวิทยานิพนธ์รับทำวิทยานิพนธ์ ราคาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติสถิติ T - test แตกต่างสถิติ T-testสถิติการวิเคราะห์หัวข้อวิจัย