สรุป ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

Normal
0

false
false
false

EN-US
X-NONE
TH

/* Style Definitions */
table.MsoNormalTable
{mso-style-name:ตารางปกติ;
mso-tstyle-rowband-size:0;
mso-tstyle-colband-size:0;
mso-style-noshow:yes;
mso-style-priority:99;
mso-style-parent:””;
mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt;
mso-para-margin-top:0cm;
mso-para-margin-right:0cm;
mso-para-margin-bottom:10.0pt;
mso-para-margin-left:0cm;
line-height:115%;
mso-pagination:widow-orphan;
font-size:11.0pt;
mso-bidi-font-size:14.0pt;
font-family:”Calibri”,”sans-serif”;
mso-ascii-font-family:Calibri;
mso-ascii-theme-font:minor-latin;
mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin;
mso-bidi-font-family:”Cordia New”;
mso-bidi-theme-font:minor-bidi;}

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรมสมัยธนบุรี

           เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้นๆ และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา ภูมิปัญญาแลละวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง เช่น เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก

สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบันจึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลงจังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯจิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สรุป ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
สรุป ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
สรุป ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต

สรุป ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น

1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยากเข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมากแต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง

2. พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปีและนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ

3.ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่าทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล

อ้างอิง

ข้อใดเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรี

1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี 2. ลิลิตเพชรมงกุฎ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน) 3. อิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน) 4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์

เพราะเหตุใดภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย

ขาดแคลนกำลังทรัพย์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา พระเจ้าตากชำนาญในการรบมากกว่างานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต้องทำสงครามเป็นส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

วัฒนธรรมในสมัยธนบุรีมีอะไรบ้าง

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี.
ลิลิตเพชรมงกุฎ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน).
อิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน).
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์.
โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ประพันธ์โดย นายสวนมหาดเล็ก.

ข้อใดเป็นภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมของสมัยธนบุรี

วรรณกรรมในสมัยธนบุรีมีไม่มากนัก แต่มีหลายประเภท เช่น วรรณกรรมทางศาสนาและคําสอน ในการดําเนินชีวิต เช่น กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ และลิลิตเพชรมงกุฏของหลวงสรวิชิต (หน) วรรณกรรมทาง ประวัติศาสตร์ เช่น นิราศกวางตุ้ง (นิราศพระยามหานุภาพ) และพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)