ซู ลิ ดี น แผง ราคา

ในช่วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ซูโดอีเฟดรีน” ตัวยาหนึ่งในสูตรตำรับยาแก้หวัดคัดจมูกที่นิยมใช้กัน มายาวนาน และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา บางท่านอาจนึกไม่ออกว่าซูโดอีเฟดรีนคือยาอะไร แต่ถ้ายกตัวอย่างยายี่ห้อดัง เช่น แอคติเฟด ซูลิดีน นาโซลิน หรือยาแก้หวัดแบบบรรจุเสร็จ เช่น ทิฟฟี่ ฟู หรือ ดีคอลเจน พลัส เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก หรือเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้ว เหตุใดยาบ้านๆ อย่างซูโดอีเฟดรีนถึงถูกเปลี่ยนบทบาทจาก “ยารักษาโรค” กลายเป็น “สารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า” แล้วประชาชนอย่างเราจะเลือกใช้ยาชนิดใดทดแทน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีคำตอบมาฝากค่ะ

ช่วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ซูโดอีเฟดรีน” ตัวยาหนึ่งในสูตรตำรับยาแก้หวัดคัดจมูกที่นิยมใช้กัน มายาวนาน และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา บางท่านอาจนึกไม่ออกว่าซูโดอีเฟดรีนคือยาอะไร แต่ถ้ายกตัวอย่างยายี่ห้อดัง เช่น แอคติเฟด ซูลิดีน นาโซลิน หรือยาแก้หวัดแบบบรรจุเสร็จ เช่น ทิฟฟี่ ฟู หรือ ดีคอลเจน พลัส เชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก หรือเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้ว เหตุใดยาบ้านๆ อย่างซูโดอีเฟดรีนถึงถูกเปลี่ยนบทบาทจาก “ยารักษาโรค” กลายเป็น “สารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า” แล้วประชาชนอย่างเราจะเลือกใช้ยาชนิดใดทดแทน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ มีคำตอบมาฝากค่ะ

ซูโดอีเฟดรีน คืออะไร

ซูโดอีเฟดรีน1 (Pseudoephedrine) คือสารที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับสารอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายผลิตออกมาเวลาที่เราตื่นเต้น ตกใจ หรือโกรธจัด อะดรีนาลีนออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดตัว ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้เร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็ว ม่านตาขยายกว้าง กล้ามเนื้อทุกส่วนตื่นตัวและมีประสาทสัมผัสที่ดียิ่ง ขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์คับขัน เช่น เวลาไฟไหม้ สารอะดรีนาลีนนี่เองที่ทำให้คนมีพลังยกของหนักๆ ได้โดยไม่รู้สึกถึงความหนัก หรือไม่เคยยกของหนักขนาดนี้ได้มาก่อน แม้สูตรโครงสร้างของซูโดอีเฟดรีนจะใกล้เคียงกับอะดรีนาลีน แต่ข้อดีของซูโดอีเฟดรีนคือ การออกฤทธิ์ต่อการหดตัวของหลอดเลือดเฉพาะที่เยื่อบุจมูกมากกว่าหลอดเลือดที่ส่วนอื่น ทำให้ยามีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดส่วนอื่นของร่างกายน้อยกว่า เราจึงนำสารซูโดอีเฟดรีนมาใช้เพื่อรักษาอาการคัดจมูก

ซูโดอีเฟดรีนกับฤทธิ์แก้คัดจมูก

อาการคัดจมูก เป็นหนึ่งในอาการของโรคจมูกอักเสบ (Rhinitis)2 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) และโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-Allergic Rhinitis) อาการทั้ง 2 ประเภทนี้คล้ายกัน คือมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ได้แก่ อาการคัดจมูก (congestion) น้ำมูกไหล (rhinorrhea / runny nose) จาม (sneezing) คันจมูก (nasal itching) เป็นต้น เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้มากระตุ้น เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรือสิ่งกระตุ้นอื่นที่ไม่ได้ก่อภูมิแพ้ เช่น กลิ่น ควันบุหรี่ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ เกิดอาการบวมจนช่องทางเดินหายใจแคบลง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคัดจมูก แน่นจมูกจนหายใจไม่ออก รวมถึงน้ำมูกไหล จาม และคันจมูก ดังกล่าวข้างต้น ตัวยาซูโดอีเฟดรีนออกฤทธิ์จำเพาะต่อการหดตัวของหลอดเลือดที่เยื่อบุจมูก ช่วยให้สารต่างๆ รั่วไหลออกจากหลอดเลือดสู่เยื่อบุจมูกน้อยลง ลดอาการบวมภายในเยื่อบุจมูก จึงบรรเทาอาการคัดจมูกได้ และยังช่วยให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทำให้หายใจโล่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุช่องหูในกรณีหูอื้ออีกด้วย

จากฟีนิลโพรพาโนลามีน สู่ ซูโดอีเฟดรีน
การสูญเสียยาแก้คัดจมูก เนื่องจากนำยาไปใช้ในทางที่ผิดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ในอดีตเราเคยมียาแก้คัดจมูกที่ชื่อว่า ฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine หรือ PPA) แต่เนื่องจากมีการนำไปใช้ลดความอ้วนแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง1 จนทำให้เสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้สำนักงานอาหารและยา (อย.) จึงถอนตำรับยาที่มีส่วนผสมของ PPA ในปี พ.ศ. 25443 ทำให้มียาแก้คัดจมูกเหลืออยู่อีก 2 ชนิดคือ ซูโดอีเฟดรีนและฟีนิลอีเฟดรีน

หลังจากยกเลิกการใช้ยาที่มีส่วนผสมของ PPA ทำให้ปริมาณการใช้ยาซูโดอีเฟดรีนเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสูตรโครงสร้างยาซูโดอีเฟดรีนนั้น ใกล้เคียงกับเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) หรือยาบ้า โดยมีโครงสร้างแตกต่างกันเพียงแค่ 1 ตำแหน่งที่กลุ่ม Hydroxy (-OH group) เท่านั้น จึงเป็นเหตุให้มิจฉาชีพลักลอบนำซูโดอีเฟดรีนไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้านั่นเอง

การเฝ้าระวังการใช้ยาที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีนเริ่มถูกจับตามองเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนถูกยกระดับขึ้นเป็น “ยาควบคุมพิเศษ” ที่อนุญาตให้ใช้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และในที่สุดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข4 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ได้กำหนดให้ซูโดอีเฟดรีนทุกสูตรตำรับเป็น “วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2” ซึ่งหลังวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปหากพบการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีโทษดังนี้ 5

  • กรณีไม่เกิน 5 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 100,000 บาท
  • กรณีเกิน 5 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 400,000 บาท
    และนี่ก็เป็นอีกครั้งที่เราสูญเสียยาแก้คัดจมูกที่ดีไปอีกหนึ่งตัวยา เนื่องจากการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด

ถึงแม้จะมีการจำกัดการครอบครอง แต่หากผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาซูโดอีเฟดรีน
ก็ยังสามารถรับยานี้ได้ที่ สถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2

ทางเลือกอื่น…เมื่อมีอาการคัดจมูก

  • ยาแก้คัดจมูกชนิดรับประทาน: ฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine)

ยาฟีนิลเอฟรีนมีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกับซูโดอีเฟดรีน ออกฤทธิ์โดยตรงในการหดตัวของหลอดเลือดด้วยการกระตุ้นอัลฟ่าวัน รีเซพเตอร์ (∞1 receptor) ที่หลอดเลือด ในขณะที่ซูโดอีเฟดรีนออกฤทธิ์โดยกระตุ้นการปล่อย noradrenaline ที่ปลายประสาทเพื่อไปกระต้น อัลฟ่าวันรีเซพเตอร์อีกที การนำยาฟีนิลเอฟรีนมาใช้ทดแทนซูโดอีเฟดรีนนั้นยังคงมีข้อกังขาในหมู่นักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพในการแก้คัดจมูก โดยมีการวิจัยหนึ่งที่พบว่ายาฟีนิลเอฟรีนไม่มีผลในการรักษา ในขณะที่การวิจัยอื่นระบุว่าฟีนิลเอฟรีนที่ขนาดยา 5-25 มิลลิกรัม มีผลดีในการช่วยลดอาการคัดจมูกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่ได้ใช้ยานี้6 ในด้านความปลอดภัยพบว่าอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยของยานี้ได้แก่อาการใจสั่น ซึ่งพบได้เช่นเดียวกับยาซูโดอีเฟดรีน แต่ฟีนิลเอฟรีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางน้อยกว่าซูโดอีเฟดรีน จึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับเมื่อใช้ยาสูตรซูโดอีเฟดรีน ข้อควรระวังอื่นยังคงไม่แตกต่างจากการใช้ซูโดอีเฟดรีน ได้แก่ ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยไธรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต และห้ามใช้ในผู้ที่รับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าในกลุ่ม MAO inhibitor เป็นต้น

รูปแบบของยาสูตรผสมฟีนิลเอฟรีนที่ขายในปัจจุบันมักมีชื่อหรือรูปแบบแผงยาเกือบใกล้เคียงกับยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเดิม โดยบริษัทยามักตั้งชื่อการค้าให้คล้ายกันแต่มีคำห้อยท้ายที่แตกต่างไป ได้แก่ ยาซูลิดีน ซีพี, ยานาโซลิน พีแอล, ยาทิฟฟี เดย์, ยาดีคอลเจน พริน เป็นต้น

ยาซูลิดีนรักษาโรคอะไร

Pseudoephedrine (ซูโดอีเฟดรีน) หรือที่รู้จักในชื่อทางการค้า เช่น Sulidine (ซูลิดีน) Actifed (แอคติเฟด) เป็นยาลดน้ำมูกที่จะไปทำให้หลอดเลือดภายในโพรงจมูกนั้นหดตัวลง เนื่องจากหลอดเลือดที่ขยายตัวนั้นสามารถทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้

ยาแก้แพ้ตัวไหนดีที่สุด

แนะนำ ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี สรรพคุณเยี่ยม ฉบับปี 2023.
💊 Mega We Care Loreze. ยาแก้แพ้ Mega We Care Loreze. 💙ราคา : 169 บาท 💙ปริมาณ : 10 เม็ด ... .
💊 Clarityne. ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี ... .
💊 Allernix tablet (Loratadine) ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี ... .
💊 Chlorpheniramine Maleate. ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี ... .
💊 Clarid Loratadine. ยาแก้แพ้ ยี่ห้อไหนดี.

ยาลดน้ำมูกตัวไหนดีที่สุด

. #ถ้ามีอาการทั้งคัดจมูกและมีน้ำมูก ยาที่ควรใช้คือ Nasotapp หรือ Dimetapp เพราะยาทั้ง 2 ตัวนี้ช่วยลดน้ำมูก และบรรเทาอาการคัดแน่นจมูก หายใจไม่ออก . #ถ้ามีน้ำมูกใสไหลอย่างเดียว ยาที่ควรใช้คือ Chlorpheniramine เป็นยาช่วยลดน้ำมูก แต่ข้อเสียคือ กินยาแล้ว เด็กจะง่วงนอน และปากแห้ง

ยาซูลิดีน กินตอนไหน

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 30-60 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมงหรือรับประทานยาชนิด 120 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง หรือรับประทานยาชนิด 240 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง ปริมาณสูงสุด ไม่เกิน 240 มิลลิกรัม/วัน