เครื่องสังคโลกของสุโขทัย

เครื่องสังคโลกสุโขทัยมีความโดดเด่นที่การปั้น และเคลือบน้ำยาซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของสุโขทัย มักเป็นภาชนะมีลวดลายเฉพาะของสุโขทัยคือเป็นรูปปลา กงจักร และดอกไม้ เป็นสีเขียวและสีคราม ปัจจุบันยังคงสืบทอดการทำสังคโลกกันมากที่อำเภอศรีสัชนาลัย ส่วนเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยก็เป็นงานฝีมือไทยที่สืบทอดกันมากว่าหลายร้อยปีเช่นกัน ดังปรากฏหลักฐานบนศิลาจารึก โดยได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากชาวจีนที่มาทำการค้ากับสุโขทัย สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันมีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ เป็นงานปั้นเพื่อใช้ในการประกอบอาหารและถนอมอาหาร เช่นหม้อกรันที่ไว้ใช้ใส่ข้าวสาร ใส่น้ำดื่ม

Show

เครื่องสังคโลกของสุโขทัย

ด้วยคุณลักษณะที่กักเก็บความเย็นได้ดี เพราะใช้ดินที่มีคุณภาพในพื้นที่ คือดินจากแหล่งหนองอ้อ และแหล่งหนองทอง ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียวไม่มีส่วนผสมของกรวดและสิ่งเจือปน จึงง่ายต่อการนำมาปั้น ปัจจุบันดินในพื้นที่ไม่เพียงพอเพราะมีความต้องการเป็นจำนวนมาก จนต้องสั่งดินมาจากพื้นที่อื่นเช่น จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้มาก็นำมาเข้ากระบวนการแยกดิน,ตำดินให้เหนียว แล้วจึงนำไปขึ้นรูปทรงต่างๆ ที่นิยมมากที่สุดก็คือชามขนาดใหญ่ ถ้วยน้ำ พานรอง โคมไฟ ตลอดจนรูปตัวละครในวรรณคดี รูปสัตว์ ของประดับตกแต่งต่างๆ อาจเพิ่มความงามด้วยการฉลุลายโปร่ง กรรมวิธีการเผาของเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องสังคโลกสุโขทัยต่างจากเครื่องปั้นดินเผาชนิดอื่น เพราะใช้เตาทุเรียง คือเตาเผารูปทรงเอกลักษณ์ คล้ายประทุนเกวียน  แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเผาในเตาแก๊สที่ให้ความร้อนสูงถึง 1250 องศา เมื่อเผาแล้วดินจะสีเข้มขึ้นเป็นสีออกส้ม

เครื่องสังคโลกของสุโขทัย

ในการตามรอยเครื่องปั้นดินเผา ณ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง นักท่องเที่ยวจะได้ชมการสาธิตการทำเครื่องปั้นแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การขึ้นรูปซึ่งจะมีอยู่สี่วิธี คือ การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การขึ้นรูปด้วยการหล่อ การขึ้นรูปด้วยการปั้น และการปั้นด้วยการตี ซึ่งในปัจจุบันนั้นยังหลงเหลือการทำวิธีนี้อยู่น้อยแห่งในเมืองไทย สัมผัสวิธีทำเครื่องปั้นของลูกหลานสุโขทัยครบทุกกระบวนการแล้ว ยังจะได้เยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก ที่อ.สวรรคโลก ชมเตาทุเรียงโบราณ เรียนรู้กรรมวิธีการทำเครื่องสังคโลก และตื่นตากับแหล่งเตาทุเรียงที่มีการขุดค้นพบมากมาย

เครื่องสังคโลกของสุโขทัย

” เราเชื่อว่า ทุกกิจกรรมท่องเที่ยว ที่จัดขึ้นในปีท่องเที่ยวสุโขทัย (รุ่งอรุณแห่งความสุข) 2556-2557 นี้ จะเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเมืองสุโขทัยมากยิ่งขึ้น เพราะสุโขทัยมิใช่เพียงโดดเด่นด้วยมรดกโลกถึงสองแห่งเท่านั้น หากแต่ยังมีธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม งานฝีมือ วิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ตลอดจนอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์มากมาย รอต้อนรับให้ทุกคนมาสัมผัสความสุขที่สุโขทัยค่ะ” นางสุมิตรา กล่าวปิดท้าย

เรากำลังอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง หรือที่เรียกกันว่า “พิพิธภัณฑ์เมืองเก่า” ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดแสดง “เครื่องถ้วยสังคโลกแท้” ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐  ในสมัยนั้น ชาวศรีสัชนาลัยผลิตเครื่องสังคโลกกันเป็นล่ำเป็นสัน ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีจนเป็นสินค้าส่งออกข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงเมืองจีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยมีอยุธยาเป็นพ่อค้าคนกลาง

“ชามรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าวนี้ เป็นเครื่องถ้วยสังคโลกสุโขทัย ซึ่งผมสันนิษฐานว่าเป็นสังคโลกรุ่นแรก ๆ  ยุคนั้นขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และมีป่าพร้าวอยู่มาก ชาวสุโขทัยอาจผลิตเครื่องสังคโลกรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าว แทนการใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะใส่อาหาร”

คุณสมเดช พ่วงแผน ปราชญ์ท้องถิ่นชาวเมืองเก่า สุโขทัย บอกเล่าที่มาที่ไปของเครื่องสังคโลกแต่ละชิ้น  เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการพลิกฟื้นศึกษาเรื่องดิน น้ำเคลือบ วิธีเผา จนมีความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องสังคโลกเลียนแบบของโบราณ และคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ จนได้รับความนิยมจำหน่ายเป็นของที่ระลึกและของตกแต่งบ้าน

ตั้งแต่วัยเด็ก สมเดชเติบโตมาในบ้านที่เต็มไปด้วยเครื่องสังคโลกโบราณ เนื่องจากชาวบ้านที่ขุดพบมักนำมาขายต่อบิดาของเขาซึ่งเป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตำบลเมืองเก่า เป็นแรงบันดาลใจให้เขาผูกพันและศึกษาค้นคว้าเรื่องเครื่องสังคโลกในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปะเรื่อยมา

สมเดชเล่าว่าเตาผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญของสุโขทัยมี ๒ แหล่ง แหล่งแรกคือบริเวณริมลำน้ำโจน ด้านทิศเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างล้านนากับอยุธยาก็หยุดผลิต และย้ายมาใช้แหล่งเตาริมฝั่งแม่น้ำยม เมืองศรีสัชนาลัย  โดยปรกติแหล่งเตาผลิตจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพราะต้องอาศัยวัตถุดิบหลักคือดินเหนียว และที่สำคัญคือสะดวกในการขนส่งทางเรือ

เครื่องสังคโลกไม่ได้มีเพียงของใช้สอย ชาวสุโขทัยยังช่างคิดประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา เช่น ตุ๊กตามวยปล้ำ หรือตุ๊กตาเสียกบาล ซึ่งสันนิษฐานว่าชาวสุโขทัยใช้สะเดาะเคราะห์ โดยปั้นตุ๊กตาเพศเดียวกับผู้ป่วยแล้วหักคอนำไปตั้งที่ทางสามแพร่ง เพื่อหลอกผีว่าคนป่วยตายไปแล้ว

“บ้านสุเทพ สังคโลก” ของ สุเทพ พรมเพ็ชร ชาวอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์เครื่องถ้วยสังคโลก โดยเขาได้ผลิตเลียนแบบรูปทรงและลวดลายของโบราณ ด้วยฝีมือประณีตจนแทบแยกไม่ออกว่าแท้จริงแล้วเป็นของทำขึ้นใหม่

เครื่องสังคโลกของที่นี่แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือชนิดเนื้ออ่อน (หรือเนื้อดิน) มีสีส้มอมแดง ผิวด้านนอกไม่เคลือบ แต่จะใช้วิธีขัดผิวจนมันแล้วชุบน้ำดินสีแดงก่อนตบแต่งลวดลาย  อีกชนิดคือ ชนิดเนื้อแข็ง (หรือเนื้อหิน) ใช้ทำภาชนะใส่ของเหลว เช่น ครก สาก ไห โอ่ง เป็นต้น  ด้วยวิธีเผาโดยใช้อุณหภูมิสูงกว่าชนิดเนื้ออ่อน  ภาชนะบางชนิดเขียนลายก่อนชุบเคลือบแล้วค่อยนำไปเผา  ลวดลายจะออกสีน้ำเงินเข้ม ดำ น้ำตาล งดงามมาก และมีราคาสูง

เทคนิคการตกแต่งสีมีหลากหลาย เช่น การเคลือบด้วยสีน้ำตาล สีเขียวไข่กา สีขาว เป็นต้น  ลวดลายเฉพาะตัวก็มีมาก เช่น กงจักร พระอาทิตย์ ดอกไม้ก้านขด ฯลฯ  ลายพิเศษสุดอันถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย คือลายปลา ดังจารึกบนศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

เครื่องสังคโลกสำคัญต่อสุโขทัยอย่างไร

อาณาจักรสุโขทัยได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสังคโลก เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ ซึ่งนอกจากผลิตเพื่อใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและในรูปแบบของประติมากรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบกับสถาปัตยกรรมของยุคสมัยแล้วยังผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ในปัจจุบัน ...

เครื่องสังคโลกคืออะไรสุโขทัยรับมาจากประเทศใด

คำว่า “สังคโลก” นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เป็นถ้อยคำในภาษาจีนโดยคำว่า “สัง” น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ซ้อง”อันเป็นนามราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๘๑๙ เหตุด้วยเครื่องเคลือบสีเทาชนิดเดียวกับสังคโลกนั้นเกิดขึ้นในเมืองจีนสมัยของราชวงศ์ซ้องมาก่อน ส่วนคำว่า “โกลก” หรือ “กโลก” ท่าน ...

เครื่องสังคโลกสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

เครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ แต่ประดับลวดลายด้วยการใช้แม่พิมพ์กดลวดลายประทับ เช่น ลายก้านขด หรือลายเรขาคณิต นอกจากนี้ก็มีการประดับด้วยวิธีการปั้นดิน แล้วแปะติดเข้ากับภาชนะก่อนเข้าเตาเผา เข้าใจว่าเป็นแบบดั้งเดิมที่มีมาก่อนและทำสืบต่อมาในระยะหลังด้วย

อุตสาหกรรมที่สําคัญในสมัยสุโขทัย คือข้อใด

อุตสาหกรรมที่สำคัญในสมัยสุโขทัยคือ การผลิตเครื่องสังคโลก แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สุโขทัยมีอยู่ 2 แห่งคือ บริเวณนอกเมืองสุโขทัยขึ้นไป