เรียน สาย ไหน ดี ม 4

การเลือกสายการเรียนตอน ม.4 ที่ตรงกับความชอบของตัวเอง สำคัญมาก แต่น้องๆ หลายคน ตอนจะเรียนจบม.ต้น ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรแน่ เมื่อถึงเวลาต้องเลือกสายการเรียน ก็เลยเลือก วิทย์-คณิต ไปก่อน เพราะได้ยินมาจากคุณพ่อคุณแม่ หรือ รุ่นพี่ว่าจะได้มีทางเลือกมากกว่าตอนต่อมหาวิทยาลัย…

พอใกล้จะเรียนจบม.ปลาย ก็จะเริ่มเกิดคำถามต่อมาแล้วว่า ทางเลือกที่บอกมันมีอะไรบ้างน๊อ? แล้วจะเลือก เรียนต่อคณะอะไรดี?

พ่อบอกว่า “เรียนหมอสิ”

โดยส่วนใหญ่น้องที่เรียนจบ สายวิทย์-คณิต มา ก็มักจะ(ถูกคาดหวัง หรือ)มีเป้าหมายที่คณะแพทยศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีอีกหลากหลายคณะที่น่าสนใจ และอาจจะเหมาะกับตัวน้องมากกว่า พี่ออนดีมานด์จึงขอยกมาแนะนำ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามนี้เลย!!

เรียนจบ สายวิทย์ฯ เลือกเรียนต่อได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มสุขภาพ

  • – คณะแพทยศาสตร์
  • – คณะทันตแพทยศาสตร์
  • – คณะพยาบาลศาสตร์
  • – คณะเภสัชศาสตร์
  • – คณะสหเวชศาสตร์ / เทคนิคการแพทย์
  • – คณะสัตวแพทยศาสตร์
  • – คณะสาธารณสุขศาสตร์

หากจะเลือกคณะกลุ่มนี้ นอกจากความรู้ในวิชา วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ ที่แน่นปึ้กแล้ว น้องๆ ควรจะต้องเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความรอบคอบ ช่างสังเกต ระมัดระวัง เพราะเป็นสายวิชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และชีวิตของผู้อื่นครับ

กลุ่มคำนวณ

  • – คณะวิศวกรรมศาสตร์

    – คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    – คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

    – คณะอุตสาหกรรมการเกษตร

    – คณะบริหารธุรกิจ

    – คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

เห็นชื่อกลุ่มก็พอนึกภาพออกแล้วว่า น้องๆ ที่จะเลือกคณะกลุ่มนี้ ต้องมีความรักในตัวเลข มีทักษะในการคิดคำนวณที่ดี มีความสามารถในการพลิกแพลง คิดหาวิธีการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

กลุ่มธรรมชาติ

  • – คณะเกษตรศาสตร์

    – คณะวนศาสตร์

    – คณะประมง

    – คณะสิ่งแวดล้อม 

อย่างที่รู้กันว่าคณะเหล่านี้ไม่ใช่จบไปเพื่อทำไร่ทำนาจับปลาเท่านั้น สามารถเป็นนักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนาได้ สำหรับน้องๆ ที่ชอบเรื่องธรรมชาติ ขอเชียร์มากๆ เทรนด์อนุรักษ์ธรรมชาติกำลังมาในตอนนี้ และมีแนวโน้มเติบโตอีกมากในอนาคต

กลุ่มครู

  • – คณะครุศาสตร์ / คณะศึกษาศาสตร์

คณะในกลุ่มครูไม่ใช่แค่สำหรับน้องๆ สายศิลป์เท่านั้น เพราะเราก็ต้องมีครูวิทย์-คณิต ใช่ไหม? สาขาวิทยาศาสตร์ และ สาขาคณิตศาสตร์ ก็ต้องการครูเก่งๆ มาสอนเด็กรุ่นต่อๆ ไปเหมือนกัน หากน้องๆ มีทักษะด้านการสื่อ หรือถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น ก็เหมาะเลย

กลุ่มมนุษย์

  • คณะจิตวิทยา

    – คณะมนุษยศาสตร์

    – คณะศิลปศาสตร์

สำหรับน้องที่ตอนเรียนม.ปลาย รู้สึกว่าวิทย์จ๋าๆ อาจไม่ใช่ทางของเราแล้ว กลุ่มมนุษย์ที่รวบรวมทุกคณะในการเรียนรู้ เรื่องของความเป็นมนุษย์ ทั้งด้านภาษา ชีวิต และจิตใจ ก็น่าจะตรงกับความต้องการของน้องๆ อยู่นะครับ

กลุ่มสังคม

  • – คณะนิติศาสตร์

    – คณะรัฐศาสตร์

กลุ่มสังคม เป็นกลุ่มที่ให้กลิ่นอาย วิทย์-ศิลป์ ผสมๆ กัน หากน้องๆ ชอบการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบในสังคม หรือความเป็นมาต่าง ๆ ของสังคม 2 คณะนี้ถือว่าเหมาะมาก

เรียน สาย ไหน ดี ม 4

6 กลุ่ม ที่พี่ออนดีมานด์ยกมาให้ เป็นเพียงการกางให้เห็นภาพตัวเลือกคร่าวๆ เท่านั้น แนะนำให้น้องๆ ไปศึกษาลงลึกกับคณะต่างๆ เพิ่มเติม เจาะไปที่สาขา และหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยจะยิ่งดีเลยครับ

จะเข้าไปที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรงก็ได้ หรือ เดี๋ยวนี้ก็มีรุ่นพี่จากคณะต่างๆ ที่มาเป็น Youtuber ทำคลิปแนะนำ คณะที่ตัวเองเรียนอยู่ เช่น พี่แอ๋ม ammriss แพทย์จุฬาฯ ลองเสิร์ชคณะที่เราสนใจดูนะครับ มีให้ดูเพียบ!

วิทย์-คณิต แล้วจะไปต่อคณะอะไร ยิ่งรู้ไวก็ยิ่งดี เพราะจะได้วางเป้าหมายในการเตรียมตัวสอบได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะเข้าคณะอะไร ก็ไม่เป็นไรครับ ค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ ได้ ระหว่างนั้นก็มา

สายการเรียน ม.4 มีอะไรบ้าง

แผนการเรียน ม.ปลาย มีสายอะไรบ้าง.
1. แผนวิทย์ – คณิต ... .
2. แผนศิลป์ – คำนวณ ... .
3. แผนศิลป์ – ภาษา ... .
4. แผนศิลป์ – สังคม ... .
5. แผนศิลป์ – ทั่วไป ... .
6. แผนการเรียนแบบใหม่.

เรียนต่อม.4ที่ไหนดี

ม.4 ต่อไหนดี - เจ๋งเป๋ง's post.
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย.
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จ.สงขลา.
โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย.
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง.
โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนีย์).
โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวัน.

เลือกสายเรียน ม.4ยังไง

เรียนต่อ ม.4 เลือกสายยังไงดี?.
เลือกชอบ ... .
เลือกถนัด ... .
เลือกคณะ ... .
เลือกอาชีพในอนาคต ... .
เลือก(ตาม)พ่อแม่ - ครู - เพื่อน.

สอบเข้าม.4มีอะไรบ้าง

เนื้อหาการสอบเข้า ม. 4 มี 5 วิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การอ่านหนังสือให้ได้ประสิทธิภาพ ต้องมีแผนกันสักหน่อย อย่างเช่น การจัดตารางติว และอย่าลืมอ่านเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยในการสอบ พร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย!