พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของนักเรียน

1. การใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อนัดหมายบุคคล หรือ นัดหมายวัน เวลาสถานที่ ที่แน่ชัดดำเนิน กิจธุระ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุยทักทายเพื่อนฝูง ผู้ปกครอง ญาติสนิท

2. การใช้โทรศัพท์เพื่อเรียกหากันในระยะไม่เกิน 100 เมตร

3. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อถ่ายรูป ถ่ายคลิปวิดีโออัดเสียง

4. การใช้โทรศัพท์ตรวจสอบความถูกต้องหรือชี้นำเส้นทาง กรณีที่ต้องเดินทางไปในสถานที่ไม่คุ้นเคย เพื่อป้องกันการหลงทาง

5. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อฟังเพลง ดูคลิป เล่นเกมส์ ฯลฯ

6. การใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพื่อศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ เช่น เว็บไซด์ แปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือคิดเลข

7. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเล่น Social network เช่น facebook, twitter, instagram, line, what’s app ฯลฯ

8. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อส่งข้อความ SMS MMS

9. การใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือในการแต่งภาพ

10. การใช้โทรศัพท์มือถือในการรับ – ส่ง Email

11. การใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ในการโทรฟรี & vdo call

12. การใช้โทรศัพท์มือถือในการเก็บไฟล์ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ

13. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อโหลดแอพพลิเคชั่นมาเล่นคลายเครียด

14. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน

15. การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน

พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของนักเรียน

สรุปข้อมูลจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนบ้านดุงวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทั้งหมด 439 คน คิดเป็นกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25%439 ×25 = 109.75 แจกแบบสอบถามไป จำนวน 120 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับมา 110 ชุด คิดเป็น 95 % โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
จากการให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558โรงเรียนบ้านดุงวิทยาอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีแบบสอบถามความคิดเห็น พบว่า
จากแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่ใช้บ่อยที่สุด คือ การใช้โทรศัพท์มือถือนัดหมายบุคคล หรือนัดหมายวัน เวลา สถานที่ ที่แน่ชัดดำเนิน กิจธุระ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุยทักทายเพื่อนฝูง ญาติสนิท การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อถ่ายรูป ถ่ายคลิปวิดีโออัดเสียง การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อฟังเพลง ดูคลิป เล่นเกมส์ฯลฯ การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเล่นSocial networkเช่น facebook, twitter,instagram, line, what’s app การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อ Chat พูดคุยกับเพื่อน แฟน ฯลฯการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับการใช้โทรศัพท์ ส่วนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่ใช้บ่อย คือ การใช้โทรศัพท์ตรวจสอบความถูกต้องหรือชี้นำเส้นทางการใช้โทรศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ต่างๆ เช่น แปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษหรือคิดเลข และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์บางครั้ง คือ การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อส่งข้อความ SMS MMS เพราะส่วนใหญ่วัยรุ่นจะใช้ Social network แทนการส่ง SMS MMS

พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของนักเรียน

สรุปข้อมูลจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนโรงเรียนบ้านดุงวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทั้งหมด 439 คน คิดเป็นกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25%439 ×25 = 109.75 แจกแบบสอบถามไป จำนวน 120 ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับมา 110 ชุด คิดเป็น 95 % โรงเรียนบ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
จากการให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558โรงเรียนบ้านดุงวิทยาอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีแบบสอบถามความคิดเห็น พบว่า
จากแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่ใช้บ่อยที่สุด คือ การใช้โทรศัพท์มือถือนัดหมายบุคคล หรือนัดหมายวัน เวลา สถานที่ ที่แน่ชัดดำเนิน กิจธุระ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือพูดคุยทักทายเพื่อนฝูง ญาติสนิท การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อถ่ายรูป ถ่ายคลิปวิดีโออัดเสียง การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อฟังเพลง ดูคลิป เล่นเกมส์ฯลฯ การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเล่นSocial networkเช่น facebook, twitter,instagram, line, what’s app การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อ Chat พูดคุยกับเพื่อน แฟน ฯลฯการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับการใช้โทรศัพท์ ส่วนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ที่ใช้บ่อย คือ การใช้โทรศัพท์ตรวจสอบความถูกต้องหรือชี้นำเส้นทางการใช้โทรศัพท์เกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ต่างๆ เช่น แปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษหรือคิดเลข และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์บางครั้ง คือ การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อส่งข้อความ SMS MMS เพราะส่วนใหญ่วัยรุ่นจะใช้ Social network แทนการส่ง SMS MMS

ชื่องานวิจัย  พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้จัดทำ           1. นายไกรวิน   วงศ์บุญชา

2. นางสาวธัญญานนท์   ธิราวัฒน์

3. นางสาวพิมพ์ศิริ   พิพัฒน์พงศ์

โรงเรียน       พะเยาพิทยาคม    จังหวัด พะเยา

ครูที่ปรึกษา    คุณครู ยิ่งศักดิ์  กระจ่างแจ้ง

­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­­บทคัดย่อ

                การศึกษา เรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้สอบถาม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

  1. ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ

ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยส่วนมากแล้วอยู่ในระยะเวลา3-5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 0 -1 ชั่วโมงต่อวัน และมากกว่า 5  ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ

  1. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

โดยมากแล้วกลุ่มตัวอย่างมักใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน มากกว่าที่จะนำไปทำให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง

——————————————————————————————————————–

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ คุณครูยิ่งศักดิ์    กระจ่างแจ้ง  คุณครูที่ปรึกษาวิจัยที่กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำแนวทาง ตลอดจนแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้งานวิจัยมีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                            ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่   ตลอดจนและเพื่อนๆที่มีส่วนช่วยสนับสนุน และเป็นกำลังใจ ตลอดเวลาที่ทำการศึกษาและทำวิจัยในครั้งนี้

                            ขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี

                                                                                                 คณะผู้จัดทำ

——————————————————————————————————————–

บทที่ 1

                         บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ในสังคมไทยสมัยโบราณมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นวิถีชีวิตที่ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติการดำรงชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีหรือสิ่งอำนวยความสะดวก

สังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างมาก อันเนื่องมาจากมีการพัฒนาวิทยาการด้านต่างๆรวมไปถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารหรือโทรศัพท์มือถือที่ขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำรงชีวิตในสังคม ทั้งช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  รูปลักษณ์ที่สวยงาม และฟังก์ชันที่ให้ความบันเทิงอีกมากมาย จึงทำให้กลายเป็นที่น่าสนใจของคนในสังคมหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตกอยู่ในวัตถุนิยม  ตามแฟชั่นและรักความสะดวกสบายแต่อย่างไรก็ตามโทรศัพท์มือถือก็มีทั้งประโยชน์และโทษ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะช่วยให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร                 แต่หากใช้ไปในทางที่ผิด  หรือใช้ผิดที่ผิดเวลา ผิดวัตถุประสงค์  ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่างๆตามมาได้

จากที่กล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของกลุ่มวัยรุ่น                  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยแห่งการเรียนรู้แสวงหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของตน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ม.5เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทราบถึงการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

2. ทราบความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ม.5เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

ขอบเขตการวิจัย

– นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 30 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

โทรศัพท์มือถือ คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่านโทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานี โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการ           จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน

——————————————————————————————————————–

บทที่  2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ดังต่อไปนี้

1.  แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมวัยรุ่น

2.  แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสาร

3. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม

4. งานวิจัยที่เกี่ยว

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมวัยรุ่น  

วัยรุนมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Adolescence  หมายถึง การเจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะเมื่อกล่าวถึงวัยรุ่น คนทั่วไปมักนึกถึงผู้ที่อยู่ในช่วง ๑๓ – ๑๙ ปี  โดยประมาณ หรือหากแบ่งตามชั้นเรียน  ก็จะนึกถึงผู้เรียนที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จนไปถึงระดับอุดมศึกษาปีต้นๆ กุญชรี  ค้าขาย (๒๕๔๒: ๑)

Dusek (อ้างถึงใน กุณฑล  มีชัย ๒๕๕๐: ๕)  หมายถึง วัยที่เชื่อมระหว่างการเป็นการเป็นผู้ใหญ่ อันเป็นระยะที่ต้องปรับพฤติกรรมวัยเด็กไปสู่พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ที่สู่เด็กวัยรุ่นจึงไม่ใช่เป็นเพียงการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย แต่หมายถึงการเจริญเติบโตทางสังคมซึ่งอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมแต่ละที่

ลักษณะที่สำคัญของวัยรุ่น

1. เป็นวัยแห่งหัวเลี้ยวหัวตอของชีวิต ผลลัพธ์ของพฤติกรรมในวัยนี้จะมีผลต่อบุคคลยาวในช่วงวัยอื่นต่อมา ทั้งด้านการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตคู่ เจตคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ สับสนในบทบาท  ที่ไม่ชัดเจนของตนเอง เช่น ไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ความคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่นี้ มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กมาก เด็กจะรู้สึกวางตัวยาก ไม่รู้ว่าจะทำตัวอย่างจึงจะถูกต้องและเหมาะสม

2. เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเจตคติในวัยรุนจะควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงความสนใจ ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับความสามารถและความถนัดของตนเอง

3.  เป็นวัยแห่งปัญหา อาจกล่าวได้ว่าวัยรุ่นเป็นวัยเจ้าปัญหามากที่สุด ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายนั่นเอง ภาวะความว้าวุ่นใจ ไม่สบายตัวไม่สบายใจ ทำให้เกิดความหงุดหงิด วิตกกังวล อารมณ์เสียงาย ไม่อยากพูดคุยกับใคร หรือพูดจายียวน จนทำให้เกิดความไม่เขาใจกันในกลุ่มเพื่อนหรือพี่นอง เกิดเป็นปัญหาทางอารมณ์และปัญหาสังคมของเด็กวัยนี้

4.  เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ ความเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะแสดงให้เห็นว่าเขาต้องการ การยอมรับจากกลุ่ม และถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม แต่กระนั้นเด็กเองยังไม่แน่ใจในบทบาทของตน เขาต้องการรู้วาเขาต้องแสดงบทบาทใดในสังคมของตัวเอง คือ การพยายามหาเอกลักษณ์ของตัวเอง จากการแต่งกาย จากการใช้คำพูดที่เข้าใจกันเฉพาะในกลุ่มวัยรุนเท่านั้น

5. เป็นช่วงวัยแห่งจินตนาการ วัยรุ่นชอบฝันสร้างวิมานในอากาศ จินตนาการตนเอง เป็นสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ที่ตนเองชอบ เด็กสามารถแสดงออกในรูปของการประพันธ์เพลง เขียนบท กลอนประกอบเพลง หรือแม้กระทั่งการแต่งกายตามแบบบุคคลในสังคมที่ตนเองชื่นชอบและต้องการเอาอย่าง

แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสาร   

กระบวนการของการถ่ายทอดสาร (massage) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้สงสาร (source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านสาร (channel) การสื่อสารนั้นจัดได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในชีวิตมนุษย์นอกเหนือจากปัจจัยที่สี่ที่เป็นความจําเป็นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม แม้การสื่อสารจะไม่มีความเกี่ยวของโดยตรงกับความเป็นความตายของมนุษย์เหมือนกับปัจจัยสี่ของตนแต่การที่จะให้ได้มาซึ่งปัจจัยทั้งสี่นั้นย่อมตองอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือแน่นอนมนุษย์อาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดําเนินกิจกรรมใดๆ ของตนและเพื่ออยู่รวมกับคนอื่นในสังคมการสื่อสารเป็นพื้นฐานของการติดต่อของมนุษย์และเป็นเครื่องมือสําคัญของกระบวนการทางสังคมยิ่งสังคมมีความสลับซับซ้อนมากเพียงใดและประกอบด้วยคนจํานวนมาก เท่าใดการสื่อสารก็ยิ่งมีความสําคัญมากขึ้นเท่านั้นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสังคมที่นํามาซึ่งความสลับซับซ้อนก่อให้เกิดความไม่เข้าใจและความไม่แน่ใจแก่สมาชิกของสังคมย่อมต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว  การสื่อสาร  มีความสําคัญต่อมนุษย์ 5 ประการ คือ

1. ความสําคัญต่อการเป็นสังคม

2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน

3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ

4. ความสําคัญต่อการปกครอง

5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม

ปัญชลี  ดวงเอียด (๒๕๔๙: ๑๕) ได้กล่าวถึง ผลการวิจัยของนักวิชาการว่าเยาวชนในยุคปัจจุบันค่อนข้างเป็นคนขี้เหงา  ติดโทรศัพท์มือถือ  ชอบออกนอกบ้าน  มีความอ่อนแอทางจิตใจ  ไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง  ติดสุขนิยม  บริโภควัตถุนิยม  ต้องการความรวดเร็ว  ขาดความยับยั้งชั่งใจไม่มีความอดทน  อดกลั้น  มีค่านิยมทางเพศเสรี  ของเกี่ยวกับสิ่งเสพติด  เมินศาสนา  ขาดสาระและ ไร้สํานึก  เยาวชนส่วนใหญ่  ใช้เวลาในการพูดคุยโทรศัพท์นานวันละหลายชั่วโมงโดยจะเปิด โทรศัพท์มือถือไว้ตลอดเวลาพูดคุยกันพร่ำเพรื่อ  พูดคุยกันนานๆทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานที่สาระและไม่มีสาระเสมือนว่าเยาวชนเป็นทาสโทรศัพท์มือถือ  ทั้งยังขาดความระมัดระวังในการใช้ภาษาวาเหมาะกับกาลเทศะหรือไม่  และมักใช้คําแสลง  เช่น  ภาษา “แอบแบ๊ว” ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมในหมูเยาวชนขณะนี้  นอกจากนี้ เยาวชนยังชอบวิ่งตามแฟชั่น  มีค่านิยมฟุ้งเฟ้อเห่อของใหม่  เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเป็นรุ่นใหม่บ่อยๆ  นอกจากจะขาดระเบียบวินัยในเรื่องทั่วๆไป   แล้วยังขาดวินัยในการใช้เงินอีกด้วย  พฤติกรรมดังกล่าว  ชี้ให้เห็นว่า  เยาวชนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มใหญ่ในสังคมกําลังอยู่กับความไม่พอดี  ไม่พอเพียงในการดําเนินชีวิต

จากพฤติกรรมของเยาวชนดังกล่าว ทําให้สามารถมองเห็นสภาพของสังคมที่ชีวิตประจําวันกําลังถูกผสานเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งนับวันจะมีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย  แม้ SMS จะเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่รวมอยู่กับสาเหตุใหญ่เพราะเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดที่ทําให้เกิดการติดต่อกันโดยตรงและเป็นส่วนตัวระหว่างบุคคลนั้นยอมนํามาซึ่งความสัมพันธ์ที่ก่อตัวได้เร็วขึ้น แต่เยาวชนที่ใช้เครื่องมือสื่อสารนั้นๆ  มีวุฒิภาวะหรือภูมิคุ้มกันมากน้อยเพียงใด

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วรวุฒิ  เจริญศรีพรพงษ์ (๒๕๔๖: ๕๐-๖๕)ได้ศึกษาการวิเคราะห์ความต้องการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครที่มีโทรศัพท์มือถือใช้อยู่ในปัจจุบัน  พบว่า  ระบบที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ของ  AIS  สาเหตุที่ตัดสินใจซื้อสวนใหญ่ตอบว่าเพราะจําเป็น   การตัดสินใจซื้อเป็นความต้องการของตนเองส่วนใหญ่  ค่าใช้จ่ายต่อเดือนส่วนใหญ่ใช้ไมเกิน  ๕๐๐  บาท  และใช้ติดต่อกับผู้ปกครองมากที่สุดบริการเสริมที่มีในตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีการใช้มากที่สุด คือ SMS

ธีระ  กุลสวัสดิ์  (๒๕๓๔: ๒๘-๔๒)  ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถของ  ผู้ขับขี่รถยนต์  พบว่า  การรณรงค์จากสื่อต่างๆ ได้เขาถึงกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่แล้ว  แต่กลับพบว่า จํานวน    ผู้ที่รับรู้การรณรงค์มีการใช้อุปกรณ์ช่วยฟังและไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง อยู่ในสัดสวนที่ใกล้เคียงกัน โดยผู้ที่ใช้อุปกรณ์ช่วยฟังให้เหตุผลว่าคํานึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด  ความแตกต่างทางด้านเพศ  อายุ  สถานภาพสมรส  การศึกษา  อาชีพ  ประสบการณ์ในการขับขี่ ไม่มี ผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง

ศิราพร   ศรีแดน (๒๕๔๔: ๑๒๔-๑๔๕)  ได้ศึกษาการแข่งขันทางธุรกิจการค้า และค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือ กรณีศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู พบว่าการแข่งขัน ธุรกิจการคาในเขตอําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู มีการแข่งขันทั้งหมด ๖ ด้าน คือ ด้านการโฆษณาร้านค้าที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมการขาย  ด้านการบริการ  ด้านเงื่อนไข การซื้อ  ด้านราคา  ด้านบริการหลังการขายและส่วนประกอบด้านอื่นๆ เช่น ทําเลที่ตั้ง การตกแต่งร้าน การแต่งกายของพนักงานขาย  ค่านิยมการใช้โทรศัพท์มือถือ  พบว่า ผู้ใช้เลือกจากเครื่องที่มี ราคาถูกมากที่สุด และเลือกใช้จากระบบสัญญาณเครือขายที่ครอบคลุมใช้ได้ทุกพื้นที่  มีเหตุผลในการใช้เพราะความสะดวกรวดเร็วในการติดตอสื่อสาร  และใช้ตามสมัยนิยม

——————————————————————————————————————-

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีการวิจัย

การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5                                      โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา                     โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล         การเก็บรวบรวมข้อมูล ดังต่อไปนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมจังหวัดพะเยา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionaire) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ เพศ และ                  แผนการเรียน

ส่วนที่ 2  แบบสอบถามข้อมูลของโทรศัพท์มือถือ

ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

ผู้วิจัยได้ใช้มาตราวัดพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือแบบมาตราส่วน 4 ระดับ                                             เกณฑ์การให้คะแนน คือ

4             หมายความว่า       บ่อยที่สุด

3              หมายความวา       บ่อย

2              หมายความว่า       บางครั้ง

1              หมายความว่า       ไม่เคย

การรวบรวมข้อมูล

  1. กลุ่มตัวอย่าง (สุ่มตามความสะดวก)
  2. รวบรวมแบบสอบถาม
  3. วิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรม Microsoft Office Excel

คลิ๊ก > แบบสอบถาม

——————————————————————————————————————-

บทที่ 4

ผลการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การนำเสนอผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ และแผนการเรียน

ส่วนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ และแผนการเรียน

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามเพศ และแผนการเรียน

 ปัจจัยส่วนบุคคล                     จำนวน                        ร้อยละ

เพศ

ชาย                                          14                                 46.67

หญิง                                         16                                 53.33

แผนการเรียน

ศิลป์ – สังคม                                2                                 6.67

ศิลป์ – ฝรั่งเศส                              3                                10.00

ศิลป์ – จีน                                     3                                 10.00

ศิลป์ – ญี่ปุ่น                                  2                                 6.67

ศิลป์ – คณิตฯ                                4                                 13.33

วิทย์ – คณิตฯ                                10                               33.33

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์             2                                6.67

ห้องเรียนพิเศษ วิทย์ – คณิตฯ สองภาษา     4                   13.33

จากตารางที่ 1 พบว่าจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน สามารถอธิบายปัจจัยส่วนบุคคลได้ดังนี้

เพศ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

แผนการเรียน  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแผนการเรียน วิทย์-คณิต จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33  รองลงมาคือ แผนการเรียนสายศิลป์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

ส่วนที่ 2  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ตารางที่ 2  ค่าเฉลี่ย(X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

——————————————————————————————————————-

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา                      ปีที่ 5  โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนพะเยาพิทยาคม  จำนวน 30 คน

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง   ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ  และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย

ปัจจัยส่วนบุคคล

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 53.33 รองลงมาคือเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

แผนการเรียน  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นแผนการเรียน วิทย์-คณิต จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33  รองลงมาคือ แผนการเรียนสายศิลป์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67

ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ

ระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5  โดยส่วนมากแล้วอยู่ในระยะเวลา3-5 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน 0 -1 ชั่วโมงต่อวัน และมากกว่า 5  ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ

พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ

โดยมากแล้วกลุ่มตัวอย่างมักใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน มากกว่าที่จะนำไปทำให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง

——————————————————————————————————————-

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. การศึกษาวิจัยพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของเยาวชนจังหวัดตาก; (http://www.takculture.com/index1.php?module=research)

——————————————————————————————————————-

รูปแบบงานวิจัยแบบงานนำเสนอ

งานวิจัยบทคัดย่อ

งานวิจัยรวบรวม