Stress urinary incontinence คือ

3.4 วิธีการรักษาอื่น ๆ ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการรุนแรงแม้จะได้รับการรักษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น การกระตุ้นเส้นประสาททิเบียล (Tibial Nerve Stimulation)การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacral Nerve Stimulation) อย่างไรก็ตามการรักษาทั้งสองวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมทำในประเทศไทย เนื่องจากมีความยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก

ปัญหาปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คือการที่มีปัสสาวะออกมาโดยไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นภาวะที่รบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในเพศหญิงสาเหตุสำคัญคือการที่ระดับเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วในวัยหมดประจำเดือน เป็นเหตุให้ผนังท่อปัสสาวะบางลง ลดความสามารถในการปิดของหูรูดท่อปัสสาวะ ส่งผลให้หูรูดปิดสนิทได้ยากขึ้น ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้ ส่วนในเพศชายมักเกิดจากการที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตจึงไปขัดขวางทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดจากการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร หรืออายุที่มากขึ้น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่มีความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่อง ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรัง หรือการได้รับยาบางชนิด เป็นต้น 

Stress urinary incontinence คือ

ภาพจาก : http://ptworks.ca/wp-content/uploads/2018/08/urinary_incontinence_explained.jpg 

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วย ไต (kidney) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำปัสสาวะ (urine) โดยมีท่อไต (ureter) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะที่ไตผลิตได้ไปยังกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ก่อนปล่อยออกภายนอกร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ (urethra) ในการลำเลียงน้ำปัสสาวะท่อปัสสาวะจะบีบตัวเป็นคลื่น ๆ ที่เรียกว่า peristaltic contraction ซึ่งจะลำเลียงน้ำปัสสาวะ ได้ 1-2 มิลลิลิตร/นาที โดยในคนปกติจะสามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้ 200-400 มิลลิลิตร แบบไม่รู้สึกอึดอัดและไม่มีการเล็ดของปัสสาวะออกมา แต่ถ้าน้ำปัสสาวะมีมากกว่า 400 มิลลิลิตร จะเริ่มรู้สึกอยากขับถ่ายปัสสาวะ การขับถ่ายปัสสาวะอาศัยการทำงานของระบบประสาทในการควบคุมการทำงานของหูรูดของท่อปัสสาวะและกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้เกิดการทำงานที่ประสานกัน ดังนั้นหากมีความผิดปกติของระบบประสาทที่มาควบคุมการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะหรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อทางเดินปัสสาวะเองก็จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ 

    ข้อมูลสุขภาพ

    โรคและการรักษา

    การกลั้นปัสสาวะลำบากในผู้สูงวัย

    3 นาทีในการอ่าน

    Stress urinary incontinence คือ

    แชร์

    ภาวะการกลั้นปัสสาวะลำบากในผู้สูงวัย

    ภาวะการกลั้นปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะเล็ดในผู้สูงวัยนับเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และก่อให้เกิดความกังวลใจในการเข้าสังคม


    อาการบอกโรค

    ความรุนแรงของอาการ เริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริมาณที่ไม่มากนัก ไปจนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ดร่วมด้วย ผู้สูงวัยบางท่านแม้ยังไม่เริ่มมีอาการดังกล่าวแต่ก็อาจเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น
    • ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
    • ปัสสาวะไม่สุด
    • รู้สึกอยากปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา
    ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งสิ้น

     

    ปัจจัยควบคุมปัสสาวะ 

    โดยปกติแล้วการควบคุมการปัสสาวะต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้ 

    1. ศูนย์สั่งการการปัสสาวะและระบบประสาทบริเวณสมองและไขสันหลังที่ดี
    2. กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดบริเวณท่อปัสสาวะที่แข็งแรง
    3. ลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะที่ปกติ
    4. สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปัสสาวะ
    หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งดังกล่าวขาดไปหรือเกิดความผิดปกติขึ้นก็จะก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้

     

    Stress urinary incontinence คือ

     

    การทำงานของกระเพาะปัสสาวะในผู้สูงวัย

    เมื่ออายุเริ่มเพิ่มขึ้นสิ่งที่เกิดขึ้น คือ

    1. การทำงานของกระเพาะปัสสาวะเริ่มเสื่อมลง บางรายอาจมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะบ่อยเกินไป โดยไม่สามารถควบคุมได้ หรือในทางกลับกันอาจบีบตัวได้น้อยเกินไปก็เป็นได้
    2. กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหดตัวหรือคลายตัวได้ตามปกติ โดยเฉพาะในเพศหญิงที่ผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคลอดตามธรรมชาติหรือการผ่าตัดคลอดบุตรก็ตาม
    3. ปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะไปแล้วมีปริมาณมากกว่าคนปกติ
    4. ในเพศชาย ภาวะที่พบบ่อย คือ ต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดได้
    5. มีการสร้างปัสสาวะในช่วงเวลากลางคืนมากขึ้น

     

    ประเภทของอาการปัสสาวะเล็ด

    1. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่ง (Stress Incontinence)

    • อาการมักเกิดในผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดลดลง แม้ความจุของกระเพาะปัสสาวะยังไม่เต็มที่ก็เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เพียงแค่ออกแรงเบ่ง ไอ จามเพียงเล็กน้อย

    1. อาการปัสสาวะเล็ดช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Urge Incontinence)

    • สาเหตุมักเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยครั้งเกินไปโดยควบคุมไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจาก

      • ปัญหาของการเชื่อมโยงระบบประสาทสั่งการจากสมองและไขสันหลังมายังระบบปัสสาวะ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
      • ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะเอง เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

    1. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการไอ จาม เบ่งและช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Mixed Incontinence)

    • สาเหตุเกิดจากโรคทางระบบประสาทและสมองและภาวะความจำเสื่อมขั้นรุนแรง หรือปัญหาโรคทางจิตเวช

    1. อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อความจุของกระเพาะปัสสาวะขยายเต็มที่แล้ว (Overflow Incontinence)

    • สาเหตุเกิดจากปัญหาของลักษณะทางกายวิภาคและสรีระวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ต่อมลูกหมากโต มีท่อปัสสาวะตีบ
    • การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง โรคเบาหวาน
    • ปัญหาทางระบบประสาทอื่น ๆ
    • ผลข้างเคียงจากยาที่รับประทานเป็นประจำ

     

    ดูแลผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะลำบาก

    1. ปรึกษาแพทย์พร้อมนำยาที่ใช้รับประทานเป็นประจำมาให้แพทย์ดู เนื่องจากภาวะปัสสาวะเล็ดในแต่ละแบบมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน
    2. เขียนชื่อโรคประจำตัวเก็บไว้กับตัวผู้สูงอายุเสมอและนำมาให้แพทย์ดูทุกครั้ง
    3. งดดื่มสุรา กาแฟ ซึ่งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
    4. หากเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงตลอด แนะนำให้ผู้ดูแลจดบันทึกปริมาณปัสสาวะ ลักษณะ สี และจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยปัสสาวะไว้ทุกครั้ง รวมถึงปริมาณและความถี่ของการสวนเก็บปัสสาวะด้วย
    5. หากเป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้ผู้ดูแลให้พยายามทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักให้สะอาดและแห้งทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ หรือแผลติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณข้างเคียง
    6. หากเป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงตลอด หลีกเลี่ยงการคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็น เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากขึ้น หากจำเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะจริง ๆ ควรสวนเก็บเป็นครั้ง ๆ ไปตามรอบในแต่ละวัน และควรใช้เทคนิคที่สะอาดปลอดเชื้อในการสวนเก็บปัสสาวะทุกครั้ง

    ข้อมูลโดย


    สอบถามเพิ่มเติมที่

    ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์

    ชั้น 4 อาคาร R

    เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 15.00 น.

    0 2310 3755

    1719

    [email protected]

    แชร์

    Incontinence มีอะไรบ้าง

    1. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence) ... .
    2. อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence) ... .
    3. อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence) ... .
    4. อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis) ... .
    5. อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence).

    UI โรคอะไร

    Urinary incontinence (UI) ตามนิยามของ International Continence Society (ICS) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะไหลเล็ดออกมาโดยควบคุมไม่ได้ 'any involuntary leakage of urine' (11, 12)

    ภาวะ stress incontinence ขณะไอ จาม หัวเราะ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

    Stress incontinence เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่พบได้มากสุด โดยเป็นผลมาจากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวได้ไม่ดีหรือการหย่อนตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เมื่อมีการเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างกะทันหัน เช่น การไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก จะทำให้ไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้

    การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดจากอะไร

    สาเหตุของอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ การอักเสบติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอดหย่อน หูรูดไม่แข็งแรงหรือเสื่อม