การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

หน่วยความจำรอง

หน่วยความจำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูล (Storage) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ไว้ และสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกตามต้องการ บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) ประกอบด้วย

          1.  แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีเครื่องขับแผ่นบันทึกอย่างน้อยหนึ่งตัว แผ่นบันทึกที่ใช้ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบางฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน
การเก็บข้อมูลจะทำโดยบันทึกลงไปที่ผิวของแผ่น ปกติใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัว แผ่นจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector) แผ่นบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 เมกะไบต์

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

2.  ฮาร์ดดิสก์ (harddisk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่เหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน  หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออก
เพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่าไซลินเดอร์  (cylinder)  แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์เก็บข้อมูลเป็นชุดๆ
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก ขนาดของฮาร์ดดิสก์มีความจุเป็นกิกะไบต์
เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 15 กิกะไบต์ การเขียนอ่านข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์จะกระทำเป็นเซกเตอร์
และเขียนอ่านได้เร็วมาก เวลาที่ใช้ในการวัดการเข้าถึงข้อมูลมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

 3.  เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว  ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก
เคลือบด้วยสารแม่เหล็กเหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก  มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access)
เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูลลำดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ
ส่วนการประยุกต์นั้นเน้นสำหรับใช้สำรองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย  ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องเก็บสำรองข้อมูลไว้

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

 4.  แผ่นซีดี (Compact Disk : CD ) วิวัฒนาการของการใช้หน่วยความจำรองได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์แผ่นซีดี
ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการทางแสง  แผ่นซีดีที่อ่านได้อย่างเดียว เรียกกันว่า
ซีดีรอม (CD- ROM) ข้อมูลที่บันทึกจะถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตเหมือนการบันทึกเพลงหรือภาพยนตร์
ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น
แผ่นซีดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตแผ่นซีดีได้ก้าวหน้าขึ้น
จนสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า ออปติคัลดิสก์ (optical disk)

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

4 . ดีวีดี (Digital Versatile Disk : DVD) พัฒนามาจากเทคโนโลยีจานแสงเช่นเดียวกับซีดีรอม เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีการพัฒนาทั้งในด้านความจุข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล โดยแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 4.7 ถึง 17 จิกะไบต์ และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในช่วง 600 กิโลไบต์ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที และด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าวจึงนำดีวีดีมาใช้ในการบรรจุภาพยนตร์แทนซีดีรอม ซึ่งต้องใช้ซีดีรอมมากกว่า 1 แผ่นในการเก็บข้อมูลภาพยนตร์ทั้งเรื่อง แต่หากใช้ดีวีดีในการเก็บภาพยนตร์ สามารถเก็บทั้งภาพและเสียงของภาพยนตร์ทั้งเรื่องไว้ในดีวีดีเพียงแผ่นเดียว และคุณภาพของข้อมูลที่เก็บสูงกว่าคุณภาพของข้อมูลในซีดีรอมหรือสื่อชนิดอื่นมาก ในท้องตลาดปัจจุบันจึงนิยมผลิตภาพยนตร์ในรูปของดีวีดีจำหน่ายแทนเลเซอร์ดิสก์ (Laser Disk) และวีดิโอเทป
สำหรับการอ่านข้อมูลในดีวีดีต้องใช้หน่วยขับดีวีดี ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถอ่านข้อมูลทั้งจากแผ่นดีวีดีและแผ่นซีดีรอม

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

5. หน่วยความจำแบบแฟลช  (Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า “อีอีพร็อม” (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอมและแรมมารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้ แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิทัล กล้องวีดิทัศน์ที่เก็บข้อมูลแบบดิจิทัล ในปัจจุบันมีบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทผลิตหน่วยความจำแบบแฟลชรูปแบบต่าง ๆ ออกมาเพื่อใช้งานกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่น บริษัทแซนด์ดิสด์ ได้ผลิตหน่วยความจำแบบแฟลชที่เรียกว่า “การ์ดคอมแพ็กแฟลช” ใช้กับกล้องดิจิตอลและเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คและปาล์มท็อป ในขณะที่บริษัทโซนี่ผลิตหน่วยความจำแบบแฟลชที่เรียกว่า “เมมโมรีสติ๊ก” (Memory Stick) เพื่อใช้งานเฉพาะกับกล้องดิจิทัล กล้องวีดิทัศน์ ที่ผลิตโดยบริษัทโซนี่เอง

การเก็บข้อมูล ใน หน่วยความจำ สำรอง ในปัจจุบัน นิยม เก็บข้อมูล ใน อุปกรณ์ ใด

อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรองมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ดิสก์เกต (Floppy Disks) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดี-รอม (CR-ROM) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)

อุปกรณ์ใดมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลสำรอง

หน่วยความจําสํารองหรือ Secondary Memory คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลในรูปแบบถาวรที่ User สามารถจะเรียกขึ้นมาใช้งานได้ตามความต้องการ โดยเมื่อได้เปรียบเทียบขนาดของหน่วยความจำรองกับตัวหลักแล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างของปริมาณความจำได้อย่างชัดเจน ราคาก็ถูกกว่า แต่ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและเรียก ...

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก.
HDD และ SSD ภายนอก ... .
อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช ... .
สื่อจัดเก็บข้อมูลด้วยแสง ... .
ฟลอปปีดิสก์ ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory: RAM) ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง: ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และโซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD) ... .
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ... .
โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD).

หน่วยความจำสำรองคืออะไร

หน่วยความจำรอง หน่วยความจำรอง ส่วนความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที