วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

นอกจาก สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา จะช่วยสร้างน้องๆ ให้เป็นนักกีฬาอาชีพแล้ว ยังพัฒนาให้เราสามารถทำงานในสาขากีฬาได้หลากหลายตามความชอบและความถนัดอีกด้วย และนี่คือ“5 อาชีพสุดเจ๋งด้านกีฬา”ที่เราจะมาแนะนำให้น้องๆ เอาไปประกอบการตัดสินใจโดยไม่ต้องกังวลว่าเลือกเรียนสาขาที่ชอบแล้วจบไปจะไม่มีงานทำ

1. โค้ช/ผู้ฝึกสอนกีฬา (Coach)
น้องๆ คนไหนใฝ่ฝันจะเป็นนักกีฬาแต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างไม่เอื้ออำนวย หรือสนใจอยากทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อนำพาให้นักกีฬาหรือทีมประสบความสำเร็จมากกว่า พร้อมกับชอบความท้าทาย สามารถใช้หลักการความรู้เพื่อวางแผนรูปแบบการฝึกกีฬาแต่ละประเภทให้ประสบผลสำเร็จ และสามารถจัดโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละคนได้ อาชีพโค้ชนักกีฬาจะเป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับน้องๆ มากที่สุด

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

  2. เทรนเนอร์ (Trainer)
อาชีพมาแรงในยุคที่ผู้คนต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น อย่าง Trainer แน่นอนว่าเป็นอาชีพที่ตลาดงานยังขาดแคลนคนที่มีความรู้ซึ่งจบสาขานี้โดยตรง ด้วยความสามารถทางด้านกีฬาและการได้รับความรู้ที่ถูกหลัก น้องๆ สามารถทำงานเป็นเทรนเนอร์ฟิตเนส สปอร์ตคลับ สถานศึกษา องค์กรกีฬา หรือเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวก็ได้

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

  3. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist)
ทุกทีมกีฬาต่างก็ต้องมีนักวิทยาศาสตร์การกีฬาประจำอย่างน้อย 1 คน เพื่อช่วยดูแลนักกีฬาและทำงานร่วมกับโค้ช โดยใช้หลักวิชาการที่ได้เรียนมาดูแลนักกีฬาในทุกด้าน ทั้ง โภชนาการ เทคนิคกีฬา จิตวิทยา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายนักกีฬาอย่างเป็นขั้นตอน อาจแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนงานเอกสาร การหาข้อมูล และจัดทำข้อมูล จดบันทึกความคืบหน้าของงานต่างๆ และส่วนงานนกลางแจ้ง คือการฝึกและให้ความรู้กับนักกีฬา

 

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

4. นักเวชศาสตร์การกีฬา (Sports medicine)
อาชีพนี้อาจฟังดูคล้ายกับ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่จะเน้นในด้านของการป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อม เพื่อช่วยเสริมสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์พร้อมที่สุด รวมทั้งทำการทดสอบร่างกายตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ เพื่อประเมินสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางการกีฬา นักเวชศาสตร์การกีฬาส่วนมากจะทำงานบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือประจำตามทีมกีฬา รวมถึงเป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการในสาขาต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเวชศาสตร์การกีฬา

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

5. นักจิตวิทยาการกีฬา (Sports Psychology)
เพราะจิตใจ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางกายภาพและนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในตนเองโดยตรงของนักกีฬา ดังนั้น จิตวิทยาทางการกีฬา หรือ Sports Psychology จึงเป็นอีกสาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความจำเป็นสำหรับนักกีฬาทุกๆ คนในการแข่งขัน และสำหรับในประเทศไทย ผู้ที่เชี่ยวชาญหรือทำงานด้านจิตวิทยาทางการกีฬาในประเทศไทยยังถือว่ามีจำนวนน้อยมาก

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

สำหรับน้องๆ หลายคนที่ชื่นชอบและมีความสนใจด้านกีฬา ไม่ว่าจะชอบเล่นกีฬา ชอบดูการแข่ง หรือชอบนักกีฬาก็ตาม หากคิดว่าการทำสิ่งเหล่านี้หรือคลุกคลีอยู่กับมันแล้วมีความสุข ก็อย่าลังเลที่จะเลือกอนาคตของตัวเองโดยเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัยทางสายกีฬาหรือสายสุขภาพและอย่าเพิ่งเป็นกังวลว่าตัวเองกล้ามไม่ใหญ่ หุ่นไม่เฟิร์ม หรือเล่นกีฬาไม่เก่งขนาดติดทีมชาติ เพราะสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬานี้ เป็นสาขาอาชีพที่แนวโน้มตลาดการทำงานจะขยายวงกว้างและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจากวงการกีฬาอาชีพทั้ง ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล หรือแม้แต่สายสุขภาพอย่างฟิตเนส ที่พัฒนาขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย

ที่มา :

www.a-chieve.org

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

หลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา อีกหนึ่งหลักสูตรที่น้องๆสายสุขภาพหรือสายกีฬามีความสนใจใช่ไหมคะ แต่หลักสูตรการเรียนของแต่ละสถาบันก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง วิชาพื้นฐานและวิชาหลักใหญ่ๆ ก็จะคล้ายคลึงกัน ส่วนจะมีวิชาอะไรบ้างนั้น ก็ตามมาดูกันได้เลย

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา

สาขาวิทยาศาตร์การกีฬา เรียนเกี่ยวกับอะไร?
เรียนโดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์  สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ จิตวิทยาสังคมวิทยา ชีวกลศาสตร์ โภชนาการ
ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของมนุษย์ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อนำมาการพัฒนาศักยภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
กายวิภาคศาสตร์ คือ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างสัดส่วนของร่างกายนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
สรีรวิทยา คือ ความรู้เกี่ยวกับการทำงานหรือการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทกีฬาและนักกีฬาแต่ละบุคคล

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
ชีวกลศาสตร์ คือ การทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ  การใช้แรงในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคลได้อย่างกลมกลืนกับระดับความสามารถที่เป็นจริงของนักกีฬา

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา คือ หลักการกำหนดรูปแบบวิธีการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจาก อายุ เพศ วัย ประสบการณ์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งระบบพลังงานสมรรถภาพทางกาย ประเภทกีฬา เพื่อนำไปสู่การวางแผนการฝึกซ้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
โภชนาการทางการกีฬา คือ ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วน และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานของนักกีฬาแค่ละคน

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
จิตวิทยาการกีฬา คือ ศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬารวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้อง มีผลดีต่อการแสดงออกซึ่งทักษะและความสามารถของนักกีฬาได้อย่างสอดคล้อง สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
เวชศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
เทคโนโลยีทางการกีฬา คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริมตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬา

วิทยาศาสตร์การกีฬากับ นักกีฬา
สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา เรียนจบแล้วทำงานอะไร?
1. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจัดการการกีฬา
นักส่งเสริมสุขภาพ นักนันทนาการศาสตร์
2. ผู้ช่วยวิจัยทางการกีฬาและการออกกำลังกาย
การจัดการการกีฬาส่งเสริมสุขภาพและนันทนาการศาสตร์
3. ผู้ฝึกสอนกีฬา / ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬา
และเจ้าหน้าที่จัดการการแข่งขันกีฬา
4. นักวิชาการทางการกีฬา การออกกำลังกาย 
ส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการในชุมชน
6. ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกาย
และการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
7. เจ้าของธุรกิจหรือประกอบอาชีพอิสระทางด้านการกีฬา

รวมสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ในมหาวิทยาลัยประเทศไทย :

https://www.admissionpremium.com/sports/news/2087