ค่าห้องพิเศษ โรงพยาบาลกำแพงเพชร

ถ้าคลอด รพ.รัฐ แล้วมีสิทอยู่ก็ไม่เสียคะ เเต่ถ้าคลอดเเล้วไม่มีสิท รึ ย้าย รพ ผ่าคลอดที่คุณหมอบอกอยู่ที่ประมาน15000 คลอดเองอยู่ที่7000 แล้วเเต่เคสด้วยคะว่ายากรึง่าย ไม่รวมค่าห้องพิเศษนะคะ แม่บ้านนี้เตรียมไว้เเล้วคะ สิทอยู่ รพ กำแพงเพชร. แต่ต้องย้ายมากับเเฟนมาอยู่ที่ชล เลยต้องเสียค่าคลอดจ้า

เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 410 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 428 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บนเนื้อที่ 43 ไร่  3 งาน 47 ตารางวา

ทิศใต้ ซอยแยกจากถนนราชดำเนินไปสู่แม่น้ำปิง

ทิศตะวันออก ติดที่ดินเอกชน

ทิศตะวันตก ขนานไปกับแม่น้ำปิง

การริเริ่มสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชร

การริเริ่มสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชรเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 โดย นายเชื้อ  พิทักษากร ข้าหลวงตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และนายจรัส ธารีสาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ในขณะนั้น ได้ติดต่อขอที่ดินในวัดสามจีน ซึ่งเป็นวัดร้างจากกรมศาสนา (พื้นที่ 5 ไร่เศษ) และที่ดินของโรงเรียนเกษตรกรรมกจากกรมอาชีว-ศึกษามีพื้นที่ 38 ไร่เศษ พันโทนายแพทย์มานิต เวชวิศิษฎ์ อธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้นเห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลได้ จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2496 โดยนายแพทย์ผดุง เปรมัษเฐียร อนามัยจังหวัดเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง และกรมการแพทย์ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 344,827 บาท และได้ก่อสร้าง       

เรือนคนไข้ ขนาด 25 เตียง (คนไข้ชาย) 1 หลัง เป็นเงิน 239,400 บาท       

บ้านพักแพทย์ 1 หลัง เป็นเงิน 30,000 บาท       

ค่าปรับที่/ถมดิน/ทำรั้ว/ทำถนนและทำประตูทางเข้าโรงพยาบาล เป็นเงิน 45,429 บาท                      

โรงพยาบาลกำแพงเพชรก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการตรวจรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นครั้งแรก เตียงรับผู้ป่วยไว้รักษาจำนวน 25 เตียง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2497 โดยมี นายแพทย์ประธาน กาญจนาลัย เป็นผู้อำนวยการเป็นคนแรกจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้พัฒนางานทั้งทางด้านการบริหารการบริการและวิชาการ จนกิจกรรมของโรงพยาบาลเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับมีปริมาณงานจำนวนเตียงและจำนวนเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น ผ่านปัญหาอุปสรรคต่าง ๆทั้งอุบัติภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ยุ่งยากมาจนถึงปัจจุบัน

วัดสามจีนสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่โรงพยาบาลกำแพงเพชร

วัดสามจีนแต่เดิมเป็นวัดร้างของกรมศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2496 ได้เริ่มทำการก่อสร้าง โรงพยาบาลกำแพงเพชรขึ้นจึงได้ขอที่วัดสามจีน และที่ดินของกรมอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนเกษตรกรรมที่ได้เลิกไปและทำการก่อสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชร   ขึ้น หลวงพ่อวัดสามจีน เป็นพระประธานสมัยอู่ทองตามคำบอกเล่าของนายเกษม กล้าตะลุมบอน ซึ่งกล่าวว่า พระประธานเป็นสมัยอู่ทองคางคน ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่ามีคางคล้ายคนสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานได้จากวัตถุก่อสร้าง เช่น ฐานเจดีย์ ที่พบอยู่ข้างโบสถ์ด้านทิศเหนือ ก่อด้วย อิฐเก่าลักษณะ เหมือนอิฐที่ก่อสร้างเจดีย์ตามวัดร้างในทุ่งเศรษฐีและที่อื่นในจังหวัดกำแพงเพชร เห็นว่าการก่อสร้างวัด นี้คงอยู่ในสมัยสุโขทัยร่วมอู่ทองในปี พ.ศ.2501 นายแพทย์ประธาน กาญจนาลัยผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายอินทร์  ดีสาร, นายวีระ อิ่มพิทักษ์, นายเกษม กล้าตะลุมบอน และผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายท่านได้ทำการ บูรณะโบสถ์ข้างจัดจีนขึ้น ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดพายุใหญ่พัดโบสถ์ พังทลาย โครงหลังคาลฟาดทับพระประธานพระศอหัก พระเศียร และพระหัตถ์ข้างขวาเป็นปูนหัก กรรมการจึงได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธาทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสร้างโบสถ์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็กและให้ช่างปั้นปฏิสังขรณ์พระประธานใหม่ ในปี พ.ศ.2518 ได้ทำการลงรักปิดทองพระประธานในปี พ.ศ.2519 และปี พ.ศ.2520 คณะกรรมการโบสถ์ได้ทำการก่อสร้างต่อเติมระเบียงรอบโบสถ์ โดยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ก่ออิฐฉาบปูน ผนังโบสถ์รอบพระประธานพร้อมทั้งที่พื้นซีเมนต์ทำหินด้วยเกล็ดขัดมันบริเวณพื้นโบสถ์ด้านหน้า

คนไข้ รพ.กำแพงเพชร 80% ใช้สิทธิบัตรทอง ผอ.โรงพยาบาล ปรับเปลี่ยนทัศนคติเจ้าหน้าที่ให้มองผู้ป่วยในฐานะลูกค้าคนสำคัญ ก่อนเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน สรุปผลได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมบริการ จึงแก้ปัญหาด้วยการอบรมสติในการทำงาน ที่สุดแล้วสถานการณ์ดีขึ้นมาก

ค่าห้องพิเศษ โรงพยาบาลกำแพงเพชร

พญ.รจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร

พญ.รจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ในฐานะหน่วยบริการที่ได้รับรางวัลเครือข่ายผลงานเด่นประจำปี 2560 ประเภทโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวในหัวข้อเรื่องเล่าเครือข่ายผลงานเด่นประจำปี 2560 : How To “Best practice” ภายใต้งานสัมมนาเครือข่ายคุ้มครองสิทธิ ประจำปี 2562 โดยบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการยกระดับการให้บริการไปลดเรื่องร้องเรียนในโรงพยาบาลได้สำเร็จ

พญ.รจนา กล่าวว่า ในปี 2557 โรงพยาบาลกำแพงเพชรถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 10 ล้านบาท จากกรณีที่มีพยาบาลวิชาชีพมาคลอดบุตร โดยระหว่างนั้นเธอเกิดมดลูกแตก ส่งผลให้สมองของลูกขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงและพิการ ซึ่งขณะนั้นตนเองเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการและเข้าใจความรู้สึกของพยาบาล ทั้งความรู้สึกผิดหวัง ความโกรธ ความเสียใจ จึงได้ตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยและดูแลเรื่องร้องเรียนขึ้นมาใหม่ ทำหน้าที่ดูแลในเชิงจริยธรรมและมนุษยธรรม ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องคดีการฟ้องร้องที่ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม

พญ.รจนา กล่าวว่า โรงพยาบาลได้ดูแลพยาบาลวิชาชีพรายนั้นอย่างใกล้ชิด ได้พูดคุยและไกล่เกลี่ยกันจนเกิดความเข้าใจ โดยโรงพยาบาลและแพทย์ได้ร่วมกันจ่ายค่าชดเชย และทำให้พยาบาลวิชาชีพได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง ซึ่งที่สุดแล้วพยาบาลวิชาชีพรายดังกล่าวก็ยุติการฟ้องร้องและล้มเลิกที่จะนำเรื่องขึ้นสู่ชั้นศาล

“ถ้าเราให้การดูแลตั้งแต่แรกดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะน้อยลง และทำให้การดูแลผู้ป่วยดีขึ้น” พญ.รจนา กล่าว และว่า กรณีที่เกิดขึ้นคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของโรงพยาบาลกำแพงเพชรในการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อลดปัญหาเรื่องร้องเรียน

พญ.รจนา กล่าวว่า ผู้ป่วยเกือบ 80% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เดินทางเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลกำแพงเพชรใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ดังนั้นเราต้องพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ว่าผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทองเป็นคนสำคัญ เขาไม่ใช่คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการฟรีแต่มาใช้บริการภายใต้เงินภาษีของประชาชน เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดว่าทุกคนที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลกำแพงเพชรคือลูกค้าคนสำคัญ เพราะทุกครั้งที่เขามาใช้บริการหมายถึงโรงพยาบาลได้ดูแลประชาชนที่เป็นคนจ่ายภาษีให้แก่โรงพยาบาล

“พอปรับเปลี่ยนทัศนคติก็ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น คือไม่รู้สึกเบื่อ ไม่รู้สึกรังเกียจคนไข้ว่ามาบ่อยทำไม” พญ.รจนา กล่าว

พญ.รจนา กล่าวว่า นอกเหนือจากทัศนคติของเจ้าหน้าที่แล้ว ฝ่ายบริการก็ได้สนับสนุนสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลายทั้งกับผู้รับบริการและผู้ให้บริการ นั่นส่งผลให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจและกล้าที่จะพูดคุยปัญหากับทางโรงพยาบาล ขณะเดียวกันโรงพยาบาลกำแพงเพชรก็ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรและสหวิชาชีพทุกแขนง รวมถึงฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่คอยดูแลตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ และได้ให้นิติกรเข้ามาอยู่ในทีมศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนด้วย ซึ่งเหล่านี้คือหัวใจที่ทำให้ลดเรื่องร้องเรียนไปจำนวนมาก

“เราได้รวมคณะกรรมการจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการไกล่เกลี่ย คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียน มารวมเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน เพื่อให้ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ได้เชิญภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย เพราะทีมเวิร์คเป็นสิ่งสำคัญ” พญ.รจนา กล่าว

พญ.รจนา กล่าวอีกว่า โรงพยาบาลกำแพงเพชรประกาศนโยบายเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทำงานเป็นทีม กำหนดเข็มมุ่งในเรื่องของ 2P safety และอีกสิ่งสำคัญคือการให้การสนับสนุนศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ นั่นเพราะเราตระหนักว่า 80% ของลูกค้าคนสำคัญคือผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทอง

“เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่เราเอง เราจึงใช้แนวคิด MIO สร้างสุขด้วยสติในองค์กร คือการใช้สติในองค์กรเข้ามาขับเคลื่อน เจ้าหน้าที่ทุกคนได้อบรมการตั้งสติ ใช้สมาธิในการทำงาน ที่สุดแล้วเราพบว่าลดข้อร้องเรียนไปได้มาก ทุกคนมีความสุขและเสียสละในการทำงานมากขึ้น” พญ.รจนา กล่าว

พญ.รจนา กล่าวต่อไปว่า อาจมีคนคิดว่ายิ่งทำให้ช่องทางรับเรื่องร้องเรียนน้อยมากเท่าใด ยิ่งมีเรื่องร้องเรียนน้อยเท่านั้น ซึ่งจากประสบการณ์แล้วพบว่าเป็นเรื่องที่ผิด เพราะยิ่งเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการสามารถร้องเรียนได้มากเท่าใด จะยิ่งทำให้โรงพยาบาลทราบว่าปัญหาของตัวเองคืออะไร และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด ซึ่งสำหรับโรงพยาบาลกำแพงเพชรเราสรุปได้ว่าปัญหาอันดับหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมบริการ จึงนำมาสู่การฝึกสติในองค์กรและทำให้ปัญหาคลี่คลายในที่สุด