เงินชราภาพประกันสังคม

เช่น มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม เดือนละ 750 บาท (อัตราสูงสุด) โดยเงินจะถูกแบ่งออกไปตามสัดส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 : 1.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 225 บาท จะใช้ในส่วนประกันเจ็บป่วย หรือตาย 

ส่วนที่ 2 : 0.5% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 75 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันการว่างงาน 

ส่วนที่ 3 : 3% ของยอดสมทบ หรือสูงสุด 450 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันชราภาพ 

ซึ่งเงินที่ถูกสมทบในกลุ่มสุดท้ายที่เรียกว่า "เงินชราภาพ" นี้ จะถูกสะสมไปเรื่อยๆ โดยมีนายจ้างสมทบเพิ่มเท่ากับลูกจ้าง และรัฐบาลช่วยสมทบให้อีก 2.75%

วันที่ 12 กันยายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้แจ้งเตือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และมาตรา 39 ซึ่งมีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด

สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือเว็บไซต์ของ สปส.  www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบ iOSและ Android และ Line Official Account ของ สปส. @ssothai

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส. 2-01 หรือ SSO. 2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน แต่หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบุญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิของผู้ประกันตนกรณีชราภาพนั้นจะแยกเป็น 2 กรณี  ได้แก่ 1) รับบำเหน็จชราภาพ  ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

2) กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น         รายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง(ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายส่วน สปส. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

หลายคนอาจสงสัยว่า เมื่ออายุมากขึ้นจนใกล้ถึงวัยเกษียณอายุ เราได้สิทธิประโยชน์อะไรจากกองทุนประกันสังคมบ้าง หลังส่งเงินประกันสังคมมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะเงินสมทบชราภาพหากอายุยังไม่ถึง 55 ปี สามารถยื่นเรื่องขอได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ และสาระน่ารู้มาฝาก

เงินชราภาพประกันสังคม คือ

เป็นหลักประกันชีวิตส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกันตนอุ่นใจว่าเมื่อถึงวันต้องออกจากงาน ยังมีเงินออมก้อนหนึ่งไว้ให้ใช้จ่ายยามเกษียณได้อย่างสุขสบาย โดยเงินชราภาพประกันสังคมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เงินบำเหน็จ และเงินบำนาญ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำการจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนแต่ละคน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ดังนี้ 

การเกิดสิทธิในกรณีบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินทุกเดือน)

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือผู้ประกันตน มาตรา 39 
  • ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยไม่จำเป็นว่าระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบใน 180 เดือนจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ (กรณีย้ายงาน มีช่วงเวลาที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคมแต่รวมกันต้องถึง 180 เดือน)
  • เป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ 
  • ความเป็นผู้ประกันตนมีความสิ้นสุดลง 

ผลประโยชน์ที่จะได้รับกรณีบำนาญชราภาพ 

-ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้ว 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินชราภาพเป็นรายเดือน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยใช้ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และจะได้รับเงินในจำนวนนั้น 

-ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสบทบกองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือน มีการปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพ จากร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย เพิ่มขึ้นมาอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาในการจ่ายเงินประกันสังคมทุก 12 เดือน (นับส่วนที่เกินจาก 180 เดือน)

การเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ (จ่ายก้อนเดียวจบ)

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือผู้ประกันตน มาตรา 39 
  • เป็นผู้ที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน 
  • มีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
  • เป็นผู้ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย 

ผลประโยชน์ที่จะได้รับในกรณีบำเหน็จชราภาพ 

-กรณีที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับวงเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 

-กรณีที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม พร้อมรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 

-กรณีผู้รับเงินบำเหน็จชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน โดยนับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

หลักฐานที่ใช้ในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

แบบคำรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

กรณีบำนาญชราภาพ สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย 
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 
  • ธนาคารกรุงเทพ 
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ 
  • ธนาคารกสิกรไทย 
  • ธนาคารทหารไทย 
  • ธนาคารธนชาต 
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย 
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 

  • สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
  • สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดา-มารดา (ถ้ามี)
  • หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

มองหาเงินสดฉุกเฉินไม่ต้องรออายุ 55 กับบัตรกดเงินสด…กรอกข้อมูลที่นี่

อายุไม่ถึง 55 ปี ขอเงินสมทบชราภาพ คืนก่อนได้ไหม ?

เงินชราภาพประกันสังคม

มีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ

สำหรับหลายคนที่มีข้อสงสัยว่าหากอายุไม่ถึง 55 ปี สามารถขอเงินสมทบชราภาพ คืนก่อนได้ไหม? คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะผู้ที่สามารถรับเงินชราภาพจากประกันสังคมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ยังต้องเป็นอยู่ในฐานะผู้ประกันตนสิ้นสุดลงด้วย กล่าวคือลาออกจากงาน หรือออกจากประกันสังคมนั้นเอง แต่ถ้ายังมีการจ่ายเงินสบทบอยู่แม้อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ จนกว่าคุณจะทำตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนดไว้คือสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนนั่นเอง 

ส่วนคำถามคาใจอย่างผลประโยชน์ทดแทนเงินชราภาพประกันสังคม อาทิ เงินสมทบชราภาพ เบิกได้ไหม, เงินชราภาพประกันสังคม กี่วันได้, เช็คเงินชราภาพประกันสังคม เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาตอบคุณแบบครบจบในที่เดียว 

1.เงินสมทบชราภาพเบิกได้ไหม? 

คำตอบคือได้ หลังจากมีการอนุมัติสั่งจ่าย เงินจะถูกจ่ายเป็นเงินสด เช็ค ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือ โอนเข้าบัญชี ตามที่ผู้ประกันตนแจ้งมาในใบยื่นคำขอผลประโยชน์ทดแทน 

2.เงินชราภาพประกันสังคม กี่วันได้? 

การพิจารณาและการสั่งจ่ายเงินกรณีชราภาพ ต้องดูองค์ประกอบต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย ทำให้ใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เท่ากัน เพราะบางคนลาออกจากงานนานแล้วค่อยมายื่นเรื่อง ก็อาจใช้เวลาดำเนินการที่รวดเร็วคือ 7-14 วันทำการ หรือคนที่พึ่งลาออกจากงานและมายื่นเรื่องเลยทันที อาจต้องรอระยะเวลาที่นายจ้างแจ้งลาออกให้แก่ประกันสังคมก่อน ทางประกันสังคมจึงสามารถดำเนินการต่อได้ และเมื่อผ่านการพิจารณาแล้วสำหรับผู้ได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินทุกวันที่ 25 ของเดือน 

3.วิธีเช็คเงินชราภาพประกันสังคม

เช็คเงินชราภาพประกันสังคม คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

เงินชราภาพประกันสังคม

หน้าข้อมูลเช็คยอดเงินสมทบชราภาพ SSO Connect

เมื่อเข้าแอปพลิเคชัน SSO Connect ระบบจะขึ้นรายละเอียดทั้งหมด อาทิ 

  • ชื่อ-นามสกุล ของผู้ประกันตน 
  • โรงพยาบาลที่เลือกใช้ประกันสังคม 
  • ยอดเงินสมทบชราภาพ 
  • สิทธิทันตกรรม 
  • หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ 

โดยคุณสามารถเช็คยอดเงินจากด้านหน้าได้เลย หรือถ้าอยากดูรายละเอียดยอดเงินให้กดเข้าไปที่คำว่า “ยอดเงินสมทบชราภาพ” จากนั้นแอปพลิเคชันจะขึ้นรายละเอียดทั้งหมด