สภาพสังคมสมัยอยุธยาตอนกลาง

สมัยอยุธยา

สภาพสังคมสมัยอยุธยาตอนกลาง

  • สมัยอยุธยา
       ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310) แผนที่อาณาจักรอยุธยา การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

           ในราวปี  พ.ศ.  1893  เมื่อกรุงสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลง หัวเมืองต่าง ๆ  จึงแข็งข้อ  เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยเป็นเมืองใหญ่  พระเจ้าอู่ทอง จึงเริ่มสะสมกองกำลัง และเป็นผู้นำคนไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง  และตอนล่าง  ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระจากสุโขทัย  โดยตั้งราชธานีบริเวณหนองโสน  หรือบึงพระราม  ซึ่งก็คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  เหตุที่ย้ายเมืองมาสร้างราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา  ก็เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่รวม ของแม่น้ำหลายสาย  จึงเป็นปากประตูสู่เมืองทางด้านเหนือทั้งสุโขทัยและเชียงใหม่  พระเจ้าอู่ทองทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์อู่ทอง  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  ครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน    เป็นเวลาถึง  20  ปี
    ทำเลที่ตั้ง มีความเหมาะสมหลายประการ  คือ

    1. ในด้านยุทธศาสตร์  มีภูมิประเทศเป็นเกาะ  มีแม่น้ำล้อมรอบ  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรี
    2. ในด้านเศรษฐกิจ
    • เป็นศูนย์กลางการคมนาคม  เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านถึง  3  สาย
    • พื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการทำอาชีพเกษตรกรรม
    • ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า ในการค้า กับต่างประเทศ
          กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีอยู่เป็นระเวลาถึง  417  ปี  มีกษัตริย์ปกครองถึง  5  ราชวงศ์  ดังนี้
    1. ราชวงศ์อู่ทอง  (พ.ศ.  1893 - 1913  และ  พ.ศ.  1931 - 1952)
    2. ราชวงศ์สุวรรภูมิ (พ.ศ.  1913 - 1931  และ  พ.ศ.  1952 - 2112)
    3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 - 2172)
    4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ.  2172 - 2231)
    5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง  (พ.ศ.  2231 - 2310)
    การปกครอง         การจัดการปกครองในระยะแรก เป็นการนำเอาลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย และการปกครองของขอมเข้ามาใช้  ฐานะของพระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ  ทรงมีอำนาจสูงสุด ในการปกครอง ซึ่งเรียกว่า  การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

         การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยา แบ่งได้เป็น  2  สมัย  ดังนี้  คือ

    1. สมัยอยุธยาตอนต้น  (พ.ศ.  1893 - 1991)   มีลักษณะดังนี้
      • การปกครองส่วนกลาง  หรือการปกครองภายในราชธานี  เรียกว่า  การปกครองแบบจตุสดมภ์  มีขุนนาง  4  ฝ่าย ทำหน้าที่ดังนี้
        • กรมเวียง     มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในราชธานี
        • กรมวัง        มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีต่าง ๆ
        • กรมคลัง       มีหน้าที่เก็บพระราชทรัพย์ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
        • กรมนา         มีหน้าที่ดูแลการทำเรือกสวน ไร่นา  และเก็บเสบียงไว้ใช้ในยามสงคราม
      • การปกครองส่วนภูมิภาค  ได้แก่  เมืองที่อยู่นอกราชธานี  โปรดให้เจ้านาย และขุนนางที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง  แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
        • เมืองหน้าด่่าน   ได้แก่  เมืองที่อยู่รอบราชธานีทั้ง  4  ทิศ
        • เมืองชั้นใน      ได้แก่  เมืองที่อยู่ไม่ไกลราชธานีมากนัก
        • เมืองชั้นนอก    ได้แก่  เมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานีมาก
      • หัวเมืองประเทศราช  ได้แก่  หัวเมืองที่อ่อนน้อม ยอมเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา  โปรดให้เจ้านายพื้นเมืองปกครองกันเอ
    2. การปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ ในปี  พ.ศ.  1991  การปฏิรูปการปกครองดังกล่าวได้ใช้ตลอดมาจนสิ้นสุดสมัยอยุธยา
      • ผลการปรับปรุงการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีดังนี้คือ
        • เปลี่ยนชื่อกรมต่าง ๆ  ของจตุสดมภ์  เป็นดังนี้
          • กรมเวียง  ใช้ชื่อว่า  นครบาล
          • กรมวัง     ใช้ชื่อว่า  ธรรมาธิกรณ์
          • กรมคลัง   ใช้ชื่อว่า  โกษธิบดี
          • กรมนา     ใช้ชื่อว่า   เกษตราธิการ
        • โปรดให้แยกงานฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน  โดยกำหนดให้สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และสมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน
        • แบ่งหัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับ
        • การปกครองหัวเมืองประเทศราช  โปรดให้เจ้านายของชนชาตินั้น ปกครองกันเอง  โดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามลำดับ
            ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา  คือการแย่งชิงราชสมบัติและอำนาจของขุนนางฝ่ายต่าง ๆ  เนื่องจากขาดความสามัคคี และไม่มีระบบการสืบราชสมบัติที่แน่นอนขาดประสิทธิภาพ

    สังคมในสมัยอยุธยา

                    สังคมไทยในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยบุคคล  5  กลุ่ม  ได้แก่  พระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง   ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และผู้ที่ได้รับการยกย่องเลื่อมใสจากคนทุกกลุ่ม คือ  พระสงฆ์

          ลักษณะการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยมีลักษณะไม่ตายตัว  บุคคลอาจจะเสื่อมตำแหน่งฐานะทางสังคมของตนได้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และคุณประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติ

    1. พระมหากษัตริย์ื  พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา
      • ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ  (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
      • ทรงเป็นประมุขของประเทศ  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
      • ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิต  และเจ้าแผ่นดิน
      • ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    2. เจ้านาย  หมายถึง  พระราชวงศ์  ของพระมหากษัตริย์  มีสกุลยศลดหลั่น ตามลำดับ  คือ เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  ฯลฯ
    3. ขุนนาง  มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองประเทศ  โดยพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานศักดินา ให้เป็นเครื่องตอบแทนอำนาจ และฐานะของขุนนาง มีดังนี้
      • ขุนนางเป็นชนชั้น ที่มีอำนาจมาก ทั้งในด้านการปกครอง   และการควบคุมพลเมือง
      • ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงออกกฎหมายศักดินา จัดทำเนียบขันนาง ข้าราชการ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง  ยศ  ราชทินนาม
      • ขุนนางที่มีไพร่พลมาก จะเป็นฐานแห่งกำลัง และอำนายที่สำคัญ  ปัญหา ความขัดแย้งในกลุ่มขุนนาง และเจ้านายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
    4. ไพร่ หมายถึงสามัญชนทั่วไป  นับว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ     แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ
      • ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนสังกัดต่อรัฐ  คือ องค์พระมหากษัตริย์  ต้องมาเข้าเวรเพื่อรับใช้ราชการปีละ 6 เดือน
      • ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนต่อเจ้านายและขุนนาง
      • ไพร่ส่วน  หมายถึง  ไพร่ที่ส่งผลิตผลมาแทนการเข้าเวร  เื่พื่อใช้แรงงาน
    5. ทาส  เป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
      • ทาสที่ไถ่ถอนตัวได้  เรียกว่า  ทาสสินไถ่
      • ทาสที่ไถ่ถอนตัวไม่ได้  เช่น  ทาสเชลย  ลูกทาสเชลย ฯลฯ
    6. พระสงฆ์ พระสงฆ์ไม่จำกัดชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง  แต่เป็นที่เคารพของคนทุกชนชั้น  บทบาทและความสำคัญของพระสงฆ์ มีดังนี้
      1. เป็นที่พึ่งทางใจของคนทุกชนชั้น
      2. เป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนตัวเชื่อม   ของชนชั้นสูง กับชนชั้นต่ำ
      3. เป็นผู้ให้การศึกษา  เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ในสมัยก่อน
          สถาบันที่มีอิทธิพลต่อสังคมในสมัยอยุธยาเป็นอันมาก ได้แก่  พระพุธะศาสนา เพราะเป็นศาสนาของทุกชนชั้น และเป็นเครื่องจรรโลงเอกภาพของสังคม  วัดในพระพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญดังนี้
    1. เป็นศูนย์กลางของชุมชน
    2. เป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยมีพระสงฆ์เป็นครู
    3. เป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมไทย
    4. เป็นสถานที่พบปะและจัดกิจกรรมของราษฎร
        

    วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ แผนที่เกาะเมืองอยุธยา       กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่นานถึง  417  ปี  คือตั้งแต่  พ.ศ. 1893 - 2310  แต่กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มเสื่อมลงน้อย  นับแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหวง เป็นต้นมา  โดยมีสาเหตุสำคัญดังนี้

         1.  เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ

         2.  ขุนนางและเจ้านายผู้ใหญ่แตกสามัคคี

         3.  ทหารแตกแยกกัน  กองทัพขาดการเตรียมพร้อม

         นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในกรุงศรีอยุธยาเองดังกล่าวแล้ว  ยังประกอบกับพม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้น  ภายใต้การนำของกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญา  พร่มจึงได้ปราบปรามกบฎ  และเคลื่อนทัพมายังดินแดนไทย  โดยเริ่มจากการตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เรื่อยมาจนล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้  โดยกรุงศรีอยุธยาไม่อาจต้านทานได้  เนื่องจากสาเหตุดังต่ไปนี้

    1. พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
    2. แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบ
    3. ทหารขาดความสามารถ  เพราะว่างศึกษานาน
         กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าใน  พ.ศ.  2310  การเสียกรุงครั้งนี้  บ้านเมืองได้รับความเสียหายมาก  พม่าได้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติ  และผู้ีคนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก

           กรุงศรีอยุธยา ได้สิ้นสุดลงด้วยระยะเวลา  417  ปี  โดยทิ้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  รวมทั้งบทเรียนจากอดีต ที่มีผลให้เสียกรุง จนไม่อาจสถาปนาขึ้นใหม่ได้


สภาพสังคมในสมัยอยุธยามีลักษณะเป็นแบบใด

สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มี ศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้นต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่า ...

สมัยอยุธยาใช้ระบบใดในการจัดระเบียบสังคม

สังคมไทยสมัยอยุธยาเป็นสังคมระบบศักดินา 1. ความหมายของระบบศักดินา “ศักดินา” เป็นการกำหนดฐานะ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลในสังคม บุคคลนับตั้งแต่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ พระสงฆ์ ไพร่ และทาส ถูกกำหนดให้มีศักดินาทั้งสิ้นโดยมีมากหรือน้อยลดหลั่นกัน ดังตัวอย่างเช่น 1 พระบรมวงศานุวงศ์ มีศักดินา 100,000.

สมัยอยุธยาตอนกลางมีอายุกี่ปี

1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) 2. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.1991-2231) 3. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2231-2310)

ข้อใดเป็นลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยาตอนกลาง

ส่วนที่ 1) การปกครองส่วนกลาง การปกครองในเขตราชธานี และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่ กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง) กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี) กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)