นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

          อย่างไรก็ดี หากคุณสนใจอยากจะทำอะไรเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวและสะดวกกับตัวคุณก่อนเช่น การใช้ถุงผ้า การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ หรือการลดการใช้ไฟฟ้า เพราะสิ่งเหล่านี้เราสามารถเริ่มทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง แค่เพียงเท่านี้ก็ทำให้โลกเราน่าอยู่ขึ้นโดยที่มีมลพิษน้อยลงอีกด้วย

Show
7 กรกฎาคม 2564…การมี Passion ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน (Climate Emergency) อย่างจริงจังทำให้ SCG พยายามทุกวิถีทางในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่จะเข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน และทำให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของการกอบกู้โลกได้ด้วยวิธีง่ายๆ แถมยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ 7 นวัตกรรมรักษ์โลกของ SCG ที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นนวัตกรรม “ใกล้ตัว, ใกล้เวลา, ใกล้มือ” ได้ประโยชน์หลายต่อ ทั้งช่วยลดโลกร้อน ประหยัดเงินในกระเป๋า และเพิ่มรายได้อีกด้วย

อยากสร้างบ้านงบไม่บานปลายคุ้มค่าเงินทุกบาท

เชื่อว่าหลายคนอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่กลัวงบบานปลายจากการที่ช่างก่อสร้างทำผิดแบบ สั่งวัสดุมาเกิน กำหนดงานส่งล่าช้า SCG จึงอาสาเป็นตัวช่วยให้คุณมีบ้านในฝันแบบที่คุ้มค่าที่สุด โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดีที่สุด สร้างประโยชน์สองต่อที่นอกจากประหยัดเงินได้แล้วยังช่วยลดโลกร้อน

SCG ได้มีการคิดค้นโปรเจกต์ที่จะนำนวัตกรรมสุดล้ำเข้ามาใช้ในการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ลดเวลาที่ต้องใช้ และลดของเสียที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง เริ่มจาก ‘CPAC Drone Solution’ นวัตกรรมที่จะใช้
โดรนในการประเมินพื้นที่ทั้งความสูงต่ำและสภาพแวดล้อม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนทำการก่อสร้าง

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ซ้ายบน CPAC BIM ซ้ายล่าง CPAC 3D Printing Solution ขวา CPAC Drone Solution

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/cpac-green-construction/

‘CPAC BIM’ เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้เราเห็นภาพรวมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ ตรวจสอบข้อผิดพลาด ติดตามความคืบหน้า ทำให้สามารถลดงานตีกลับ ลดการทำงานซ้ำ และลดความสูญเสียลงได้

และ ‘CPAC 3D Printing Solution’ นวัตกรรมการพิมพ์สามมิติที่สามารถพิมพ์ได้ตั้งแต่รูปโครงสร้างตัวอาคารไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ สามารถช่วยลดระยะเวลาทำงาน ลดการใช้แรงงาน ลดเศษวัสดุในพื้นที่งานก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อพลังงานสะอาดคือหนทางของการลด CO2 ให้เป็นศูนย์

รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย กลายมาเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของใครหลายคนทั้งส่วนบุคคล และที่สำคัญคือภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ

เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเริ่มต้นพัฒนาและเปิดตัวโซลูชันเพื่อธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานกลุ่มองค์กรสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมั่นใจ ด้วยบริการที่ครอบคลุมการใช้งาน

เริ่มตั้งแต่การคัดสรรผู้ผลิต (Suppliers), บริการจัดหา (Sourcing), การจัดเตรียมศูนย์กระจายชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part), การประกอบรถยนต์ (Assembly), การซ่อมบำรุง (Maintenance), การพัฒนาระบบ IoT ในรถยนต์ไฟฟ้า, การสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ (Charging Station) รวมไปถึงเรื่องการเงิน (Finance) เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับลูกค้า

ปัจจุบัน เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล มีบริการจัดหายานยนต์พลังงานไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle) สำหรับลูกค้าธุรกิจและองค์กร เช่น รถยก (EV Forklift), รถบรรทุก (EV Truck and EV Trailer), รถบัส (EV Bus), รถตู้ขนาดเล็ก (EV mini-Van) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (EV Passenger Car)

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/ev-solution-platform/

ล่าสุด CPAC ในธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ได้เปิดตัวนวัตกรรม ‘รถโม่พลังงานไฟฟ้า’(EV Mixer Truck) คันแรกของไทยมาใช้ในการขนส่งคอนกรีตด้วยพลังงานสะอาด ลดมลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยรถโม่พลังงานไฟฟ้านี้สามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 ได้ถึง 45 กรัมต่อการขนส่ง 1 เที่ยว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) กลุ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) ได้ถึง 26.5 ตัน/ปี/คัน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้เพิ่มขึ้น 2,800 ต้น/ปี/คัน เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับรถโม่ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล ปัจจุบัน รถโม่พลังงานไฟฟ้าได้เริ่มใช้งานจริงแล้ว โดยเริ่มในกรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต เป็นลำดับต่อไป

แผงโซลาร์ผลิตไฟฟ้าประหยัดค่าไฟ ลดใช้พลังงานสิ้นเปลือง

อีกด้านหนึ่งของพลังงานสะอาดที่อดพูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือ ‘พลังงานจากแสงอาทิตย์’ แต่ภาพที่หลายคนคิดในหัวน่าจะเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน หรือไม่ก็เป็นการตั้งฐานอยู่บนพื้นดิน แต่รู้มั้ยว่าอีกหนึ่งพื้นที่อย่างผิวน้ำที่ว่างเปล่านั้น ก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้เหมือนกัน

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้เริ่มพัฒนานวัตกรรมทุ่นลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเป็นรายแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2561 จากการเห็นโอกาสของพื้นที่ผิวน้ำว่างเปล่าซึ่งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ จึงนำความเชี่ยวชาญทั้งด้านวัสดุพลาสติก และการออกแบบมาพัฒนาร่วมกับคู่ธุรกิจ จนเกิดเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจรขึ้นมา

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/scg-floating-solar-solutions/

โดยใช้หลักของการติดตั้งทุ่นพลาสติกบนพื้นที่ผิวน้ำเพื่อเป็นฐานให้กับแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งทุ่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ก็ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากจะแข็งแรงและลอยตัวดีแล้ว ทุ่นยังทนทาน สามารถใช้งานได้นานถึง 25 ปี หลังจากนั้นยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แถมยังเป็นวัสดุคุณภาพที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม (Food-contact Grade)

สำหรับผู้ประกอบการที่มีแหล่งน้ำ อาจเป็นบ่อน้ำตามธรรมชาติ บ่อน้ำดิบ หรือบ่อน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว นี่อาจจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถสร้างประโยชน์จากพื้นที่บนผิวน้ำ ได้สร้างความคุ้มค่าจากทรัพยากรที่มี ได้พลังงานสะอาดไปใช้งาน และช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ร่วมลดก๊าซเรือนกระจก

เพื่อก้าวไปอีกขั้นด้วยการสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมให้กับทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่กระบวนการผลิต คู่ค้าทางธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไปจนถึงช่วยทำให้ทุกองค์กรตระหนักถึงเรื่องการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม SCG สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์สีเขียว SCG Green Choice เป็นฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานของ SCG ที่ให้ความสำคัญใน 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน (Climate Resilience) 2. ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและยืดอายุการใช้งาน (Circularity) 3. ส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี (Well-Being)

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/scg-green-choice/

ปัจจุบันมีสินค้าที่ติดฉลาก SCG Green Choice หลากหลายผลิตภัณฑ์ และครอบคลุมทุกความต้องการ ขนาดที่สามารถนำไปสร้างบ้านทั้งหลังได้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุส่วนโครงสร้างที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, แผ่นสะท้อนความร้อน, ฉนวนกันความร้อนช่วยประหยัดค่าไฟ, ฝักบัวและสุขภัณฑ์ที่ลดการใช้น้ำ ไปจนถึงระบบหลังคาโซลาร์ ที่ใช้พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน และช่วยประหยัดค่าไฟ

อยู่บ้านมากขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น ก็ช่วยลดโลกร้อนได้

เพื่อหลีกเลี่ยงโรคระบาด ฝุ่น PM 2.5 และภาวะโลกร้อน ทำให้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในบ้านกันมากขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีความต้องการสูงขึ้นเช่นกัน ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมค่าไฟเฉลี่ยจึงเพิ่มขึ้น 30-50% การติดตั้งโซลาร์เซลล์ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/scg-solar-roof-solutions/

SCG Solar Roof Solutions เป็นอีกบริการที่สามารถช่วยได้ทั้งโลกและกระเป๋าเงินของคุณ ด้วยความเชี่ยวชาญและบริการที่สามารถตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ตั้งแต่บริการออกแบบการติดตั้งเพื่อการผลิตไฟได้สูงสุด, การตรวจสอบความพร้อมของหลังคาก่อนติดตั้ง, นอกจากนี้ ยังติดตั้งโซลาร์รูฟแบบไม่ต้องเจาะหลังคาไม่เสี่ยงรั่ว ด้วยนวัตกรรม Solar Fix รวมทั้งดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ให้ทั้งกระบวนการ และบริการหลังการขายที่พร้อมช่วยเหลือตลอดระยะเวลารับประกัน 25 ปี นวัตกรรมนี้นอกจากจะช่วยให้คุณสามารถลดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 60% แล้วยังสามารถสร้างรายได้จากการรับซื้อไฟคืนจากทางภาครัฐอีกด้วย

เกษตรกรไม่ต้องเผาไร่แถมมีรายได้เพิ่ม

การเผาไร่เพื่อกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ด้วยเหตุผลที่จะทำให้ชาวไร่สามารถเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบถัดไปได้รวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน สิ่งนี้ก็เป็นปัญหามาอย่างเนิ่นนานเช่นกันเพราะการเผาไร่นั้นเป็นต้นกำเนิดของหมอกควันฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในปัจจุบัน

แต่ SCG มองว่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแท้จริงแล้วมีประโยชน์มากกว่านั้น จึงได้เริ่ม ‘โครงการเกษตรปลอดการเผา’ หรือ ‘ZERO BURN’ ขึ้น โดยเปิดรับซื้อผลผลิตการเกษตรเหลือทิ้งจากไร่ ทั้งฟางข้าว ยอดและใบอ้อย และซังข้าวโพดเป็นหลัก เพื่อนำมาอัดแปรรูปให้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) เมล็ดเชื้อเพลิงขนาดเล็กแต่มีความหนาแน่นสูงสำหรับใช้ในหม้อเผาของโรงงานปูนซีเมนต์

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/zero-burn/

โครงการนี้นอกจากจะช่วยลดการเผาไร่ที่ทำให้ก่อมลพิษ และลดโลกร้อนลงได้แล้วเมล็ดเชื้อเพลิงที่ได้นั้นยังถูกนำไปใช้แทนส่วนของถ่านหิน ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงไปได้ แถมขนาดที่เล็กของมันยังสามารถขนส่งได้ทีละมาก ๆ ลดการใช้พลังงานจากการขนส่งได้อีกด้วย

สั่งดิลิเวอรีมากขึ้นแต่ก็มีตัวช่วยจัดการพลาสติกใช้แล้ว

ช่วงหยุดอยู่บ้านหรือ Work from home ทำให้คนหันมาสั่งอาหารผ่านดิลิเวอรีมากขึ้น แน่นอนว่านอกจากปริมาณการใช้ของสินค้าต่าง ๆ แล้ว ปริมาณของบรรจุภัณฑ์อย่างพลาสติกที่ใช้รักษาคุณภาพและขนส่งสินค้าก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

SCG จึงได้วิจัยและพัฒนาการนำพลาสติกใช้งานแล้วที่ผ่านการคัดแยกประเภท ทำความสะอาด มาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง PCR หรือ High Quality Post-Consumer Recycled Resin ภายใต้แบรนด์ SCG Green PolymerTM เพื่อนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์และสินค้าอุปโภคบริโภคใหม่อีกครั้ง รวมถึงเป็นทางเลือกให้กับแบรนด์ผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งล่าสุดได้ร่วมมือกับ ยูนิลีเวอร์ นำพลาสติกจากครัวเรือนที่ไม่ใช้แล้ว มารีไซเคิลเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนองการใช้และหมุนเวียนทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/plastic-pcr/

นอกจากนี้ SCGP ก็ยังได้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ‘R1’ บรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวที่ผลิตจากฟิล์มประกบหลายชั้น โดยแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างกัน เช่น การพิมพ์ กันความชื้น และกันแรงกระแทก แต่ผลิตด้วยพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน ทำให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง โดยได้มีการใช้งานจริงแล้ว เช่น ถุงข้าวสารตราฉัตร

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมง่ายๆ

ชมรายละเอียดที่ https://www.scg.com/climate-emergency/packaging-scgp/

รวมถึง‘Flairosol’ บรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์ที่ให้ฟองละเอียดระดับนาโน และสามารถนำกลับมาบรรจุใหม่ได้หลายครั้ง ออกแบบให้มีรูปทรงและขนาดที่เหมาะสม จับถนัดมือ ใช้งานได้กับของเหลวหลากหลายประเภท ช่วยทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์อัดความดันแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และด้วยนวัตกรรมทั้งหมดก็จะสามารถช่วยลดโลกร้อนจากการลดใช้พลาสติก ลดพลังงานในการผลิต การขนส่งและการกำจัดได้นั่นเอง

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของนวัตกรรมรักษ์โลกจาก SCG ที่พยายามคิดค้น และพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และทำให้ทุก ๆ การเปลี่ยนเพื่อโลกที่แต่ละคนแคร์ เป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป

ติตตามนวัตกรรมเพื่อโลกที่คุณแคร์เพิ่มเติมที่: https://bit.ly/3AujNOshttps

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของนวัตกรรมรักษ์โลกจาก SCG ที่พยายามคิดค้น และพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และทำให้ทุก ๆ การเปลี่ยนเพื่อโลกที่แต่ละคนแคร์ เป็นเรื่องที่ไม่ยากอีกต่อไป

 

 

 

Facebook

Twitter

Line

Brand PurposeClimate ChangeClimate EmergencyESG AgeLifestyle SustainabilitySCGSD PerspectivesSDGsSustainable Developmentจิรพรรณ อัญญะโพธิ์นวัตกรรมลดโลกร้อนผู้บริโภคภาวะโลกร้อนเปลี่ยนเพื่อโลกที่คุณแคร์

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

7 นวัตกรรมพิทักษ์โลก.
1. อุปกรณ์เก็บขยะพลาสติกจากผิวทะเล ... .
2. ทิ้งต้นไม้จากท้องฟ้าโดยใช้โดรน ... .
3. เครื่องดูดคาร์บอนไดออกไซด์ ... .
4. สร้างเนื้อสัตว์ในห้องแล็บ ... .
5. จักรยานออกกำลังกายสร้างพลังงานไฟฟ้า ... .
6. ค้นพบวิธีผลิตโซลาร์เซลล์ราคาถูก ... .
7. สร้างม่านฟองอากาศกำจัดขยะในทางไหลของน้ำ.

นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความหมายอย่างไร

Ecology + Innovation = Eco-Innovation ฉะนั้น นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมก็คือเทคโนโลยี ระบบ หรือการบริการรูปแบบใหม่ที่ใช้งานได้จริงแล้วเกิดประโยชน์ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง

ประดิษฐ์ใดบ้างที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

15 'สิ่งประดิษฐ์รักษ์โลก' ที่จะช่วยกอบกู้โลกของเราให้กลับมาน่า....
1. กระดาษกันน้ำจากใยต้นกล้วย ... .
2. Hobbit Hole. ... .
3. โลงศพที่จะช่วยอนุรักษ์ป่า ... .
4. Thermostat เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ... .
5. บับเบิ้ลกินได้ ... .
6. ถังคัดแยกขยะออกจากน้ำ ... .
7. ฝักบัวประหยัดน้ำ ... .
8. เครื่องสร้างน้ำดื่มจากอากาศ.

เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนมีอะไรบ้าง ยกมาตัวอย่าง

7 เทคโนโลยีสีเขียวช่วยบ้านประหยัดพลังงาน.
1. แผงโซลาร์เซลล์ ... .
2. ถังเก็บน้ำฝน ... .
3. เครื่องทำน้ำอุ่นพลังงานแสงอาทิตย์ ... .
4. โถสุขภัณฑ์แบบคู่ ... .
5. ฉนวนกันความร้อนจากวัสดุธรรมชาติ ... .
6. รางปลั๊กไฟอัจฉริยะ ... .
7. เครื่องควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ.