ไหล่ ติด รักษา ที่ไหน ดี

เกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆข้อไหล่ เกิดการอักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด หรือเกิดจากสาเหตุภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นฉีกขาด กระดูกงอกภายในข้อไหล่ เป็นต้น

อาการข้อไหล่ติด

เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการที่เด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือในเวลากลางคืน อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการเจ็บปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ - 9 เดือน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะอาการปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างชัดเจน   โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 - 9 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ก็ได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือน - 2 ปี

ท่าออกกำลังกายข้อไหล่ติด

1. ท่านิ้วไต่กำแพง

ยืนหันหน้าเข้าผนัง เอาฝ่ามือวางที่ผนังแล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำซ้ำ 10 ครั้ง และทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาพยายามทำให้สูงกว่าเดิม โดยพยายามอย่าเขย่งหรือเอียงตัว จากนั้นให้ทำท่าเดียวกัน โดยให้ยืนหันลำตัวเข้ากำแพง

2. ท่าหมุนข้อไหล่

ยืนก้มลงเล็กน้อย (อาจใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อพยุงตัว) แล้วปล่อยแขนข้างที่มีไหล่ติดห้อยลงตรงๆ ค่อยๆหมุนแขนเป็นวงกลมทำช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

3. ผ้าถูหลัง
ใช้มือจับผ้าทางด้านหลัง โดยใช้มือข้างหนึ่งอยู่ด้านล่าง และอีกข้างอยู่ด้านบน
ใช้มือที่อยู่ด้านบน ดึงผ้าขึ้นให้ได้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง

ไหล่ ติด รักษา ที่ไหน ดี

4. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื่อไหล่และสะบัก

นอนตะแคงเอาข้างไหล่ติดขึ้น ถือน้ำหนักเท่าที่สามารถทำได้ยกน้ำหนักขึ้นลงดังรูปโดยเริ่มจากพื้นจนขนานกับพื้น เวลายกขึ้นลงให้ทำช้าๆ 10 ครั้ง

การดูแลตนเองเบื้องต้น

1. ลดการใช้แขน ไหล่ข้างนั้น โดยพยายามไม่ให้มีการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดจากการใช้งาน และหลีกเลี่ยงการใช้งานแขนและไหล่ที่ไม่เหมาะสมที่เป็นสาเหตุให้มีอาการปวดมากขึ้น

2. ทำกายภาพบำบัดอย่างง่ายด้วยตนเอง เช่น ประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็งผสมน้ำในอัตราส่วนอย่างละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 15 - 20 นาที เมื่อมีอาการปวดและบวม หากมีอาการปวดบวมมาก อาจจะทำการประคบทุกวันในสัปดาห์แรก

ข้อไหล่ติดยึด (Frozen Shoulder) คือ ภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อย โดยมักจะเริ่มจากน้อย ๆ เช่น ไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว่หลังได้สุด ต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยหรือไม่ได้เลย

สาเหตุข้อไหล่ติดยึด

สาเหตุหลักของข้อไหล่ยึดติด การอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) ปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ติดยึดขึ้น เยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวจะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้ลดน้อยลง และมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ

การกระแทกข้อไหล่ การขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน การอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็นโดยรอบข้อไหล่ สามารถนำไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั้งสิ้น เมื่อเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวก็จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ติดยึดในที่สุด


วินิจฉัยภาวะข้อไหล่ติดยึด

ต้องอาศัยการตรวจการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การค้นหาสาเหตุของข้อไหล่ติดยึด เช่น มีการอักเสบ ฉีกขาดของเอ็นภายในข้อไหล่ มีหินปูนเกาะภายในข้อไหล่ ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ติดยึดได้มากขึ้นและรักษายากขึ้น คือ โรคเบาหวานที่ขาดการควบคุมที่ดี


รักษาภาวะข้อไหล่ติดยึด

จุดประสงค์ของการรักษามี 2 ข้อด้วยกัน คือ

  1. ต้องทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้นและลดอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะอาการปวดเวลานอน โดยการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้การติดยึดของข้อไหล่น้อยลง
  2. ขยับได้มากขึ้นโดยอาจใช้ร่วมกับการใช้ความร้อน เย็น หรืออัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ฯลฯ

ส่วนอาการปวด ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ เอ็นในข้อไหล่ ฯลฯ ต้องรับการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยากิน ยาฉีด เข้าข้อ หรือการผ่าตัดส่องกล้อง หรือร่วมกันทั้งนี้ต้องเป็นไปตามสาเหตุของแต่โรคที่เกิดขึ้น


ข้อไหล่ติดแข็ง ผ่าตัดผ่านกล้องรักษาหายได้

ข้อไหล่ติดยึดแข็ง เป็นโรคของข้ออย่างหนึ่งซึ่งจะปวดทรมานมาก มีอาการเริ่มแรกคือ ปวดบวมที่ข้อไหล่ก่อน เวลาเคลื่อนไหวใช้แขนในชีวิตประจำวันจะปวดมากขึ้น ทำให้ไม่อยากจะขยับเขยื้อน นานเข้าข้อไม่ได้ใช้งานจะยึดติดแข็งไปเลย

สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบมากมักเป็นกับหญิงวัยกลางคน มีโรคเบาหวานร่วมด้วยเป็น ๆ หาย ๆ ไม่หายขาด อีกแบบหนึ่งสาเหตุจากมีภยันตรายต่อข้อ อาจจากอุบัติเหตุ และสุดท้ายกับผู้สูงอายุจากความเสื่อมของเอ็นรอบข้อ และปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะไปขูดเอ็นรอบข้อ เวลาข้อเคลื่อนไหวจะทำให้อักเสบได้

ข้อที่อักเสบปวด หากไม่ได้เคลื่อนไหว ทิ้งไว้นานก็จะติดแข็ง กระทบต่อปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างมากคือ ใช้แขนไม่ถนัด โดยเฉพาะท่าที่ยกแขนขึ้นเหนือศรีษะและท่าไพล่หลังจะทำไม่ได้เลย

การรักษาแบบเดิม ๆ คือ การดัดข้อ ซึ่งหากเป็นสาเหตุจากแบบแรก โรคก็จะหายเองได้อยู่แล้ว แต่จะหายไม่ขาด ดัดมากไปอาจทำให้กระดูกหักหรือเอ็นรอบข้อฉีกขาดเพิ่มอีกได้ ยากินแก้ปวด แก้อักเสบ กายภาพบำบัด ยังคงเป็นวิธีการที่รักษากันทั่วไป แบบที่เกิดจากอุบัติเหตุ และความเสื่อมหากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น คงจะต้องเปิดผ่าตัดข้อ เข้าไปเย็บซ่อมเอ็นรอบข้อที่ฉีกขาด ตัดกระดูกที่มีหินปูนออก จะช่วยทำให้ข้อกลับคืนเคลื่อนไหวได้ดังเดิม


ปวดไหล่ อันตรายที่อาจเรื้อรัง

เมื่อพูดถึงหัวไหล่ หลายคนคงสงสัยว่า มีอันตรายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนนี้ได้อย่างไร ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า หัวไหล่เป็นอวัยวะหนึ่งที่เป็นส่วนของข้อที่มีประโยชน์มาก ใช้ในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ มากมาย แต่เนื่องจากข้อหัวไหล่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดของร่างกาย จึงมักใช้หัวไหล่ในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาดร่างกาย การทำงาน รวมทั้งการเล่นกีฬา ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวไหล่จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากมากขึ้น

ไหล่ ติด รักษา ที่ไหน ดี

อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้มากและบ่อยขึ้น โดยอาการปวดอาจจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเป็นเรื้อรัง อาการปวดหัวไหล่อาจมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละโรค อาจมีอาการปวดได้ในบางช่วงเวลา หรือมีอาการปวดตลอดเวลา หลายคนคิดว่าอาการปวดหัวไหล่อาจเกิดขึ้นและหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาการปวดไหล่ก็เป็นอาการนำของภาวะที่เป็นอันตราย เช่น ภาวะหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท ภาวะมะเร็งกระจายมาที่กระดูก รวมทั้งอาจเป็นอาการนำของภาวะโรคที่รุนแรงต้องเข้ารับการผ่าตัด เช่น ภาวะเส้นเอ็นใต้กระดูกสะบักฉีกขาด ข้อไหล่ไม่มั่นคง

นอกจากนี้อาการปวดไหล่ยังทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ภาวะไหล่ติด ข้อเสื่อม ภาวะแคลเซียมเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่ โดยทั่วไปอาการปวดไหล่สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อาการปวดหัวไหล่ที่เกิดจากความผิดปกติของข้อหัวไหล่หรือความผิดปกติที่เกิดจากอวัยวะข้างเคียงที่มีลักษณะอาการปวดร้าวมาที่หัวไหล่หรือบริเวณใกล้เคียงหัวไหล่ เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด วัณโรคปอด กระดูกต้นคอเสื่อม เป็นต้น

อาการปวดหัวไหล่ที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานมักเกิดจากภาวะการอักเสบและเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ กระดูกสะบักด้านหลัง และต้นคอ โดยมีอาการปวดตื้น อาการปวดอาจร้าวไปที่คอ หลัง หรือต้นแขนได้ และอาการที่เกิดขึ้นมักมีความสัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น การพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ การสะพายกระเป๋าหนักเป็นเวลานาน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย ภาวะนี้มักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ แต่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงใด ๆ จึงแนะนำให้สำรวจอาการปวดว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงใด เช่น สะพายกระเป๋านานเกินไป โต๊ะที่ทำงานสูงเกินไป เวลาพิมพ์งานต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและหัวไหล่มากและนานเกินไป

การแก้ไขที่สำคัญ คือ ควรลดหรือแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ในกรณีที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน การยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบักและหัวไหล่จะช่วยลดอาการปวดและตึงตัวของกล้ามเนื้อและช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้

ส่วนอาการปวดหัวไหล่ที่เกิดจากอุบัติเหตุ หัวไหล่มักจะได้รับบาดเจ็บที่รุนแรง ได้แก่ ข้อหัวไหล่เคลื่อน โดยจะมีอาการปวดหัวไหล่ทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะไม่สามารถขยับหัวไหล่ได้ ทำให้หัวไหล่มีลักษณะผิดรูป ภาวะนี้ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากรักษาไม่ถูกต้องอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ข้อหัวไหล่ไม่เข้าที่ กระดูกหักร่วมกับภาวะข้อเคลื่อน ภาวะหัวไหล่ไม่มั่นคง ภาวะเส้นเอ็น เส้นเลือด หรือเส้นประสาทบริเวณหัวไหล่ได้รับบาดเจ็บ

ไหล่ ติด รักษา ที่ไหน ดี

นอกจากนี้อาการปวดหัวไหล่เรื้อรังที่พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยทั่วไปคนสูงอายุมักจะมาพบแพทย์ค่อนข้างช้า และมาพบเมื่อมีอาการมาแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ทำให้อาการปวดหัวไหล่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดเรื้อรัง และในบางครั้งทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น

ภาวะที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะหัวไหล่ติด ภาวะการอักเสบของเส้นเอ็นใต้กระดูกสะบัก โดยทั้งสองภาวะนี้ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดหัวไหล่ที่คล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะปวดหัวไหล่ ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน จะยิ่งปวดมากขึ้นในช่วงเวลานอน อาการที่เกิดจะทำให้นอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ การเคลื่อนไหวของหัวไหล่จะทำได้น้อยลง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ลำบาก โดยเฉพาะการหมุนหรือบิดแขนไปด้านหลัง เช่น ติดตะขอชุดชั้นใน หรือถูสบู่ด้านหลัง

สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติม ก็คือ ภาวะหัวไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้เองหรือเกิดได้จากการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การถูกกระแทกมักเกิดได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ไทรอยด์ และความผิดปกติที่ปอด เช่น วัณโรคหรือจุดที่ปอด ลักษณะจะมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อหัวไหล่ในช่วงแรก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวไหล่ แต่ไม่มีจุดกดเจ็บที่ชัดเจน เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะเป็นมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวข้อหัวไหล่ลำบากมากขึ้น

การเคลื่อนไหวที่ลดลงจะเป็นเกือบทุกทิศทาง ยกแขนได้ไม่สุด โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวในทิศทางบิดหมุนหัวไหล่จะมีการเคลื่อนไหวได้น้อย ทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างยากลำบาก เช่น การถอดหรือใส่เสื้อยืด การถูสบู่ การหยิบของในที่สูง ภาวะนี้สามารถหายเอง มักใช้เวลานานนับปี ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ค่อนข้างลำบากพอสมควรในช่วงเวลาที่มีอาการไหล่ติด

การรักษานอกเหนือจากการใช้ยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการแล้ว การบริหารยืดข้อหัวไหล่จะช่วยทำให้ภาวะนี้หายเร็วขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน เช่น การใช้มือไต่ผนัง การรำกระบอง เป็นต้น ในช่วงแรกที่มีอาการปวดและยังมีหัวไหล่ติดไม่มากนัก การใช้ยาต้านการอักเสบร่วมกับการบริหารข้อหัวไหล่จะได้ผลค่อนข้างดี แต่ถ้าปล่อยให้มีอาการมานาน หัวไหล่เคลื่อนไหวได้น้อยลงอย่างมาก จนการเคลื่อนไหวลดลงทุกทิศทาง การรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน หรือไม่ประสบความสำเร็จในการรักษา ต้องใช้วิธีอื่น ๆ ในการรักษา เช่น การดมยาสลบดัดข้อหัวไหล่ หรือผ่าตัดส่องกล้องข้อหัวไหล่เพื่อตัดและยืดเยื่อหุ้มข้อหัวไหล่ที่หดรัดตัวอยู่


ภาวะเส้นเอ็นใต้สะบักอักเสบ

ภาวะเส้นเอ็นใต้สะบักอักเสบ เป็นอีกภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่ควรแยกออกจากภาวะข้อไหล่ติด เพราะการดำเนินโรคและการรักษามีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีอาการปวดหัวไหล่ที่คล้ายคลึงกับภาวะข้อไหล่ติด มีอาการปวดในเวลากลางคืน แต่อาการปวดของภาวะนี้เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อใต้สะบักและถุงที่อยู่ระหว่างเส้นเอ็นและกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวไหล่จนปวดร้าวลงมาที่แขนได้

อาการปวดมักจะเป็นขึ้นในขณะที่มีกิจกรรมที่ต้องใช้แขนยกเหนือศีรษะ เช่น หยิบกระเป๋าจากชั้นวางของ นอนยกแขนวางบนหน้าผาก และการเคลื่อนไหวอาจจะลดลงในบางทิศทาง แต่ไม่มากเท่ากับภาวะข้อหัวไหล่ติด ภาวะนี้เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การเสื่อมสภาพของเส้นเอ็นหัวไหล่ในผู้สูงอายุ กระดูกสะบักด้านหน้าที่มีลักษณะโค้งมากผิดปกติ หรือกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า รวมไปถึงการได้รับอุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อน เป็นต้น

อาการปวดไหล่สามารถแก้ไขได้ โดยเริ่มต้นที่การสังเกตอาการ ท่าทางของตนเองว่ามีความผิดปกติอย่างไร น่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ง่ายต่อการวินิจฉัยของแพทย์เมื่อต้องทำการรักษาในระยะแรก

ไหล่ติดรักษาประมาณกี่เดือน

โดยปกติแล้วโรคไหล่ติดจะมีอยู่ 3 ระยะคือ อักเสบ ข้อยึด และฟื้นตัว ซึ่งตามทฤษฎีแล้วในแต่ละระยะจะใช้เวลาประมาณ 6-9 เดือน นั่นหมายความว่าหากปล่อยให้หายเองจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี

เอ็นหัวไหล่อักเสบ หายเองได้ไหม

เอ็นหัวไหล่อักเสบ เส้นเอ็นหัวไหล่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ หากฉีกขาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ จะนำไปสู่ภาวะ ข้อไหล่เสื่อมจนต้องผ่าตัด

ไหล่ติด อันตราย ไหม

อาการไหล่ติดแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เช่น การขับรถ การแต่งตัว การนอน การยืดเหยียดหลัง หรือแม้แต่การล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังก็อาจทำไม่ได้ และในบางรายอาจกระทบต่อการทำงาน นอกจากนี้ แม้เข้ารับการรักษาก็อาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือมีโอกาสเกิดแขนหักในระหว่างการ ...

หัวไหล่ติดแก้อย่างไร

หลักการรักษาข้อไหล่ติด.
ให้ยาลดปวด อาจเป็นยากินหรือยาชนิดฉีด.
กายภาพบำบัด ผู้ป่วยต้องทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี.
ผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่รักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ.
การออกกำลังกาย.