หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล

อุปกรณ์เซฟตี้จัดว่ามีความสำคัญมากในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ซึ่งแต่ละลักษณะงานก็จะใช้อุปกรณ์เซฟตี้แต่ละประเภทที่ต่างกันออกไป เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ สำหรับในบทความนี้ทางพีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้อุปกรณ์เซฟตี้ในแต่ละลักษณะงานกันครับ

ประเภทของอุปกรณ์เซฟตี้

1.หมวกเซฟตี้ หรืออุปกรณ์สำหรับป้องกันศีรษะ (Head Protection) ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในลักษณะงานด้านก่อสร้างที่อาจมีวัสดุตกลงมาที่ศีรษะได้ทุกเมื่อ

2.แว่นตานิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Eye Protection) เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าดวงตา อันเป็นอวัยวะที่สำคัญ รวมไปถึงแว่นครอบตาหรือหน้ากากครอบ ป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าดวงตา

3.ปลั๊กอุดหูลดเสียง (Ear Protection) เป็นอุปกรณ์ป้องกันมลภาวะทางเสียงที่อาจเป็นอันตรายต่อแก้วหูจนทำให้หูหนวกได้

4.ถุงมือนิรภัย (Hand Protection) เป็นอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี และป้องกันของมีคม วัสดุมีพิษ ที่อาจพบเจอในการหยิบจับได้ โดยถุงมือมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้

5.รองเท้าเซฟตี้ (Foot Protection) มีตั้งแต่รองเท้าหัวเหล็ก พื้นเหล็กสำหรับป้องกันของแข็งตกหล่น หรือวัสดุมีคมที่หล่นอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงาน และรองเท้าบูท สำหรับป้องกันสารเคมี

6.ชุดป้องกันร่างกาย (Body Protection) สำหรับป้องกันสารเคมี หรือชุดสำหรับป้องกันความร้อน ป้องกันไฟ

7.เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สำคัญในงานเฉพาะด้าน

เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE) หมายถึงอุปกรณ์สาหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทางานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทางานซึ่งโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทางานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน

1.หมวกป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)

 ใช้สำหรับป้องกันศีรษะจากการถูกกระแทกชนหรือวัตถุตกจากที่สูงมากระทบศีรษะมีลักษณะแข็งแรงและทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันออกไปคือใช้ในงานอุสหกรรมทุกประเภทเป็นต้น 

2. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)

ใช้สำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ    เช่น  อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งการทำงานกับเครื่องจักรกล เช่นเครื่องถลุงเหล็ก เครื่องเจาะปูน เครื่องปาดคอนกรีต เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ขนาดใหญ่ที่มีเสียงเกินดังที่หูจะรับได้หรือไม่ก็ในพื้นที่ๆ ควรระมัดระวังเรื่องเสียงเป็นพิเศษ

3.แว่นนิรภัย (Eye Protection)

อุปกรณ์ป้องกันดวงจากสารเคมีหรือวัสดุอื่นขณะปฏิบัติงานซึ้งอาจกระเด็นเข้าตาทำให้ตาบอดได้โดยปกติแว่นตานิรภัยใช้ในวงการอุตสาหกรรมเคมีอุตสาหกรรมงานไม้ อุตสาหกรรมงานเครื่องมือ เครื่องจักรกล งานเชื่อมไฟฟ้า และงานเชื่อมแก็สโดยแว่นตานิรภัยทำจากพลาสติกหรือกระจกนิรภัยไม่แตกกระเด็นเข้าตาผู้ปฏิบัติงาน  

4.ชุดป้องกันสารเคมี (Body Protection)

ใช้สำหรับป้องกันส่วนต่างๆของร่างกาย กรณีเข้าไปปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เป็นกรดมีการสวมใส่โดยแบ่งระดับของความรุนแรงของสารเคมีแลเป็นไปตาม  ข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกาโดยมีรับความรุนแรงตั้งแต่ระดับABC และ D 

 5.หน้ากากกรองฝุ่นละออง (Respirator)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันการหายใจเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น  ใช้กรองฝุ่น ควัน  ฟูมโลหะ กรองก๊าซไอระเหยที่แขวนในอากาศโดยแบ่งไปตามประสิทธิภาพการกรองอากาศและชนิดของไส้กรอง

6.ถุงมือนิรภัย (Hand Protection)

ใช้เพื่อป้องกันมือจากการถูกความร้อน ความสกปรก การกระแทกสะเก็ดไฟ การเสียดสีหรือ การบาดคม ถุงมือนิรภัยมีหลายประเภท เช่น ถุงมือป้องกันงานเลื่อยด้วยมือถุงมือป้องกันงานเครื่องจักร ถุงมือป้องกันทั่วไป ถุงมือป้องกันงานเย็น ถุงมือป้องกันงานเชื่อมและวัสดุที่ใช้ทำถุงมือ เช่น หนังวัว หนังกวาง หนังหมู และหนังแพะ

7.รองเท้านิรภัย (Foot Protection)

 เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อต้านทานแรงกระแทกและแรงบีบบริเวณหัวประกอบด้วยโครงเหล็กใช้สำหรับวัตถุหล่นใส่ป้องกันกระดูกส่วนบนป้องกันอันตรายจากระแสไฟฟ้าป้องกันแรงกระแทกผ่านการทดสอบแรงบีบ พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมันและ กรด ส่วนบนป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า

8.หน้ากากเชื่อม (Face Protection)

 ใช้ป้องกันอันตรายจากแสงและควันซึ่งเกิดจากการเชื่อมไฟฟ้ามีทั้งแบบธรรมดาแลแบบปรับแสงได้ในตัว

9.กระบังหน้า (Face Protection)

 ใช้ป้องกันเศษโลหะกระเด็นถูกใบหน้าในเวลาที่ทำงาน

10.เข็มขัดนิรภัย (Safety Harness)

เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตรายจากการทางานในที่สูงจะมีสายรัดลำตัวคาดตั้งแต่หัวไหล่หน้าอกเอวและขาเกี่ยวติดกับสายช่วยชีวิตเพิ่มความปลอดภัยได้มากเนื่องจากจะเฉลี่ยแรงกระตุกหรือกระชากไปที่ลำตัวด้วยและมักทำจากวัสดุที่มีความอ่อนนุ่มเพื่อช่วยลดแรงกระแทกของลาตัวอีกชั้นหนึ่งด้วย

ความหมายของ PPE

           PPE ย่อมาจาก Personal Protective Equipments หรือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ ในทางกฎหมายจะเรียกว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย” ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายหรือลดความรุนแรงของการประสบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน

ประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้งาน PPE

ตามลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย (hierarchy of controls) การใช้งาน PPE เปรียบเสมือนการมีชั้นป้องกันลำดับสุดท้ายที่ช่วยปกป้องตัวผู้ปฏิบัติงานออกจากอันตรายหรือสิ่งคุกคาม แม้จะเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการป้องกันโดยวิธีอื่น ๆ แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันในระดับบุคคล การไม่สวมใส่ PPE หรือการเลือกใช้ชนิดของ PPE ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะอันตรายหรือลักษณะงาน หรือการใช้งาน PPE อย่างไม่ถูกวิธีในสภาพแวดล้อมที่มีความอันตราย สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บหากประสบอันตรายขณะปฏิบัติงาน และผลกระทบต่อสุขภาพได้

หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล

รูปที่ 1 ลำดับชั้นของการป้องกันอันตรายจากการทำงาน (hierarchy of controls)
(ที่มา: คู่มือความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี สำหรับผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ประสิทธิภาพของการใช้งาน PPE1 (เปรียบเทียบกับการควบคุมอันตรายชนิดอื่น)

การสวมใส่ PPE เป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ควบคุมอันตรายและสิ่งคุกตามในการทำงาน โดยจัดเป็นวิธีการควบคุมอันตรายที่ตัวบุคคล (worker controls) ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการควบคุมอันตรายชนิดอื่น เนื่องจากการใช้งาน PPE อันตรายและสิ่งคุกคามจะไม่ถูกขจัดหรือลดลงแต่อย่างใด แต่ยังคงแฝงอยู่รอบตัวของผู้ที่ใช้งาน PPE สำหรับมาตรการควบคุมอันตรายด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการควบคุมอันตรายที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ การควบคุมที่แหล่งกำเนิด (source controls) เช่น การไม่ใช้งานสารเคมีที่มีความเป็นอันตราย การเลือกใช้งานสารเคมีที่มีความปลอดภัยมากกว่าทดแทนการใช้งานสารเคมีที่มีความเป็นอันตราย การใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ในการทำงาน (ตัวอย่างเช่น การใช้งานตู้ดูดควัน ตู้ชีวนิรภัย, exhaust snorkel) และการควบคุมที่ทางผ่าน (pathway controls) เช่น การระบายอากาศเพื่อเจือจาง (ตัวอย่างเช่น การใช้หมุนเวียน/ เติมอากาศ) การแยกโซนพื้นที่ในการทำงานโดยแยกพื้นที่ที่มีความเป็นอันตรายออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานโดยทั่วไป การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทำงาน ซึ่งหากสามารถควบคุมอันตรายไม่ว่าจะที่แหล่งกำเนิดและที่ทางผ่านได้แล้ว ความจำเป็นในการใช้งาน PPE ก็จะมีความสำคัญลดน้อยลง

หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล

รูปที่ 2 แสดงการควบคุมอันตรายหรือสิ่งคุกคามในบริเวณต่าง ๆ: การควบคุมที่แหล่งกำเนิด (source) การควบคุมที่ทางผ่าน (pathway)
และการควบคุมที่ตัวบุคคล (worker)
(ที่มา: Canadian Centre for Occupational Health and Safety (2018), Hazard Control [online].)
Available at: https://www.ccohs.ca/oshanswers/hsprograms/hazard_control.html (Accessed: 8 December 2021)

การเลือก PPE สำหรับใช้งาน

การเลือกซื้อ PPE สำหรับใช้งาน ควรเลือก PPE ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะอันตรายและลักษณะของงาน มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายสูง มีความเหมาะสมกับขนาดร่างกายของผู้ใช้งาน ต้องไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน มีราคาไม่แพง เก็บและบำรุงรักษาต้องทำได้ง่าย และต้องได้มาตรฐานการใช้งานโดยมีการรับรองจากสถาบันที่มีชื่อเสียง

มาตรฐาน PPE ตามกฎหมายไทย

สำหรับกฎหมายไทย ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 25542 มีการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เหมาะสมกับชนิดหรือประเภทของงานที่ลูกจ้างปฏิบัติ โดยมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกฎหมายไทย มีทั้งสิ้น 9 มาตรฐาน ได้แก่

1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO)
3. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN)
4. มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS)
5. มาตรฐาน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute: ANSI)
6. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS)
7. มาตรฐานสถาบัน ความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH)
8. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)
9. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

ชนิดของ PPE

สำหรับ PPE ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกได้ใหญ่ ๆ ดังนี้

1. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา ป้องกันอันตรายต่อใบหน้าและดวงตาจากการสัมผัสสารเคมี ตลอดจนลักษณะงานที่อาจก่ออันตรายจากการกระเด็นของวัตถุมาถูกหน้าและดวงตา ตัวอย่างเช่น แว่นตานิรภัยทั่วไป (safety glasses) แว่นตานิรภัยแบบครอบดวงตา (safety goggles)
2. อุปกรณ์ป้องกันแขนและมือ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือนิ้วมือและแขน เช่น การสัมผัสสารเคมี ความร้อน ความเย็น ของมีคม ตัวอย่างเช่น ถุงมือ ปลอกแขน
3. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว ป้องกันจากการกระเด็นของสารเคมี การสัมผัสอุณหภูมิที่สูงจัดหรือเย็นจัด เช่น เสื้อคลุมปฏิบัติการ เอี๊ยมคลุมตัว
4. อุปกรณ์ป้องกันเท้า ป้องกันอันตรายที่อาจขึ้นกับเท้า หรือนิ้วเท้า เช่น การกระแทก การสัมผัสสารเคมี การทิ่มแทง ตัวอย่างเช่น รองเท้านิรภัย รองเท้าบู๊ทกันสารเคมี
5. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นที่ศีรษะ เช่น การกระแทกจากวัตถุที่ตกจากที่สูงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ตัวอย่างเช่น หมวกนิรภัย (safety helmet)
6. อุปกรณ์ป้องกันหู ป้องกันเศษวัสดุที่จะกระเด็นเข้าหู และช่วยลดระดับเสียงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักร ตัวอย่างเช่น ที่อุดหู (ear plug) ที่ครอบหู (earmuff)
7. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ป้องกันไม่ให้คนทำงานในที่สูงตกลงสู่เบื้องล่าง ตัวอย่างเช่น เข็มขัดนิรภัย

หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล

รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างของ PPE สำหรับการทำงานในห้องปฏิบัติการ (ที่มา: SHECU (2019), PPE [online].)
Available at: https://www.shecu.chula.ac.th/data/boards/282/P02-PPE.pdf (Accessed: 8 December 2021)

-----------------------------

เอกสารอ้างอิง

1. ปราโมช เชี่ยวชาญ (2014) ‘PPE’, Journal of Safety and Health, 7(25) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com/บทความวิชาการ/รศ.ดร.ปราโมช/PPE.pdf (เข้าถึงเมื่อ 8 ธันวาคม 2564)

2. กระทรวงแรงงาน (2554), ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.fio.co.th/web/document/safetyfio/law2-2.pdf (เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565)