ตัวอย่างสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

Home ทริบเทคนิค/บทความ สาระสำคัญของ สัญญาจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน/นิติบุคคล/บริษัท ควรมีอะไรบ้างดังนี้

  • ทริบเทคนิค/บทความ
สาระสำคัญของ สัญญาจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วน/นิติบุคคล/บริษัท ควรมีอะไรบ้างดังนี้

June 23, 2015

17636

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน 

กฎหมายไม่ได้ระบุว่าสัญญาจะตั้งหุ้นส่วนต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีแบบจะไม่เป็นการทำสัญญากันเป็นหนังสืออะไรก็ได้ปฏิบัติกันเหมือนกับหุ้นส่วนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติต่อกันตั้งแต่ว่าเข้าเป็นหุ้นส่วนแล้ว แล้วเราเข้ามาสิหุ้นทีหลังได้เป็นหุ้นส่วนในเวลาภายหลังก็ได้
สาระสำคัญของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนควรมีอะไรบ้างดังนี้
1.ต้องมีชื่อยี่ห้อของห้างและที่ทำการของห้าง
2.ลักษณะหรือประเภทแห่งกิจการของห้าง
3.วิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือประเภทแห่งกิจการ.
4.วันเริ่มกิจการของห้าง และระยะเวลาของห้างตลอดจนการเลิกห้าง
5.หุ้นและความรับผิดในหุ้นของเป็นหุ้นส่วนแต่ละคน
6.วิธีการคิดกำไรขาดทุน ระยะเวลาของการคิดแบ่งกำไร
7.วิธีดำเนินงาน
8.บัญชีของห้างหุ้นส่วนใครจะต้องรับผิดชอบ.
9.การรับผู้เป็นหุ้นส่วนเข้าและการโอนหุ้น.
10.เรื่องอื่นที่เห็นว่าจำเป็นควรระบุในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
ปรึกษาทนายความจัดตั้งบริษัท 0999170039

Facebook Comments

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ทนายความกฤษดา ดวงชอุ่ม

สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ไม่ได้กำหนดไว้โดยกฎหมาย. สัญญาประเภทนี้เป็นสัญญาทั่วไปและเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจ. เมื่อบริษัทไทยหรือต่างประเทศสองแห่งร่วมกันให้บริการผลประโยชน์ของตนในลักษณะที่จำกัดอย่างเคร่งครัด, คุณควรร่างและเข้าสู่ สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กับบริษัทดังกล่าวเพื่อประโยชน์สูงสุดของคุณ. ขึ้นอยู่กับธุรกิจของบริษัทของคุณและลักษณะของการเป็นหุ้นส่วนของคุณ, การร่าง สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ทางธุรกิจที่น่าสนใจต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย. เรายังเสนอความเป็นไปได้ในการดาวน์โหลด สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษในรูปแบบคำที่แก้ไขได้และร่างอย่างมืออาชีพ.

📄  เอกสารที่เกี่ยวข้อง


สัญญาบริการสัญญาซื้อขายสัญญาจ้างที่ปรึกษาสัญญารักษาความลับทางธุรกิจ


ต้องการคำแนะนำ ?

สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน มีอะไรบ้าง?

ไม่มีการกล่าวถึงภาคบังคับและข้อกำหนดต้องห้ามบางประการสำหรับสัญญาฉบับนี้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ. ดังนั้นจะเขียน สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ทางการค้าในประเทศไทยพร้อมข้อกำหนดที่จำเป็นทั้งหมดได้อย่างไร? ต่อไปนี้คือข้อกำหนดที่สำคัญสำหรับ สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ของคุณ:

การระบุตัวตนของคู่สัญญา: ชื่อของคู่สัญญาและตัวตนของคู่สัญญาจะต้องรวมอยู่ในสัญญา, พร้อมแนบหนังสือรับรองบริษัทและบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงลายมือชื่อด้วย.

วัตถุประสงค์ของสัญญา: เพื่อให้มั่นใจว่ากรอบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของพวกเขาได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนที่สุด. ยิ่งชัดเจนมากเท่าใด, ความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น. โดยการร่างสัญญานี้อย่างชัดเจนและแม่นยำ, คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่. ข้อกำหนดต่อไปนี้เน้นย้ำถึงภาระผูกพันและข้อตกลงที่เกี่ยวข้องของคู่สัญญาและระบุข้อจำกัดความรับผิดของแต่ละฝ่าย.

ข้อการรักษาความลับ: เพื่อที่จะรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของตน, คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายควรแทรกข้อกำหนดการรักษาความลับหรือลงลายมือชื่อในสัญญารักษาความลับทางธุรกิจควบคู่ไปกับ สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน.

ระยะเวลาของความสัมพันธ์ทางการค้า: เช่นเดียวกับสัญญาอื่นๆ ห้างหุ้นส่วนทางการค้ากล่าวถึงระยะเวลาที่แน่นอนหรือไม่แน่นอน. ข้อกำหนดนี้สามารถระบุเงื่อนไขการยกเลิกและการต่ออายุโดยปริยาย.

เงื่อนไขการยกเลิก: คู่สัญญาอาจระบุในสัญญาด้วยเหตุผลของการบอกเลิกก่อนกำหนด. โดยข้อกำหนดนี้เป็นประโยชน์สำหรับการยุติความสัมพันธ์ตามสัญญาที่ไม่น่าพอใจโดยไม่ต้องขึ้นศาล.

กฎหมายที่ใช้บังคับและอำนาจศาล: ข้อกำหนดนี้ทำให้สามารถจัดระเบียบขั้นตอนในการระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเวลา.

วันที่และลายเซ็นของตัวแทนทางกฎหมายของบริษัท: เมื่อคู่ค้าเสนอ สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ที่ร่างไว้แล้ว, ผู้ทำสัญญาร่วมต้องตรวจสอบข้อกำหนดต่อไปนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้รับทราบข้อผูกพัน.

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือสัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองนั้น โดยที่ห้างหุ้นส่วน คือรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

โดยที่ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์ (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือ แรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนมี 3 ประเภทซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

(ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน การเข้าหุ้น และการแบ่งผลกำไรและขาดทุน

กำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)

ผู้เป็นหุ้นส่วนควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน โดยอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนยึดถือสัญญาไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ รวมถึงเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยอีกหนึ่งฉบับ ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในสัญญาดังกล่าวควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของหุ้นส่วนทุกคนที่หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

ผู้เป็นหุ้นส่วนติดอากรแสตมป์ที่หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามอัตราและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจสามารถเกิดขึ้นได้ หากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนดังกล่าวก็ควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อกำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน รวมถึงวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนของห้างหุ้นส่วนนั้น

อนึ่ง ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ห้างหุ้นส่วนจึงจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป