สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

คอลัมน์ประจำ

ล้านนาคำเมือง : “สะล้อ”

Facebook

Twitter

Google+

LINE

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

ที่มามติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 - 31 พฤษภาคม 2561คอลัมน์ล้านนาคำเมืองผู้เขียนชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เผยแพร่วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2561

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

อ่านป็นภาษาล้านนาว่า “สะล้อ”
สะล้อเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีของล้านนา กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าวคล้ายซออู้ของภาคกลาง แต่คันชักของสะล้อจะมีความแตกต่างกันกับซออู้
กล่าวคือ คันชักจะอยู่นอกสายสะล้อ
คันชักดังกล่าว แต่เดิมที่ใช้หางม้าทำสาย แต่ปัจจุบันหางม้าหายากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็กๆ ทดแทน
สมัยโบราณจะเอาหางม้าถูกับขี้ชันขะย้า ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนยางสน นำมาถูไปมาที่หางม้าหรือสายเอ็นเพื่อให้เกิดความฝืด ในการเสียดสีทำให้เกิดเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของสะล้อคือ กล่องเสียงซึ่งทำจากกะลามะพร้าว
ตัดกะลาออกเสียด้านหนึ่งแล้วใช้แผ่นไม้บางปิดแทนการขึ้นหนัง และส่วนโค้งของกะโหลกด้านหลัง เจาะเป็นรู เพื่อให้เสียงสามารถดังกังวานออกมาได้
คันสะล้อนิยมทำด้วยไม้สัก ปัจจุบันไม้สักมีราคาค่อนข้างสูง จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งอื่นๆ ทดแทน
โดยปกติคันสะล้อจะยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดเพื่อใช้ปรับสายอยู่ด้านบนเจาะรูเสียบทะแยงไปในคัน สะล้อนิยมทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็มีอยู่บ้าง
ในบางท้องถิ่นตามหลักฐานโบราณ พบว่าในโคลงนิราศหริภุญชัย เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า ธะล้อ
สันนิษฐานว่าชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีนี้น่าจะมาจากภาษาขอม ว่า ทรอ
ซึ่งทางภาคกลางอ่านว่า ซอ แต่ทางล้านนาแยกเสียงอ่านเป็นสองพยางค์ จึงมีพัฒนาการชื่อจาก ทรอ-ทะลอ -ธะลอ -ธะล้อ
และเป็น สะล้อ ในที่สุด

ปัจจุบันสะล้อมี 3 ขนาด ตามขนาดของกะลามะพร้าว คือ สะล้อหลวง สะล้อกลาง และสะล้อเล็ก
ที่นิยมบรรเลงกันอย่างแพร่หลายคือ คือ สะล้อหลวง และสะล้อกลาง ส่วนสะล้อเล็กไม่เป็นที่นิยมนัก ใช้บรรเลงร่วมกับ ซึง เรียกว่า วงสะล้อซึง
ซึ่งเป็นวงที่มีเสียงจากเครื่องสายเป็นหลัก นิยมใช้เล่นกันตามท้องถิ่นภาคเหนือโดยทั่วไป และมีเครื่องดนตรีอื่นๆ เข้ามาประกอบอีกด้วย เช่น ปี่ก้อย ขลุ่ย กลอง ฉิ่ง ฉาบ นิยมใช้บรรเลงเพลงพื้นบ้านที่ไม่มีการขับร้อง เช่น เพลงประสาทไหว ล่องแม่ปิง เป็นต้น
แต่ปัจจุบันสามารถใช้บรรเลงเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง ด้วย
ยังมีสะล้ออีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมเล่นในจังหวัดน่านและแพร่ เรียกว่าสะล้อเมืองน่าน มีลักษณะแตกต่างออกไป คือ มีลูก (นม) บังคับเสียง ใช้บรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า “พิณ” (อ่านว่า “ปิน”) ประกอบการขับซอน่าน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของล้านนาอย่างยิ่ง วงสะล้อ-ซึง จึงมีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการบรรเลงประกอบละครร้องและฟ้อนรำ จึงถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ และแพร่กระจายจากวังสู่ชาวบ้าน
อีกประการหนึ่งซึ่งต้องกล่าวถึง คือการใช้วงสะล้อ-ซึง ประกอบพิธีกรรมและความเชื่อ คือบรรเลงประกอบประเพณีฟ้อนผี ซึ่งแต่เดิมไม่นิยมใช้บรรเลงเพราะมีเสียงเบา
ภายหลังเมื่อมีเครื่องขยายเสียง จึงทำให้ วงสะล้อ-ซึง มีบทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมนี้อีกโสดหนึ่ง

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

ใต้ภาพ
สมเด็จพระเทพฯ สีสะล้อสองสายของบ้านเฮา
แปลว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงสะล้อประเภทสองสายของบ้านเรา

Facebook

Twitter

Google+

Line

ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

วงสะล้อซอซึง
         วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถึอว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่นล้านนา
         ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง ( ขลุ่ยตาด ) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง ( ซอ ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้
                  สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสี
                  ซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง
                  ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการดีด
         สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุมาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอดคันทวนที่ทำด้วยไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัดอกทำด้วยหวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2 หรือ 3 อัน สำหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของกะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชักสะล้อทำด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยางสนถูทำให้เกิดเสียงได้ สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับปี่ในวงช่างซอ เข้ากับซึงในวงพื้นเมืองก็ได้
         ซอ เป็นการขับร้องทำนองของคำซอ โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าซอเป็นเครื่องดนตรีแต่ไม่ใช่ ซอเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งวงสะล้อ ซอ ซึง การขับซอ เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ
         ซึง เป็นประเภท ดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ
         แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง(ซึงที่มีขนาดใหญ่) แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก3 และซึงลูก4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน) อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง,การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

http://www.itrmu.net/web/10rs24/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=16
สะล้อเป็นเครื่องดนตรีของภาคใด

สะล้อเป็นเครื่องดนตรีอยู่ในภาคใด

เครื่องดนตรีหลักในวงประกอบด้วย “สะล้อ” หรือ “ทร้อ” เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภท”เครื่องสี” ซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามอู้ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาทำหลักที่หัวสำหรับพาดทองเหลืองด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุมาน รูปหัวใจ ส่วน ...

สะล้อ เสียงแบบไหน

- สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็ก และสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ำบทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก - สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก - สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผน สอดรับกับเสียงซึงและขลุ่ย

ละล้อเป็นเครื่องดนตรีภาคใด

สรุปได้ว่า สะล้อเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีพื้นบ้านล้านนา นิยมบรรเลงในกลุ่มนักดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ และนำมาบรรเลงเดี่ยวหรือนวงสะล้อซอซึง สะล้อมี 3 ขนาดคือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ คันทวน กะโหลก และคันชัก ในการบำรุงรักษาสะล้อ มีข้อควรคำนึงที่สำคัญหลายประการ เช่น การหย่อนสายเมื่อ ...

สะล้อเล่นในวงอะไร

วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถึอว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่นล้านนา