โครงสร้างหน่วยงานความปลอดภัย

ขั้นตอน 2.3 โครงสร้างและความรับผิดชอบ

ตามข้อกำหนด 4.5.1 โครงสร้างและความรับผิดชอบ

4.5.1.1  องค์กรต้องกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของลูกจ้างทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย รวมทั้งจัดทำเป็นเอกสารและเผยแพร่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภายในองค์กรทราบ

ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

4.5.1.3 ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นำในการแสดงความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และดูแลให้มีการปรับปรุงระบบการ จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

โครงสร้างหน่วยงานความปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อมอบหมายุอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ภายในองค์กร
2. เพื่อระบุภาระหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับ
โครงสร้างบริหาร และสายบังคับบัญชา

กิจกรรม

1. กำหนดโครงสร้างการบริหารงานอชป.ที่แสดงภาพรวมของสายบังคับบัญชา อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในองค์กร

         โครงสร้างผังบริหารสายบังคับบัญชา
          @ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ และ
          @ โรงพยาบาลสงขลานครินทร

2. กำหนดภาระหน้าที่ (job description) ของพนักงานระดับต่างๆด้านอชป.ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพนักงานทั่วไป และเผยแพร่ให้บุคคลที่เกี่ยว ข้องภายใน องค์กรทราบดังนี้

โครงสร้างหน่วยงานความปลอดภัย

2.1 คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • สำรวจด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3 เดือนครั้ง
  • รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรภายในและภายนอกที่เข้ามาใช้บริการในคณะแพทยศาสตร์
  • ส่งเสริม สนับสนุนด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • จัดทำโครงการ หรือกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยและโรค จากการทำงาน
  • กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับ
  • ติดตามผลความคืบหน้ารายงานต่อผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรทุกระดับในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ต่อผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์

2.2 ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational health and safety management representative- OH&SMR)

OHSMR มีหน้าที่มีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้ี้

  • เสนอระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมทั้งกระตุ้นให้มีการดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานมอก. 18000
  • ติดตามและสรุปผลการดำเนินการระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมอก. 18000 เสนอคณะกรรมการ มอก. 18000
  • กำกับและติดตามเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    มอก. 18000

2.3 หัวหน้างาน

หัวหน้างานมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานรับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  • สอนวิธีการปฏิบัติงานให้ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญของลูกจ้างร่วมกับคณะกรรมการ อาชีวอนามัยฯ และรายงานพร้อมข้อเสนอแนะ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงาน
  • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่คณะกรรมการอาชีวอนามัยฯ มอบหมาย
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงานในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในหน่วยงาน

2.4 บุคลากรระดับวิชาชีพ

บุคลากรระดับวิชาชีพมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องทำงานด้วยความสำนึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดเสียหายต่อเจ้าของพื้นที่ทันที
  • บุคลากรระดับวิชาชีพต้องเอาใจใส่ ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการทำงานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เมื่อมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เสนอต่อเจ้าของพื้นที่ทันที
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรทุกระดับในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

2.5 พนักงานระดับปฏิบัติการ

พนักงานระดับปฏิบัติการมีภาระหน้าที่ (job description) ดังต่อไปนี้

  • พนักงานทุกคนต้องทำงานด้วยความสำนึกถึงความปลอดภัยอยู่เสมอทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • พนักงานทุกคนต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดเสียหายต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง
  • ต้องเอาใจใส่ ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการทำงานอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เมื่อพนักงานมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยให้เสนอผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง
  • พนักงานทุกคนต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จัดให้ และแต่งกายให้เหมาะสมกับงานตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
  • พนักงานทุกคนต้องไม่ปฏิบัติงานที่ไม่เข้าใจและก่อให้เกิดอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าทำอย่างไรจึงปลอดภัย
  • ต้องศึกษางานที่ปฏิบัติว่าอาจเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายใดที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น

โครงสร้างหน่วยงานความปลอดภัย

การจัดองค์กรความปลอดภัยคืออะไร

การจัดองค์กรความปลอดภัยและหน้าที่ความรับผิดชอบ ( Safety Responsiiliy and functions) หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันหรือประกอบกิจการ โดยมีความรับผิดชอบร่วมกัน และปฏิบัติการแบบแผนที่กำหนดขึ้น ซึ่งตามความหมายนี้ ได้แก่ หน่วยงานความปลอดภัยและคณะกรรมการความปลอดภัย ฯที่จัดขึ้นสถานประกอบการจัดองค์กรความปลอดภัย ฯ โดยใช้กำลังคนมากน้อย ...

หน่วยงานด้านความปลอดภัยในองค์การมีหน้าที่อะไรบ้าง

หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ดังนี้ (1) วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (2) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย และการควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง

ข้อใดเป็นองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ...

โครงสร้างระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีองค์ประกอบ 8 ประการอะไรบ้าง

#1: ทำการประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุม.
#2: ตรวจสอบขั้นตอนการล็อก / แท็กเอาต์เฉพาะอุปกรณ์.
#3: ดูแลงานไฟฟ้า.
#4: เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานที่ความสูง.
#5: หลีกเลี่ยงการทำงานที่ร้อนแรง.
#6: บังคับใช้การยกและการจัดการที่ปลอดภัย.
#7: โอบกอดเทคโนโลยีเซนเซอร์และการทำให้เป็นดิจิทัล.
#8: การจัดการผู้รับเหมา.