การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

แผนที่พื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับ สนับสนุนงานวางแผนการใช้ที่ดินด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543...

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 15 พฤษภาคม 2565  

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาการกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 แยกเป็นรายชนิดข้าว รายจังหวัด และรายอำเภอสำหรับการประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่ทั้งสิ้น 59. ล้านไร่ ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิ 26 ล้านไร่ข้าวหอมประทุมธานี (ข้าวหอมไทย) 1.8 ล้านไร่ ข้าวขาว (ข้าวเจ้า) 15.5 ล้านไร่ ข้าวเหนียว 15.7 ล้านไร่ ข้าวตลาดเฉพาะ 0.4 ล้านไร่

“ข้าว” นับเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ทั้งในด้านการบริโภค (ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย) และการเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศไทย อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค เนื่องจากเป็นพืชเกษตรหลักของประเทศ ที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด (คิดเป็น 45.2% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศ) และมีจำนวนครัวเรือนที่มากถึง 4.3 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 74.4% ของจำนวนครัวเรือนภาคเกษตรทั้งหมด [1] ด้วยเหตุนี้ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากรัฐบาลมาโดยตลอด โดยมีนโยบายช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ทั้งนโยบายด้านราคา (Price policy) อาทิ การประกันราคาข้าว การรับจำนำข้าว และโครงการช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว เป็นต้น

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวสำคัญของโลกมายาวนาน ในปี 2562/2563 ไทยมีผลผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยปริมาณผลผลิตข้าวสารของไทยคิดเป็น 4.2% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (รองจากจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และเวียดนาม ซึ่งมีสัดส่วนปริมาณผลผลิต 29.3%, 23.1%, 7.5%, 7.1% และ 5.6% ตามลำดับ) และไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 21.0% รองจากอินเดียซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 25.2% และยังมีคู่แข่งอื่นๆ อาทิ เวียดนาม ปากีสถาน สหรัฐฯ    เมียนมา เป็นต้น (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าข้าวในตลาดโลกมีสัดส่วนเพียงประมาณ 9.6% ของผลผลิตข้าวทั่วโลก (ภาพที่ 2) เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ (ใช้บริโภค) เป็นหลัก ดังนั้นปริมาณการค้าข้าวระหว่างประเทศ (การส่งออก-นำเข้า) จึงเป็นเพียงผลผลิตส่วนเกินและ/หรือส่วนขาดจากการบริโภคในแต่ละประเทศ ภาวะตลาดส่งออกจึงมักผันผวนตามปริมาณผลผลิตและการบริโภคในประเทศผู้ส่งออกและนำเข้า   

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวไทย

ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวของไทย ประกอบด้วย

  1. ธุรกิจต้นน้ำ คือ การปลูกข้าว มีเกษตรกรรายย่อยที่เกี่ยวข้องกว่า 4.3 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ผลผลิตที่ได้ในขั้นนี้จะอยู่ในรูปข้าวเปลือก ซึ่งข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้มักจะขายสู่ตลาดทันที เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มียุ้งฉางในการเก็บรักษาข้าว ทำให้เกษตรกรค่อนข้างเสียเปรียบในการต่อรองราคาจำหน่าย โดยช่องทางการจำหน่ายข้าวเปลือกของเกษตรกรมี 2 ช่องทาง คือ การขายให้กับโรงสีข้าวบริเวณใกล้เคียง และ การขายผ่านตัวกลางค้าข้าว อาทิ สหกรณ์การเกษตร ตลาดกลางค้าข้าว และพ่อค้ารวบรวมข้าวเปลือก ซึ่งจะเป็นผู้นำข้าวเปลือกไปจำหน่ายให้โรงสีอีกทอดหนึ่ง (เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ขนข้าวไปจำหน่ายให้กับโรงสีโดยตรง เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง)
  2. ธุรกิจกลางน้ำ คือ โรงสีข้าว เป็นการนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร (ข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม สามารถสีเป็นข้าวสารได้ประมาณ 0.6-0.7 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว - ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ปัจจุบันโรงสีข้าวในประเทศไทยมีปัญหากำลังผลิตส่วนเกินสูง มีกำลังสีข้าวรวมทั้งระบบถึงกว่า 100 ล้านตันหรือกว่า 3 เท่าของปริมาณผลผลิตข้าวของไทย (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) โดยโรงสีข้าวขนาดใหญ่ (กำลังการสีข้าวมากกว่า 20 ตันข้าวเปลือก/วัน) ที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีการสี/ปรับสภาพข้าวและไซโลเพื่อเก็บสต็อกข้าว มักเป็นธุรกิจในเครือของผู้ส่งออกข้าวหรือรับจ้างสีหรือปรับปรุงคุณภาพข้าวให้กับผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของประเทศ ส่งผลให้มีความได้เปรียบด้านตลาดและมีกำลังสีส่วนเกินต่ำกว่าโรงสีข้าวขนาดเล็ก (กำลังการสีข้าวน้อยกว่า 20 ตันข้าวเปลือก/วัน)
  3. ธุรกิจปลายน้ำ หมายถึงผู้ค้าข้าวสารที่ซื้อข้าวสารจากโรงสีเพื่อไปจำหน่ายต่อทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก มีทั้งการขายผ่านนายหน้าค้าข้าว (หรือ “หยง”) ซึ่งเป็นคนกลางในการซื้อขายและรวบรวมข้าวจากโรงสีให้กับผู้ส่งออกหรือพ่อค้าขายส่งในประเทศ โดยมีพ่อค้าขายปลีก (หรือผู้ค้าข้าวสารตัก) และผู้ผลิต/จำหน่ายข้าวบรรจุถุง เป็นผู้ประกอบการขั้นสุดท้ายที่กระจายข้าวสู่ตลาดในประเทศ ขณะที่ในตลาดส่งออกจะมีบริษัทนำเข้าในประเทศคู่ค้าเป็นผู้กระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง (ปัจจุบันสัดส่วนการจำหน่ายข้าวของไทยเป็นการจำหน่ายเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกในสัดส่วนใกล้เคียงกัน)
 
การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564
การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564
 

รอบปีเพาะปลูก 2561/62 ไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งสิ้น 71.9 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการปลูกข้าวของไทยเน้นพึ่งน้ำฝน มีช่วงเวลาเพาะปลูกสำคัญในฤดูฝนช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.ของทุกปี และเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี เรียกว่า “ข้าวนาปี” มีผลผลิตทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และข้าวเหนียว ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 83% ของผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศในแต่ละรอบปีการเพาะปลูก ส่วนที่เหลือประมาณ 17% เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งซึ่งต้องอาศัยน้ำจากระบบชลประทาน เรียกว่า “ข้าวนาปรัง” มักเพาะปลูกในภาคเหนือและกลาง[2][3]

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

ในภาวะปกติ ผลผลิตข้าวของไทยมีปริมาณเฉลี่ยปีละ 31-33 ล้านตันข้าวเปลือก นำไปสีเป็นข้าวสารได้ประมาณ 20-22 ล้านตัน ใช้ในการบริโภคภายในประเทศสัดส่วนประมาณ 53% ของผลผลิตข้าวสารที่ผลิตได้ทั้งหมด (ส่วนที่เหลือส่งออก) ในจำนวนนี้แบ่งเป็นข้าวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม (อาทิ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แป้งข้าว ขนมขบเคี้ยวจากข้าว การผลิตไฟฟ้าชีวมวล การผลิตเอทานอล เป็นต้น) สัดส่วน 30-40% ของความต้องการบริโภคข้าวในประเทศทั้งหมด ที่เหลือประมาณ 60-70% เป็นข้าวสำหรับบริโภค โดยมีช่องทางการจำหน่ายสู่ผู้บริโภค 2 ช่องทาง คือ 1) ร้านจำหน่ายข้าวสารแบบดั้งเดิม (ข้าวสารตักแบ่งขาย) ที่ยังคงเป็นช่องทางจำหน่ายหลักในพื้นที่ต่างจังหวัด (มีสัดส่วน 50-55% ของการจำหน่ายข้าวสำหรับบริโภคของไทยทั้งหมด) และ 2) การจำหน่ายในลักษณะข้าวบรรจุถุง (สัดส่วน 45-50%) ที่ผ่านมาตลาดข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศมีตลาดค่อนข้างแน่นอนและมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งความนิยมบริโภคข้าวบรรจุถุงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในชุมชนเมือง ทำให้มีผู้ประกอบการเข้าสู่ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น [4] โดยเฉพาะโรงสีข้าวและผู้ส่งออกข้าวที่หันมาขยายตลาดในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของรายได้ในตลาดส่งออก รวมทั้งผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ (อาทิ เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเต็ม (ตรา Tesco) สยามแม็คโคร (ตรา aro)) ที่ผลิตข้าวบรรจุถุงเฮ้าส์  แบรนด์ (House Brand) [5] เข้ามาแข่งขันในตลาดข้าวบรรจุถุงและสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้เป็นลำดับโดยอาศัยความได้เปรียบด้านช่องทางการจำหน่าย และกลยุทธ์ราคา (ส่วนหนึ่งเนื่องจากการจำหน่ายข้าวบรรจุถุงเฮ้าส์แบรนด์ไม่มีต้นทุนค่าวางสินค้าจำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่เหมือนกับข้าวบรรจุถุงทั่วไป และยังมีต้นทุนในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่ำกว่า)

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

สำหรับการส่งออกข้าวของไทยมีปริมาณใกล้เคียงกับการบริโภคในประเทศ โดยข้าวไทยยังคงได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก มีตลาดส่งออกสำคัญ คือ เบนิน จีน สหรัฐฯ ทวีปแอฟริกา อาเซียน และตะวันออกกลาง ทั้งนี้ ประเภทข้าวที่ไทยส่งออกเป็นปริมาณมาก คือ ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ และ ข้าวนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างตลาดส่งออก ดังต่อไปนี้

  • ข้าวขาว เป็นข้าวราคาถูกที่มีปริมาณการค้าสูงสุดในตลาดโลก สัดส่วนประมาณ 55-60% ของปริมาณการส่งออกข้าวของโลก แบ่งเป็นข้าวขาวเกรดต่างๆ ที่มีราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสัดส่วนข้าวหัก (หากมีข้าวหักปนอยู่มากราคาจะต่ำลงตามลำดับ) [6]
    • ปริมาณการส่งออกข้าวขาวของไทยมีสัดส่วน 45-50% ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย หรือประมาณ 4.5-5.0 ล้านตันข้าวสาร/ปี ตลาดส่งออกหลักอยู่ในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา อาทิ ญี่ปุ่น นิยมนำเข้าข้าวขาว 100% ขณะที่ประเทศอาเซียนและประเทศในแถบแอฟริกานิยมบริโภคข้าวขาวคุณภาพรองลงมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 5-10%
    • การส่งออกข้าวขาวในตลาดโลกมีภาวะการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงจากทั้งอินเดีย เวียดนาม กัมพูชา และ เมียนมา ซึ่งประเทศเหล่านี้มีต้นทุนการผลิตและราคาขายต่ำกว่าไทย ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด (แม้คุณภาพข้าวจะด้อยกว่าไทย) อีกทั้งปัจจุบันตลาดนิยมข้าวขาวพื้นนิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นข้าวที่ไทยมีการผลิตสัดส่วนน้อยเพียง 10% ของผลผลิตข้าวขาวของไทย ทำให้ไทยยิ่งเสียเปรียบคู่แข่ง โดยเฉพาะกับเวียดนามและกัมพูชาที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวพื้นนิ่มในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ ข้าวขาวเมล็ดยาวพันธุ์ 5141 และ ข้าว Nang Hua ของเวียดนาม ขณะที่กัมพูชามีการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนิ่มร่วมกับจีน
  • ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวเกรดพรีเมี่ยมราคาสูง ในแต่ละปีมีปริมาณการค้าข้าวหอมมะลิในตลาดโลกสัดส่วนเพียง 12-14% ของปริมาณส่งออกข้าวทั่วโลกข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวเกรดพรีเมี่ยมราคาสูง ในแต่ละปีมีปริมาณการค้าข้าวหอมมะลิในตลาดโลกสัดส่วนเพียง 12-14% ของปริมาณส่งออกข้าวทั่วโลก
    • ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11-15%7/ ของปริมาณส่งออกข้าวในแต่ละปี หรือมีปริมาณส่งออกปีละประมาณ 1.3-1.6 ล้านตันข้าวสาร ตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ (สัดส่วน 33% ของปริมาณส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย) จีน และฮ่องกง
    • แม้ไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิรายใหญ่ของโลก แต่ปัจจุบันไทยต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้นเป็นลำดับจากประเทศคู่แข่งที่พัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพใกล้เคียงกับไทย อาทิ ข้าวบาสมาติของอินเดีย ข้าวกลิ่นหอมของสหรัฐฯ หรือ American Jasmine (อาทิ ข้าวพันธุ์ Arborio, Black Japonica, Della, Dellrose, Delmont, Jasmati Texmati, Jazzman เป็นต้น) ข้าวผกาลำดวนของกัมพูชา ข้าวหอม KDM (Khao Dok Mali) และข้าวหอมพันธุ์ ST21 ของเวียดนาม เป็นต้น
  • ข้าวนึ่ง[8] การค้าข้าวนึ่งในตลาดโลกมีสัดส่วนประมาณ 14-18% ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดในตลาดโลก ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา (สัดส่วน 85% ของการบริโภคข้าวนึ่งทั่วโลก) และตะวันออกกลาง
    • ปริมาณการส่งออกข้าวนึ่งของไทยคิดเป็นสัดส่วน 23-28% ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด ที่ผ่านมาการส่งออกข้าวนึ่งของไทยมีภาวะผันผวนตามปริมาณผลผลิต นโยบายรัฐบาลไทย และนโยบายประเทศคู่ค้า
    • ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวนึ่งอันดับสองของโลกรองจากอินเดีย[9] โดยการส่งออกข้าวนึ่งของไทยยังเผชิญการแข่งขันรุนแรงจากอินเดีย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตและราคาส่งออกที่ต่ำกว่าไทย

นอกจากนี้ ไทยยังมีการส่งออกปลายข้าว10/ ประมาณ 1.1-1.5 ล้านตัน/ปี เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งและอาหารสัตว์ โดยมีตลาดส่งออกหลัก คือ จีน และประเทศในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังมีการส่งออกข้าวเหนียวและข้าวกล้อง ซึ่งมีปริมาณการส่งออกไม่มากนัก (รวมกันประมาณ 0.3-0.4 ล้านตัน/ปี) เนื่องจากเป็นข้าวที่บริโภคในประเทศเป็นหลัก

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

 

จากสภาพการผลิตและการค้าข้าวในตลาดโลกข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันในตลาดค้าข้าวโลกทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวของไทยซึ่งยังต้องพึ่งพาตลาดส่งออก (สัดส่วน 47% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมข้าวของไทยยังเผชิญกับความผันผวนของผลผลิตและทิศทางราคาข้าว อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ 1) นโยบายการนำเข้าข้าวของประเทศคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทยส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวรองรับความต้องการบริโภคภายในประเทศ 2) สภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวโลก และ 3) นโยบายเกี่ยวกับการแทรกแซงราคาข้าวของไทยที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก

 

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

 

 

สถานการณ์ที่ผ่านมา

 

การบริโภคข้าวภายในประเทศมีปริมาณค่อนข้างสม่ำเสมอ เฉลี่ยประมาณ 10.0-11.0 ล้านตัน/ปี (ที่มา: USDA) แต่ในปี 2560 มีปัจจัยหนุนชั่วคราวทำให้การจำหน่ายข้าวในประเทศเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมข้าวบรรจุถุงที่ประมูลข้าวจากสต็อกรัฐเพื่อรอจำหน่าย ประกอบกับรัฐเปิดประมูลข้าวคุณภาพต่ำที่ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของคนออกสู่ตลาดจำนวนมาก (ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และโรงไฟฟ้าชีวมวล) จึงมีผลให้ปริมาณการบริโภคข้าวรวมของไทยเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ อยู่ที่ 12.0 ล้านตันสำหรับภาวะอุตสาหกรรมข้าวของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างผันผวน ซึ่งสามารถสรุปสถานการณ์สำคัญในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

 
การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564
 
  • ปี 2555-2556 โครงการจำนำข้าวทุกเมล็ดของภาครัฐที่กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกสูงกว่าราคาตลาดโลก มีผลให้เกิดการบิดเบือนตลาดจากการที่รัฐเป็นผู้รับซื้อข้าวเปลือกรายใหญ่และมีอำนาจผูกขาดในตลาดค้าข้าวสาร เนื่องจากราคาจำนำข้าวเปลือกที่สูงกว่าราคาตลาดโลกทำให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกเข้าโครงการจำนำกับรัฐบาลแทนการขายข้าวให้กับโรงสีหรือผู้ค้าข้าวในระบบปกติ จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีปริมาณข้าวเปลือกเข้าโครงการจำนำในฤดูกาลผลิตปี 2554/55 และ 2555/56 สูงถึง 21.7 ล้านตัน และ 22.5 ล้านตัน ตามลำดับ (เทียบกับในอดีต มีปริมาณรับจำนำข้าวสูงสุดที่ 9.8 ล้านตันในปี 2551/2552) ภาวะเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอกชนในธุรกิจข้าวรวมถึงเกษตรกรไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ โดยผู้ค้าข้าวเอกชนได้รับผลกระทบรุนแรงจากปริมาณการค้าข้าวที่ลดลงมาก จนบางรายต้องเลิกกิจการไปเนื่องจากไม่มีข้าวให้ทำการซื้อขาย[11] ขณะที่โรงสีข้าวต้องหันไปรับจ้างรัฐในการสีข้าว แปรสภาพข้าว และเก็บรักษาสต็อกข้าว รวมทั้งบางรายลงทุนขยายไซโลเพื่อรับฝากข้าวในโครงการจำนำฯ ของรัฐ11/ ส่วนผู้ส่งออกไทยมีต้นทุนในการส่งออกสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้[12] และยังไม่สามารถจัดหาข้าวเพื่อส่งออกได้ในบางช่วงเวลา ทำให้ผู้ส่งออกปรับตัวโดยการจัดหาข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อส่งออกเพิ่มเติม ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยในปี 2555-2556 จึงลดลงเหลือเพียง 6.6-6.7 ล้านตัน (เทียบกับ 10.7 ล้านตันในปี 2554) มีมูลค่าส่งออก 4,628 และ 4,419 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ


การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

 
  • ปี 2557-2559 หลังยุติโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ปริมาณข้าวสารในสต็อกรัฐบาลไทยสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 17.76 ล้านตัน (ข้อมูล ณ ต้นปี 2557) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวสำหรับบริโภค 12.2 ล้านตัน[13] (เทียบกับปกติที่มีสต็อกข้าวสารประมาณ 4-6 ล้านตันต่อปี) และที่เหลือเป็นข้าวคุณภาพต่ำซึ่งไม่เหมาะสำหรับบริโภค (ใช้ในภาคอุตสาหกรรม) ทำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งระบายสต็อกข้าวเพื่อลดภาระในการเก็บรักษาข้าวของรัฐ โดยเร่งให้มีการส่งมอบข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G-to-G) กับหลายประเทศตามความตกลงซื้อขายข้าวในช่วงก่อนหน้านี้ อาทิ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิรัก อิหร่าน เป็นต้น และเปิดให้เอกชนประมูลข้าวในสต็อกรัฐเป็นระยะๆ การเร่งระบายข้าวในสต็อกรัฐข้างต้น ผนวกกับระบบค้าข้าวที่กลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลดีต่อผู้ค้าข้าวเอกชนทำให้มีรายได้กระเตื้องขึ้นตามปริมาณการค้าข้าว ขณะที่โรงสีข้าวและผู้ส่งออกสามารถจัดหาข้าวฤดูกาลใหม่ในราคาที่ต่ำลงตามราคาตลาด (ภาพที่ 9) ราคาข้าวส่งออกของไทยจึงลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้มากขึ้น  ยกเว้นเพียงธุรกิจไซโลที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาส่วนเกินของพื้นที่ไซโลหลังรัฐระบายข้าวออกจากสต็อก ทำให้มีรายได้ลดลงเป็นลำดับ ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวของไทยในช่วงเวลานี้ค่อนข้างผันผวนตามสภาพอากาศ มีผลให้ภาวะส่งออกข้าวแตกต่างกันในแต่ละปี ดังนี้
    • ปี 2557: ส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตข้าวในประเทศ และรัฐบาลเริ่มระบายสต็อกข้าวในช่วงท้ายปี สภาพอากาศที่เอื้อต่อภาคเกษตรและแรงจูงใจด้านราคาข้าวในปี 2556 ที่อยู่ในระดับสูงหนุนเกษตรกรวางแผนขยายพื้นที่/เพิ่มรอบการปลูกข้าวต่อเนื่อง ผลผลิตข้าวของไทยในปี 2557 จึงมีปริมาณถึง 36.8 ล้านตันข้าวเปลือก ประกอบกับรัฐบาลเริ่มระบายข้าวในสต็อกรัฐออกสู่ตลาดประมาณ 1 ล้านตัน ทำให้ปริมาณส่งออกข้าวของไทยสูงถึง 11.0 ล้านตัน (+66.0% YoY) โดยราคาเฉลี่ยส่งออกข้าวทุกประเภทลดลงอยู่ที่ 499.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (-26.1% YoY) โดยเฉพาะข้าวขาวมีราคาลดลงมากอยู่ในระดับใกล้เคียงคู่แข่ง (ส่วนต่างราคาส่งออกข้าวของไทยกับคู่แข่งอยู่ที่ 4-5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 100-210 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ในปี 2556) (ภาพที่ 10) มีผลให้มูลค่าส่งออกข้าวอยู่ที่ 5,439 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+23.1% YoY)
    • ปี 2558-2559: ข้าวประมูลจากสต็อกรัฐช่วยพยุงการส่งออกให้อยู่ในระดับสูง แม้ผลผลิตข้าวของไทยตกต่ำจากภาวะภัยแล้ง ปรากฏการณ์ El Nino มีผลให้เกิดภัยแล้งรุนแรงและปริมาณน้ำในเขื่อนเพื่อการชลประทานอยู่ในระดับต่ำ กระทบผลผลิตข้าวเสียหายบางส่วน และเกษตรกรลดรอบการปลูกข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวเปลือกของไทยโดยรวมจึงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในปี 2559 มีผลผลิตข้าวเปลือก 28.3 ล้านตัน แต่ผลจากการเร่งระบายข้าวในสต็อกรัฐรวมประมาณ 8 ล้านตันในช่วงปี 2558-2559 ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง มีปริมาณถึง 9.8-9.9 ล้านตันต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะที่ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยลดลงต่อเนื่อง อยู่ที่ 477.2  (-4.5% YoY) และ 449.8  (-5.7% YoY) ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกข้าวเก่าด้อยคุณภาพ (ข้าวในฤดูกาลเก่าที่ประมูลจากสต็อกรัฐ) และการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก ผลดังกล่าวทำให้มูลค่าส่งออกในปี 2558 และ 2559 อยู่ที่ 4,613  (-15.2% YoY) และ 4,410  (-4.4% YoY) ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง ตามลำดับ
 
  • ปี 2560-2561: ผลผลิตข้าวของไทยเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การเร่งระบายข้าวในสต็อกของภาครัฐฯอย่างต่อเนื่องหนุนการส่งออกขยายตัวสูง ในช่วงปี 2560 และ 2561 สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีผลผลิตข้าวเปลือก 31.6 ล้านตัน (+11.3% YoY) และ  32.2 ล้านตัน (+2.0% YoY) ตามลำดับ ขณะที่รัฐบาลยังเร่งระบายข้าวในสต็อกอย่างต่อเนื่อง กอปรกับที่ความต้องการของตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นด้วยหนุนให้ปริมาณส่งออกข้าวให้อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2560 อยู่ที่ 11.7 ล้านตัน (+17.8% YoY) มีมูลค่า 5,186.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+17.6% YoY) และในปี 2561 อยู่ที่ 11.1 ล้านตัน (-5.0% YoY) มีมูลค่า 5,619.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+8.3% YoY) ตามลำดับ โดยราคาเฉลี่ยในปี 2560 อยู่ที่ 443.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และปี 2561 ปรับตัวขึ้นมาที่ 507.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (+14.4% YoY)
 

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

 

สำหรับภาวะส่งออกข้าวแต่ละประเภทในปี 2561 มีดังนี้

  • ข้าวขาว:  ปริมาณส่งออกอยู่ที่ 5.7 ล้านตัน (+17.6% YoY) และราคาส่งออกปรับเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 427.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 379.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+12.7% YoY) ตามความต้องการของตลาด ส่งผลให้มูลค่าส่งออกข้าวขาวเพิ่มขึ้น 32.9% YoY อยู่ที่ 2,427.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นความต้องการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย คองโก และโตโก
  • ข้าวหอมมะลิ: ปริมาณส่งออกอยู่ที่ 1.3 ล้านตัน (-22.2% YoY) หดตัวตามความต้องการบริโภคข้าวหอมมะลิในตลาดโลก จากผลของราคาที่ปรับตัวสูงถึง 1,132.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 776.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+46.0% YoY) ตามอุปทานข้าวที่ลดลงจากน้ำท่วมในปี 2560 อย่างไรก็ตาม ราคาที่ปรับขึ้นมากดังกล่าวทำให้มูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,412.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+13.5% YoY)
  • ข้าวนึ่ง: แม้ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่เป็นข้าวประเภทหลัก โดยอยู่ที่ 407.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 389.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+4.6% YoY) แต่ในด้านปริมาณส่งออกลดมาอยู่ที่ระดับ 2.7 ล้านตัน (-19.9% YoY) ส่งผลให้มูลค่าส่งออกลดลงคิดเป็นมูลค่า 1,096.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-17.8% YoY) ผลจากความต้องการที่ลดลงของต่างประเทศ โดยเฉพาะบังกลาเทศ (รัฐบาลขึ้นภาษีนำเข้า) ประกอบกับประเทศบังคลาเทศสามารถผลิตข้าวในปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ
  • ข้าวอื่นๆ: ปริมาณและมูลค่าส่งออกข้าวอื่นๆ ในปี 2561 แบ่งเป็น
    • ปลายข้าว[14]  มีปริมาณส่งออก 1.18 ล้านตัน (-24.0% YoY) มูลค่า 491.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (-16.9% YoY) ลดลงตามความต้องการของประเทศคู่ค้าหลักเกือบทั้งหมด อาทิ จีน โกตดิวัวร์ เซเนกัล อินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการหันไปใช้ข้าวคุณภาพต่ำจากโครงการรับจำนำข้าวเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม15/ ประกอบกับผลของราคาที่ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 418.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 382.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+9.4% YoY)
    • ข้าวเหนียว - มีปริมาณส่งออก 0.18 ล้านตัน (-15.3% YoY) มูลค่า 121.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (-7.2% YoY) ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณผลผลิตภายในประเทศที่ลดลงทั้งจากผลของน้ำท่วมในปี 2560 และการที่เกษตรกรบางส่วนก็หันไปปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้นจากราคาที่จูงใจกว่า อย่างไรก็ตาม ผลจากอุปทานที่ลดลงส่งผลให้ราคาทยอยปรับขึ้นมาอยู่ที่ 674.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 615.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+9.5% YoY) และ
    • ข้าวกล้อง - มีปริมาณส่งออก 0.16 ล้านตัน (+19.4% YoY) และราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 626.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เทียบกับ 579.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในปี 2560 (+8.2% YoY) ส่งผลให้มูลค่าอยู่ที่ 98.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+29.2% YoY) แรงหนุนหลักยังมาจากตลาดประเทศพัฒนาแล้วที่มีกระแสนิยมบริโภคอาหารสุขภาพหรือมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอังกฤษ สหรัฐฯ สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น
 
การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564
 

แนวโน้มอุตสาหกรรม

 

คาดการณ์ผลผลิตข้าวของไทยในปี 2562-2564 มีทิศทางขยายตัวเล็กน้อยเพียง 1-2% อยู่ในระดับเฉลี่ยประมาณ 32.5-33.0 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี หรือประมาณ 21.0-21.8 ล้านตันข้าวสาร (ภาพที่ 14) เพิ่มขึ้นจากระดับ 32.2 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 21.2 ล้านตันข้าวสารในปี 2561 อย่างไรก็ตามในปี 2562 คาดว่าผลผลิตมีทิศทางปรับลดลงจากปัญหาภัยแล้งในช่วงฤดูฝน แต่สถานการณ์ผลผลิตข้าวจะมีทิศทางกลับมาดีขึ้นในปี 2563-2564 จากปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อีกทั้งการสนับสนุนของภาครัฐภายใต้แผนการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอสำหรับภาคเกษตร[16] น่าจะช่วยบรรเทาความเสียหายจากภัยแล้งและช่วยให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนที่สำคัญจากราคาข้าวที่อยู่ในระดับสูงช่วงปี 2561-2562 โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ยังจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกและ/หรือเพิ่มรอบเพาะปลูกมากขึ้น ขณะที่มาตรการของภาครัฐในการจูงใจเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวและสนับสนุนปลูกพืชอื่นทดแทนมากขึ้น[17] ยังไม่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเท่าที่ควร

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

ความต้องการบริโภคภายในประเทศคาดว่ายังอยู่ในระดับสูงราว 11.0-11.5 ล้านตันข้าวสารต่อปีในปี 2562-2564 เพิ่มขึ้นจากระดับ 10.8 ล้านตันในปี 2561/2562 โดยมีปัจจัยหนุนจากความต้องการบริโภคในครัวเรือน (สัดส่วน 33% ของความต้องการบริโภคข้าวทั้งหมด[18]) ที่ยังคงขยายตัวและความต้องการใช้ข้าวในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและขนมขบเคี้ยว (นำข้าวไปแปรรูปมีสัดส่วนประมาณ 10-13%) ที่มีแนวโน้มใช้ข้าวเป็นส่วนประกอบของการแปรรูปมากขึ้น

การส่งออกข้าวของไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณ 9-10 ล้านตัน/ปี ในปี 2562-2564 ลดลงจากระดับ 11.1 ล้านตันในปี 2561 ผลจากการระบายสต๊อกข้าวภาครัฐจากโครงการรับจำนำข้าวที่หมดลงหลังจากการเร่งระบายข้าวในช่วงปี 2560-2561 และผลจากการที่ผู้ซื้อบางส่วนหันไปนำเข้าข้าวราคาถูกจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น โดยเฉพาะจีนที่คาดว่าจะเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ เนื่องจากมีสต๊อกข้าวคงค้างเกินกว่าความต้องการในประเทศอยู่ถึง 117 ล้านตัน ซึ่งจะระบายเข้าสู่ตลาดโลกได้ถึงปี 2563 อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกตามระดับที่คาดการณ์ข้างต้นถือว่าเป็นการปรับฐานมาอยู่ในระดับปกติใกล้เคียงกับช่วงก่อนโครงการรับจำนำข้าว

ด้านราคาส่งออกข้าวของไทยคาดว่ายังทรงตัวได้ในระดับสูงใกล้เคียงกับปี 2561 ปัจจัยหนุนจาก 1) ความต้องการบริโภคข้าวในตลาดโลกที่คาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) ข้าวส่งออกของไทยเป็นข้าวคุณภาพสูง (ข้าวที่ระบายจากสต็อกรัฐในช่วงหลายปีก่อนส่วนใหญ่เป็นข้าวที่ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค) จะช่วยให้ราคาข้าวส่งออกยังอยู่ในระดับดี แม้สต๊อกข้าวโลกจะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (ภาพที่ 15) ทั้งจากไทย อินเดีย และเวียดนาม และ 3) ผลกระทบจากภัยแล้งที่ทำให้ราคาข้าวยังคงปรับตัวสูงขึ้น

 

การผลิตข้าวในประเทศไทย 2564

 

มุมมองวิจัยกรุงศรี

 

ในช่วงปี 2562-2564 ภาวะอุตสาหกรรมข้าวโดยรวมมีทิศทางทรงตัวจากช่วงหลายปีก่อน โดยผู้ส่งออกข้าวมีโอกาสทำกำไรได้ต่อเนื่อง ขณะที่ผลประกอบการของผู้ประกอบการบางกลุ่มมีแนวโน้มชะลอลงและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงสีข้าว ไซโล และร้านค้าปลีกข้าว ที่ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก อาจเผชิญแรงกดดันจากปัญหาอุปทานส่วนเกินและการแข่งขันที่รุนแรง

ชาวนา: ปริมาณผลผลิตข้าวอาจขยายตัวได้ไม่มากนัก ทำให้รายได้ของชาวนายังเติบโตได้อย่างจำกัด นอกจากนี้ ชาวนายังคงเผชิญปัญหาอื่นๆ อาทิ การถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ต้นทุนการเพาะปลูกที่อาจเพิ่มขึ้น (จาก 10,022 บาท/ตัน/ปี ในปี 2562 เป็น 10,500-10,600 บาท/ตัน/ปี ภายในปี 2564 (CAGR 2.5-3.0%)) เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งโอกาสการทำกำไร ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิยังมีแนวโน้มดี

โรงสีข้าว: คาดว่าปัญหากำลังสีข้าวส่วนเกินในระบบที่อยู่ในระดับสูงจะคงเป็นแรงกดดันหลักต่อธุรกิจนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่มีขนาดเล็กจะมีความเสี่ยงจากภาวะขาดสภาพคล่อง จากการให้บริการเก็บรักษาข้าวของรัฐบาลที่ลดลงเป็นลำดับ (ผลจากการเร่งระบายสต็อกข้าวเก่าของรัฐบาล) โดยกลุ่มที่แข่งขันได้ยังคงเป็นโรงสีข้าวขนาดใหญ่/ครบวงจรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี

ผู้ผลิตข้าวถุง: รายได้ของธุรกิจอยู่ในระดับประคองตัว เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ทำธุรกิจแบบครบวงจรมีทั้งโรงสีและบริษัทส่งออกข้าว อีกทั้งความต้องการบริโภคข้าวภายในประเทศยังเติบโตต่อเนื่องประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคข้าวถุงที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของชุมชนเมือง อย่างไรก็ตาม การแข่งขันด้านราคาของตลาดข้าวถุงภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยเข้าสู่ตลาด ขณะที่ต้นทุนการนำสินค้าเข้าตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น อาทิ ค่าการตลาด ค่าวางสินค้า

ร้านขายปลีกข้าว (แบบดั้งเดิม):  คาดว่าการแข่งขันในตลาดข้าวถุงที่รุนแรงขึ้น ทั้งการแข่งขันด้านราคา และระบบบริหารจัดการในด้านความสะดวก และคุณภาพการเก็บรักษา ซึ่งร้านค้าแบบดั้งเดิมมักจะเสียเปรียบร้านค้าสมัยใหม่ อาจทำให้ธุรกิจค้าข้าวแบบดั้งเดิมแข่งขันได้ยากขึ้น

ผู้ส่งออกข้าว: คาดว่าปริมาณส่งออกข้าวของไทยจะลดลงเมื่อเทียบกับฐานสูงในช่วงปี 2560-2561 ที่ได้อานิสงส์จากการเร่งระบายสต็อกข้าวของรัฐ อย่างไรก็ตามรายได้จากการส่งออกข้าวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากผลของราคาส่งออกที่คาดว่าจะสูงขึ้นโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ส่วนผู้ส่งออกข้าวขาวยังมีมาร์จินจากความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ยังเพิ่มขึ้น

ไซโล: คาดว่ารายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจไซโลจะปรับลดลงหลังสิ้นสุดโครงการจำนำข้าวทุกเมล็ดและการเร่งระบายสต็อกข้าวของรัฐในปี 2560-2561 การที่พื้นที่เก็บไซโลส่วนเกินยังมีอยู่มาก (ผลจากการเร่งขยายการลงทุนรองรับการเก็บรักษาข้าวในโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมา) จะมีผลให้การแข่งขันสูงและกดดันราคาค่ารับฝาก ซึ่งจะกระทบรายได้ของธุรกิจ แม้จะมีการบริหารจัดการพื้นที่ไซโลโดยการรับฝากธัญพืชประเภทอื่นทดแทน