กลับไป ทํา งานที่เก่า สัมภาษณ์

ต้นปีแบบนี้ถือว่าเป็นฤดูแห่งการโยกย้ายงานเลยก็ว่าได้ครับ เพราะหลังจากได้รับโบนัสตอนสิ้นปีและมีเวลาพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว หลายคนอาจจะมีเวลาตั้งคำถามกับตัวเองว่า

“งานที่เราทำอยู่ตอนนี้...ตอบโจทย์เราแล้วหรือยัง”

“ถ้าย้ายงานไป เงินเดือนดีกว่าเดิม แต่จะทนสังคมของที่ใหม่ได้หรือเปล่า”

หลายคนคงขยาดกับการเปลี่ยนงานที่เหมือนหนีเสือปะจระเข้ อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปที่ใหม่ ๆ ด้วยความหวังว่าจะดีกว่าเก่า แต่กลับผิดหวัง ทำให้ต้องหางานใหม่ ไป ๆ มา ๆ รู้ตัวอีกทีก็มีประวัติย้ายงานหลายที่ซะแล้ว วันนี้เราเลยมีวิธีการตั้งคำถามกับตัวเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนงานใหม่มาเล่าสู่กันฟัง

หากตัดเรื่องผลตอบแทนหรือเงินเดือนของที่ใหม่ออกไป เรายังต้องแคร์เรื่องอะไรอีกบ้าง?

กลับไป ทํา งานที่เก่า สัมภาษณ์

1. สังคมของที่ใหม่เป็นอย่างไร?
เรื่องนี้อาจดูไม่สำคัญในตอนแรก ๆ ของการย้ายงาน แต่หากเราอยากจะทำงานที่หนึ่งนาน ๆ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ สภาพสังคมขององค์กรนั้นว่าเป็นอย่างไร มีระบบเจ้านาย-ลูกน้องที่เคร่งครัดหรือไม่ มีจุดไหนในวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้เรารู้สึกอึดอัดหรือเปล่า มีเพื่อนร่วมงานเก่ง ๆ ที่ช่วยให้เราพัฒนาขึ้นไหม การแข่งขันเป็นอย่างไร งานหนักเกินไปจนรบกวนชีวิตส่วนตัวไหม ฯลฯ

วิธีที่จะทำให้เราทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ก็คือ การลองสืบถามจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่เป็นคนจากวงใน ก่อนตัดสินใจเข้าทำงานที่นั่นครับ

2. เราพร้อมจะออกจาก Comfort Zone หรือยัง?
หากที่ทำงานที่เก่า...เราจะคุ้นเคยกับเนื้องานที่ทำ สนิทกับเพื่อนร่วมงาน ได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้างานแล้ว การทำงานของคุณก็มักจะราบรื่น อยากลางาน หรือลาพักร้อนก็จะเป็นที่เข้าใจได้

แต่เมื่อเราเปลี่ยนงาน ย้ายงานไปที่ใหม่ แน่นอนว่าเราต้องเรียนรู้เนื้องานใหม่ ความรู้ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ และสังคมใหม่ ๆ ต้องพิสูจน์ผลงานของตัวเองใหม่ ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าประทับใจ...

ช่วงแรกของการเปลี่ยนงานจึงเป็นช่วงที่คุณอาจรู้สึกกดดัน และเก็บไปเครียดได้ เราต้องถามตัวเองว่า “พร้อมไหมสำหรับความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น”

กลับไป ทํา งานที่เก่า สัมภาษณ์

3. เราชอบงานใหม่มากกว่าหรือเปล่า? หรือแค่อยากหนีจากที่เก่าอย่างเดียว?
งานที่เก่าเราอาจจะมีปัญหาแตกต่างกันไปตามแต่ละคน เช่น บางคนรู้สึกว่างานมีความจำเจน่าเบื่อทำให้เราไม่พัฒนาไปไหน บางคนรู้สึกว่างานที่เก่าหนักเกินไป ทนแรงกดดันไม่ไหวจึงอยากลาออก บางคนรู้สึกว่าความสามารถกับเงินเดือนที่สมควรได้รับไม่สอดคล้องกัน ฯลฯ

วิธีเช็คว่างานที่ใหม่จะตอบโจทย์เรามากกว่าที่เก่า คือ การ “สัมภาษณ์คนที่กำลังสัมภาษณ์เรา” หรือให้ “สังเกตนัยที่ซ่อนอยู่ในคำถามสัมภาษณ์” ที่เขาถามเรา เช่น หากเขาถามว่า

“คุณทำงานล่วงเวลาได้ไหม กลับดึกได้รึเปล่า” = งานที่ใหม่ต้องทำงานล่วงเวลาบ่อยแน่นอน หากเราไม่มีปัญหาเรื่องนี้ อย่าอายที่จะถามว่า มีสวัสดิการสำหรับพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาหรือไม่

“คุณรับแรงกดดันได้ดีแค่ไหน” = งานที่ใหม่มีแรงกดดันสูง อาจต้องใช้ทักษะในการต่อรองขั้นเทพ หากเราไม่ได้ชอบงานที่ดูวุ่นวาย งานนี้ก็คงไม่เหมาะกับเรานัก

“คุณทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้ไหม” = งานที่ใหม่ของคุณคงยุ่งมากแน่ ๆ ถึงขั้นต้องการพนักงานที่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ ถ้าเราเป็นคนชอบทำงานละเอียด งานคราฟท์ หรือโฟกัสที่งานใดงานหนึ่งมากกว่า งานนี้อาจไม่เหมาะกับเรา

นอกจากนี้ การซักถามผู้สัมภาษณ์เรื่องเนื้องาน และความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่เราจะทำอย่างละเอียด ก็จะช่วยให้เรารู้ได้ว่างานนั้นเหมาะกับเราหรือไม่ครับ

สถานการณ์ที่ควรรับกลับเข้ามาทำงานก็คือ เมื่อเราต้องการคนที่มีทักษะความสามารถเฉพาะด้าน เพราะไม่ต้องมาคอยสอนงานใหม่ ๆ รวมไปถึงหากเขาเป็นคนมีความเป็นผู้นำ เพราะทักษะการเป็นผู้นำไม่ใช่สิ่งที่จะมีอยู่ในพนักงานทุกคน

  • เราไม่ควรรับพนักงานเก่ากลับมาทำงานอีกครั้งหากสาเหตุที่เขาลาออกไปเป็นเพราะเขาเบื่องานหรือต้องการความก้าวหน้า แต่องค์กรยังคงไม่สามารถให้ในสิ่งที่เขาต้องการได้ หรือหากช่วงเวลาที่เขาเคยทำงานนั้นผ่านมานานมากแล้ว และองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างจนแตกต่างจากสิ่งที่อดีตพนักงานคนนั้นคุ้นเคย

  • นอกจากความสามารถแล้วความสัมพันธ์กับคนในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นควรจะถามความคิดเห็นของคนในทีมปัจจุบันก่อน หากเขาเป็นคนที่ทำงานร่วมกับทีมได้อย่างดีก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากทีมไม่เห็นด้วยแล้วรับเข้ามาก็อาจส่งผลต่อการทำงานของคนในทีมได้

  • พนักงานบูมเมอแรง หรือ Boomerang Employee คือพนักงานในองค์กรที่เคยลาออกไปแล้วแต่กลับมาทำงานที่บริษัทเดิมอีกครั้ง แต่ในฐานะ HR คงไม่สามารถอ้าแขนรับพนักงานที่เคยลาออกไปแล้วกลับมาใหม่ได้เสมอ แม้ว่าเขาเป็นพนักงานที่ดีและไม่เคยสร้างปัญหาเลยสักครั้งเดียวเลยก็ตาม

    JobThai จึงไปรวมสิ่งที่ HR ควรทำก่อนจะตัดสินใจรับอดีตพนักงานกลับมาใหม่อีกครั้ง ว่าควรพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบยังไงบ้าง ให้การตัดสินใจรับอดีตพนักงานคนนี้ไม่มีผลเสียตามมา

    รับเขากลับเข้าทำงานอีกครั้งเมื่อ…

    เมื่อพนักงานคนนี้เป็น Specialist

    ทักษะ เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากอดีตพนักงานคนนี้มีความชำนาญเฉพาะด้านจริง ๆ การรับพนักงานที่เคยทำมาก่อน จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานและลดเวลาในการสอนงาน รวมถึงไม่ต้องมาเริ่มทำความเข้าใจ Product หรือบริการขององค์กรอีกครั้ง เพราะพวกเขาจะมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงานตามที่เราต้องการอยู่แล้ว

    เมื่อเราเห็นว่าเขาทำงานเป็นทีมได้ดี

    การรับพนักงานใหม่เราต้องคอยลุ้นอยู่เสมอว่าเขาจะเข้ากับองค์กรได้ไหม แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเราเห็นว่าอดีตพนักงานคนนี้มีความประพฤติยังไงบ้าง เขามีความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติ มีวิธีคิด ที่เข้ากับทีมในปัจจุบันได้หรือไม่ ยิ่งถ้าเขามีทักษะและความสามารถสูงเป็นทุนเดิมอยู่ด้วยแล้ว การรับอดีตพนักงานคนนี้กลับเข้ามาอีกครั้ง จะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดเยอะเลย

    เมื่อเขามีความเป็นผู้นำในการทำงาน

    กล้าตัดสินใจ กล้าออกความเห็น และสามารถบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ดี เป็นทักษะความเป็นผู้นำที่แทบจะหายากที่สุดในตัวพนักงาน และยังเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าอีกด้วย หากอดีตพนักงานคนนี้มีทุกข้อที่กล่าวมาและมีความเป็นผู้นำด้วยแล้ว ก็อย่าลังเลที่จะรับกลับเข้ามา เพราะนอกจากจะส่งผลดีต่อภาพรวมของทีม เขาอาจเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งต่อทักษะความเป็นผู้นำให้กับคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

    ปฏิเสธที่จะรับเขากลับเข้าทำงานเมื่อ…

    เมื่อพนักงานในทีมปฏิเสธ

    การจะรับอดีตพนักงานเข้ามาใหม่ นอกจากเรื่องต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการตัดสินใจแล้ว เราก็ควรจะสอบถามคนในทีมด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เพราะคนอื่น ๆ ในทีมอาจจะไม่ได้คิดแบบเรา ควรคุยกับทุกคนในทีมให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือมีปัญหาอะไรไหม เพื่อลดการเกิดปัญหาในการทำงานเพราะคนในทีมไม่สบายใจในการทำงานร่วมกัน และลดความเสี่ยงที่ต้องเสียพนักงานคนอื่น ๆ ไปแทน

    เมื่อองค์กรไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ

    หากเราใช้ทักษะ ความรู้ และความสามารถที่อดีตพนักงานคนนี้มีมาประกอบการตัดสินใจแล้ว อย่าลืมนำเหตุผลว่าทำไมเขาถึงออกจากบริษัทมาประกอบการตัดสินใจด้วย เขาออกไปเพราะเบื่องาน มองหาความก้าวหน้า หรือต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ และสังเกตว่าหลังจากที่เขาออกไป ทีมและองค์กรมีอะไรเปลี่ยนแปลงแล้วบ้างหรือไม่ หากทุกอย่างยังเหมือนเดิม ต่อให้เรารับเขากลับมาแล้วก็การันตีไม่ได้ว่าเขาจะไม่ออกไปด้วยเหตุผลเดิมอีกครั้ง เพราะเขายังไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการอยู่ดี

    เมื่อเขาออกจากบริษัทไปนานมากแล้ว

    ความคุ้นเคยต่อองค์กรของอดีตพนักงานที่เป็นแต้มต่อ เพราะคุ้นเคยกับรูปแบบการทำงาน รู้จัก Product และไม่ต้องมาปรับตัวและทำความรู้จักใหม่ ก็อาจกลายเป็นแต้มใหญ่ ๆ ที่ถูกหักหากเขาออกจากองค์กรนานเกินไปจนองค์กรได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการทำงาน พนักงาน ทีม หรือแม้แต่รายละเอียดของ Product ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้น จนทำให้เขาต้องมาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ไม่ต่างอะไรกับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยทำงานที่นี่มาก่อน