โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ อาการ

การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม

  • การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
  • เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม
  • การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม แท้จริงแล้วเป็นผลจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ

     

    ภูมิแพ้ ตัวการสำคัญโรคหอบหืด

    ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบคือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศ ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่ 2 ใน 3 จะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือความเข้าใจที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ผู้ป่วยโรคนี้มีมากประมาณ 10 – 13% ของเด็กและผู้ใหญ่ และเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย


    วินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก 

    การวินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก โดยทั่วไปแล้วยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียนหรือตัวเด็กเอง อาการสำคัญคือ ไอตอนเช้า กลางคืน ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบอาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่จะติดเชื้อไวรัสมาจากที่ชุมชน


    รักษาโรคหอบหืด 

    การรักษาโรคหอบหืดจะแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังทั่ว ๆ ไป โดยแนวทางรักษาที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่

    • แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอดเพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรคและเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
    • การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบหรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
    • การควบคุมภาวะแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
    • การให้ความรู้คนไข้และครอบครัวที่เกี่ยวกับโรคหอบหืดและการปฏิบัติตน เช่น เลิกบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง

    การรักษาอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญที่สุดในโรคหอบหืด คนไข้ส่วนใหญ่หรือแพทย์ส่วนใหญ่จึงต้องตระหนักอยู่เสมอเพื่อผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ

    โรคภูมิแพ้ (Allergy) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูก น้ำตาไหล คันรอบดวงตา ระคายเคืองทั่วใบหน้า มีผดผื่นคันแดงตามผิวหนัง ผิวหนังลอกอักเสบ หรืออาจแพ้รุนแรงถึงขั้นท้องร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกหลังจากที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอาการแพ้ต่อสารแตกต่างกันไป เพราะโดยทั่วไปแล้ว สารส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยแพ้ เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายคนส่วนใหญ่ แต่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่อผู้ที่แพ้เท่านั้น

    โรคนี้เป็นโรคยอดนิยมที่พบในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ฝุ่น ควัน สารพิษ ขยะ น้ำเน่าเสีย สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

    โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ อาการ

    อาการของโรคภูมิแพ้

    สภาพร่างกายที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละคนมีโอกาสเกิดอาการแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยอาการที่เกิดจากภูมิแพ้อาหาร แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

    • IgE Mediated Reaction เกิดอาการแพ้เฉียบพลันทันทีที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย
    • Non IgE Mediated Reaction ค่อย ๆ เกิดอาการภายหลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ประมาณ 4  ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น

    ส่วนอาการแพ้ต่อสารที่พบมากในปัจจุบัน ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย ซึ่งแต่ละโรคเกิดจากสาเหตุและแสดงอาการที่แตกต่างกันไป ดังนี้

    ภูมิแพ้อาหาร 

    อาการสำคัญของผู้ที่แพ้อาหาร มักจะเกิดขึ้นกับระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร เช่น ไอ จาม น้ำตาไหล คัดจมูก มีอาการบวมแดงหรือคันบริเวณปาก ลิ้น ลำคอ หน้าซีด ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง หายใจลำบาก ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นลมพิษ มีผื่นแดงคันขึ้นทั่วตัว ปวดท้อง ท้องเสีย ขับถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปน

    แม้จะมีอาการแสดงบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)  แต่การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ร่างกายแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารชนิดนั้นเท่านั้น คนทั่วไปจะไม่ปรากฏอาการดังกล่าว ในขณะที่โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากอาหารที่เจือปนเชื้อโรคหรือสารพิษ และทำปฏิกิริยาต่อร่างกายคนทั่วไปด้วย ทั้งนี้ การวินิจฉัยจะเป็นไปตามขั้นตอน เช่น การตรวจสอบประวัติการแพ้ของผู้ป่วย และตรวจสอบว่าผู้ที่รับประทานอาหารชนิดเดียวกันเกิดอาการเดียวกันหรือไม่ 

    ภูมิแพ้อากาศหรือภูมิแพ้จมูก 

    ภูมิแพ้ชนิดนี้จะมีอาการที่เกิดกับจมูก บริเวณโพรงจมูก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก หลังผู้ป่วยหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะขับสารเพื่อทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ จามบ่อย คันและมีการอักเสบบวมทั่วใบหน้า รอบดวงตา จมูก ปาก และลำคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ หายใจไม่ออก หอบหืด ไอ เจ็บคอ หูอื้อ ตาแดง ประสาทรับกลิ่นทำงานได้แย่ลง และอาจมีไข้ร่วมด้วย

    ภูมิแพ้ผิวหนัง 

    ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังบริเวณที่ได้รับสารก่อภูมิแพ้ โดยจะเกิดการคัน มีผื่นแดง มีรอยนูนแดง หรือตุ่มบวมอักเสบ เป็นแผลหรือผิวลอกออกได้ง่ายเมื่อเกา อาจลุกลามอักเสบเป็นวงกว้าง

    ภูมิแพ้ตา 

    อาการแพ้นี้จะแสดงออกทางดวงตา เช่น คันหรือระคายเคืองบริเวณดวงตา แสบตา ตาแดง ตาบวม เปลือกตาอักเสบบวม มีน้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีก้อนหรือสะเก็ดเม็ดทรายติดอยู่ในดวงตา ตามีความอ่อนแอ ไวต่อแสง แสงจ้าหรือแม้แต่แสงสว่างปกติก็อาจสร้างความลำบากในการมองเห็น สร้างความรำคาญใจและรบกวนทัศนวิสัยในการมองเห็น 

    แม้ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายกับอาการของผู้ป่วยโรคตาแดง แต่โรคภูมิแพ้ตาไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่จะทำปฏิกิริยาต่อผู้ที่แพ้เท่านั้น 

    สาเหตุของโรคภูมิแพ้

    โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมที่รับเข้ามาด้วยการขับสารภูมิต้านทานออกมาต้านสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น และสารภูมิต้านทานนั้นก็ก่อให้เกิดการอักเสบและอาการแพ้แก่ร่างกายด้วย การเกิดโรคภูมิแพ้เป็นเหตุมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อบางสิ่งที่อาจไม่เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป แต่เป็นอันตรายต่อตัวบุคคลที่แพ้เท่านั้น

    สารที่ร่างกายรับเข้ามาและกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่าง ๆ เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้” โดยร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ด้วยการแสดงอาการแพ้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยสารภูมิต้านทานซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเลือด มีหน้าที่คอยป้องกัน รวมทั้งขจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้บางชนิดที่ผู้ป่วยแพ้

    ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาหารส่วนใหญ่ มักแพ้อาหารจำพวกไข่ นม ถั่ว ปลาและอาหารทะเล การแพ้อาหารจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีร่างกายแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ในอาหารชนิดนั้นเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้ป่วยจะไม่ปรากฏอาการแพ้

    สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยจากภูมิแพ้จมูกหรือภูมิแพ้อากาศ มักมาจากไรฝุ่น เชื้อรา หญ้า ละอองเกสร ขนสัตว์ ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ

    สารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังมีหลายชนิด เช่น สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ถุงมือยาง ยาย้อมสีผม โลหะ เงิน เป็นต้น

    ภูมิแพ้ตา มักเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ประเภทไรฝุ่น ควัน สารเคมี ละอองเกสร ขนหรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศและกระแสลม เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อบุดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและมีอาการแพ้ที่แสดงออกทางดวงตาในหลายรูปแบบ

    การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

    เพื่อตรวจหาโรคภูมิแพ้และหาแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แพทย์จะวินิจฉัยตามกระบวนการเหล่านี้

    ซักประวัติ

    ในการตรวจเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติและอาการแพ้ของผู้ป่วย แพทย์ต้องทราบสภาพแวดล้อมบริเวณถิ่นที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ที่ทำงาน เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ รวมทั้งซักประวัติการแพ้ในอดีตของผู้ป่วย หรือมีญาติใกล้ชิดที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้

    ตรวจร่างกาย

    แพทย์จะตรวจร่างกายภายนอกว่ามีอาการแสดงใดบ้างที่บ่งชี้ถึงโรคภูมิแพ้ ได้แก่ ตา จมูก ลำคอ ช่วงอก และผิวหนังทั่วไป ในบางรายอาจต้องตรวจการทำงานของปอดด้วยเครื่องเป่าลม หรืออาจต้องเอกซเรย์เพื่อดูการทำงานของปอดร่วมด้วย

    ชุดทดสอบภูมิแพ้

    แพทย์จะใช้ชุดทดสอบภูมิแพ้เพื่อทดสอบอาการแพ้ของผู้ป่วย ชุดทดสอบที่นำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ คือ การสะกิดผิวหนังแล้วหยดสารก่อภูมิแพ้ (Skin Prick Test) การฉีดสารก่อภูมิแพ้ (Skin Injection Test) และ การติดแผ่นทดสอบสารก่อภูมิแพ้ (Patch Test) 

    • Skin Prick Test เป็นชุดทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง แพทย์จะใช้ปลายเข็มสะกิดบริเวณผิวหนัง เช่น ที่ปลายแขน แล้วหยดหรือทาสารก่อภูมิแพ้ลงไปเล็กน้อย หากผู้ป่วยแพ้ต่อสารใด บริเวณที่ถูกสารนั้นจะมีตุ่มนูนแดงปรากฏขึ้นมาภายในเวลาประมาณ 15 นาที
    • Skin Injection Test แพทย์จะฉีดสารก่อภูมิแพ้ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายเข้าสู่ผิวหนัง แล้วรอดูผลว่ามีอาการแพ้ต่อสารใดหรือไม่ประมาณ 15 นาที
    • Patch Test เป็นชุดทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังเช่นกัน โดยแพทย์จะติดแผ่นทดสอบซึ่งมีสารก่อภูมิแพ้หลายชนิดหลาย ๆ แผ่นลงบนผิวหนังบริเวณผิวหนัง ผู้ป่วยต้องระมัดระวังในการทำกิจกรรม ไม่ให้มีเหงื่อไหลหรือไม่ให้มีของเหลวโดนแผ่นทดสอบเป็นเวลา 2 วัน แล้วจึงกลับมาพบแพทย์เพื่อดูผลการทดสอบ

    การรักษาโรคภูมิแพ้

    ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีอาการแพ้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ส่วนผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ ควรใช้ยาภายใต้คำสั่งหรือการแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ และรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการแพ้ที่รุนแรง

    ด้านการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะได้รับยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ป้องกันไม่ให้สารฮิสตามีนทำงาน ซึ่งฮิสตามีนเป็นสารที่หลั่งเมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย โดยสารนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ อย่างการเกิดผื่นคัน ผื่นแดงตามผิวหนัง ยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงและมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะช่วยลดอาการบวมของกล่องเสียงและหลอดลมที่เป็นเหตุทำให้หายใจติดขัด ส่วนใหญ่ใช้ในรูปแบบการฉีดตัวยาเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) ใช้ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก ช่วยลดอาการคัดจมูกและการหายใจติดขัด มีทั้งรูปแบบหยอดจมูกและยาเม็ดรับประทาน ยาพ่นสเตียรอยด์ลดอาการอักเสบ อาการบวมและการเกิดน้ำมูกอุดตันในโพรงจมูก และยาทาสเตียรอยด์รูปแบบครีมที่ใช้ทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการแพ้และมีผดผื่นคัน ตัวยาจะช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและช่วยไม่ให้ผดผื่นคันขยายไปเป็นวงกว้าง

    นอกจากนี้ ยังมีวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปปริมาณเล็กน้อย ทำให้ร่างกายค่อย ๆ คุ้นเคยกับสารและทำให้การแพ้สารนั้นทุเลาลงจนหายขาด เป็นวิธีการฉีดสารก่อภูมิแพ้อย่างต่อเนื่องตามขั้นตอน ผู้ป่วยต้องเข้ารับการฉีดสารเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานตามความรุนแรงของอาการแพ้และตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้

    ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาจต้องเผชิญกับอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือมีความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคอื่นเพิ่มมากขึ้น เช่น

    โรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรง (Anaphylaxis)

    ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงขึ้น เช่น มีผื่นขึ้นเต็มตัวและมีอาการคันตลอดเวลา เป็นลมพิษ หน้าซีดหรือหน้าแดง คอบวม แน่นหน้าอก หายใจติดขัด อาเจียน ท้องร่วง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่แพ้อาหาร แพ้แมลง และแพ้ยา

    โรคหอบหืด 

    ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากกว่าคนทั่วไป โดยมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจเสียงดัง ไอ แน่นหน้าอกหรือเจ็บที่หน้าอก มีปัญหาในการนอนเนื่องจากการหายใจที่ผิดปกติ ทำให้นอนยากหรือนอนแล้วรู้สึกตัวขึ้นกลางดึก หอบหืดเกิดจากมีสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในปอด ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ หลอดลมอักเสบ พบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศซึ่งเป็นการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง

    ไซนัสอักเสบ

    ไซนัสอักเสบเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบมากในผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ โดยจะมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก รอบตา หัวคิ้ว ข้างจมูก คัดจมูก มีน้ำมูกและเสมหะสีเขียวข้น ไอ มีไข้ หายใจลำบาก 

    นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อาจมีอาการป่วยและโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นอีก เช่น ผิวหนังอักเสบ กลาก การติดเชื้อในหูชั้นกลาง การติดเชื้อในปอด เป็นต้น

    การป้องกันโรคภูมิแพ้

    การลดความเสี่ยงในการเกิดโรค คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี

    โรคภูมิแพ้เป็นโรคไม่ติดต่อและจะเกิดกับผู้ที่ร่างกายแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้เท่านั้น ดังนั้น การป้องกันส่วนใหญ่จึงเป็นวิธีการสำหรับผู้ป่วยที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ หรือไม่ให้อาการแพ้นั้นกำเริบรุนแรง ดังนี้

    หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ 

    หากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเผชิญกับสิ่งที่มีสารที่ตนแพ้ เช่น ผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำมาจากสัตว์ทะเลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป อาหารสด หรืออาหารแห้ง ผู้ที่แพ้ฝุ่นควรหลีกเลี่ยงการเดินทางบนท้องถนนที่มีฝุ่นควัน ไม่ลดกระจกลงขณะโดยสารอยู่บนรถ หลีกเลี่ยงการเดินผ่านเขตบริเวณที่มีการก่อสร้าง และดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและห้องนอน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดเข้าถึง เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่นและไรฝุ่นที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

    เขียนบันทึก 

    ลงบันทึกประจำวันว่าทำกิจกรรมอะไรหรือรับประทานอะไรแล้วมีอาการอย่างไร เป็นการศึกษาอาการแพ้ รวมถึงให้ทราบสิ่งที่แพ้และสิ่งที่ไม่แพ้ เพื่อวางแผนป้องกันและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

    เตรียมการในภาวะฉุกเฉิน 

    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้รุนแรง ควรแจ้งอาการป่วยของตนกับบุคคลใกล้ชิด สวมใส่สร้อยคอหรือสร้อยข้อมือแพทย์เตือนที่จะสื่อให้ผู้อื่นทราบถึงอาการแพ้กำเริบในกรณีฉุกเฉินที่มีอาการจนไม่สามารถพูดสื่อสารได้ หรือในบางราย แพทย์จะให้ผู้ป่วยพก

    โรคภูมิแพ้ที่ระบบทางเดินหายใจมักจะเกิดจากสาเหตุใด

    โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากเด็กหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นโอกาสที่ร่างกายจะรับสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองในอากาศจึงมีได้ทุกขณะ โดยเฉพาะในยุคที่เด็กต้องเผชิญมลภาวะทางอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝุ่นละอองที่เป็นพิษ

    ภูมิแพ้ ถือเป็นโรคทางเดินหายใจไหม

    โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มอาการของโรคที่แสดงออกได้หลายระบบไม่ว่าจะเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร นอกจากนี้โรคภูมิแพ้ยังหมายรวมถึงการแพ้ยา แพ้อาหาร แพ้จากแมลงกัด-ต่อย แพ้ถุงมือยาง ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันความชุกของโรคดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งในวัยเด็ก และผู้ใหญ่วัยทำงาน

    ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ มีอะไรบ้าง

    ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือทำให้เกิดโรคหืด มีอาการไอ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด ภูมิแพ้อาหารและยา ทำให้เกิดผื่นคันแบบลมพิษ หน้าบวม ปากบวม แน่นคอ แน่นหน้าอก เป็นลมหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ และมีโอกาสเสียชีวิตได้

    อาการแพ้มีอะไรบ้าง

    อาการบ่งบอกภูมิแพ้.
    ผื่นคัน.
    น้ำมูก.
    คันจมูก.
    คัดจมูก.
    เคืองตา.