วิจัย ความกระตือรือร้นในการเรียน

ผลจากการทดลองในงานวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า การให้คำติชมในระหว่างหรือหลังกิจกรรมการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญในขั้นตอนการแก้ไขความผิดพลาด เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะมีการติชมและการอภิปรายเรื่องของการเรียนรู้  อย่างไรก็ตาม การขัดจังหวะเร็วเกินไปหรือบ่อยเกินไปในขั้นตอนนี้ อาจทำให้การรับและการเก็บข้อมูลทำได้ไม่ดีนัก การจับตามองความก้าวหน้าของเด็กโดยมีผู้เป็นครูเข้ามาช่วยโดยตรงนั้น คือหนึ่งในหน้าที่สำคัญของครูผู้สอน เด็กนักเรียนต้องการหาช่องทางที่จะรับรู้ได้ว่า ตนเองนั้นเดินไปถูกทางแล้ว ครูจำเป็นต้องบอกให้เด็กรู้ว่าตนเองทำได้ดีแล้ว และคอยป้อนคำถามที่กระตุ้นเร้าให้เด็กอยากเรียนรู้ต่อไปอีก เด็กสามารถพัฒนาทักษะการรู้คิด (คือ ความสามารถในการแปลความ หมายข้อมูล จนเกิดความรู้ ความเข้าใจว่าตนกำลังทำสิ่งใดอยู่) ให้ดีขึ้นได้ โดยใช้แบบตรวจสอบเพื่อการติชมตนเอง (Self-feedback Checklists) หลังเสร็จสิ้นจากงานเขียนส่วนอื่นๆ แล้ว 

LHQ ได้จัดทำแผนงานและชุดแผนภาพ ซึ่งมีช่วงของการติชมตนเองในตอนท้ายของทุกแผน ภาพ ดังตัวอย่างจากชุดแผนภาพดังกล่าวสำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาต่อไปนี้

วิจัย ความกระตือรือร้นในการเรียน

วิจัย ความกระตือรือร้นในการเรียน

จับทุกอย่างรวมเข้าด้วยกัน

เด็กจำเป็นต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่จะช่วยให้พลังกับพวกเขา ให้สามารถประสบความ สำเร็จในการทำกิจกรรมด้านการเขียน ในขณะเดียวกับที่เด็กปรับปรุงการใช้ทักษะย่อยให้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจและความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมอยู่นั้น ความสามารถในการเขียนของพวกเขาก็จะแข็งแกร่งขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีประโยชน์ ซึ่งควรนำมาช่วยเตือนความจำเด็กให้ใช้ขั้นตอนที่เป็นระบบ คือ คำว่า POWER นั่นเอง 12

         + POWER, P คือ plan หมายถึง วางแผน

           ขั้นตอนนี้ คือ การทำกิจกรรมในการเตรียมการที่หลากหลาย และการพัฒนาประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม  กับเป้าหมายในการสร้างความกระตือรือร้นในหัวข้อเรื่องให้เกิดขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบหลักและประเภทของการเขียนที่จะต้องใช้ในกิจกรรมนี้ ตามด้วยการกำหนดขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้งานแล้วเสร็จสมบูรณ์ เด็กจะเป็นคนวางแผนเองว่าจะเน้นกิจกรรมไปในเรื่องใด

        + POWER, O คือ organize หมายถึง วางแผน

           จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้ คือ วิเคราะห์และอธิบายส่วนต่างๆ ของงาน แผนภาพจะมีคุณค่าอย่างมากในขั้นตอนนี้ เด็กที่อายุน้อยอาจมุ่งเน้นไปที่สามส่วนสำคัญ คือ ท่อนเริ่ม ท่อนกลาง และท่อนจบ ส่วนเด็กโตกว่าอาจเพิ่มส่วนเสริมเข้าไป เช่น ตัวละคร ฉาก การระบุถึงปัญหา พัฒนาการของการแก้ปัญหา และแก่นของเรื่อง

หลักการพื้นฐานที่ครูควรจะพิจารณาด้วย คือ

๐ เริ่มต้นด้วยวิธีการที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรม แล้วค่อยตามด้วยวิธีการที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม

๐ เริ่มจากส่วนประกอบไม่กี่อย่างเพื่อรวบรวมให้ได้ก่อน แล้วจึงค่อย ๆเพิ่มมากขึ้นไปทีละน้อย

๐ เริ่มจากทำงานชิ้นเล็กๆ หรือทำเป็นช่วงๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณให้มากขึ้น

        + POWER, W คือ write หมายถึง เขียน

           ให้เด็กเขียนข้อความลงในกระดาษ เพิ่มเติมรายละเอียดลงในความคิดที่พัฒนามาจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ เด็กเล็กอาจเริ่มต้นด้วยภาพ ในขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องให้ครูช่วยติชม และให้เด็กติชมตัวเองด้วย

        + POWER, E คือ edit หมายถึง แก้ไขตัดทอน 

           ในขั้นตอนของการแก้ไขตัดทอนนี้ ให้เด็กเพ่งความสนใจไปยังส่วนประกอบแต่เพียงส่วนเดียวในแต่ละครั้ง แต่ให้เด็กตรวจพิสูจน์อักษรหลายๆ ครั้ง โดยแต่ละครั้ง ให้เพ่งความสนใจไปยังส่วนที่แตกต่างกัน เรื่องนี้มักจะเป็นเรื่องที่ยากที่สุดสำหรับเด็กหลาย ๆ คนที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เพราะจะดูเหมือนกับว่าเด็กกำลัง ‘อ่าน’ เรื่องที่ตนตั้งใจจะให้เป็น มากกว่าสิ่งที่เขียนลงไปจริง การจัดการสอนที่เสริมต่อการเรียนรู้ การสอนที่สามารถใช้เป็นต้นแบบ และการสอนแบบชี้แนะตรงไปตรงมา ถือว่าเป็นเรื่อง จำเป็นในการช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะอย่างเหมาะสม

        + POWER, R คือ revise หมายถึง ทบทวน

           เด็กจำนวนมากหาทางหลีกเลี่ยงขั้นตอนการทบทวนนี้ อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องให้เด็กเรียนรู้ว่า ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับงานเขียน

 

   ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การจัดการสอนที่เสริมต่อการเรียนรู้ การสอนที่สามารถใช้เป็นต้น

   แบบ และการสอนแบบชี้แนะตรงไปตรงมานี้ มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เด็กเข้าใจใน 

   วิธีการปรับปรุงการเขียนของตน 

 

บทสรุป

มีสาระสำคัญดังนี้

            @ สนับสนุนเด็กให้ฝึกเขียน

            @ ต้องมั่นใจว่า เด็กสามารถฝึกทักษะย่อยได้อย่างเหมาะสม จนถึงขั้นที่ทำได้โดยอัตโนมัติ

            @ สนับสนุนให้เด็กใช้วิธีทำไปตามขั้นตอนหรือตามกระบวนการ โดยมุ่งความสนใจไปที่ส่วนย่อยๆ เล็กๆ ทีละส่วน ในแต่ละคราว

            @ ส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการเขียน

            @ ส่งเสริมให้เด็กตรวจทานซ้ำ ให้แน่ใจว่างานเขียนของตนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล

            @ ต้องแน่ใจว่าได้ช่วยปรับและอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้

 

เทคนิคดังกล่าวได้รับการรับรองจากงานวิจัย

แผนภาพต่างๆ นี้ สองหน่วยงาน คือ Division for Learning Disabilities (DLD) และ Division for Research (DR) ได้รับรองว่า เป็นการฝึกเขียนที่มีหลักฐานทางงานวิจัย ซึ่งเชื่อถือได้ว่า สามารถใช้ได้ผลกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาอ่าน Current Practice Alert: Focus on Graphic Organizers: Power Tools for Teaching Students with Learning Abilities.

หนังสืออ้างอิง

The Writing Road: Two Paths Converging (copyright right sign) Regina G. Richards

LD Online ทำงานร่วมกับ the National Joint Committee on Learning Disabilities

LD Online เป็นหน่วยงานบริการด้านการศึกษา ของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ WETA  ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.


The Writing Road: Reinvigorate Your Students’ Enthusiasm for Writing By Regina G. Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา