คุณค่าด้านศาสนา

ชื่อเรื่อง:

คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ

ผู้แต่ง:

ทินพันธุ์ นาคะตะ

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

มาลัย หุวะนันทน์, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2509

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ คือ.- 1. เป็นการศึกษาหน้าที่และความสัมพันธ์ของศาสนาที่มีต่อสังคมโดยทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารอย่างไร 2. เพื่อแสดงว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อสังคมโดยส่วนรวม มีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจและการประพฤติปฏิบัติของคนไทย 3. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ ที่มีคุณค่าควรแก่การยึดถือเป็นหลักจริยธรรมในการบริหารทั้งในด้านการใช้ศิลปและเทคนิคในการปฏิบัติราชการ 4. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าและอิทธิพลของพุทธปรัชญาที่มีต่อจริยธรรม และพฤติกรรมในการปกครองและการบริหารในทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อการบริหารของไทยอย่างไรบ้าง.
ในวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนได้ยกข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความสำคัญ 4 ประการของพุทธศาสนาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงปัญหาบางประการที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงแก้ไขให้ศาสนามีคุณค่าต่อสังคมยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ได้แก่.- 1. ในการพัฒนาประเทศ เราขาดการพัฒนาในด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นควรจะได้นำพุทธปรัชญามาเป็นคุณธรรมหรือจริยธรรมในการปกครองและการบริหารราชการ 2. มีความแตกต่างระหว่างพุทธปรัชญาในขั้นอุดมการณ์กับพุทธศาสนาในสังคมที่เรายึดถือไปปฏิบัติอยู่บ้าง 3. คนไทยส่วนมากยังเป็นพุทธศาสนิกชนแต่เพียงในนาม มิได้เคร่งครัดต่อการประพฤติปฏิบัติเท่าใดนัก 4. ประชาชนขาดความเข้าใจในหลักธรรมที่แท้จริง 5. วิธีการถ่ายทอดหลักธรรมยังคงใช้แบบเดิมที่ถือปฏิบัติกันมานานควรนำเอาเทคนิคและวิธีการสอนที่ทันสมัยมาใช้ 6. เวทมนต์คาถา ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีจิตอ่อน
อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า คุณลักษณะพิเศษแห่งพุทธปรัชญาในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้ศึกษามา แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อการยึดถือเป็นหลักในการทำงานและดำรงชีวิตอยู่มากที่สุด และเหมาะสมต่อการนำมาปรับปรุงคุณค่านิยม หรือพฤติกรรมในเชิงพิเศษบางอย่างได้เป็นอย่างดี.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

พุทธศาสนา

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

185 หน้า.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1121

คำตอบด้านศาสนาของเด็กรุ่นใหม่


8/10/2563 | 26,783 |

ผมได้รับข้อความผ่านเฟซบุ๊ค เป็นการแชร์ภาพแบบฝึกหัดของเด็กนักศึกษาเกี่ยวกับศาสนา  โดยระบุคำบรรยายภาพว่า “สังคมเราน่าห่วงถ้าเยาวชนคิดอย่างนี้  การฝึกคิดเป็นเรื่องจำเป็น”  สิ่งที่ถูกเขียนดูจะเป็นคำตอบที่มีนอกเหนือจากตำรา

คำถามข้อแรกถามว่า “ศาสนาคืออะไร”

คำตอบ (ของเด็ก) “ศาสนา สำหรับผมมันก็แค่ความเชื่อที่มนุษย์มโนกันไปเองทั้งนั้น”

ข้อต่อมาถามว่า “ประโยชน์ของศาสนา คือ...”

คำตอบ (ของเด็ก) “ทำให้มีความเชื่อที่เหมือนกัน คิดว่าสิ่งที่คุณทำคือสิ่งที่ถูก  และอีกประโยชน์  ก็คือมันสร้างสงครามได้”

ข้อที่สามถามว่า “หลักธรรมคำสอนเรื่องใดที่นักศึกษาใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร”

คำตอบ (ของเด็ก) “ไม่มี...ห้ามฆ่า? สุดท้ายคุณก็กินเนื้อ  ห้ามกามา? สุดท้ายก็ต้องทำ ห้ามโกหก? อะไรล่ะคือโกหก  ห้ามสุรา? แล้วจะสร้างมาทำไม”

ข้อความที่ผมได้รับ ยังระบุอีกว่า เห็นคำตอบแล้วถึงกับอึ้ง  บ้างก็มองว่าหากภาพฝึกหัดดังกล่าว  เป็นคำตอบของนักศึกษาจริงๆ  มันก็สะท้อนว่าปัจจุบันเด็กสมัยใหม่ห่างไกลจากศาสนามากขึ้นทุกที  ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งกลับมองว่าคำสอนที่เด็กได้ระบุลงไปในแบบฝึกหัดมันคือการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดแบบใหม่ของเด็กในสังคมปัจจุบัน ที่กล้าคิดนอกเหนือจากตำราเรียนและใช้ความคิดของตนแทน

ผมเห็นคำตอบของเด็กแล้วไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยไม่ทราบว่าเป็นเด็กนักศึกษา ระดับไหน มีพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาแข็งแรงหรือไม่ สถานศึกษาที่สังกัดเป็นโรงเรียนวัดหรือโรงเรียนเอกชน แต่ถ้าผมเป็นอาจารย์คนที่สอนเด็กคนนี้ ผมคงต้องเอาหัวตัวเองโขกกระดานดำ

ศาสนานั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญคือมีศาสดา

ศาสนาของแต่ละศาสนามีประวัติศาสตร์ มีหลักฐานโบราณวัตถุ โบราณสถานที่สามารถยืนยันพิสูจน์ความเชื่อได้ เช่น พระพุทธเจ้า มีลุมพินีเป็นที่ประสูติ และตรงตามตำราที่เรียน ตรงตามคัมภีร์ที่จารึกไว้ ไม่ใช่เรื่องความเชื่อที่มนุษย์มโนกันไปเอง

ที่อันตรายอย่างมาก คือ ในประเทศที่เจริญทางวัตถุอย่างรวดเร็ว ปรากฎว่ามีคนรุ่นใหม่ระบุในทะเบียนประวัติว่าไม่มีศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาใดๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ตัวเลขเท่าไร ผมไม่ยืนยัน  และในบ้านเราก็เริ่มที่จะไม่นับถือศาสนา เพราะอะไร ฝากให้ท่านที่มีหน้าที่อธิบายได้คิดกัน

หากลูกของเรา ถามเราว่าประโยชน์ของศาสนาคืออะไร ผมเห็นว่าในฐานะผู้ปกครองต้องหาคำตอบที่เป็นรูปธรรมตอบลูกให้ได้เห็นจริง  ผมอาจให้คำตอบกับลูกๆว่า  ประโยชน์ของศาสนาก็คือ ทำให้เรามีที่พึ่งพาเมื่อยามที่ชีวิตของเรามีปัญหา หาทางออกอะไรไม่ได้ ศาสนามีหลักธรรมสอนให้เราทำดี  ละเว้นความชั่ว บางศาสนาสอนให้มนุษย์มีความรักความเมตตาต่อกัน

เราต้องร่วมกันอย่างจริงจัง ในการทำให้เด็กและเยาวชนมองเห็นความสำคัญของศาสนาและเชื่อว่าศาสนาดีจริง ไม่ใช่เรื่องมโน หรือเข้าใจเพียงผิวเผิน แล้วตอบว่าไม่มีหลักธรรมคำสอนใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดำรงชีวิต หากนักเรียนนักศึกษาไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแล้ว อนาคตของเขาและสังคมจะเป็นเช่นไร

วันก่อนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงฆ์ และอีกหลายหน่วยงาน ได้ร่วมกันดำเนินการสร้างความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอันจะเกิดกับเด็กและเยาวชน ที่ผมเห็นว่าเป็นเรื่องดีก็คือ การร่วมมือกันให้ความรู้  จัดกิจกรรมการเรียนรู้  กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนาที่ตนนับถือในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา และยังจะพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนอีกด้วย พาเด็กไปดูของจริงให้รู้จริง ปฏิบัติได้จริง ความคิดเห็นทางศาสนาจะเปลี่ยนไป

ดร.สมชาย   สุรชาตรี
ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
โฆษกประจำสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
Email : [email protected]

ศาสนามีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

สำหรับ ความสำคัญของศาสนา นั้น ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ศาสนิกชนของต นเป็นคนดี และเมื่อศาสนิกชนเป็นคนดีแล้ว สังคมก็ย่อมจะปราศจากความเดือดร้อน ศาสนาช่วยให้มนุษย์รู้ว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก รวมทั้งเป็นที่ยืดเหนี่ยวและยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สงบขึ้น ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม ...

คุณค่าของศาสนาคืออะไร

คุณค่าของศาสนา 1. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ 2. เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะและในหมู่มนุษย์ชาติ 3. เป็นเครื่องดับความเร้าร้อนใจทำให้สงบร่มเย็น 4. เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรมศีลธรรมและคุณธรรม

การศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อเราอย่างไร

การศึกษาในทัศนะของพระพุทธศาสนา คือ การศึกษาช่วยให้คนพัฒนาชีวิตที่ดีงาม มี ส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โอกาสสังคมการศึกษาที่สร้างคนให้เป็นบัณฑิต แต่ยังมุ่งหวังที่จะให้ผู้ ศึกษาได้รับคุณค่าของการศึกษาที่แท้จริงทั้งภายในและภายนอกคือการพัฒนากายกับจิต ระบบ การศึกษาของพุทธศาสนาได้เริ่มพัฒนาผู้ศึกษาจากระดับพื้นฐานคือมุ่งแก้ปัญหา ...

มีหลักธรรมอะไรบ้าง

หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธมีหลักธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนยึดถือ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลาย ประการ ได้แก่ อริยสัจ 4 ทิศ 6 ธรรมคุณ 6 สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 อบายมุข 6 เป็นต้น อริยสัจ 4.