ขอคืน ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต


ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกระดับการกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม โดยกำหนดให้ธนาคารต้องคืนค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร ซึ่งให้คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ

วันนี้ (16 พ.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ยกเลิกบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต ขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีจากธนาคารได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกระดับการกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรม เพื่อลดภาระของประชาชน ซึ่งหากผู้ใช้บริการทางการเงินที่ใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต ที่มีการคิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการรายปี ต้องการยกเลิกการใช้บริการบัตรดังกล่าวก่อนที่จะครบกำหนดการให้บริการตลอดทั้งปี กำหนดให้ธนาคารต้องคืนค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร โดยให้คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ จากเดิมที่ไม่มีการคืนส่วนต่างหรือคืนเมื่อร้องขอเท่านั้น

ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีเอกสารที่ระบุว่า “กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร ให้คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ” ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2563/ThaiPDF/25630006.pdf

ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารเห่งประเทศไทย สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02 2835353 และหากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง

เราไม่ควรเสียค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตเป็นอย่างยิ่ง?

มีผู้ใช้บัตรเครดิตกลุ่มหนึ่งที่มองว่า ไม่ควรเสียค่าธรรมเนียมกับการใช้จ่ายบัตรเครดิตกับทุกเหตุผล เพราะว่าอาจจะมองว่าบัตรเครดิตนี้เป็นตัวแทนในการจ่ายเงิน โดยไม่ต้องพกเงินสด และไม่ได้ต้องการอภิสิทธิ์อื่นเหมือนบัตรเครดิตชั้นสูงที่ให้สิทธิ์เข้าไปนั่งใช้ Lounge ตามสนามบิน ซึ่งหากคุณคิดว่าคุณใช้จ่ายถึงยอดที่ทางบัตรยอมให้ ยกเลิกค่าธรรมเนียมได้แล้วก็โทรเข้า Call Center เพื่อขอ Waive ค่าธรรมเนียมบัตร ได้

วิธีขอ Waive ค่าธรรมเนียม

  1. ตรวจสอบข้อมูลค่าธรรมเนียม ของบัตรที่คุณถือ
  2. ตรวจสอบค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตของคุณ ว่าถึงยอด Waive หรือยัง
  3. เมื่อยอดถึงข้อกำหนดการ Waive ก็โทรไป Call Center ของบัตร เพื่อขอยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี
  4. คอนเฟิร์มการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีกับ Call Center
  5. ตรวจสอบยอดการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีใน Mobile App. และ สลิปบัตรเครดิต
ขอคืน ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต
ไม่เคยเสียค่าธรรมเนียม Credit Card เลยสักปี ดีไหมล่ะ? – ทำอย่างไรมาดูกัน

ถ้าเราไม่เวฟค่าธรรมเนียมเลยได้ไหม? ก็ทำได้ แต่เรื่องอะไรจะต้องเสียค่าธรรเนียมรายปีในขณะที่แต่ละเดือนก็มียอดค่าใช้จ่ายรวม ๆ แล้ว เป็นหลักหมื่น หรือ หลักแสน เกินเกณฑ์ที่บัตรกำหนดไว้อยู่แล้ว ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตแต่ละใบ เริ่มต้นปีละ 200 บาท ถึง 30,000 บาท เลยทีเดียว คุณต้องทราบว่าบัตรที่คุณถืออยู่ มีค่าธรรมเนียมต่อปีเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตกสิกรไทย

  • บัตรเดอะวิสดอม กสิกรไทย วีซ่า อินฟินิท – บัตรหลัก 70,000 บาท บัตรเสริม 70,000 บาท
  • บัตรเดอะวิสดอม กสิกรไทย – บัตรหลัก 30,000 บาท บัตรเสริม 30,000 บาท
  • บัตรเดอะพรีเมียร์ กสิกรไทย – บัตรหลัก 10,000 บาท บัตรเสริม 10,000 บาท
  • บัตรเครดิตเมืองไทย สไมล์เครดิตการ์ด พิงค์โกลด์ – บัตรหลัก 10,000 บาท บัตรเสริม 10,000 บาท
  • บัตรเครดิตร่วมคิงพาวเวอร์ กสิกรไทย วีซ่าซิกเนเจอร์ – บัตรหลัก 10,000 บาท บัตรเสริม 10,000 บาท
  • บัตรเดอะแพสชั่น กสิกรไทย – บัตรหลัก 4,000 บาท บัตรเสริม 4,000 บาท
  • บัตรแพลทินัม กสิกรไทย – บัตรหลัก 3,500 บาท บัตรเสริม 3,500 บาท
  • บัตรทอง กสิกรไทย – บัตรหลัก 1,600 บาท บัตรเสริม 1,600 บาท
  • บัตรคลาสสิค กสิกรไทย – บัตรหลัก 1,050 บาท บัตรเสริม 1,050 บาท
  • บัตรเครดิตวีซ่าเพย์เวฟ กสิกรไทย – บัตรหลัก 1,050 บาท บัตรเสริม 1,050 บาท

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไทยพาณิชย์

  • บัตรเครดิต SCB UP2ME – บัตรหลัก ไม่มีค่าธรรมเนียม บัตรเสริม ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • บัตรเครดิต SCB My Travel – บัตรหลัก 300 บาท บัตรเสริม 300 บาท
  • บัตรเครดิต SCB Beyond – บัตรหลัก 5,000 บาท บัตรเสริม 0 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อใช้จ่าย 100,000 บาท ต่อปี)
  • บัตรเครดิต SCB Ultra Platinum – บัตรหลัก 5,000 บาท บัตรเสริม 0 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อใช้จ่าย 100,000 บาท ต่อปี)
  • บัตรเครดิต SCB Family Plus – บัตรหลัก 2,000 บาท บัตรเสริม 0 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อใช้จ่าย 50,000 บาท ต่อปี)
  • บัตรเครดิต SCB King Power Platinum – บัตรหลัก 2,000 บาท บัตรเสริม 0 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อใช้จ่าย 50,000 บาท ต่อปี)
  • บัตรเครดิต SCB TOYOTA Platinum – บัตรหลัก 2,000 บาท บัตรเสริม 0 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อใช้จ่าย 50,000 บาท ต่อปี)

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตซิตี้

  • บัตรเครดิตซิตี้เพรสทีจ – บัตรหลัก 7,900 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ รีวอร์ด – บัตรหลัก 3,800 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ แคชแบล็ก แพลตตินั่ม – บัตรหลัก 2,000 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ ซิมพลิซิตี้ – บัตรหลัก และบัตรเสริม ไม่เสียค่าธรรมเนียมรายปี
  • บัตรเครดิตซิตี้ แม็คโคร แพลตตินั่ม รีวอร์ด – บัตรหลัก 1,900 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ รอยัล ออร์คิดพลัส พรีเฟอร์ – บัตรหลัก 10,000 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ รอยัล ออร์คิดพลัส ซีเล็คท์ – บัตรหลัก 4,000 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ เอ็ม วีซ่า ซีเล็คท์ – บัตรหลัก 4,000 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ
  • บัตรเครดิตซิตี้ เอ็ม วีซ่า รีวอร์ด – บัตรหลัก 2,000 บาท บัตรเสริม ไม่ระบุ

♣ บทความเกี่ยวกับ “บัตรเครดิต” ที่ Promotions.co.th อยากให้คุณอ่าน 

⇒ บัตรเครดิต Citi Ultima สำหรับคนที่มีเงิน 50 ล้านบาทขึ้นไป
⇒ 5 บัตรเครดิตจากทั่วโลก ที่ผู้ใช้จะได้รับก็ต่อเมื่อถูกเชิญให้ร่วมสมัครเท่านั้น
⇒ ลืมรหัส Pin เพื่อเปิดบัตรเครดิต ทำอย่างไร?
⇒ 3 บัตรเครดิตจาก 3 ธนาคารในไทย ที่ตกเป็นจำเลยสังคมว่าเป็นบัตรแซงคิว
⇒ วิธีขอเพิ่มวงเงินชั่วคราว ของบัตรเครดิตซิตี้ (เฉพาะบัตรหลัก)

ขอคืน ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต

ขอคืน ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต

ขอคืน ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต