วิธีสอนแบบอ่าน reading method

       การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และการอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว (Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่

Show

วิธีการอ่านอะไรก็เข้าใจและจำได้มากขึ้นด้วยเทคนิค SQ3R

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณสามารถจำได้ทุกอย่างที่อ่านผ่านตา?

ถึงวันนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลได้ทุกอย่างจากอินเตอร์เน็ต

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษะการจำยังคงสำคัญ

เพราะทุกอย่างที่คุณอ่านมาจะไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์เลยถ้าคุณจำไม่ได้

และคงเสียเวลาไม่ใช่น้อยที่ต้องหาข้อมูลเรื่องที่เคยรู้แล้วอีกรอบ

วันนี้ผมเอาระบบในการเรียนรู้ดีๆมาเล่าให้ฟัง

เทคนิคนี้ชื่อ SQ3R ถูกคิดขึ้นตั้งแต่ปี 1946 โดย Francis P. Robinson

เป็นระบบในการอ่านหนังสือให้เราเข้าใจข้อมูล และจำได้ในภายหลังมากขึ้น

ลองหยิบหนังสือที่คุณอ่านอยู่แล้วเลือกมาหนึ่งบท 

แล้วอ่านไปพร้อมๆกันทีละขั้นตอนนะครับ

1. Survey 

อ่านบทนั้นผ่านๆก่อน ดูย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้าย

ถ้าเป็นหนังสือทั้งเล่มก็อ่านคำนำ สารบัญ แล้วพลิกดูแต่ละหัวข้อคร่าวๆ

เพื่อที่คุณจะได้เห็นภาพรวมก่อนว่า คุณกำลังจะได้รู้เรื่องอะไรบ้าง

เรื่องไหนที่คุณรู้แล้ว และคุณยังไม่รู้

เห็นการเชื่อมโยงของข้อมูล เห็นรูปภาพหรือแผนภูมิที่ผู้เขียนใช้

2. Question

ตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คุณสงสัยอยู่แล้ว

หรือเพิ่งคิดถึงระหว่างอ่านผ่านๆ เช่น

- แนวคิดหลักของบทความนี้คืออะไร

- ผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรจากตัวอย่างนี้

- ฉันจะเอาแนวคิดตรงนี้ไปใช้ได้อย่างไร

การตั้งคำถามจะทำให้คุณ‘มองหา’คำตอบ

เหมือนเป็นการเตรียมความพร้อมให้สมองในการเรียนรู้

3. Read

การมีคำถามในใจเวลาอ่าน จะทำให้คุณโฟกัส จับใจความที่สำคัญได้ดีขึ้น

อ่านตามปกติไปทีละย่อหน้า

แล้วจดบันทึกใจความสำคัญ และความคิดเห็นของคุณออกมา

การเชื่อมโยงสิ่งที่คุณอ่านอยู่กับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว

จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นด้วย

4. Recall

นึกในใจว่าคุณอ่านอะไรไปแล้วบ้าง

ผมเรียกวิธีนี้ว่าการ ‘สรุปในใจ'

คือคุณสรุปเนื้อหาที่อ่านมาทั้งหมดในใจ

แล้วคุณจะรู้เลยว่าส่วนไหนที่ผ่านมาคุณเข้าใจหรือไม่เข้าใจ

เพื่อที่จะกลับไปอ่านใหม่อีกรอบ

ขั้นตอนนี้ควรทำจนกว่าคุณจะพอใจกับผลลัพธ์

คือสรุปในใจได้ครบถ้วน

ตอบคำถามของคุณจากขั้นตอนที่ 2 ได้ทั้งหมด

5. Review

ทบทวนสิ่งที่ได้อ่านไปแล้ว

โดยการอ่านสรุปที่จดไว้ หรืออ่านใหม่ทั้งหมด

การทบทวนช่วยในการเอาสิ่งที่คุณอ่านไปไว้ในความจำระยะยาว

SQ3R

Survey - Question - Read - Recall - Review

อ่านผ่านๆ - ตั้งคำถาม - อ่าน - สรุปในใจ - ทบทวน

วิธีการนี้ไม่ได้ใช้กับการอ่านหนังสืออย่างเดียวได้เท่านั้น

คุณสามารถเอาไปใช้ได้กับหนังสือเสียง หรือคอร์สสัมมนา คอร์สเรียนต่างๆได้เช่นกัน

ถ้าใครสามารถฝึกจนเป็นนิสัยได้ รับรองว่าคุณจะเป็นคนหนึ่งที่อ่านอะไรก็จำได้

แล้วลองจินตนาการดูสิครับ ว่าถ้าคุณสามารถจำได้ทุกอย่างที่อ่านผ่านตา จะเกิดอะไรขึ้น

คุณจะขึ้นมาเป็น Top 5% ของสายอาชีพคุณแน่นอน

ขั้นตอนสำหรับการอ่าน: 3 Steps Reading            ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

            1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ

วิธีสอนแบบอ่าน reading method

                      – ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน

                      – ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ                  

              2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้

                      – Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ

                       – Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง

                       – Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน

                      – Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน

                       – Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)

                       – Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)

                 3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น

http://www.skoolbuz.com/library/content/1954

http://int-english2.blogspot.com/2011/10/reading-skill.html

http://natchanok557.blogspot.com/p/reading-skills.html

วิธีสอนแบบอ่าน reading method

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...