หอรัษฎากรพิพัฒน์ ปัจจุบันคือ

หอรัษฎากรพิพัฒน์ อาคารรูปแบบตะวันตกถูกสร้างขึ้นโดยช่างชาวอิตาเลียนในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างอาคาร ๒ ชั้นเป็นแถวยาวเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓ เพื่อเป็นที่ทำการกรมพระคลังมหาสมบัติ  ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของหน่วยงานอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน จนในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

หอรัษฎากรพิพัฒน์ ปัจจุบันคือ

แหล่งข้อมูล:  Queen Sirikit Museum of Textiles

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

                5. The Prime Minister's policies discussed in the workshop. "The development of the management changes" on 16-17 August 2546 to train as a CFO or provincial treasury to support the work of the Governor CEO in Financial Management.

      ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ (จ.ศ.๑๒๓๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ สำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน กำหนดให้มีเจ้าพนักงานบาญชีกลาง เพื่อทำหน้าที่จัด บัญชีอากรทั้งปวงบรรดาที่ขึ้นอยู่ ในหอรัษฎากรพิพัฒนให้เป็นหลักฐาน จะได้ทราบฐานะการเงินของแผ่นดินได้แน่นอน โดยตั้งอยู่ในหอรัษฎาพิพัฒนในพระ บรมมหาราชวัง 

       ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ (จ.ศ.๑๒๓๗) ได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน เหตุผลในการตราพระ ราชบัญญัตินี้ขึ้นมีว่า การภาษีอากรซึ่งเป็นเงินขึ้น สำหรับแผ่นดินได้จับจ่ายราชการ ทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ย หวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังไม่มี อย่างธรรมเนียมรับธรรมเนียมจ่ายเงินให้เรียบร้อย เงินจึงได้ติดค้างเจ้า ภาษีนายอากรเป็นอันมาก ไม่พอจับจ่ายใช้ราชการทนุบำรุงบ้านเมืองให้ราษฎร อยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้นได้ จึงทรงพระราชดำริปรึกษาพร้อมด้วยท่านเสนาบดีและเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดตั้ง เป็น พระราชบัญญัตินี้ขึ้น หลักการของพระราชบัญญัตินี้คือ การจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติ ให้มีอธิบดีเป็นประธาน และรองอธิบดีช่วยราชการท่านผู้เป็นอธิบดี มีเจ้าพนักงานใหญ่ ๕ นาย คือ ปลัดอธิบดี-นาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีกลางนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีรับเงินนาย ๑ เจ้าพนักงานบาญชีจ่ายนาย ๑ เจ้าพนักงานเก็บเงินนาย ๑ กับให้มีเจ้าพนักงานเป็นรองเจ้าพนักงานใหญ่อีกนานยละ ๑ คน พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของบรรดาเจ้าพนักงานขึ้นไว้โดยชัดแจ้ง นอก จากนั้นยังกำหนดให้มีออดิตอเยเนอราล เป็นเจ้าพนักงานสำหรับตรวจบาญชีและ สิ่งของซึ่งเป็นรายขึ้นในแผ่นดินทุก ๆ ราย และจัดวางระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในกรมพระคลังมหาสมบัติ (กรมพระคลังมหาสมบัติ คือ กระทรวงการคลังในปัจจุบัน


      อย่างไรก็ ดี การดำเนินงานของกรมพระคลังมหาสมบัติที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังมีอุปสรรคและ ยังไม่เหมาะสม เนื่องจากกิจการบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นและกรมพระคลัง มหาสมบัติได้รับ การยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ดังนั้นในปี ๒๔๓๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการใน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับรับ สำหรับ จ่ายและรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวงกับถือบาญชีพระ ราชทรัพย์สำหรับในกระทรวงสิทธิขาด นับเป็นกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ ๑๓ กรม ดังนี้

กรมเจ้า กระทรวง ๕ กรม คือ

๑.กรมพระคลังกลาง สำหรับประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่า ภาษีอากร และบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งสิ้น
๒.กรมสารบาญชี สำหรับจ่ายเงินแผ่นดิน และถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
๓.กรมตรวจ สำหรับตรวจบาญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งสิ้น
๔.กรมเก็บ สำหรับรักษาพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
๕.กรมพระคลังข้างที่ สำหรับจัดการเงินในพระองค์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น ๘ กรม แบ่งเป็น ๒ แผนก คือ


กรมพระคลังข้างที่แผนก หนึ่ง กรมทำการแผ่นดิน มี ๓ กรม คือ

๑.กรมกระสาปนสิทธิการ สำหรับทำเงินตรา
๒.กรมงานพิมพ์บัตร สำหรับทำเงินกระดาษและตั๋วตรา
๓.กรมราชพัสดุ สำหรับจัดการซื้อจ่ายของห้องหลวงและรับจ่ายของส่วย


กรมพระคลังข้างที่อีกแผนก หนึ่ง กรมเจ้าจำนวน เก็บเงินภาษีอากร มี ๕ กรม คือ

๑.กรมส่วย สำหรับเร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม
๒.กรมสรรพากร สำหรับเก็บเงินอากรต่าง ๆ
๓.กรมสรรพภาษี สำหรับเก็บเงินภาษีต่าง ๆ
๔.กรมอากรที่ดิน สำหรับเก็บเงินอากรค่าที่ต่าง ๆ
๕.กรมศุลกากร สำหรับเก็บเงินภาษีขาเข้าขาออก

ซึ่งโดยผลแห่ง พระราชบัญญัติพระธรรมนูญฉบับดังกล่าว กรมสารบาญชี หรือกรมบัญชีกลางในปัจจุบัน จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) โดยมีสถานที่ทำการ ณ ตึกหอ-รัษฏากรพิพัฒน ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้กำหนดอำนาจหน้ที่กรมต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้ง ๑๓ กรม ไว้โดยละเอียด สำหรับกรมสารบาญชีนั้น พระราช-บัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดอำนาจ หน้าที่และแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

หอรัษฎากรพิพัฒน์ปัจจุบันมีชื่อว่าอะไร

ในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ

หอรัษฎากรพิพัฒน์ อยู่ที่ไหน

หอรัษฎากรพิพัฒน์ ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ ประเทศไทย

หอรัษฎากรพิพัฒน์ตั้งขึ้นในสมัยใด

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชปรารภว่า เงินภาษีอากรอันเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน จัดเก็บกันไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายรั่วไหลไปมากมาย ในปี พ.ศ. 2416 จึงได้ตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 และได้โปรดเกล้าตั้งสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อเป็นสำนักงานกลางสำหรับเก็บเงินผลประโยชน์รายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน ...

หอรัษฎากรพิพัฒน์มีความหมายอย่างไร

"หอรัษฎากรพิพัฒน์" สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๑๖ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมเงินรายได้ของแผ่นดิน ตรวจนับและเก็บภาษีต่างๆ ของแต่ละกระทรวง รวมทั้งกำหนดเงินที่ใช้จ่ายในราชการแผ่นดิน