เหรียญ ร.9 2539 เนื้อเงิน ราคา

ในปี พ.ศ.2539 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี กระทรวงมหาดไทยสมัยนั้น ท่าน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมี ท่านปลัดอารีย์ วงศ์อารยะ เป็นปลัดกระทรวง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ตามคำสั่งที่ 2708/2537 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 ส่วนใหญ่มีผู้อำนวยการกองต่างๆ และผู้แทนกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นคณะกรรมการ ส่วนผมเข้าไปเป็นกรรมการในส่วนของกรมแรงงาน และฐานะผู้มีประสบการณ์ในการสร้างเหรียญมาก่อน โดยการชักชวนจาก ท่านณัฏฐ์ ศรีวิหค คณะกรรมการชุดนี้มี ท่านประภาษ บุญยินดี (ตำแหน่งหลังสุดเป็น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย) ขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการกองกลางกระทรวงมหาดไทย เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ หมายถึงเป็นเจ้าของงานหรือแม่งานก็ว่าได้ และ คุณนฤมล ปาลวัฒน์ (ตำแหน่งหลังสุดเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน) หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

เหรียญประทับบัลลังก์ พิมพ์มีหู

เนื้อทองคำ พิมพ์มีหู ตอกโค้ดสิงห์

มีการประชุมหลายครั้งหลายหน ผู้เขียนจำไม่ถนัดว่ากี่ครั้ง เอาเป็นว่าหลังจากประชุมกันแล้วก็สรุปว่า จะสร้าง เหรียญประทับบัลลังก์ และ รูปปั้นประทับบัลลังก์ โดยสรุปในการประชุมครั้งแรก คือ

1. รูปปั้นประทับบัลลังก์ เนื้อโลหะ จำนวน 25,390 องค์

2. เหรียญประทับบัลลังก์ (เหรียญนั่งบัลลังก์ ) ประกอบด้วย

2.1 เนื้ออัลปาก้า 5,000,000 เหรียญ จำหน่ายเหรียญละ 59 บาท

2.2 เนื้อทองคำ 25,300 เหรียญ

2.3 เนื้อเงิน 50,000 เหรียญ

กล่องกำมะหยี่ใส่เหรียญเงิน

กล่องกำมะหยี่ใส่เหรียญทองคำ

เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว กระทรวงมหาดไทยก็นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากหนังสือขอพระบรมราชานุญาตผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการชุดนี้ก็เรียกประชุมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2538 (ขณะนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนเป็น พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ แล้ว)

ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกระแสปรารภว่า “ถ้าราคาสูงไป ประชาชนชาวไทยที่อยากได้ จะมีโอกาสไม่ทั่วถึง” ที่ประชุมก็ได้ถกเถียงกันว่า เหรียญเนื้ออัลปาก้าที่จะจำหน่ายเหรียญละ 59 บาทนั้น คือ เหรียญที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีโอกาสได้ ควรจะราคาเท่าใดดี เมื่อสอบถามราคาต้นทุนแล้วจำได้ว่า ประมาณเหรียญละ 5 บาท กรรมการจึงตกลงกันว่าจะจำหน่ายเหรียญละ 10 บาท

ท่านณัฏฐ์ ศรีวิหค

ท่านณัฏฐ์ ศรีวิหค ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้เสนอในที่ประชุมว่า ตัวเลข 9 น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะเป็น แผ่นดินรัชกาลที่ 9 ที่ประชุมเห็นชอบด้วยทั้งหมด จึงสรุปว่า เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้ออัลปาก้า จำหน่ายเหรียญละ 9 บาท ส่วน รูปหล่อประทับบัลลังก์  และ เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้อทองคำ ตลอดจนเหรียญเงินตามที่กำหนดไว้เป็นจำนวนมากนั้น ไม่น่าจะมีการจำหน่ายได้มากขนาดนั้น คณะกรรมการจึงขอดูกระแสความต้องการที่แท้จริงก่อนว่าจะสร้างจำนวนเท่าใดแน่นอน

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้อเงิน พิมพ์มีหู

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้อเงิน พิมพ์ไม่มีหู

หลังจากนั้นก็อยู่ในการดำเนินการสร้างต่อไป โดยรูปปั้นนั้นได้มอบให้ อาจารย์เศวต เทศน์ธรรม เป็นผู้ปั้น ส่วน เหรียญประทับบัลลังก์ ( เหรียญนั่งบัลลังก์ ) นั้นมอบให้ โรงงานง้วนจั๊ว เป็นผู้ดำเนินการ ให้ ช่างชัย ศรีรองเมือง เป็นผู้แกะแม่พิมพ์

ขณะนั้นเวลาใกล้งานเข้ามา ทางโรงงานปั๊มเหรียญเกรงว่าจะปั๊มได้ไม่ทันเวลา เพราะเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการได้ประชุมแล้วมอบให้ โรงงานโสภณโลหะภัณฑ์ แบ่งงานปั๊มเนื้ออัลปาก้าออกไป 3,000,000 เหรียญ ส่วน โรงงานง้วนจั๊ว ปั๊มเนื้ออัลปาก้า 2,000,000 เหรียญ และเหรียญเนื้อทองคำ และเนื้อเงินทั้งหมด

 เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้อเงิน พิมพ์มีหู

ช่างโสภณ แกะแต่งให้คมชัดขึ้น

 เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้อเงิน พิมพ์ไม่มีหู

 จำนวนเหรียญที่แน่นอนคือ เนื้ออัลปาก้า 5,000,000

บาท จากโรงงานโสภณโลหะภัณฑ์ 3,000,000 เหรียญ

ได้รับบล็อกไป แต่บล็อกที่ได้รับไปทาง ช่างโสภณ ศรี

รุ่งเรือง ได้นำไปแกะเติมแต่งให้คมชัดขึ้น โดยเฉพาะใน

ส่วนปลายกระบี่ที่ยาวขึ้นและพระพักตร์ ตลอดจนเส้นเกศา

และเครื่องทรงให้คมชัดขึ้น และถ่ายบล็อกออกไปอีก

หลายบล็อก แต่ทุกบล็อกจะเหมือนกัน คือ คมชัด (ภาย

หลังมีการเรียกกันว่า บล็อกกระบี่ยาว) เหตุที่ต้องถ่าย

บล็อกออกไปอีกหลายบล็อก เพราะต้องปั๊มเหรียญจำนวน

มากถึง 3,000,000 เหรียญ และเป็นการปั๊มเหรียญเนื้ออัล

ปาก้าซึ่งมีความแข็งมาก บล็อกจึงชำรุดง่ายต้องเปลี่ยน

บล็อกบ่อย และต้องปั๊มจากเครื่องปั๊มหลายเครื่องเพื่อให้

ทันงาน ดังนั้นเหรียญจากโรงงานนี้จึงเป็นเหรียญพิมพ์

กระบี่ยาวทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้ออัลปาก้า

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า

พิมพ์นิยม กระบี่ยาว

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า

ส่วน เหรียญประทับบัลลังก์ (เหรียญนั่งบัลลังก์ )  เนื้อเงิน และทองคำ ที่เป็น พิมพ์กระบี่ยาว (หรือบล็อกนิยม) นั้น จะมีหูเหรียญเหมือนเหรียญอัลปาก้าแต่ไม่เจาะรู เป็นเหรียญที่คณะกรรมการทำกันไว้ใช้เอง มีเนื้อทองคำโดยประมาณ 20 เหรียญ และเงินโดยประมาณ 300 เหรียญ เท่านั้น จะมี โค้ดสิงห์ ทั้งเหรียญเนื้อทองคำและ เนื้อเงิน ตอกโค้ดเดียวบ้าง สองโค้ดบ้าง

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า

พิมพ์กระบี่สั้น

เหรียญนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า

ส่วน เหรียญประทับบัลลังก์ (เหรียญนั่งบัลลังก์ ) เนื้ออัลปาก้า อีก 2,000,000 เหรียญ ซึ่งได้ให้โรงงานง้วนจั๊วปั๊ม ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น พิมพ์กระบี่สั้น ทั้งหมด รวมทั้ง เหรียญเนื้อทองคำ (ไม่มีหู) และเงินที่จำหน่าย (ไม่มีหู) จะเป็นพิมพ์เดียวกันทั้งหมด จะมี โค้ดสิงห์ เฉพาะเหรียญทองคำ ส่วนเหรียญเงินไม่ได้ตอกโค้ด

เรื่องจำนวน เหรียญทองคำ และเงิน ตลอดจนรูปปั้นนั้น ได้สอบถามจาก ท่านประภาษ บุญยินดี ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการ หรือแม่งานการสร้าง ขณะเป็น ผู้อำนวยการกองกลาง กระทรวงมหาดไทย ท่านจำได้ว่า เหรียญทองคำไม่เกิน 500 เหรียญ ส่วนเหรียญเงินประมาณ 5,000 เหรียญ ส่วนตัวเลขชัดเจนจริงๆ ท่านจำไม่ได้ ส่วนรูปปั้นก็ประมาณ 500 องค์

เหรียญเนื้อเงิน มีเหลือตกค้างมาจนปี พ.ศ.2553 ประมาณ 2,000 เหรียญ ผู้เขียนได้นำมาลงประชาสัมพันธ์ให้กระทรวงมหาดไทยใน ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1059 เพื่อให้คนไปบูชาเหรียญละ 900 บาท ที่กลุ่มงานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล กองการเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อนำรายได้เข้างานสวัสดิการข้าราชการกระทรวงมหาดไทย

เหรียญนี้ได้ทำพิธีมังคลาภิเษกที่ โบสถ์วัดรังษี (ในวัดบวรนิเวศวิหาร) เนื่องจากเหรียญมีจำนวนมากเอาเข้าปลุกเสกที่ โบสถ์วัดบวรนิเวศวิหารไ ม่ได้ ต้องเอามาทำพิธีที่ โบสถ์วัดรังษี เพื่อเอารถสิบล้อขนเหรียญจำนวน 5,000,000 เหรียญ ไปวางไว้ที่สนามบาสเกตบอล โรงเรียนวัดบวรฯ แล้วโยงสายสิญจน์จากใน โบสถ์วัดรังษี ซึ่งอยู่ใกล้กันนั้นมาได้ สำหรับเหรียญทองคำและเงินเอาไว้ในโบสถ์ พร้อมพระบรมรูปปั้นจำนวนหนึ่ง พระที่มาทำพิธีมังคลาภิเษกเท่าที่ผู้เขียนจำได้มี สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธาน ส่วนเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีนี้เท่าที่จำได้ คือ