หัวฉีดประจำสูบ

หัวฉีดประจำสูบ

ปัญหารถยนต์หัวฉีดตัน เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ต้องแก้ยังไง ให้หายขาด…

หัวฉีดอุดตัน!!

ดูแลดีเสียร้อย ปล่อยพังเสียหมื่น..วิธีแก้ปัญหา รถยนต์เกิดอาการหัวฉีดตัน เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ต้องแก้ยังไง ให้หายขาด ด้วย 2 วิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มต้นในราคาหลักร้อย คือ ทำความสะอาดด้วยนำยาหัวฉีดและถอดล้างแบบเต็มระบบ ด้วยเครื่องล้างหัวฉีด ป้องกันคราบสิ่งสกปรก ตัวเกาะติดหัวฉีดที่ส่งผลทำให้รถคุณพังได้

“หัวฉีดตัน เครื่องสั่น ต้องแก้ยังไง”

รถ (ตุ๊ก..ตุ๊ก) บรรทุกถ่าน รถขึ้นสะพาน รถลงสะพาน รถชักกระตุก กระตุก กระตุก…
รถกระตุก อาจไม่สนุกสนานเร้าใจ เหมือนเพลงที่คุณร้องๆ เต้นๆ กัน เพราะจะทำให้คุณหัวสั่น หัวคลอน จนปวดเศียรเวียด Head ได้ และบางครั้งก็มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ นานา เช่น รถมีอาการกำลังตก เดินไม่เรียบ เร่งไม่ขึ้น และกินแก๊สและน้ำมันมากขึ้น หากรถใครที่เจออาการเหล่านี้ หัวฉีดรถยนต์ของคุณกำลังจะอุดตันแล้วววววว ให้รีบแก้ไขโดยด่วนครับ

โดยเฉพาะรถยนต์ที่วิ่งเยอะ หรือตั้งแต่ระยะทาง 100,000 กิโลเมตร คราบและสิ่งสกปรกจะไปจับและเกาะติดหัวฉีดรถได้ง่าย
หากไม่อยากให้หัวฉีดรถของคุณตกเป็นจำเลยของคราบสิ่งสกปรกต่างๆ ต้องดูแลรักษาไว้ให้ดีครับ ซึ่งวันนี้ช่างเคมีวิธีทำความสะอาดหัวฉีดที่คุณสามารถทำได้เอง และแบบที่ต้องช่างทำเท่านั้นมาฝากกันครับ…

ใครที่ถนัดและสะดวกที่จะดูและและทำความหัวฉีดด้วยตนเอง ใช้งบแค่ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้นเองครับ ไปซื้อน้ำยาหัวฉีด มาเติมถังน้ำมัน เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไป ทิ้งให้ไหลอยู่ในระบบเดียวกันกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งทุกครั้งที่มีการฉีดจ่ายน้ำมัน น้ำยาหัวฉีดหรือสารทำความสะอาดจะถูกฉีดเพื่อล้างคราบสิ่งสกปรกให้หลุดออกไปจากหัวฉีดนั่นเองครับ

ส่วนอีกหนึ่งวิธีก็คือการถอดล้างแบบเต็มระบบ โดยเครื่องล้างหัวฉีด วิธีนี้อาจจะแพงหน่อย แต่ถือดีกว่าวิธีแรกมากๆ ครับ ซึ่งวิธีนี้คุณจะสามารถเห็นวิธีการต่างๆ ได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทดสอบหัวฉีดก่อนล้าง การฉีดแต่ละหัว ก่อนจะเข้าสู่การล้างด้วยเครื่องมือพิเศษ ที่สามารถขจัดคราบสิ่งสกปรกฝังลึก เหนียวเหนอะออกได้ จากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการทดสอบความสะอาด ดูการฉีดของแต่ละหัว ว่าเป็นฝอยละอองหรือยัง ในขณะเดียวกันก็ให้ดูปริมาณของเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดออกมาด้วยง่ามีระดับเท่ากันทั้งหมดหรือไม่ (หัวฉีดที่ดีต้องฉีดเชื้อเพลิงออกมาเท่าๆ กัน) เสร็จแล้วจึงติดตั้งกลับเข้าที่เดิม เป็นอันเสร็จสิ้นครับ

สรุปง่ายๆ ทั้ง 2 วิธีใช้เช็กหัวฉีดอุนตันได้ ต่างกันที่ราคาถูกหลักร้อยและแพงหลักพัน แต่จะให้ดีและชัวร์กว่า ให้เปลี่ยนใหม่ได้เลยครับ แต่ต้องขอบอกว่าวิธีนี้ต้องเสียหลักหมื่นเลยนะครับ ถ้าไม่อยากเสียเงินโดยใช่เหตุ ก็ควรหมั่นตรวจสอบและดูแลหัวฉีดไม่ให้อุดตันจะดีที่สุดครับ

เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ

  • เติมน้ำมันแบบไหน ประหยัด และคุ้มกว่ากัน
  • ถอด ล้วง ทะลวง ไส้แคต ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้นจริงหรือไม่??
  • สัญญานเตือนก่อนโช๊คอัพพัง
  • อาการแผงคอยล์ร้อนอุดตัน
  • คุยกับช่างเค คลิก 
  • คุยกับเราได้ที่ https://www.facebook.com/toyotakmotors

มีคำถามจากผู้ใช้รถรายหนึ่ง สรุปใจความได้ว่า ใช้รถโตโยต้า อัลติส 1.8 ปี 2002 วิ่งมา 2.8 แสนกิโลเมตร เกิดปัญหาไฟ Check Engine ขึ้นโชว์บนหน้าปัด เครื่องสั่นเร่งไม่ค่อยขึ้น นำรถเข้าอู่ ช่างทำการตรวจเช็คแล้วแจ้งว่าปัญหาเกิดจาก คอยล์จุดระเบิดสูบ 3 เสีย จึงเปลี่ยนใหม่พร้อมหัวเทียนอีก 1 ชุด เมื่อนำรถกลับไปใช้ได้วันเดียวอาการเดิมก็เกิดขึ้นอีก จึงนำรถเข้าอู่อีกครั้ง คราวนี้ช่างทำการตรวจสอบโดยยกคอยล์จุดระเบิดขึ้นที่ละตัว แล้วบอกว่าสูบ 3 ที่เพิ่งเปลี่ยนคอยล์ใหม่ ไม่ทำงาน ก่อนลองสลับคอยล์ระหว่างสูบ 3 กับ 1 ปรากฏว่า สูบ 3 ก็ยังไม่ทำงานอีก จากนั้นทำการวัดกำลังอัดก็ปกติดี ช่างจึงแจ้งว่าต้นเหตุของปัญหาเกิดจาก “หัวฉีด”น้ำมันเสียแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทั้ง 4 หัว ราคาหัวละเกือบ 7,000 บาท จึงอยากจะถามว่าอาการดังกล่าวใช่หัวฉีดเสียใช่หรือไม่ และจะมีวิธีเซฟค่าใช้จ่ายอย่างไรได้บ้าง
 
จากข้อมูลข้างต้นหากวัดกำลังอัดและคอยล์จุดระเบิดปกติดี “หัวฉีด”ก็คือจำเลยสุดท้าย โดยหากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถ หาซื้อหัวฉีดมือ 2 สภาพดี ๆ ได้ตามเชียงกง ทั้งนี้หากหาของ อัลติส 1.8 ไม่ได้สามารถ ใช้หัวฉีดของเครื่องยนต์ 1J vvti ทดแทนได้ เนื่องจากมีปริมาตรการฉีดเท่ากันที่ 250 ซีซี แถมราคาแสนถูก 4 หัวไม่เกิน 1,500 บาทครับ

สำหรับ“หัวฉีด”(Electronic Fuel Injection: EFI) เป็นอุปกรณ์จ่ายน้ำมันแก๊สโซลีน (เบนซิน)เข้าไปยังห้องเผาไหม้ ถือกำเนิดขึ้นมาทดแทนระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ โดยเจ้าหัวฉีดจะจ่ายเชื้อเพลิงออกมาเป็นฝอยละเอียดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ภายใต้การควบคุมการฉีด ที่แม่นยำของกล่องอีซียู ทำให้ประหยัดกว่าระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ มากเลยทีเดียว

การทำงานของฉีด เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ กล่องอีซียู จะประมวลผลจากเซ็นเซอร์ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นลิ้นเร่ง- ปริมาตรอากาศ-อุณหภูมิ-ไอเสีย ก่อนสั่งการให้หัวฉีดทำงาน ด้วยการสร้างสนามแม่เหล็กผ่านขดลวดเพื่อยกเข็มหัวฉีดในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้เมื่อเข็มหัวฉีดยกขึ้น เชื้อเพลิงซึ่งมีแรงดันจากปั้ม จะถูกปล่อยเป็นฝอยละเอียดผ่านหัวฉีดผสมกับอากาศเป็นไอดีเข้าไปยังห้องเผาไหม้ และเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน กล่องอีซียูก็จะประมวลผล พร้อมปรับการฉีดเชื้อเพลิงให้มีความเหมาะสมต่อการทำงานแต่ละความเร็วรอบ ส่งผลให้ได้ความประหยัด ไอเสียน้อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด