โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน

การแข่งขัน " กล้าใหม่ สร้างสรรค์ชุมชน" ระดับอุดมศึกษา ที่เปิดเวทีให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้นำความรู้ความสามารถ มาสร้างสรรค์โครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา วัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

Show

โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน
โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน
โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน
โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน
โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน

โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน
โครงงาน เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน

 

1. ผึ้งเลี้ยงคน (มรภ.ภูเก็ต)

ส่งเสริมชาวเลในพื้นที่บ้านหินลูกเดียว ต. ไม้ขาว อ. ถลาง จ.ภูเก็ต ได้มีอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงผึ้งเพื่อจำหน่ายน้ำผึ้ง

 

2.Santor Let's Stay (ม.ธรรมศาสตร์)

อบรมให้ความรู้ด้านการบัญชีและการบริหารธุรกิจ แก่ชาวบ้านชุมชนแสนตอ เขตบางขุนเทียน จ. กรุงเทพ เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจ Home Stay ของชุมชนให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีขึ้น

 

3. การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยโลกเสมือนจริง ( ม.เชียงใหม่)

ต่อยอดการอนุรักษ์โบราณวัตถุและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยนำเทคโนโลยีเครื่องสแกนเนอร์ 3 มิติและเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาช่วยในการอนุรักษ์โบราณวัตถุของวัดปงสนุก อ. เมือง จ. ลำปาง ด้วยการจัดแสดงภาพและวัตถุเสมือนจริง

 

 4.ของชำร่วยจากน้ำตาลปี๊บ (ม.รัตนบัณทิต)

นำน้ำตาลปี๊ปผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในหมู่ที่ 7 อ. เมือง จ. สมุทรสงคราม มาพัฒนารูปแบบให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

 

 5. คนกินแดด(ม.อีสาน)

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้เแสงสว่างแก่วัดป่าบ้านหนองหลุบ อ. เมือง จ. ขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ solar cell ที่หาได้ในท้องถิ่น

 

6.เกมส์เสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้เด็กออทิสติก (ม.เทคโนโลยี่พระจอมเกล้าธนบุรี)

 

ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้กับเด็กออทิสติกในโรงเรียนอนุบาลจันทยานนท์ เขตบางกอกน้อย จ. กรุงเทพ ด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ในรูปของเกมเชิงนิทาน

 

7. การผลิตแก๊สธรรมชาติจากระบบการกำจัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ (ม.วงษ์ชวลิตกุล)

แก้ไขปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตเส้นขนมจีน จากโรงงานในชุมชนหมู่บ้านประโดก อ. เมือง จ. นครราชสีมา ซึ่งจะช่วยกำจัดของเสียให้ลดลง และลดปัญหากลิ่นเหม็น และนำก๊าชชีวภาพที่เกิดขึ้นไปใช้เป็นพลังงานทดแทนในชุมชน

 

8.กลุ่มกระจูดบ้านกุมแป (ม.เทคโนโลยี่ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่)

ส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านในชุมชนบ้านกุมแป อ. ชะอวด จ. นครศรีธรรมราชนำกระจูดในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากกระจูด โดยเน้นการจัดการกระจูดในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

9.กลั่นความคิด กลั่นใจ กลั่นน้ำมันหอมระเหยเพื่อช่วยชุมชน (สถาบันเทคโนโลยี่เจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

ศึกษาและเลือกใช้กระบวนการ หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรที่ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านรำมะสัก อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง ดำเนินการอยู่

 

10. แผนที่มลพิษทางน้ำของชุมชน คลองรังสิตหมู่5 หลัก6 อ.เมือง จ.ปทุมธานี (ม.รังสิต)

จัดทำแผนที่ผลพิษทางน้ำร่วมกับชุมชนคลองรังสิต อ. เมือง จ. ปทุมธานีเพื่อเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำ และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และแหล่งน้ำอื่นๆ ของชุมชน

 

11. ปันน้ำใจจากปราชญ์สู่ปราชญ์ เพื่อความยั่งยืนภายใต้ความพอเพียง (ม.ศิลปากรวิทยาลัยเขตสารสนเทศเพชรบุรี)

ถอดองค์ความรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น สู่ชาวบ้านในชุมชน อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการถ่ายทอด / การสื่อสารให้แก่ปราชญ์ท้องถิ่นในแขนงต่างๆ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และครบถ้วน

 

 12. Tourism without Barrier "ท่องเที่ยวแบบไร้ขีดจำกัด " (วิทยาลัยดุสิตธานี)

สร้างโอกาสและฝึกอาชีพมัคคุเทศก์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูดให้กับนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร จ. กรุงเทพ

 

13.ฝีมือไทยสร้างสรรค์ถ่านอัดแท่งจากเศษตะเกียบ (มรภ.ลำปาง)

แปรรูปเศษวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตตะเกียบและไม้เสียบลูกชิ้นเป็นถ่านอัดแท่งด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัตถุดิบและรายได้เสริมให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านทาน อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง

 

14. คลับบ้านนา สปาชุมชน (ม.มหาสารคาม)

พัฒนาโรงอบสมุนไพรบ้านโนนสำราญ อ. เมือง จ. มหาสารคามนำความรู้ของแพทย์แผนไทยมาประยุกต์และปรับปรุงเพื่อสร้างมาตรฐานการใช้พืชสมุนไพรให้ดีขึ้น และสร้างแนวทางการจัดการด้านสมุนไพร รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน

 

15. สวนสนุก สุขเติมเต็ม (ม.ขอนแก่น)

ออกแบบสวนสนุกและของเล่น ผลิตสื่อและอุปกรณ์จากธรรมชาติและวัสดุที่มีในชุมชนโนนม่วง เพื่อเตรียมเสริมสร้างพัฒนาการแก่เด็กพิเศษ (ออทิสติก) บ้านเติมเต็ม อ. เมือง จ. ขอนแก่น

 

16.กอและน้อย กล้าใหม่ใส่ใจชุมชน (ม.สงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี)

ถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนในหมู่บ้านตะโละกาโปร์ อ. ยะหริ่ง จ. ปัตตานี ได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องลวดลายและสีเรือกอและ รวมทั้งผลิตของที่ระลึกจากเศษไม้เพื่อสร้างรายได้ในชุมชน

 

17.ฮู้ฮิตโตยฮอย เปิงใจ๋ละอ่อนน้อย ตี้โฮงศิลป์ตั๋วเมือง (ม.เทคโนโลยี่ราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย)

ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวล้านนาและอักษรธรรมล้านนาของชุมชนโป่งแดง อ. พาน จ. เชียงราย เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่ดินแดนล้านนา

 

18. กล้าใหม่ ข้าวไทยเพื่อชุมชน (ม.เทคโนโลยี่ราชมงคลอีสาน วิทยาลัยเขตสกลนคร)

พัฒนาเครื่องไล่ความชื้นในเมล็ดข้าวที่ทำการเก็บเกี่ยวก่อนเวลา หรือข้าวที่มีความชื้นมาก เพื่อให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และชาวบ้านหมู่บ้านดอนหวาย อ. พังโคน จ. สกลนคร สามารถจำหน่ายข้าวได้ราคาดีขึ้น

 

19.เถ้าแก่น้อย ร้อยเรียงฝัน ปันรอยยิ้ม (ม.ธุรกิจบัณทิตย์)

ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรีเห็นความสำคัญของการศึกษา เพิ่มแนวทางการประกอบอาชีพ โดยจัดโปรแกรมให้นักเรียนเป็นมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยวรอบเกาะเกร็ด

 

20. พลังงานทดแทนบนดอยสูงของกลุ่มคนฮักป่า ตำบลกี้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (ม.ฟาร์อีสเทิร์น)

พัฒนาศักยภาพ ความรู้ของกลุ่มเยาวชนฮักป่า อ. แม่แตง จ.เ ชียงใหม่ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นต้นแบบ เช่น บ่อผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยตั้งเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชน

 ที่มา : สายบริหารงานสื่อสารองค์กร

          ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)