อาชีพที่เกี่ยวกับ นาฏศิลป์

คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพการแสดง

                       
1. มีความถนัดทางศิลปะการแสดง
2. มีสุนทรียะ สนใจสิ่งสวยงาม ดนตรี วรรณกรรม
3. มีอารมณ์อ่อนไหว
4. มีจินตนาการสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ลอกเลียนแบบใคร โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
เป็นนักแสดง โอกาสก้าวหน้าขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แสดง และความนิยมของผู้ชม ทั้งนี้อยู่ที่การพัฒนาตนเองและการใฝ่หาความรู้ของผู้ที่จะประกอบอาชีพ

อาชีพการแสดงหนังตะลุง
                                    

อาชีพที่เกี่ยวกับ นาฏศิลป์

                  หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นลำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ “ว่าบท’, มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่ง การว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด  

                        หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยล่อน ที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงไต้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ

สรุปสาระสำคัญ

ขั้นตอนการแสดงหนังตะลุง มีการลำดับการเล่น ดังนี้
1. ตั้งเครื่องเบิกโรง เป็นการทำพิธีเอาฤกษ์ ฃอที่ตั้งโรงและบิดเป่าเสนียดจัญไร เริ่ม โดยเมื่อคณะหนังขึ้นโรงแล้วนายหนังจะตีกลองนำเอาฤกษ์ ลูกคู่บรรเลงเพลงเชิด ขั้นนี้เรียก'ว่า ตั้งเครื่อง

2. โหมโรง การโหมโรงเป็นการบรรเลงดนตรีล้วน ๆ เพื่อเรียกคนดู และให้นายหนังได้ เตรียมพร้อม การบรรเลงเพลงโหมโรงเดิมที่เล่ากันว่าใช้ “เพลงทับ” คือใช้ทับเป็นตัวยืนและ เดินจังหวะทำนองต่าง ๆ กันไป

3. ออกลิงหัวคํ่า เป็นธรรมเนียมการเล่นหนังตะลุงสมัยก่อน ปัจจุบันเลิกเล่นแล้ว เช้าใจว่าได้รับอิทธิพลจากหนังใหญ่ เพราะรูปที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นรูปจับ มีฤาษีอยู่กลาง ลิงขาว กับลิงดำอยู่คนละช้าง แต่รูปที่แยกเป็นรูปเดี่ยวๆ 3 รูป แบบเดียวกับของหนังตะลุงก็มี

4. ออกฤาษี เป็นการเล่นเพื่อคารวะครู และบิดเป่าเสนียดจัญไร โดยขออำนาจจาก พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ และเทวะอื่น ๆ และบางหนังยังขออำนาจจากพระ รัตนตรัยด้วย

5. ออกรูปฉะ หรือรูปจับ คำว่า “ฉะ” คือสู้รบ ออกรูปฉะเป็นการออกรูปจากพระราม กับทศกัณฐ์ให้ต่อสู้กัน วิธีเล่นใช้ทำนองพากย์คล้ายหนังใหญ่ การเล่นซุดนี้หนังตะลุงเลิกเล่นไป นานแล้ว

6. ออกรูปปรายหน้าบท รูปปรายหน้าบท เป็นรูปผู้ชายถือดอกบัวบ้าง ธงชาติบ้าง ถือ เป็นตัวแทนชองนายหนัง ใช้เล่นเพื่อไหว้ครู ไหว้สิ่งศักด์สิทธ์และผู้ที่หนังเคารพนับถือทั้งหมด ตลอดทั้งใช้ร้องกลอน ฝากเนื้อฝากตัวกับผู้ซม

7. ออกรูปบอกเรื่อง รูปบอกเรื่องเป็นรูปตลก หนังส่วนใหญ่ใช้รูปขวัญเมืองเล่นเพื่อ เป็นตัวแทนชองนายหนัง ไม่มีการร้องกลอน มีแต่พูด จุดประสงค์ชองการออกรูปนี้เพื่อบอก กล่าวกับผู้ซมถึงเรื่องนิยายที่หนังจะหยิบยกขึ้นแสดง

8. เกี้ยวจอ เป็นการร้องกลอนสั้น ๆ ก่อนตั้งนามเมืองเพื่อให้เป็นคติสอนใจแก่ผู้ซม หรือเป็นกลอนพรรณนา ธรรมชาติและความในใจ กลอนที่ร้องนี้หนังจะแต่งไว้ก่อน และถือว่า มีความคมคาย

9. ตั้งนามเมือง หรือตั้งเมือง เป็นการออกรูปกษัตริย์ โดยลมมติขึ้นเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จากนั้นจึงดำเนินเหตุการณ์ไปตามเรื่องที่กำหนดไว้

อาชีพการแสดงลิเก

อาชีพที่เกี่ยวกับ นาฏศิลป์



                  ขั้นตอนการแสดงลิเกมีวิธีการแสดง คือ เดินเรื่องรวดเร็ว ตลกซบชัน เริ่มด้วยโหมโรง 3 ลา จบแล้วบรรเลงเพลงสาธุการ ให้ผู้แสดงไหว้ครู แล้วจึงออกแขก บอกเรื่องที่จะแสดง สมัยก่อนมีการรำถวายมือหรือรำเบิกโรง แล้วจึงดำเนินเรื่อง ต่อมาการรำถวายมือก็เลิกไป ออกแขกแล้วก็จับเรื่องทันที การร่ายรำน้อยลงไปจนเกือบไม่เหลือเลย คงมืเพียงบางคณะที่ยัง ยึดศิลปะการรำอยู่

ผู้แสดง เดิมใช้ผู้ชายล้วน ต่อมาแสดงชายจริงหญิงแห้นั้น ผู้แสดงต้องมีปฏิภาณในการ ร้องและเจรจา ดำเนินเรื่องโดยไม่มืการบอกบทเลย หัวหน้าคณะจะเล่าให้พีงก่อนเท่านั้น นอกจากนี้ การเจรจาต้องตัดเลียงให้ผิดปกติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ชองลิเก แต่ตัวสามัญซนและตัว ตลกพูดเลียงธรรมดา

เพลงและดนตรี ดำเนินเรื่องใช้เพลงหงส์ทองชั้นเดียว แต่ตัดแปลงให้ต้นไต้เนื้อความ มาก ๆ แล้วจึงรับด้วยปีพาทย์ แต่ถ้าเล่นเรื่องต่างภาษา ก็ใช้เพลงที่มืลำเนียงภาษานั้น ๆ ตาม ท้องเรื่อง แต่ด้นให้คล้ายหงส์ทอง ต่อมานายดอกดิน เสือสง่า ได้ดัดแปลงเพลงมอญครวญของ ลิเกบันตนที่ใซ้กับบทโศก มาเป็นเพลงแสดงความรักด้วย

เรื่องที่แสดง นิยมใช้เรื่องละครนอก ละครใน และเรื่องพงศาวดารจีน มอญ ญวน เซ่น ลามก๊ก ราชาธิราช

การแต่งกาย แต่งตัวด้วยเครื่องประดับสวยงาม เลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์จึงเรียกว่าลิเกทรงเครื่อง “สมัยของแพง” ก็ลดเครื่องแต่งกายที่แพรวพราวลงไป แต่บางคณะก็ ยังรักษาแบบแผนเดิมไว้ โดยตัวนายโรงยังแต่งเลียนแบบเครื่องทรงชองกษัตริย์ในส่วนที่มิใช่ เครื่องด้น เซ่น นุ่งผ้ายกทอง สวมเสื้อเข้มขาบหรือเยียรบับ แขนใหญ่ถึงข้อมือ คาดเข็มขัดนอก เสื้อ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ แต่ดัดแปลงเลียใหม่ เซ่น เครื่องสวมศีรษะ เครื่องประดับหน้าอก ลายละพาย เครื่องประดับไหล่ ตัวนางนุ่งจีบยกทอง สวมเสื้อแขน กระบอกยาว ห่มสไบปีกแพรวพราว สวมกระบังหน้าต่อยอดมงกุฎ ที่แปลกกว่าการแสดงอื่น ๆ คือสวมถุงเท้ายาวลีขาวแทนการผัดฝุ่นอย่างละคร แต่ไม่สวมรองเท้า

สถานที่แสดง ลานวัด ตลาด สนามกว้าง ๆ โดยปลูกเพิงสูงระดับตา ด้านหน้าเป็นที่ แสดง ด้านหลังเป็นที่พักที่แต่งตัว

อาชีพที่เกี่ยวกับ นาฏศิลป์

อาชีพการแสดงหมอลำ


อาชีพที่เกี่ยวกับ นาฏศิลป์

คำว่า "ลำ" มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การ ขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวกํ่ากาดำ เรื่อง ขูลูนางฮั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่าลำ กลอนที่ เอามาจากหนังสือลำ เรียกว่ากลอนลำ

อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มา ขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญ,ในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"

วิวัฒนาการของหมอลำ

ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คง เกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดยเรียก ลูกหลาน ให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาพีงกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่ นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่า ออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็น ต้น

เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงตํ่า ประกอบ และ หาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชาย อย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อผู้หญิงมาแสดง ประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพา ราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปก ฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ

จากการที่มีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ตังนี้

ลำโบราณ เป็นการเล่าทานของผู้เฒ่าผู้แก'ให้ลูกหลานพีง ไม่มีท่าทางและดนตรีประกอบลูกคู่หรือลำกลอน เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนสำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การสำมีทั้งสำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ป้ญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้สำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การสำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หัก สวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า สำชิงชู้

ลำหมู่ เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มี เครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะ เป็นการลำแบบสำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ไต้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำไต้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางต้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึง เกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น สำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ล่อนการสำเรื่องในช่วงหัวคํ่าจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนลู กล่าวคือ จะ มีน้กร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เช่นกีตาร์ คีย์บอร์ดแซ็กโซโฟนทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมา ผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ไต้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้

นับว่า หมอลำเฟืองฟูมากที,สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี

ลำซิ่ง หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจาก การก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากใน กลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วย รูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำชิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู' การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซึ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อคหนังปราโมนัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมนัยซึ่ง ถึงกับมีการจัด ประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"

กลอนลำแบบต่างๆ

กลอนที่นำมาเสนอ ณ ที่นี้มีหลายกลอนที่มีคำหยาบโลนจำนวนมาก บางท่านอาจจะทำใจ ยอมรับไม่ได้ก็ต้องกราบขออภัยเพราะผู้จัดทำมีเจตนาที่จะเผยแพร่ไว้เพื่อเป็นการสืบสาน

วัฒนธรรมประเพณี มิได้มีเจตนาที่จะเสนอให้เป็นเรื่องลามกอนาจาร ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า นี่คือ วิถีชีวิตของคนอีสาน กลอนลำทั้งหลายทั้งปวงผู้ลำมีเจตนาจะทำให้เกิดความสนุกสนาน ตลกโปก ฮาเป็นที่ตั้ง ท่านที่อยู่ในท้องถิ่นอื่นๆ ขอได้เข้าใจในเจตนาด้วยครับ สนใจในกลอนลำหัวข้อใดคลิก ที่หัวข้อนั้นเพื่อเข้าชมได้ครับ

กลอนที่นำมาร้องมาลำมีมากมายหลายอย่าง จนไม่สามารถจะกล่าวนับหรือแยกแยะได้

หมด แต่เมื่อย่อรวมลงแล้วจะมีอยู่สองประเภท คือ กลอนสั้นและกลอนยาว

กลอนสั้น คือ คำกลอนที่สั้นๆ สำหรับเวลามีงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานทำบุญบ้าน หรืองาน ประจำปี เช่น งานบุญเดือนหกเป็นต้น กลอนสั้นมีดังต่อไปนี้

1. กลอนขึ้นลำ

2. กลอนลงลำ

3. กลอนลำเหมิดคืน

4. กลอนโด้น

5. กลอนติ่ง

6. กลอนต่ง

7. กลอนอัศจรรย์

8. กลอนสอย

9. กลอนหนังสือเจียง

10. กลอนเต้ยหรือผญา

11. ลำสีฟ้นดอน

12. ลำสั้น เรื่องติดเสน่ห์

กลอนยาว คือ กลอนสำหรับใช้ลำในงานการกุศล งานมหรสพต่างๆ กลอนยาวนี้ใช้เวลาลำ เป็นชั่วโมงบ้าง ครึ่งชั่วโมงบ้าง หรือแล้วแต่กรณี ล้าลำคนเดียวเช่น ลำพื้น หรือ ลำเรื่อง ต้องใช้เวลา ลำเป็นวันๆ คืนๆ ทั้งนี้แล้วแต่เรื่องที่จะลำสั้นหรือยาวแค่ไหน แบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้

1. กลอนประวัติศาสตร์

2. กลอนลำพื้นหรือลำเรื่อง

3. กลอนเซิ้ง

4. กลอนสัอง

5. กลอนเพอะ

6. กลอนล่องของ

7. กลอนเว้าสาว

8. กลอนฟ้อนแบบต่างๆ

อุปกรณ์วิธีการแสดง ประกอบด้วยผู้แสดงและผู้บรรเลงดนตรีคือ หมอแคน แบ่งประเภท หมอลำดังนี้

1. หมอลำพื้น ประกอบด้วยหมอลำ 1 คน หมอแคน 1 คน

2. หมอลำกลอน ประกอบด้วย หมอลำ 2-3 คน และหมอแคน 1-2 คน

3. หมอลำเรื่องต่อกลอน ประกอบด้วยหมอลำหลายคน เรียก หมอลำหมู่ ดนตรีประกอบ คือ แคน พิณ ฉิ่ง กลอง และเครื่องดนตรีสากล

4. หมอลำเพลิน ประกอบด้วยหมอลำหลายคนและผู้บรรเลงดนตรีหลายคน

สถานที่แสดง เป็นมหรสพที่ใช้ในงานเทศกาล งานบวช งานกฐิน งานวันเกิด งานศพ ฯลฯ เป็นมหรสพที่ประชาชนชาวอีสานในอดีตนิยมชมชั่นมาก

ผู้ประสบความสำเร็จจากอาชีพการแสดงหมอลำ

หมอแป้น หรือ น.พ.สุชาติ ทองแป้น อายุรแพทย์ วัย 36 ปี เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ตรง กึ่งกลางระหว่างการเป็น "หมอรักษาคน" และ "หมอลำ" ได้ลงตัว อะไรที่ทำให้นายแพทย์คนหนึ่ง เลือกที่จะมีชีวิตสองขั้ว บนเสันทางคู่ขนานระหว่างความพ่นกับความเป็นจริง

"หมอแป้น" เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้ที่ทุ่มเทให้กับการรักษาผู้ป่วยด้วย หัวใจเกินร้อย เขายังได้รับการยอมรับจากบุคลากรทุกระดับชั้นของโรงพยาบาล ว่าเป็นหมอที่มาก ด้วยประสิทธิภาพในการเยียวยารักษา เอาใจใส่ผู้ป่วย และนิสัยใจคอก็โอบอ้อมอารี

หมอแป้น เล่าว่า โดยส่วนตัวผมชอบหมอลำมาตั้งแต่เด็ก แล้วจำได้ว่าตอนที่เรียนหมออยู่ปี 4ที่คณะมีหมอลำเขามาเปิดสอนให้หัดร้องหัดลำ ผมก็อยากจะไปเรียนเพราะชอบมาตั้งนานแล้ว ก็ ไปบอกพ่อกับแม่ แต่เขาก็ไม่ให้เรียน บอกว่าอย่าเลย ผมเลยไม่ได้ไปสมัคร แต่ตอนนั้นก็จะไปดู หมอลำตลอด ลูจนถึง 6 โมงเช้า เกือบทุกวันเลย แต่ไม่ให้เสียการเรียน ถึงกลับมาเช้าเราก็ไปเข้า เรียนต่อได้ ไม่มีผลกระทบอะไร เพราะเราแบ่งเวลาเป็น และที่ลำหมอลำได้ก็ไม่ได้ไปเรียนที่ไหน อาศัยจำเอา ลูคนนั้นคนนี้แล้วก็จำ ต่อมาประมาณปี 2547 ก็เริ่มชักชวนเพื่อนๆ ในโรงพยาบาลตั้งวง หมอลำขั้นมา ชื่อว่า "บ้านร่มเย็น" ป้จจุบันมีสมาชิกประมาณ 30 คน มีทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ โภชนาการ แม่บ้าน ผู้ป่วย ฯลฯ ซึ่งช่วงแรกเป็นเงินของตัวเอง ต่อมาก็เป็นเงินกองทุนบ้านร่มเย็น เอาไว้ซื้อเครื่องสำอาง วิชาชีพ "หมอลำ" เป็นการแสดงพื้นบ้าน ที่หล่อเลี้ยง จิตวิญญาณของชาว อีสาน ที่ลูไปแล้วศาสตร์ทั้ง 2 นั้น ไม่น่าจะโคจรมาพบกันได้ ทำให้หน้าที่เป็นหมอรักษาคนไข้ กับ การแสดงความเพลิดเพลินให้คนลูมีความสุข ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ

แกการแสดงให้มีความชำนาญ และพัฒนาไปในสิ่งที่ดี มีความรับผิดชอบ จนเป็นที่ยอมรับ ของผู้ชมทั่วไป สามารถประสบความสำเร็จได้ สถานที่สำหรับศึกษาหมอลำ

โรงเรียนสอนหมอลำกลอน ลำชิ่ง (ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สำหรับผู้ที่สนใจเรียนศิลปะการแสดง หมอลำกลอน แคนเต้าเดียว หรือลำ ชิ่ง การเรียนลำเรียนตั้งแต่ก่อนฟ้อน พื้นฐานต่างๆ ส่วนลำกลอนเรียน 5 ยก ลำชิ่ง 3-4 ยก

เรียนรำแล้วได้อะไร

1.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านร่างกาย ธรรมชาติของเด็กนั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกายในการเดิน วิ่ง กระโดด ยักย้ายร่างกายไปมา ดังนั้น การที่เด็กได้ร่ายรำ ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะและเสียงดนตรี ซึ่งเป็นเหมือนการออกกำลังกาย ...

อาชีพเกี่ยวกับศิลปินมีอะไรบ้าง

จิตรกร ลักษณะงาน ... .
ประติมากร ลักษณะงาน ... .
มัณฑนากร (Interior Designer) ลักษณะงาน ... .
นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ลักษณะงาน ... .
ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ ลักษณะงาน ... .
นักออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Designer) ลักษณะงานมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ... .
นักแสดง ลักษณะงาน ... .
ช่างตกแต่งหน้าร้าน (นฤมิตศิลป์).

เรียนศิลปะ เข้าคณะอะไรได้บ้าง

สาขาจิตรกรรม (Painting) สาขาประติมากรรม (Sculpture) สาขาภาพพิมพ์ (Printmaking) สาขาสื่อผสมหรือสื่อใหม่ (New Media).
สาขาศิลปะไทย.
สาขาการออกแบบ.
สาขาศิลปะการแสดง . คณะวิจิตรศิลป์ ภาควิชาสื่อศิลป์ และการออกแบบสื่อ แบ่งเป็น 2 สาขา.

นาฏศิลป์เรียนเกี่ยวกับอะไร

โดยสาขานาฏยศิลป์ มีอยู่ด้วยกัน 2 วิชาเอก ก็คือนาฏยศิลป์ไทย และ นาฏศิลป์ตะวันตก โดยมีวิชาบังที่น้องๆ จะต้องเรียนร่วมกันทั้ง 2 วิชาเอก ก็คือ นาฏยศิลป์ปริทรรศน์, สรีรวิทยาของผู้แสดงนาฏยศิลป์, ทฤษฎีนาฏยศิลป์ไทย ตะวันตกและตะวันออก, ประวัตินาฏยศิลป์ไทย, ตะวันตก และตะวันออก และวิชานาฏยประดิษฐ์ ซึ่งวิชาที่แตกต่างกันของ 2 ...