หมวดหมู่สินค้า ร้านค้าปลีก

จัดแต่งร้านให้สวยงาม ออกแบบหน้าร้าน ใช้สีสันในการตกแต่งหน้าร้านที่สวยสะดุดตาไม่ตั้ง โชว์สินค้าปิดหน้าร้านจนลูกค้ามองไม่เห็นสินค้าภายในร้านหรือขวางทางเดิน เข้า ร้านไม่สะดวกของโชว์ควรเลือกเฉพาะตัวชูโรงก็พอ 

การออกแบบภายในร้านให้สวยงาม ใช้สีสันภายในร้านที่ช่วยทําให้ร้าน ดูสะอาดขึ้น สินค้าดูโดดเด่นขึ้น เช่น สีโทนเย็นอ่อนๆ สีขาวนวลหรือที่เรียกว่า สีเทาควันบุหรี่ เป็นต้น

การจัดสรรพื้นที่วางสินค้าคือการทําให้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจํากัดเกิด ประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาจากยอดขายและความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก

1. การจัดสรรพื้นที่ให้สอดคล้องกับปริมาณการขาย จัดสินค้าให้เหมาะกับปริมาณการขายควรมีสินค้าขายดีจํานวนมาก พอที่จะไม่ขาดเวลาที่ลูกค้าต้องการ ในกรณีมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถจัดเรียงพอควรพิจารณาเลิกจําหน่าย สินค้าบางยี่ห้อ หรือบางขนาดที่ไม่ก่อให้เกิดรายได่้  จัดเรียงสินค้ารุ่นเก่า (สินค้าสั่งเข้ามาก่อน) ไว้ด้านหน้าให้ลูกค้าหยิบ ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าเก่าค้างสต๊อก

2. การวางตําแหน่งสินค้าให้เหมาะสม

  • ดูแลสินค้าให้สินค้าทุกสีทุกยี่ห้อหันหน้าออกชัดเจน

  • จัดวางสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ เช่นผงซักฟอกควรจัดให้อยู่ในหมวด เดียวกับน้ํายาปรับผ้านุ่มเป็นต้น 

  • จัดวางสินค้าที่ทีขนาดเล็กไว้ด้านบนขนาดใหญ่ไว้ด้านล่าง เพื่อความ สะดวกในการหยิบซื้อ 

  • จัดวางสินค้าทขายดีไว้ระดับสายตาลงมาถึงระดับเอวเนื่องจากเป็น ตําแหน้งที่โดดเด่น สังเกตเห็นได้ง่าย

3. การนําเสนอสนค้า

  • ป้ายราคา ควรติดป้ายราคาให้สามารถเห็นได้ชัดเจน เพราะลูกค้าจะได้รู้สึกสบายใจในการตัดสินใจซื้อ

  • อุปกรณ์เสริมการขาย ณ จุดขายควรดแลให้อุปกรณ์ส่งเสริมการขายต่าง ๆ อยู่ในสภาพดีทนสมัยอยู่ตลอดเวลาและไม่ควรมีจํานวนมากเกินไปจนดูรก

  • การักษาความสะอาด หมั่นดูแลความสะอาดของร้าน และสินค้าให้ดู ใหม่เป็นระเบียบน่าซื้ออยู่เสมอ

สิ่งที่ต้องตระหนัก :

  • ร้านต้องมีชีวิตชีวา ดูอบอุ่นแต่ทันสมัยเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย

  • การจัดแต่งร้านหรือจัดเรียงสินค้าต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะธรรมชาติของคนเราจะเบื่อความซ้ําซากจําเจ แต่ควรเปลี่ยน แบบค่อยเป็นค่อยไป  

  • ร้านที่จัดเรียงสินค้าไม่เป็นระเบียบ จะทําให้เกิดการล้อตาล้อใจให้ หยิบฉวยความสูญเสียจากยอดของหายจะสูง

จัดวางผังร้านค้า (Layout) ให้สวยงาม ให้ลูกค้าสามารถเดินได้รอบร้านให้มากที่สุด เพื่อที่สินค้าทุกแผนกจะได้มีโอกาสขายแต่ต้องให้ใช้เวลาสั้นที่สุด เพราะหากลูกค้าใช้เวลาในร้านค้านานจนเกินเหตุก็จะทําให้ เกิดการติดขัด ลูกค้าใหม่เข้าร้านไม่ได้

1. เส้นทางเดิน ควรจัดให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้ลูกค้าเดินผ่านสิวนต่างๆ ของร้าน วางผังเพื่อให้ลูกค้าเดินทางไปยังจุดที่เราต้องการให้เดินเข้าไป หรือเพื่อให้ลูกค้าเดินได้รอบทั้งร้าน ไม่ใช้จุดใดเพียงจุดเดียวเช่น บันไดเลื่อนขึ้นลงของห้างสรรพสินค้า มักจะวกวนขึ้นทางลงทาง เพื่อจะดึงให้ลูกค้าเดินดูในส่วนอื่นๆ ด้วย

2. การจัดวางสินค้าที่สร้างความประทับใจ สินค้าที่ถัดจากประตูทางเข้าจะต้องให้ความประทับใจและกระตุ้นลูกค้าให้อยากเดินเข้าไปชมในร้าน ผู้ที่เข้าไปในร้านด้วยความไม่ตั้งใจแต่เมื่อเกิดความประทับใจที่ได้เห็นหรือสัมผัสกับสินค้าในส่วนแรก ตัวอย่างเช่น
ชั้นล่างสุดของห้างสรรพสินค้ามักจะเป็นสินค้าประเภทเครื่องสําอางหรือน้ําหอม เพราะมีกลิ่นที่หอมดึงดูดใจ

ส่วนซุปเปอร์มาร์เก็ตก็มักจะพบผักและผลไม้ก่อน และร้านเบเกอรี่ก็จะได้กลิ่นหอมของขนมดึงดูดใจก่อนอยู่เสมอ

3. ชนิดของการให้บริการ ถ้าร้านค้าปลีกนั้นเป็นลักษณะการเลือกซื้อสินค้าแบบบริการตนเอง หลักสําคัญก็คือสินค้าจะต้องถูกนํามาจัดวางบนชั้นวางสินค้าหรือโต๊ะที่ลูกค้าสามารถหยิบดูลองดูได้

4. การควบคุมดูแลภายในร้านค้า ตําแหน่งแคชเชียร๋หรือพนักงานเก็บเงิน ควรอยู่ในตําแหน่งที่สามารถมองเห็นประตูทางเข้าออกได้ชัดเจนที่สุด เพราะถ้าโต๊ะแคชเชียร์อยู่ด้านในอาจไม่สามารถเห็นลูกค้าที่เข้า-ออกร้าน โอกาสที่สินค้าจะสูญหายก็จะเป็นไปได้มากควรตั้งโชว์สินค้าวางในแนวขนานของร้าน เพราะจะได้สามารถสังเกตการเคลื่อนไหว
ของลูกค้าภายในร้านค้าด้วย

5. อุปนิสัยในการซื้อสินค้าของผู้ซื้อ การจัดผังภายในของร้านค้ายังขึ้นกับอุปนิสัยในการซื้อสินค้าของผู้ซื้อด้วยเช่น ของใช้บุรุษมาไว้ชั้นล่างหรือใกล้ๆ ส่วนของสตรีและเด็กจัดไว้ชั้น 2 หรือลึกเข้าไป เพราะคุณสุภาพบุรุษมีนิสัยไม่ใช้เวลานานกับการซื้อสินค้า ส่วนคุณสุภาพสตรีนิยมการช้อปปิ้ง

            โดยร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการติดป้ายร้านติดดาว และมีวัสดุตกแต่งร้านที่เหมือนกันทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการทำ In-Store Media, ทำคาราวาน วิทยุชุมชน, โฆษณาโทรทัศน์, ทำสื่อสนับสนุนนอกร้าน รวมไปถึงการทำบิลบอร์ดและโปสเตอร์

ดังนั้น ร้านโชห่วยไหนที่ยังเรียงสินค้าประเภทตามใจคนขาย คนซื้อหาสินค้าไม่เจอต้องถามคนขาย หรือให้คนขายเดินไปหยิบสินค้าให้จะต้องรีบปรับแก้อย่างเร่งด่วน

โดยทั่วไปแล้วสินค้าในร้านโชห่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. สินค้าบริโภค ได้แก่ เครื่องปรุงรส, เครื่องประกอบอาหาร, เครื่องดื่ม, ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ 2. สินค้าอุปโภค ได้แก่ สินค้ากลุ่มความงาม, ของใช้ส่วนตัว, ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ฯลฯ 3. ของใช้ภายในบ้าน ได้แก่ บรรจุภัณฑ์, เครื่องใช้พลาสติก, เครื่องเขียน ฯลฯ

#วิธีการเรียงสินค้าก็ควรจัดวางตามกลุ่มหลักของสินค้า แล้วถึงจะเรียงสินค้าตามหมวดย่อยอีกทีหนึ่ง โดยมีหลักการวางสินค้าง่ายๆ คือ มีสินค้าอะไรที่ต้องใช้ด้วยกันก็วางใกล้กัน เช่น ผงซักฟอกกับน้ำยาปรับผ้านุ่ม แชมพูกับครีมนวดผม เป็นต้น

ส่วนวิธีการเรียงสินค้าอาจจะใช้การเรียงตามสรีระร่างกาย เช่น จัดวางสินค้าลงมาจากใบหน้า, ศีรษะ, ลำตัว เป็นต้น

อีกหนึ่งความสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ พื้นที่บริเวณหัวเชลฟ์ หรือชั้นวางสินค้า ซึ่งเป็นพื้นที่ทลูกค้าจะมองเห็นก่อนก็ควรจัดวางสินค้าที่ขายดี, เพิ่งจะวางตลาดหรือเพิ่งออกโฆษณา เพราะจะเป็นที่ต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่มีขนาดเล็ก เช่น ซองก็สามารถแขวนให้โดดเด่นแต่สามารถหยิบได้สะดวก