ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

พิธีกรรมทางศาสนา หรือที่เรียกว่า ศาสนพิธี คือ แบบอย่างหรือแบบแผนที่ควรปฏิบัติในทางศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประกอบพิธี คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติ คือ พุทธศาสนิกชนหรือชาวพุทธ การประกอบและการปฏิบัติพิธีทางพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ คือ การทำบุญอันเป็นการบำเพ็ญความดี นำมาซึ่งความสุขและความเจริญ ศาสนพิธีถือเป็นสื่อสำคัญสำหรับการเผยแผ่ธรรม มีการสืบสานต่อกันมาตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนพิธีหรือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีมากมาย ได้มีการจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ (รายละเอียดของแต่ละหมวดหมู่จะได้ศึกษาในหัวข้อศาสนพิธี) การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแต่ละหมวดหมู่นั้นจะมีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพิธีนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวโดยภาพรวม การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของชาวพุทธมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

๑. ในพิธีที่มีพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบและเป็นประธานในพิธี ชาวพุทธควรแสดงกิริยามารยาททางกาย วาจา และใจ ให้สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องเหมาะสม อันแสดงออกถึงความเคารพและความศรัทธาเลื่อมใสควรมีการจัดเตรียมและถวายเครื่องสักการะบูชาใส่ภาชนะที่เหมาะสม
๒. ในขณะสมาทานศีล กล่าวคำอาราธนาและคำถวายต่าง ๆ ควรกล่าวด้วยเสียงดัง ฟังชัด กิริยาอาการต่าง ๆ อยู่ในอาการสงบ
๓. ในขณะฟังพระสวดรับพรพระหรือฟังเทศน์ ควรประนมมือ สำรวมกาย เมื่อพระสวดจบ แต่ละบทหรือเทศน์จบควรยกมือขึ้นไหว้ทุกครั้งเฉพาะขณะที่พระสวด หากจะสวดบทนั้นตามไปด้วยก็ได้

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ภาพพระเทศน์มหาชาติ ณ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
ที่มา : ภาพโดย อรุณี สังขกุญชร

๔. ถ้าในพิธีการประเคนของถวายพระภิกษุสงฆ์ ก่อนถวายและหลังถวายควรน้อมไหว้ ๑ ครั้ง การประเคนจะต้องครบองค์ประกอบการประเคน ผู้ชายสามารถประเคนกับมือท่านได้ สำหรับผู้หญิงต้องวางของไว้บนผ้ารับประเคนที่ท่านถือไว้
๕. การไปร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม เมื่อทักทายเจ้าภาพแล้ว ก่อนจะทำความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธรูปเสียก่อนแล้วจึงทำความเคารพศพ ก่อนกลับก็เช่นเดียวกัน ต้องกราบลาพระพุทธรูปก่อนแล้วจึงกราบศพ หากศพนั้นเป็นศพพระภิกษุจะต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
๖. ในกรณีต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระภิกษุสงฆ์ที่มาร่วมพิธี ผู้ชายสามารถนั่งเก้าอี้ติดกับท่านได้ แต่ผู้หญิงจะต้องนั่งห่างออกไป หรืออาจมีผู้ชายนั่งคั่นกลาง การจัดที่นั่งสำหรับ พระภิกษุสงฆ์ต้องจัดไว้แถวหน้าหรือจัดแยกไว้ต่างหาก และไม่ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงกว่าเก้าอี้ของพระภิกษุสงฆ์
๗. หากได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรในงานพิธี ก่อนและหลังอาราธนาศีล อาราธนาธรรม อาราธนาพระปริตรและกล่าวคำถวายต่าง ๆ จะต้องกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งทุกครั้ง

การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา เราควรเตรียมตัวดังนี้
๑. ชำระร่างกายและแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่ควรใส่สีฉูดฉาด
๒. ไปถึงที่ทำพิธีก่อนเวลา โดยเฉพาะเมื่อจะช่วยจัดพิธี ต้องไปเตรียมการก่อนเพื่อให้เสร็จทันพิธี
๓. สำรวมกิริยาวาจาทั้งในขณะที่ยังไม่ได้ทำพิธี ระหว่างทำพิธีและเสร็จพิธีแล้ว
๔. ปฏิสันถารกับผู้เป็นประธานในพิธี ผู้ที่ไปร่วมพิธีแสดงความเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ ตามวัยวุฒิ และคุณวุฒิ
๕. รักษามารยาทอย่างไทย เช่น การค้อมตัว เมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ไม่ส่งเสียงเอะอะเฮฮา
๖. ทำความเคารพพระสงฆ์ที่มาทำพิธี
๗. ร่วมพิธีโดยตลอด
๘. เมื่อเสร็จพิธีแล้วลาเจ้าภาพหรือประธานในพิธี
การเข้าร่วมพิธีกรรมไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมใด ๆ ชาวพุทธจะต้องมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ ตลอดจนความหมาย เหตุผล และความดีงามที่เกิดจากการปฏิบัติพิธีกรรมนั้น ๆ การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การปฏิบัติและการประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
(จรัส พยัคฆราชศักดิ์ และกวี อิศริวรรณ, ๒๕๔๖, หน้า ๑๕๑ - ๑๕๒)

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ภาพคณะครูอาจารย์โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ และผู้ปกครองนักเรียน
ร่วมพิธีบวชสามเณร ณ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
ที่มา : ภาพโดย อรุณี สังขกุญชร

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ภาพคณะนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ร่วมพิธีบวชสามเณร ณ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
ที่มา : ภาพโดย อรุณี สังขกุญชร

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

 - การสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง กิจที่พุทธศาสนิกชนกล้าวเป็นทำนองเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย

 - การสวดมนต์ไหว้พระก่อให้เกิดคุณค่าทางจิตใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นการฝึกอบรมจิตใจของผู้สวดและผู้ฟังให้มีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

วิธีการตักบาตร มีดังนี้คือ

 - ยืนน้อมตัวลงไหว้ หรือนั่งลงไหว้

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

วิธีการปฎิบัติในการฟังเทศน์ มีดังนี้คือ 

-กล่าวคำว่า"สาธุ" เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาด้วยบทยถาสัพพี

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

วิธีการเวียนเทียน มีดังนี้ คือ

-การเวียนเทียนจะจัดในเวลาบ่ายหรือตอนกลางคืนก็ได้ แล้วแต่สะดวก

-ทางวัดตีระฆังให้สัญญาณพุทธศานิกชนมาชุมนุมกัน

-หัวหน้าคณะสงฆ์จุดธูปเทียน. ทุกคนจุดตาม พนมมือพร้อมดอกไม้ 

-หันหน้าไปทางโบสถ์ หรือเจดีย์ กล่าวคำถวายดอกไม้ ธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย

-เดิยแถวด้วยอาการประนมมือถือดอกไม้ธูปเทียน ไปทางขวามือของสถานที่ที่จะเวียนเทียน

-การเวียนในรอบที่ 1 ให้ระลึกถึงพระพุทธ รอบที่ 2 ให้ระลึกถึงพระธรรม และในรอบที่ 3 ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ 

-เสร็จแล้วเข้าไปประชุมพร้อมกันในโบสถ์หรือในวิหาร เพื่อนทำวัตรสวดมนต์ และฟังเทศน์เกี่ยวกับวันสำคัญนั้นๆ

-นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชาตามสถานที่ที่เตรียมไว้

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

-การบรรพชา หมายถึงการบวชเป็นสามเณร

-คุณสมบัติของผู้ที่จะบรรพชา ต้องเป็นเก็กชายอายุ 7 ปีขึ้นไป

-ก่อนบรรพชา ผู้ปกครองจะต้องแจ้งความจำนงต่อเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ และต้องเตรียมบริขารพร้อมทั้งของใช้ที่จำเป็น

-การบรรพชาไม่จำเป็นต้องทำที่พระอุโบสถเหมือนการอุปสมบท อาจจะทำที่หอฉันหรือศาลาการเปรียญ ก็ได้

-ผู้ที่มีความสำคัญในพิธี ซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ พระอุปัชฌาย์ ส่วนพระอันดับจะจัดให้มีหรือไม่มีก็ได้

-ข้อปฎิบัติของสามเณร ได้แก่ ศีล 10 ข้อ และพระธรรมวินัยรวมทั้งข้อปฎิบัติต่างๅของสมณะ

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

-การอุสมบท หมายถึง การบวชเป็นพระภิกษุ

-คุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ 

-ก่อนการอุปสมบทจะต้องแจ้งความจำนงต่อเจ้าอาวาส หรือไปหาอุปฌาย์รูปใดรูปหนึ่งเพื่อรับพิจ่รณาบวชให้ โดยคำนึงถึงประวัติ และบุคลิกภาพเป็นสำคัญ 

-บุคคบที่ห้ามอุปสมบทมี 4 ประเภท คือ

-ผู้ที่มีความวิปริตบกพร่องทางเพศ

-ผู้เคยทำความผิดร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนา 

-ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

-ผู้ปกครองต้องเตรียมบริขาร 8 

-นำดอกไม้ ธูป เทียนไปหราบลา และขออโหสิกรรมต่อท่านนผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพนับถือ

-บำดับขั้นในการอุปสมบท มีดังนี้

-ผู้บวชปลงผม และนุ่งขาวห่มขาว 

-เดินเวียนขวารอบโบสถ์ 3 ครั้งเพื่อแสดงคารวะ 

-วันทาสีมาด้วยดอกบัว 3 ดอก และจุดธูปเทียนบูชา

-เข้าไปในโบสถ์กล่าวบูชาพระรัตนตรัย

-กล่าวถึงคำขอถึงไตรสรณคมน์ เป็นการกล่าวขอบรรพชาเป็นสามเณรก่อน

-พระคู่สวดสอบถามคุณสมบัติ แล้วนำผู้บวชมาไต่ถามคุณสมบัติในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งและจะสวดญัตติ 1 จบประกาศขอความเห็นจากที่ประชุมอีก 3 จบ รวมเป็น 4 จบ ที่เรียกว่า "ญัตติจตุตถกัมมวาจา"

-ถวายดอกไม้ ธูปเทียน และของใช้แก่อุปฌาย์ พระคู่สวด และพระอันดับ 

-พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้อุปสมบทกรวดน้ำ และรับพร 

-จำนวนพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีอุปสมบทนั้น จะประกอบด้วยพระอุปฌาย์ 1 พระคู่สวด 2 และพระอันดับอย่างต่ำ 2 รูป

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

-สังฆทาน หมายถึง ทานที่ถวายแก่สงฆ์โดยมิได้เจาะจงสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เป็นการถวายทานที่ได้บุญมาก เพราะเป้นการถวายทานแก่พระสงฆ์ด้วยจิตบริสุทธิ์ 

ขั้นตอนใดจัดเป็นขั้นตอนแรกของการประกอบศาสนาพิธี

๑. จัดสถานที่ก่อนถึงวันพิธี จะต้องตบแต่งสถานที่รับรองพระที่จะ เจริญพระพุทธมนต์และแขกที่จะมาในงาน ตลอดจนเครื่องใช้แต่ละแผนกให้เรียบร้อย โดยเฉพาะที่พระสงฆ์ ต้องจัดให้อยู่ในฐานะที่น่าเคารพเสมอ โดยจัดที่บูชาไว้ทางขวามือ ก็จะปฏิบัติเหมือน ๆ กัน การจัดพิธีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า พิธีแบบทางราชการ การจัดพิธีทั้ง ๒ ลักษณะนี้ มีล ...

พิธีกรรมที่สําคัญของศาสนาพุทธมีอะไรบ้าง

๑.๕ พิธีกรรมสาคัญของพระพุทธศาสนา - พิธีบรรพชา - พิธีอุปสมบท - พิธีเข้าพรรษา - พิธีปวารณา - พิธีทอดกฐิน

พิธีกรรมทางศาสนาเรียกว่าอะไร

พิธีกรรม หรือ ศาสนพิธี (อังกฤษ: Ritual) หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

กิจกรรมทางศาสนามีอะไรบ้าง

ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล.
ร่วมการเวียนเทียน.
ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก.