การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

          เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว จะนำแนวทางนั้นมาออกแบบเป็นภาพร่าง ผังงาน รหัสลำลอง หรือแผนภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง

ภาพร่าง

          การออกแบบเป็นภาพร่าง สามารถทำได้ทั้งแบบ 2 มิติ คือมีด้านกว้าง และด้านยาว และแบบ 3 มิติ คือมีทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านสูง การออกแบบโดยการร่างภาพ 3 มิติ จะทำให้มองเห็นภาพได้ทุกด้าน มีความสมจริงมากกว่าภาพ 2 มิติ

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

ผังงาน (Flowchart)

          ผังงาน คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม เป็นเครื่องมือที่ใช้การรวบรวมจัดลำดับความคิด เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและใช้วางแผนการทำงานขั้นแรก โดยสัญลักษณ์ Flowchart แสดงถึงการทำงานลักษณะต่างๆ เชื่อมต่อกัน

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

รหัสลำลอง (pseudocode)

          การเขียนรหัสลำลองเป็นการใช้คำบรรยายอธิบายขั้นตอนอย่างชัดเจนในการแก้ปัญหา หรือการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจง่าย เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม

ตัวอย่าง

สถานการณ์ : เขียนรหัสลำลองการคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม

          เขียนรหัสลำลอง :

                    เริ่ม

                    1. รับค่าความกว้างของฐาน

                    2. รับค่าความสูง

                    3. คำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมจากสูตร ½ x ความกว้างของฐาน x ความสูง

4. แสดงผลคำตอบ

                    จบ

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

admin, “การใช้งาน ZW3D – ออกแบบ 3 มิติ จากเส้นร่าง”, http://www.zw3dthailand.com/zw3d-manual-hand-book/1064/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

การถ่ายทอดความคิด เป็นการถ่ายทอดแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ภาพฉาย
  • แบบจำลอง
  • ต้นแบบ
  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ
  • ภาพร่าง 2 มิติ
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ผังงาน
  • แบบจำลองความคิด

การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน

การถ่ายทอดความคิดที่เป็นชิ้นงาน เป็นการอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะของรูปร่าง รูปทรง รายละเอียดและส่วนประกอบของชิ้นงาน ซึ่งการถ่ายทอดความคิดลักษณะนี้ทำได้หลายวิธี ได้แก่ ภาพร่าง 3 มิติ ภาพฉาย แบบจำลอง และต้นแบบ

  1. ภาพร่าง 3 มิติ  

ภาพร่าง 3 มิติ เป็นภาพที่ประกอบด้วย ด้านกว้าง ด้านยาว และความสูง หรือ ความลึก ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของรูปร่าง รูปทรง การทำงานและกลไกภายในการเขียนภาพร่าง 3 มิติ ที่นิยมใช้มี  2  รูปแบบ ดังนี้

  • แบบออบลิค (Oblique)เป็นภาพร่าง 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างด้านหน้าเป็นแนวตรง มีฐานของภาพขนานกับแนวเส้นระดับ สามารถวัดขนาดได้ ส่วนความสูงหรือลึก จะทำมุม 45 องศากับเส้นระดับ ซึ่งการวาดภาพออบลิกนี้จะเริ่มต้นด้วยการร่างภาพ 2 มิติ ที่ขนานกับแนวเส้นระดับก่อน

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ
ตัวอย่างภาพ Oblique

ที่มา : http://www.onlinedesignteacher.com

  • แบบไอโซเมตริก (Isometric)เป็นแบบภาพ 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง มีแนวสันของวัตถุด้านหนึ่งตั้งฉากกับแนวเส้นระดับ ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศา กับเส้นระดับ ซึ่งการร่างภาพอาจทำได้โดยการขึ้นเส้นแกน เพื่อช่วยในการสร้างภาพไอโซเมตริก

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

ตัวอย่างภาพ Isometric

ดังนั้นการเขียนภาพร่าง 3 มิติ จะช่วยในการแสดงลักษณะรูปร่างและรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน เหมือนกับการได้เห็นชิ้นงานจริง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นการประกอบกันของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงาน และสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของชิ้นงานนั้นได้ดียิ่งขึ้น และในการร่างภาพ 3 มิติ สามารถใช้กระดาษ      ไอโซเมตริกกริดช่วยในการร่างภาพได้

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

การร่างภาพ 3 มิติด้วยการใช้กระดาษไอโซเมตริกกริด

ภาพฉาย

ภาพฉาย เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละด้านของสิ่งที่จะสร้าง ตลอดจนมีรายละเอียดของแบบงานครบถ้วนสมบูรณ์ชัดจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปสร้างขึ้น ตามแบบได้อย่างถูกต้อง ภาพฉายยังสามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ เช่น รูปร่าง ขนาด และผิวงาน ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบน แสดงขนาดด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึกของชิ้นงานและหน่วยในการวัดขนาด เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นแบบจำลองหรือชิ้นงานของจริงได้

ในการเขียนภาพฉายส่วนใหญ่ จะเขียนหรืออ่านจากภาพไอโซเมตริก หรือ ภาพของจริง โดยการมองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาเป็นภาพฉาย 2 มิติ ตามภาพที่มองเห็น ซึ่งมีตำแหน่งการมองภาพดังนี้

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

การมองภาพในตำแหน่งต่าง ๆ

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ Isometric

การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การร่างภาพ

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ

สื่อเสริมเนื้อหาบทเรียน

VDO สอนการเขียนภาพฉาย