เครื่อง วัด ความ ดัน วิธี ใช้

ความดันโลหิตของคุณสามารถบอกบางอย่าง เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณได้ โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวัดระดับความดันโลหิตทุกครั้ง บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการตรวจ วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเองที่บ้าน

การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจ

สิ่งที่คุณควรเตรียมตัวก่อนทำการวัดระดับความดันโลหิตมีดังนี้

  • คุณจำเป็นต้องฟังเสียงชีพจร ฉะนั้น คุณจึงควรหาที่เงียบสงบ ควรนั่งพักเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที ก่อนที่จะทำการวัดระดับความดันโลหิต
  • ควรทำกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อที่คุณจะได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ อย่าวัดระดับความดันโลหิตหากคุณรู้สึกตึงเครียด เพิ่งออกกำลังกาย รับประทานคาเฟอีน หรือสูบบุหรี่ ภายใน 30 นาทีที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อผลการตรวจได้
  • ควรนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ เอนหลังหลังให้พิงกับเก้าอี้ ไม่ควรไขว้ขา และวางเท้าราบกับพื้น
  • หากคุณกำลังใส่เสื้อแขนยาว ควรม้วนแขนเสื้อขึ้นไป หากกำลังใส่เสื้อผ้ารัดแขนแน่นๆ ให้ถอดออกเสีย
  • วางแขนไว้ที่ระดับเดียวกับหัวใจ

ขั้นตอนในการวัดระดับความดันโลหิต

คุณสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง

  • เริ่มต้นจากการวัดชีพจร วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่ตรงกลางพับข้อศอก
  • พันผ้ารอบต้นแขน ส่วนขอบล่างของผ้า (ส่วนหัวของหูฟังแพทย์) ควรอยู่เหนือพับข้อศอก 2.5 เซนติเมตร บริษัทผู้ผลิตอาจจะใส่ลูกศรเพื่อช่วยให้คุณทราบตำแหน่งของหูฟังของแพทย์

หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบควบคุมด้วยมือ

  • ใส่หูฟังของแพทย์เพื่อฟังเสียงหัวใจเต้น แขนข้างหนึ่งถือเกจวัดความดัน (ดูเหมือนนาฬิกา) และแขนอีกข้างถือส่วนกระเปาะไว้
  • ปิดวาวล์ไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ (ตรงเข็มนาฬิกาข้างกระเปาะ)
  • บีบกระเปาะให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตพองขึ้น ขณะที่คอยจับตาดูเกจวัดความดัน หยุดบีบเมื่อเกจ์ขึ้นไปถึง 30 มิลลิเมตรปรอท เหนือความดันตัวบน (systolic pressure) ที่คาดการณ์ไว้ (ตัวเลขบนของค่าความดันโลหิต) คุณจะรู้สึกแน่นที่ต้นแขน
  • ขณะที่กำลังจับตามองดูเกจวัดความดัน ให้ค่อยๆ เปิดวาล์วไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ
  • ตั้งใจฟังเสียงให้ดี เมื่อได้ยินเสียงชีพจรให้จดจำค่าตัวเลขที่เกจวัดความดัน นับเป็นค่าเลขตัวบน เมื่อคุณได้ยินเสียงครั้งสุดท้ายให้จดบันทึกตัวเลขเป็นค่าความดันตัวล่าง (diastolic pressure)
  • คุณจะไม่ได้ยินเสียงชีพจร หากคุณปล่อยให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตยุบเร็วเกินไป ควรทำตามขั้นตอนข้างบนอีกครั้ง หลังจากผ่านไป 1 นาที

หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล

  • กดปุ่มที่เครื่องวัดความดัน
  • ปลอกแขนวัดความดันโลหิตจะพองตัวขึ้น และคุณจะรู้สึกแน่นที่ต้นแขน
  • ให้จดบันทึกค่าที่แสดงขึ้นบนหน้าจอของเครื่องวัดความดัน

แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณทำการวัดความดันโลหิตในเวลาที่แน่นอน คุณสามารถจดบันทึก และนำไปให้แพทย์ดูเมื่อถึงเวลาที่แพทย์นัดพบ

ทำความเข้าใจกับผลการตรวจ

คุณควรวัดระดับความดันโลหิตของคุณ 2 ถึง 3 ครั้งในคราวเดียว และใช้ตัวเลขที่คุณเห็นบ่อยที่สุด ผลการตรวจของคุณจะมีสองตัวเลข ตัวเลขบนคือค่าความดันตัวบน (120 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่านั้น คือค่าปกติ) ตัวเลขล่างคือค่าความดันตัวล่าง (80 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่านั้น คือค่าปกติ) หากตัวเลขบนของคุณคือ 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า หรือตัวเลขล่างของคุณคือ 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า นั่นหมายความว่าคุณมีโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) หากค่าความดันโลหิตของคุณนั้นมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท หมายความว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงเบื้องต้น (pre-hypertension)

แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ความเสี่ยงของคุณก็มีมาก ควรติดต่อแพทย์ ควรจำไว้ว่าเวลาส่วนใหญ่นั้น คุณจะไม่มีอาการใดๆ ของภาวะความดันโลหิต ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ วิธีการนี้ไม่เจ็บ รวดเร็ว และง่าย และคุณสามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง การวัดระดับความดันโลหิตจะช่วยให้คุณจัดการกับโรคได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

การเรียนรู้วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน จะช่วยให้ผู้ดูแลหรือผู้ป่วยสามารถทำการวัดความดันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ค่าความดันและอัตราการเต้นของหัวใจที่มีความแม่นยำ เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องได้รับการวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็คสภาพร่างกาย และประเมินอาการของผู้ป่วย โดยหากมีการใช้งานเครื่องวัดความดันอย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้ค่าที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ไม่สามารถทราบอาการที่แท้จริงของผู้ป่วยได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน และทำให้การรักษาเป็นไปอย่างล่าช้าอีกด้วย

ก่อนวัดความดันต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่คาเฟอีนสูงอย่างชา และกาแฟ ก่อนทำการวัดความดัน
  • ควรงดการสูบบุหรี่อย่างน้อยประมาณ 30 นาที ก่อนวัดความดัน
  • ก่อนเริ่มวัดความดันควรพักให้หายเหนื่อยประมาณ 5 – 10 นาที เพื่อให้สามารถวัดค่าได้อย่างแม่นยำ
  • ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาว หรือเสื้อที่รัดแขนแน่นจนเกินไป
  • ควรใช้แขนข้างที่ไม่ถนัดในการวัดความดัน
  • ไม่ควรทำการวัดความดันหลังทานอาหารเสร็จ ควรทิ้งระยะห่างซักพักหนึ่งก่อน
  • ไม่ควรพูดคุย หรือขยับตัวไปมาในระหว่างการวัดความดัน
  • ควรนอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการวัดความดัน

วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน

1. จัดท่านั่งของผู้ป่วยให้ถูกต้อง

ในการวัดความดันผู้ป่วยด้วยเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนควรอยู่ในท่านั่งหลังตรง และไม่ควรนั่งไขว้ขา ควรวางเท้าทั้งสองข้างให้ราบไปกับพื้นจะดีที่สุด หรือหากเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถนั่งได้ ก็อาจจะให้อยู่ท่านอนก็ได้เช่นกัน

2. สอดแขนข้างที่ไม่ถนัดเข้าไปในอุโมงค์วัดความดัน

สอดแขนข้างที่ไม่ถนัดของผู้ป่วยเข้าไปในอุโมงค์วัดความดัน โดยให้แขนอยู่ในลักษณะหงายมือขึ้น จากนั้นปรับระดับท่านั่งและองศาของแขนให้เหมาะสม เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายในขณะวัดความดัน และสามารถวัดค่าออกมาได้อย่างแม่นยำ

3. กดปุ่มใช้งานเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน

ทำการกดปุ่มเปิดให้เครื่องทำงาน โดยการใช้มืออีกข้างที่เหลือในการกด หรือหากทำการวัดความดันที่โรงพยาบาล อาจให้พยาบาลหรือผู้ดูแลเป็นคนกดให้ก็ได้

4. ผู้ป่วยไม่ควรขยับตัวไปมาในขณะที่วัดความดันแบบสอดแขน

ให้ผู้ป่วยพยายามอยู่นิ่งๆ และไม่ขยับตัวไปมาขณะทำการวัดความดัน เพื่อให้เครื่องสามารถทำการวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ต้องเสียเวลาทำการวัดใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ป่วยยังไม่ควรกำมือหรือเกร็งมือในขณะวัดความดัน

5. รอเวลาเพื่อวัดความดันให้เรียบร้อย

เมื่ออยู่ในท่าที่สบายที่สุดแล้ว ก็เพียงแค่รอให้เครื่องทำการวัดความดันให้เสร็จ โดยเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในการใช้งานจะต้องเสียบปลั๊กไฟก่อน หรือสามารถใช้งานจากแบตเตอรี่ก็ได้เช่นกัน

6. ให้ผู้ป่วยนำแขนออกจากอุโมงค์วัดความดัน

หลังจากทำการวัดความดันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวเครื่องจะมีเสียงสัญญาณเตือน และแสดงผลขึ้นบนหน้าจอ LED ผู้ป่วยก็สามารถนำแขนออกจากอุโมงค์วัดความดันได้เลย

7. อ่านความวัดความดันได้วัดผลได้

ในการอ่านค่าที่วัดได้จากเครื่องวัดความดัน สามารถดูได้บนหน้าจอแสดงผลของตัวเครื่อง หรือจะดูจากใบแสดงผลการวัดที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องก็ได้ โดยผลการวัดที่ได้จะประกอบไปด้วย ค่าความดันบน ค่าความดันล่าง ชีพจร ความดันชีพจร และความดันเลือดแดงเฉลี่ย

8. หากเกิดเหตุฉุกเฉินให้กดปุ่มหยุดวัดความดัน

กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น ไฟฟ้าดับ ในขณะที่ทำการวัดความดัน ผู้ป่วยสามารถที่จะทำการกดปุ่ม Emergency เพื่อหยุดการวัดความดันได้ หรือจะกดปุ่มปิดเครื่องไปเลยก็ได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และเพื่อให้อุโมงค์วัดความดันคลายตัวให้ผู้ป่วยเอาแขนออกมาได้

การใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในการนำมาวัดความดันให้กับผู้ป่วย เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดเวลาในการวัดความดันได้ดี โดยที่ไม่ต้องมาคอยพันผ้าพันแขน ผู้ป่วยเพียงแค่สอดแขนเข้าไปในอุโมงค์และสามารถกดเริ่มวัดความดันได้เองเลย นอกจากนี้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขนยังสามารถทำงานหนักหรือใช้งานต่อเนื่องยาวนานได้ และมีความแม่นยำที่มากกว่าเครื่องแบบธรรมดา ซึ่งถึงแม้ว่าวิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน นั้นจะมีความสะดวกและใช้งานง่าย แต่ก็มีขั้นตอนและข้อควรระวังที่ผู้ป่วยควรเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด

นอกจากนี้การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบสอดแขน ก็จำเป็นอย่างมากๆ ที่จะต้องเลือกซื้อยี่ห้อที่ได้มาตรฐาน และมีการรับประกันการใช้งาน ซึ่งท่านสามารถสอบถามข้อมูลกับทีมงานร้านขายอุปกรณ์การแพทย์กับเราได้ ว่าควรเลือกซื้อเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนยี่ห้อไหนดี เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ มากที่สุด

– – – – – – –
ช่องทางติดต่อทั้งหมด : https://rakmor.com/contact-us/
โทรติดต่อ : 062-696-8628
Line@ : @Rakmor
FB : https://www.facebook.com/Rakmormedical

จำนวนคนเข้าชม : 1,754

Rakmor Medical Co., Ltd. (บจก. รักหมอ เมดิคอล) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ ของใช้ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และคนพิการ แบบครบวงจร