โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น

โรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ดีอย่างไร?

พลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่จะพูดถึงนี้เป็นในแง่เฉพาะเรื่องที่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ข้อดีของมันก็คือเป็นพลังงานที่มีความมั่นคงสูงมาก และสามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงไม่ว่า ฝนจะตกแดดจะออกหรือไม่ ลมจะพัดหรือไม่ ไม่ต้องขุดไม่ต้องขน บางอาจจะถึงกับไม่มีวันหมดเลยทีเดียว จากสถิติพบว่า โรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพมี Down-time ต่ำสุดในบรรดาโรงไฟฟ้าต่าง เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน แก๊ส แสงอาทิตย์ พลังงานลม แม้กระทั่งนิวเคลียร์ อีกทั้งยังปล่อยมลพิษน้อยมากหรือแทบไม่มี และที่สำคัญขณะนี้มีการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพ มาใช้น้อยมาก อันเนื่องมาจากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ประเทศเรามีเพียงโครงการสาธิต 1 โครงการตั้งแต่ปี 2532 ปัจจุบันก็ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
โรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพ ในแบบใหม่

โรงไฟฟ้าระบบ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แบบเก่าดั้งเดิม

แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ใช้มาผลิตไฟฟ้าปัจจุบัน ส่วนมากจะเป็นแบบดั้งเดิมคือต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ต้องมีชั้นหินที่ให้ความร้อนสูงที่อยู่ในระดับตื้น ต้องมีหินที่มีคุณสมบัติในการทำให้น้ำไหลผ่านได้ และที่สำคัญต้องมีระบบน้ำใต้ดินที่หมุนเวียนได้ในระดับความลึกอีกนั้นด้วย และปัจจัยทั้ง 3 นี้ต้องมาพร้อมกันจึงจะพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานใต้พิภพสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การสำรวจหาพื้นที่เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพจึงมีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวสูงมาก และทำให้โรงไฟฟ้าชนิดนี้เกิดขึ้นน้อยมาก ทั้งที่เป็นพลังงานที่ใช้ไปไม่หมดสิ้น ต้นทุนก็ต่ำ ในหลายๆพื้นที่มีชั้นหินให้ความร้อนสูงอยู่ในระดับตื้น แต่ไม่มีระบบน้ำใต้ดินจึงพัฒนาไม่ได้ นี่คือเรื่องราวในอดีตปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นไปข้อจำกัดนี้ก็หายไปด้วย หมายเหตุยังเป็นแค่โครงการสาธิต

เทคโนโลยีใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแหล่ง พลังงานความร้อนใต้พิภพ

เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านี้เรียกว่า Engineered or Enhanced Geothermal Systems (EGS) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแหล่ง พลังงานความร้อนใต้พิภพ ในแหล่งที่มีเพียงแต่ชั้นหินให้ความร้อนระดับตื้นแต่ไม่มีระบบน้ำใต้ดิน โดยการสร้างชั้นเก็บกักน้ำขึ้นมาเอง (artificial geothermal reservoirs) โดยการทำให้ชั้นหินเดิมที่เป็นชั้นหินทึบน้ำกลายเป็นชั้นหินที่น้ำสามารถซึมผ่านได้ (Permeability Rock)เสียก่อน ด้วยวิธีการเพิ่มความดันไฮดรอลิคลงไปในชั้นหินเพื่อกระตุ้นให้รอยแตกเล็กๆในหินแยกและขยายตัวมากขึ้นเชื่อมโยงต่อเนื่องกันเป็นโครงข่ายทำให้น้ำไหลผ่านและหมุนเวียนได้ ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากชั้นหินสู่น้ำที่หมุนเวียนเข้ามาคล้ายกับการทำงานของหม้อน้ำรถยนต์ และจากนั้นจึงเติมน้ำจากผิวดินเข้าไปในชั้นหินเก็บกักน้ำที่เราสร้างขึ้นมา น้ำนี้จะถูกใช้หมุนเวียนทำให้ไม่ต้องเติมน้ำบ่อยๆ

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
Newberry Geothermal Lease Project ซึ่งใช้เทคโนโลยีของบริษัท Altrarock Energy ภาพจาก Bureau of Land Management

บริษัท Altarock ได้พัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมาและทดสอบกับโครงการทดลองที่ Newberry Volcano ด้วยการเพิ่มความดันไฮดรอลิคเข้าไปในชั้นหินเพื่อทำให้หินมีรอยแตกเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่องกัน เป็นการเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านของชั้นหินซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “hydroshearing” ฟังดูแล้วก็คล้ายกับไฮดรอลิคแฟคเจอริ่ง (Hydraulic Fracturing) ที่ใช้อยู่ในวงการปิโตรเลี่ยม ที่แตกต่างกันก็คือ hydroshearing จะใช้แรงดันปานกลางเท่านั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดรอยแตกเล็กๆจำนวนมากในชั้นหินโดยต้องการแค่ความกว้างของรอยแตกเพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับถ่ายเทความร้อนจากชั้นหินไปสู่ระบบหมุนเวียนน้ำ

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
Info Graphic เทคโนโลยี EGS ภาพโดย Department of Energy USA

แต่ระบบ Hydraulic Fracturing ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมต้องการแรงดันมหาศาลเพื่อสร้างรอยแตกขนาดใหญ่และกว้างขวาง และระบบ Hydroshearing ไม่ได้ใชสารเคมีช่วยเหมือนระบบ Hydraulic Fracturing แต่ใช้เพียงแค่น้ำเย็นเปล่าๆปั๊มลงไปในหลุมเจาะเท่านั้น ดังนั้นรับประกันได้ว่าไม่มีการปนเปือนของสารเคมีในชั้นน้ำใต้ดินอย่างแน่นอน

ระบบ EGS ที่ทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแหล่ง พลังงานความร้อนใต้พิภพ นี้ ในช่วงที่มีการทดลองทำแรกๆพบว่ามีค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่าการลงทุน เพราะว่าได้น้ำร้อนและไอน้ำที่ผลิตไฟฟ้าได้ไม่คุ้มทุน ภายหลังจึงมีการคิดค้นและพัฒนาเพิ่มเติม โดยช่วงแรกมีการทำ Hydroshearing เพียงชั้นเดียว (Single Zone EGS) นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ปริมาณน้ำร้อนและไอน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ค้นคิดวิธีการที่จะเพิ่มปริมาณน้ำร้อนและไอน้ำโดยใช้หลุมเจาะเดียวกันนี่แหละ ด้วยวิธีการคือการทำ Hydroshearing เป็นหลายๆชั้น (multi zones EGS) ขึ้นมาลักษณะคล้ายคอนโด เพื่อผิวสัมผัสและเพิ่มขนาดของแหล่งเก็บกักน้ำในชั้นหินร้อน

การที่สามารถเพิ่มปริมาณน้ำร้อนและไอน้ำได้ 3 ถึง 5 เท่า ซึ่งเพียงพอและคุ้มค่าสำหรับการลงทุน และยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงกว่า 50 เปอร์เซนต์ทำให้สามารถแข่งขันได้ ตัวอย่างคือ ในการทำ EGS แบบชั้นเดียว (Sigle Zone EGS) แบบ 3 หลุมเจาะ คือ 1 หลุมใช้สำหรับเติมน้ำ และ 2 หลุมเป็นหลุมผลิต (หลุมที่ใช้ปั๊มน้ำร้อนหรือไอน้ำขึ้นมา) จะผลิตไฟได้ 1.5 MW แต่เมื่อเราเปลี่ยนไปเป็นชนิดหลายๆชั้น (Multi Zones GES) แบบ 3 หลุมเหมือนกันเราจะได้ไฟฟ้าถึง 10-15 MW

ในพื้นที่ 12 – 13 ไร่ สามารถเจาะได้ประมาณ 9 หลุม แบ่งเป็นหลุมที่ใช้ในการเติมน้ำ 3 หลุม (Injetion Well) และหลุมผลิต 6 หลุม (Production Well) ถ้าใช้วิธีแบบ Single Zone EGS จะได้น้ำร้อนหรือไอน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียง 5 MW แต่ถ้าทำแบบ Multi Zones EGS จะได้น้ำร้อนหรือไอน้ำเพื่อใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 30-50 MW ซึ่งทั้งสองวิธีใช้งบลงทุนใกล้เคียงกัน ทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนคุ้มค่าอย่างแน่นอนเมื่อใช้วิธี Multi Zones EGS

โครงการสาธิตต่างๆที่มีการทำ EGS  (Engineered or Enhanced Geothermal Systems)

การพยายามนำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ ขึ้นมาใช้ ด้วยการทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินที่มีความร้อน มีเกิดขึ้นมาหลายปีมาแล้ว ในช่วงปี 1960 มีการเสนอให้ใช้อาวุธนิเคลียร์ในการทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินร้อน แต่ข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการยอมรับนำไปใช้ปฏิบัติจริง จนกระทั่งในปี 1974 นักวิจัยของ ลอส อลามอส (Los Alamos Scientific Laboratory) ได้รับสิทธิบัตรสำหรับ “วิธีการนำความร้อนออกจากชั้นหินร้อนที่ไม่มีน้ำบาดาล” ซึ่งสาระสำคัญก็คือการสร้างชั้นอุ้มน้ำในหินร้อน ด้วยการใช้ความดันไฮดรอลิคทำให้ชั้นหินแตกต่อเนื่องกันเป็นที่เก็บกักน้ำ และปั๊มน้ำลงไปในชั้นเก็บกักน้ำนั้น จากชั้นหินร้อนก็ถ่ายเทความร้อนเข้าสู่น้ำ และสูบน้ำร้อนหรือไอน้ำนำขึ้นมาใช้ ซึ่งหลักการนี้ก็ถูกนำมาใช้และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในหลายสิบปี

  • โครงการ Fenton Hill

โครงการ Fenton Hill ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมาธิการปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ให้ทำการศึกษาทดลองในการนำพลังงานความร้อนจากชั้นหินร้อนใต้ที่ไม่มีน้ำบาดาล (Hot Dry Rock : HDR) ซึ่ง ลอส อลามอส ได้เป็นผู้ดำเนินการโครงการ ช่วงแรกๆได้มีความพยายามหลายครั้งในการที่จะเชื่อมต่อระหว่างหลุมเติมน้ำกับหลุมผลิตน้ำร้อน ด้วยการสร้างรอยแตกในชั้นหินร้อนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

จนกระทั่งในปี 1977 จึงสามารถหมุนเวียนน้ำร้อนจากหลุมเติมน้ำผ่านชั้นหินร้อนไปยังหลุมผลิตได้สำเร็จเป็นครั้งแรก จากนั้นก็ทำทำการทดสอบและปรับปรุงมาเรื่อยๆเป็นเวลา 3 ปี จนกระทั่งปี 1980 ก็สามารถหมุนเวียนน้ำร้อนได้ต่อเนื่องกัน 9 เดือน และทำการทดสอบผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 60 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าแบบ binary turbine นับว่าในเฟสแรกของโครงการ Fenton Hill ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

เมื่อประสบความสำเร็จในเฟสแรกแล้ว จึงเริ่มดำเนินขยายไปเป็นเฟส2 ซึ่งเฟสนี้มีรัฐบาลของเยอรมันและญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย และแน่นอนย่อมต้องมีกรมพลังงานของอเมริกาด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้ได้ในเชิงพานิชย์ ดังนั้นโครงการจึงขยายใหญ่ขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะความบกพร่องของเครื่องมืออุปกรณ์ และเงินทุนสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ แต่ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอนาคตต่อไป สิ่งที่ได้จากโครงการ Fenton Hill คือการเรียนรู้ว่า Insitu Stress จะแปรผันไปตามความลึก และเราไม่สามารถทำนายทิศทางการแตกหักของหินได้

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
โครงการ Fenton Hill ของสำนักงานปรมาณู USA ภาพจาก Department of Energy USA
  • โครงการ Rosemanowes ในอังกฤษ

ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันที่ ลอส อลามอส ทำโครงการ Fenton Hill ในประเทศอังกฤษก็มีโครงการแบบเดียวกันเกิดขึ้นในช่วงปี 1977-1991 The Camborne School of Mines ได้ทำการเลือกที่จะทำการทดลองในหินแกรนิต โครงการอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลคอร์นวอล (Cornwall) โดยทำการเจาะ 2 หลุมที่ความลึก 2,100 เมตร และสร้างชั้นเก็บกักน้ำด้วยการทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินจากหลุมเจาะเพื่อการเติมน้ำ (Injection well) หวังว่าแนวแตกของหินจะแตกขึ้นมาด้านบนและไปเชื่อมต่อกันกับหลุมผลิต (Production well)

แต่ความพยายามนี้ไม่ประสบความสำเร็จ รอยแตกที่สร้างขึ้นกลับมีทิศทางไปตรงกันข้าม และมีการสั่นไหวของแผ่นดินเล็กๆ ในเวลา 9 เดือนรอยแตกลึกลงไปถึง 4,500 เมตร น้ำที่ปั๊มลงไปหายไปกว่า 70% มีความพยายามที่จะเจาะหลุมผลิตให้ลึกลงไปอีก โดยเจาะระหว่างหลุมเก่าสองหลุมให้ลึกไปกว่าเดิมที่ 2,600 เมตร เพื่อให้ตัดกับชั้นอุ้มน้ำที่สร้างขึ้นมา เมื่อทดสอบการหมุนเวียนของน้ำๆก็ยังหายไปในระบบอีก สุดท้ายรัฐบาลอังกฤษตัดสินใจยุติโครงการในปี 1991 ย้ายไปทำโครงการร่วมกับ อียู ในโครงการ Soultz

ปัจจุบันโครงการนี้กลับมาแจ้งเกิดอีกครั้งในชื่อว่า Eden Deep Geothermal Energy Project มีเป้าหมายว่าจะผลิตไฟฟ้า 3-4 MW ที่ความลึก 4,500 เมตร เอาไว้ใช้ในโครงสวนอีเดน (องค์กรการกุศลเพื่อเป็นศูนย์การศึกษาและเรียนรู้และเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก) สร้างมาจากบ่อเหมืองดินขาวเก่า (China Clay Pit) ที่นี่มีทั้งป่าดงดิบ มีพันธุ์ไม้แปลก มีสถานที่สำหรับจัดนิทรรศการ และคอนเสิร์ต มีสถานศึกษาเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โรงไฟฟ้านี้ยังเผื่อแผ่ไปยังชุมชนที่อยู่ข้างเคียงอีกด้วย ขณะนี้โครงการ Eden Deep Geothermal Energy ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแล้ว

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
ภาพจำลองโครงการ Eden Deep Geothermal Project ภาพจาก Eden Garden, Cornwall UK
  • โครงการ Soultz ในยุโรป

จากการจุดประกายความหวังในโครงการ Fenton Hill ทำให้กรรมาธิการยุโรปมีความสนใจว่าทำโครงการใหญ่แบบเดียวกัน ในช่วงกลางปี 1980 ได้ตัดสินใจสนับสนุนโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังความร้อนจากใต้พิภพ จากหินร้อนที่ไม่มีระบบน้ำบาดาล คือ Hot Dry Rock (HDR) และได้เลือกพื้นที่บริเวณ Soultz-sous-Forets ประเทศฝรั่งเศส ห่างจากชายแดนเยอรมันเพียงไม่กี่กิโลเมตร โครงการนี้เป็นความร่วมมือกันของสหภาพยุโรปกับกระทรวงพลังงานจาก 3 ประเทศอันประกอบด้วย ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหราชอาณาจักร จุดประสงค์หลักคือการผลิตไฟฟ้าในเชิงพานิชย์

โครงการนี้เป็นโครงการสาธิตที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เนื่องด้วยพื้นที่ดำเนินโครงการมีสภาพโครงธรณีวิทยาที่เหมาะสม บริเวณนั้นเรียกว่า “The Rhine graben” (กราเบนคือแอ่งยุบที่เกิดจากรอยเลื่อนหรือการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก) การดำเนินการเจาะเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถสร้างชั้นเก็บกักน้ำแบบหลายชั้นๆได้ ทำให้มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ การสูบน้ำในหลุมผลิตก็สูบน้ำได้อย่างต่อเนื่องด้วยอัตรา 25 กิโลกรัมต่อวินาที การปั๊มน้ำลงไปในบ่อก็สามารถกระจายน้ำไปได้ทั่วทั้งพื้นที่รอยแตก และสามารถหมุนเวียนน้ำได้เป็นอย่างดี

  • โครงการ Hijiori และ โครงการ Ogachi ในญี่ปุ่น

ในช่วงระหว่างปี 1981 ถึง 1986 ญี่ปุ่นได้มีโอกาสเข้าร่วมทำโครงการสาธิตกับอเมริกาในโครงการ Fenton Hill และได้กลับมาทำโครงการของตัวเองโดยโครงการแรกเลือกพื้นที่บริเวณข้างปล่องภูเขาไฟ Hijiori โดยมีองค์การพัฒนาพลังงานเทคโนโลยีใหม่ (NEDO: New Energy and Industrial Technology Development Organization) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำการเจาะทั้งหมด 4 หลุม แบ่งเป็นหลุมเจาะสำหรับเติมน้ำ 1 หลุมและหลุมผลิต 3 หลุม ที่ความลึก 1,800 เมตร พบว่ามีอุณหภูมิ 250 องศาเซนเซียส พยามสร้างชั้นเก็บกักน้ำและหมุนเวียนน้ำไปที่บ่อผลิต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ น้ำหายลงไปในระบบประมาณ 70% แม้ว่าหลุมเจาะจะห่างกันเพียง 50 เมตรก็ตามก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้

อีกโครงการสาธิตหนึ่งของญี่ปุ่นคือโครงการ Ogachi เป็นความร่วมมือกันของสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมไฟฟ้า Central Research Institute of Electric Power Industry (CRIEPI) และมหาวิทยาลัยโตโฮกุ (Tohogu) โดยโครงการนี้เลือกทำในหินแกรโนไดโอไรท์ ที่มีความทึบน้ำ ทำการเจาะลงไปที่ความลึก 1,000 เมตร มีอุณหภูมิ 250 องศาเซนเซียส และดำเนินการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินที่ก้นหลุม และที่ 710 เมตร และทำการเจาะหลุมผลิตห่างกัน 100 เมตรโดยให้ผ่านลงไปในชั้นเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น

ผลปรากฎว่าเมื่อเริ่มรันระบบ มีน้ำหายไปประมาณ 90% และทำการปรับปรุงก็ไม่ดีขึ้นก็ยังปั๊มน้ำได้น้อยกว่าที่ใส่ลงไปคือหายไป 70% มีการพยายามเจาะหลุมผลิตเพิ่มเป็นหลุมที่ 3 ผลออกมาก็ล้มเหลว มีความพยายามอยู่ถึง 4 ปีผลที่ออกมาก็คือ เติมน้ำเข้าไปในระบบ 8-17 กิโลกรัมต่อวินาที แต่ปั๊มออกมาได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัมต่อวินาที

โครงการ Cooper Basin ในประเทศออสเตรเลีย

ในช่วงปลายปี 1990 ออสเตรเลียก็มีความตื่นตัวเช่นกัน แต่การทำโครงกลับเป็นบรฺิษัทเอกชน โดย Geodynamic นับเป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่ดำเนินการโครงการ EGS และเลือกพื้นบริเวณ Cooper Basin ทางด้านขอบทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียใต้ บริเวณ Cooper Basin เป็นแหล่งปิโตรเลียมดังนั้นจงมีหลุมเจาะปิโตรเลียมมากมาย แต่มีหลุมเจาะหนึ่งคือ Habanero-1 ที่ถูกเจาะให้ลึกไปจนถึงชั้นหินแกรนิต ที่ความลึก 4,422 เมตร และมีอุณหภูมิก้นหลุม 250 องศาเซนเซียส และมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาคล้ายกับโครงการ Soultz ในยุโรปซึ่งประสบความสำเร็จ ภายในหลุมเจาะ  Habanero-1 สามารถสร้างรอยแตกที่มีความซึมผ่านน้ำสูง แต่น่าเสียดายเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคในหลุมเจาะจึงไม่สามารถผลิตได้

เส้นทางสู่ความสำเร็จในการนำมาใช้แบบเชิงพานิชย์

กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาวางแผนที่จะทำให้เทคโนโลยี EGS สามารถนำมาใช้ได้ในเชิงพานิชย์ด้วยราคาที่สามารถแข่งขันได้กับพลังงานอื่นๆให้ได้ในปี 2030 โดยเริ่มดำเนินการตามแผนตั้งแต่ปี 2011 หวังว่าจะใช้เวลาประมาณ 20 ปี และได้มีการจัดการรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาวิจัยและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกันอย่างเป็นระบบ และยังคงมีโครงการสาธิตออกมาเรื่อยๆ ทำการวิจัยและศึกษาพื้นที่ต่างๆเพื่อค้นหาพื้นที่ที่เหมาะสม ศึกษาวิจัยโครงสร้างธรณีวิทยา โดยเฉพาะรอยแตก ทิศทางของรอยแตก ความเค้นความเครียดในหิน  พัฒนาเครื่องมือและเทคนิค พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

เพื่อให้ต้นทุนไฟฟ้าต่ำลงจากอยู่ที่  24 เซ็นต์ต่อ Kwh ในปี 2011 ให้เหลือแค่ประมาณ 6 เซ็นต์ต่อ Kwh ให้ได้ในปี 2030 และมีแผนที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพด้วยเทคโนโลยี EGS ให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 100 GWe ซึ่งคำนวณว่าครอบครัวชาวอเมริกันสามารถใช้ได้ 100 ล้านหลังคาเรือน

โรงงาน ไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลิต พลังงาน กี่ เปอร์ เซ็น
เป้าหมายการลดค่าใช้จ่ายของการผลิตไฟฟ้าแบบ EGS ใน 20 ปี โดย John Ziagos และคณะ

ประเทศไทยเราก็ไม่น้อยหน้าใครก็มีแผนการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานความร้อนใต้พิภพ ให้ได้ 1 MW ภายใน 10 ปีแต่จะใช้เทคโนโลยีอะไรยังไม่ทราบ  โดยอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี ปัจจุบันประเทศเรามีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ แบบดั้งเดิมอยู่ 1 แห่ง ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษาทดลองผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีกำลังการผลิต 300 กิโลวัตต์ ซึ่งพบว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 8 เท่า รวมถึงค่าบำรุงรักษาดูแลระบบยังถูกกว่าหลายเท่า และอายุการใช้งานยาวนานกว่าอีกด้วย

ในอนาคตข้างหน้าถ้าเทคโนโลยี EGS ได้ใช้อย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จประเทศเราก็อาจจะมีแผนการที่จะดำเนินการพัฒนาแหล่งพลังงานใต้พิภพให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าที่คาดการณ์ก็เป็นไปได้