จง บอก คุณสมบัติ ของ เครื่อง เชื่อม ไฟฟ้า มา 3 ข้อ

 Arc Welding เครื่องเชื่อมไฟฟ้า

Arc Welding เชื่อมไฟฟ้า คือ ชนิดของเครื่องเชื่อม ที่ได้กำลังจากการอาร์คของไฟฟ้าระหว่างแท่งอิเล็กโทรดกับชิ้นงานโลหะเพื่อหลอมละลายโลหะ ณ จุดเชื่อม สามารถเชื่อมได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง DC และไฟฟ้ากระแสสลับ AC พื้นที่แนวเชื่อมทั่วไปจะต้องถูกปกคลุมด้วย แก้สหรือสแล็ก ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 และถูกใช้ในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ คือการประกอบเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ปัจจุบันยังการเชื่อมไฟฟ้ายังคงสำคัญในกระบวนการเชื่อมประกอบโลหะ โครงสร้างเหล็ก และยานพาหนะ

Power supplies แหล่งจ่ายไฟฟ้า

เพื่อให้พลังงานสำหรับการเชื่อมไฟฟ้าการจำแนกระดับของเครื่องโดยทั่วไปมักดูที่การให้กระแสเชื่อม และแรงดันที่คงที่,แรงดันยังคงที่เมื่อเชื่อมงานแนวยาว และกระแสที่สัมพันธ์กับความร้อน, 

กระแสเชื่อมที่คงที่มักจะใช้กับการเชื่อมด้วยมือเช่นเดียวกับการเชื่อมเชื่อมไฟฟ้าด้วยแก้สทังสเตน (TIG) เครื่องเชื่อมอาร์กอน เพราะกระแสเชื่อมยังคงที่ถึงแม้แรงดันไฟเชื่อมจะเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะโดยความเป็นจริงเราไม่สามารถรักษาระยะแท่งอิเล็กโทรดได้มั่นคงอยู่ตลอด และแนวเชื่อมที่ยาวทำให้แรงดันมีการแกว่งได้

แรงดันที่คงที่โดยเปลี่ยนค่ากระแสแทน ใช้สำหรับการเชื่อมออโต้ เช่นการเชื่อมแก้สCo2 MIG  flux core เชื่อม submerge คือถ้าระยะห่างระหว่างปืนเชื่อมกับชิ้นงานใกล้กระแสเชื่อมจะเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้หัวทิปร้อนขึ้นและหลอมละลาย

การเชื่อมไฟฟ้าสามารถเชื่อมได้ด้วย ขั้วบวก และ ขั้วลบ, ขั้วบวกสามารถให้ความร้อนได้ดีกว่า ทำให้หลอมละลายได้ดีกว่าทำให้เชื่อมได้เร็วกว่า, ขั้วลบทำให้แนวเชื่อมบวมกว่า 

Duty Cycle คือค่าสปกของเครื่องเชื่อมเพื่อหาจำนวนนาทีของช่วง 10 นาทีช่วงที่สามรถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น Duty Cycle 60% ที่กระแสเชื่อม 80 ควรพักเครื่อง 4 นาที หลังจากใช้งานต่อเนื่องไปแล้ว 6 นาที หากใช้งานเกินค่า Duty Cycle เครื่องเชื่อมอาจเสียหายได้ หรือควรเลือกใช้เครื่องเชื่อมที่ให้กระแสเชื่อมที่ใช้งานใน Duty Cycle 100%

แท่งอิเล็กโทรดชนิดเชื่อมแล้วหมดไป (เชื่อมธูป)

1.ในชนิดทั่วไปที่รู้จักกันของการเชื่อมไฟฟ้า คือ Shielded Metal Arc Welding (SMAW) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ Metal Metal Arc Welding (MMAW) หรือเชื่อมธูป กระแสเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้อาร์คระหว่างชิ้นงาน และ แท่งธูปเชื่อม ชิ้นงานที่เชื่อมแล้วจะถูกปกคลุมด้วยฟลักส์ สารถเชื่อม เหล็ก นิกเกิล อะลูมิเนียม ทองแดง ใช้สำหรับงานซ่อมและงานโครงสร้าง

2.Gas Metal Arc Welding (GMAW) หรือที่รู้จักกันว่าเครื่องเชื่อม MIG (Metal Inert Gas) คือเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ หรือ แบบกึ่งอัตโนมัติ โดยวิธีป้อนลวดออกมาอย่างต่อเนื่อง แก้สไหลโดยเชื่อมกระแสตรง สัมพันธ์กับความเร็วของลวดที่ไหลออกมา  

3.Flux-cored arc welding (FCAW) เปลี่ยนมาจากเทคนิคของ GMAW ลวดเหมือนกันแต่เพิ่มแป้งเนื้อฟลักซ์เพื่อช่วยการทำงานของแก้สป้องกันแผลเชื่อมสัมผัสอากาศ วิธีนี้ใช้ในงานเชื่อมที่ใช้ความเร็วสูง และ เคลื่อนที่ได้ดี

4.Submerged Arc Welding (SAW) การเชื่อมขั้นสูงเป็นการเชื่อมออโต้

การเชื่อมที่แท่งอิเล็คโทรดไม่หมดไป

Gas Tungsten Arc Welding (GTAW), or tungsten/inert-gas(TIG) การเชื่อมด้วยมือจากทังสเตนกับแก้สเฉื่อย เชื่อมเสถียรและแนวเชื่อมคุณภาพสูง แต่ความเร็วในการเชื่อมช้า แผลเชื่อมแคบ ส่วนใหญ่ใช้เชื่อมกับสเตนเลสและโลหะเบา  เช่น จักรยาน เครื่องบิน เรือรบ 

  • หน้าแรก
  • บทความ

ประเภทของอุปกรณ์และวิธีการในการเชื่อมโลหะ
ประเภทของตู้เชื่อม

1. ตู้เชื่อม TIG หรือที่เราเรียกว่าเครื่องเชื่อมอาร์กอนนั่นเอง เครื่องเชื่อม TIG มีทั้งเชื่อมอาร์กอนอย่างเดียว หรือเชื่อมได้ 2 อย่าง คือ เชื่อมอาร์กอนและเชื่อมธูปหรือที่ทั่วไปเรียกว่าเชื่อมเหล็ก หรือ 3 คือเชื่อมอาร์กอนเชื่อมธูปและเชื่อมอลูมิเนียม (คือระบบ AC) ที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่าเครื่องเชื่อมระบบ AC/DC นั่นเอง ช่างโดยทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเครื่องเชื่อม 2 และ 3 ระบบมักจะเสียง่าย ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะคนขายไม่ได้อธิบายรายละเอียดการใช้หรือไปพบแต่เครื่องคุณภาพต่ำ เลยเข้าใจผิดไปกันใหญ่ เครื่องเชื่อมที่มี 2 ระบบ ก็จะมีสวิตซ์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว + สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว – แต่เมื่อเรานำเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ - และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้ว + แทนซึ่งคนขายบางคนไม่รู้และไม่เข้าใจก็เลยไม่อธิบายให้คนใช้ฟัง คนใช้พอมาใช้แล้วก็เลยเข้าใจผิดว่าเสีย เชื่อมไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้ว เครื่องไม่เป็นอะไรเลยจะอยู่ที่เราใช้ไม่เข้าใจ คนขายบางคนก็ไม่เข้าใจและอธิบายไม่ถูก ส่วนเครื่องระบบ AC/DC, AC คือ เครื่องเชื่อมระบบที่ใช้กับการเชื่อมอะลูมิเนียมซึ่งเครื่องเล็กจะมี 2 ระบบและ 3 ระบบ 2 ระบบคือการเชื่อมอลูมิเนียมกับเชื่อมอาร์กอน ส่วน 3 ระบบก็คือ เชื่อมอลูมิเนียม เชื่อมอาร์กอน และเชื่อมเหล็ก

จง บอก คุณสมบัติ ของ เครื่อง เชื่อม ไฟฟ้า มา 3 ข้อ

รูปที่ 1 แสดงถึงอุปกรณ์และเครื่องมือในการเชื่อม TIG

2. ตู้เชื่อมมิก MIG (Metal Inert Gas) หรือที่ช่างเรียกกันว่า เครื่องเชื่อมคาร์บอน (CO2) ซึ่งที่จริงแล้วเครื่องเชื่อมนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม สามารถเชื่อมชิ้นงานที่มีความบางได้ดีกว่าเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อม เครื่องเชื่อมมิกจะเชื่อมโดยการป้อนเนื้อลวดลงไปที่ชิ้นงานอัตโนมัติ ทำให้เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีแก๊สเกิดขึ้นที่แนวเชื่อม ทำหน้าที่คอยป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าไปที่บ่อหลอมละลาย เพราะหากอากาศจากภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยาในระหว่างเชื่อม จะส่งผลให้คุณภาพของงานเชื่อมต่ำได้

จง บอก คุณสมบัติ ของ เครื่อง เชื่อม ไฟฟ้า มา 3 ข้อ

รูปที่2 แสดงถึงองค์ประกอบในการเชื่อม MIG

กระบวนการเชื่อมมิก – แมก (MIG – MAG Process)
1. หัวเชื่อม/Torch
2. ลวดเชื่อม/Electrode Wire
3. หัวปกคลุม/Nozzle
4. หัวนำลวด/Contact tip
5. แก๊สปกคลุม/Gaseous Protection
6. บ่อหลอมละลาย/Molten Metal
7. แนวเชื่อม/Weld bead

ข้อดีของการเชื่อมแบบมิก

คือสามารถเชื่อมได้ทั้งแบบธรรมดาและแบบออโตเมติก สามารถเชื่อมงานโลหะได้เกือบทุกชนิด เช่น เหล็ก (Steel), เหล็กเหนียว (Mild Steel), สแตนเลส (Stainless Steel), อลูมิเนียม (Aluminium), ทองแดง (Copper) เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างคือสามารถเชื่อมงานได้ทุกท่าเชื่อม และเมื่อเปรียบเทียบการเชื่อมมิกกับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปแล้วนั้น การเชื่อมมิกจะสามารถเชื่อมงานได้รวดเร็วกว่า และสามารถเดินแนวเชื่อมได้ยาวและต่อเนื่งทำให้มีความสะดวก เนื่องจากการเชื่อมนั้นไม่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนลวดเชื่อมบ่อยๆ
3. เครื่องเชื่อม MMA (ไฟฟ้า)
กระบวนการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ (MMAW: Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW: Shield Metal Arc Welding) คือการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ ด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือกระบวนการต่อโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อน ที่เกิดจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นที่ปลายลวดเชื่อมมีอุณหภูมิ

ประมาณ 5,000 – 6,000 องศาเซลเซียส

จง บอก คุณสมบัติ ของ เครื่อง เชื่อม ไฟฟ้า มา 3 ข้อ

รูปที่3 แสดงถึงกระบวนการของการเชื่อมไฟฟ้า (MMA)

ลักษณะเครื่องเชื่อมแบบ MMA หรือเครื่องเชื่อม Inverter แบบอาร์ค

กระบวนการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือ การเชื่อมอาร์คโลหะด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Shielded Metal Arc Welding) หรือที่เรียกว่าการเชื่อมด้วยธูปเชื่อม เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากต้นทุนที่เชื่อมด้วยกระบวนการนี้ต่ำและการใช้งานการเชื่อมชนิดนี้จะใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ ท่อส่งแก๊ส, ท่อส่งน้ำมัน, งานโครงสร้าง, งานช่างกลเกษตร และงานอื่นๆอีก ข้อดีของกระบวนการเชื่อมแบบนี้คือสามารถเชื่อมได้ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็กที่มีความหนาตั้งแต่ 1.2 ม.ม. ขึ้นไป และสามารถเชื่อมได้ทุกท่าเชื่อม


จง บอก คุณสมบัติ ของ เครื่อง เชื่อม ไฟฟ้า มา 3 ข้อ

รูปที่4 แสดงถึงรูปตู้เชื่อมไฟฟ้าโดยทั่วไป

Tags : บทความรถปั๊ม, บทความช่าง, ต่อท่อ, รถปั๊มคอนกรีต, รถปั๊มคอนกรีตPST, เครื่องพ่นสี, เครื่องพ่นปูนฉาบ, ให้เช่ารถปั๊ม, บริการติดตั้งPlacingBoom, เช่าPlacingBoom, PST Group, จำหน่ายรถปั๊ม, จำหน่ายเครื่องพ่น, เช่าเครื่องพ่นปูนฉาบ, เครื่องพ่นสีบ้าน, ผู้รับเหมา, บ

บทความอื่นๆ