การบรรเลง ดนตรีในข้อใด ทำให้ เกิด เสียงดัง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่นี้ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในวงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่นี้ ถ้าการบรรเลงบางเพลงเห็นควรมีฉาบ เล็ก ฉาบใหญ่ หรือ โหม่ง ก็นำมาผสมกันได้ โดยมีหน้าที่ดังนี้

ฉาบเล็ก ตีได้ทั้งให้ข้างๆ กระทบกัน หรือ ตี ๒ ฝาเข้าประกบกัน มีหน้าที่หยอกล้อ ยั่วเย้าไปกับฉิ่ง หรือให้สอดคล้องกับทำนองเพลง

ฉาบใหญ่ ตี ๒ ฝาเข้าประกบกันตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่ช่วยกำกับจังหวะห่างๆ ถ้า เป็นเพลงสำเนียงจีนก็ตีให้เข้ากับทำนอง

โหม่ง ตีตรงปุ่มด้วยไม้ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่ควบคุมจังหวะห่างๆ

การบรรเลง ดนตรีในข้อใด ทำให้ เกิด เสียงดัง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

การบรรเลงปี่พาทย์นี้ โดยปกติระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่จะใช้ไม้แข็งตี แต่ถ้าต้องการให้ มีเสียงนุ่มนวล ก็เปลี่ยนไม้ตีเป็นไม้นวมเสียทั้งสองอย่าง เรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้นวม"

ถ้าบรรเลงประกอบการขับเสภา ซึ่งมีร้องส่ง ก็เอาตะโพน และกลองทัดออก ใช้ "สองหน้า" ตีกำกับจังหวะหน้าทับ และใช้ได้ทั้งปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ใช้ไม้แข็งตี ตามปกติ

หากจะให้เป็นปี่พาทย์นางหงส์ ก็เอาตะโพน กลองทัด และปี่ในออก เอา "ปี่ชวา" และ "กลองมลายู" เข้ามาแทน ปี่พาทย์นางหงส์นี้ใช้เฉพาะงานศพเท่านั้น

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดีด และเครื่องสีเป็นหลัก มีเครื่องเป่าและเครื่องตีที่ ได้เลือกว่ามีเสียงเหมาะสมกันผสม ดังนี้

เครื่องสายวงเล็ก

มีเครื่องดนตรีผสมในวง และมีหน้าที่ต่างๆ กันคือ

๑. ซอด้วง สีเป็นทำนองเพลงมีถี่บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวง และ เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
๒. ซออู้ สีหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
๓. จะเข้ ดีดเก็บถี่ๆ บ้าง ห่างๆ บ้าง สอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะ
๔. ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆ บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง ดำเนินทำนองเพลง
๕. โทน ตีให้สอดสลับกับรำมะนา กำกับจังหวะหน้าทับ
๖. รำมะนา ตีให้สอดสลับกับโทน กำกับจังหวะหน้าทับ โทนกับรำมะนานี้ ต้องตีให้สอดคล้องกัน เหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นบางที จึงใช้คนเดียวตีทั้งสองอย่าง
๗. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)

วงเครื่องสายเครื่องคู่

มีเครื่องดนตรีผสมอยู่ในวงและมีหน้าที่ดังนี้

๑. ซอด้วง ๒ คัน การสีเหมือนในเครื่องสายวงเล็ก แต่มีหน้าที่การนำวงมีเพียงคันเดียว อีก คันหนึ่งเพียงช่วยเป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
๒. ซออู้ ๒ คัน (การสีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก)
๓. จะเข้ ๒ ตัว (การดีดและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก)
๔. ขลุ่ยเพียงออ (วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก)
๕. ขลุ่ยหลิบ วิธีเป่าเหมือนกับขลุ่ยเพียงออ แต่มีหน้าที่สอดแทรกทำนองไปในทางเสียงสูง
๖. โทน (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก)
๗. รำมะนา (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก)
๘. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องห้า)

วงมโหรี

มโหรี เป็นวงดนตรีผสม ตั้งแต่มีไม่กี่สิ่ง จนกลายเป็นวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

วงมโหรีโบราณ

มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน

๑. ซอสามสาย สีเก็บบ้าง โหยหวนเสียงยาวๆ บ้าง มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนิน ทำนองเพลง
๒. กระจับปี่ ดีดดำเนินทำนองถี่บ้างห่างบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง
๓. โทน ตีให้สอดสลับไปแต่อย่างเดียว (เพราะยังไม่มีรำมะนา) มีหน้าที่กำกับจังหวะ หน้าทับ
๔. กรับพวง ตีตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ซึ่งคนร้องเป็นผู้ตี

วงมโหรีอย่างนี้ได้ค่อยๆ เพิ่มเครื่องดนตรีมากขึ้นเป็นขั้นๆ ขั้นแรกเพิ่มรำมะนาให้ตีคู่กับ โทน แล้วเพิ่มฉิ่งแทนกรับพวง ต่อมาก็เพิ่มขลุ่ยเพียงออ และนำเอาจะเข้เข้ามาแทนกระจับปี่ ต่อจากนั้น ก็นำเอาเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและวง ปี่พาทย์เข้ามาผสม แต่เครื่องดนตรีที่นำมาจาก วงปี่พาทย์นั้น ทุกๆ อย่างจะต้องย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เสียงเล็กและเบาลง ไม่กลบเสียง เครื่องดีดเครื่องสีที่มีอยู่แล้ว มีขนาดวงตามลำดับ ดังนี้

วงมโหรีวงเล็กมีเครื่องดนตรีดังนี้

๑. ซอสามสาย (วิธีสีและหน้าที่เหมือนในวงมโหรีโบราณ)
๒. ระนาดเอก (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)
๓. ฆ้องวง เนื่องจากย่อขนาดเล็กลงกว่าฆ้องวงใหญ่ และใหญ่กว่าฆ้องวงเล็กในวง ปี่พาทย์ จึงมักเรียกว่า "ฆ้องกลาง" หรือ "ฆ้องมโหรี" วิธีตีและหน้าที่เหมือนฆ้องวง ใหญ่ในวงปี่พาทย์
๔. ซอด้วง (วิธีสีเหมือนในวงเครื่องสาย แต่ไม่ต้องเป็นผู้นำวง เพราะมีระนาดเอกเป็น ผู้นำวงอยู่แล้ว)
๕. ซออู้ (วิธีสีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
๖. จะเข้ (วิธีดีดและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
๗. ขลุ่ยเพียงออ (วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
๘. โทน (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
๙. รำมะนา (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสาย)
๑๐. ฉิ่ง (วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์)

 วงมโหรีเครื่องคู่มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ทั้งวิธีบรรเลงและหน้าที่ เหมือนกับวงมโหรีวงเล็กทุกอย่าง แต่เพิ่มซอด้วงเป็น ๒ คัน ซออู้เป็น ๒ คัน จะเข้เป็น ๒ ตัว กับเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๓ อย่าง คือ

๑. ขลุ่ยหลิบ วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในวงเครื่องสายเครื่องคู่
๒. ระนาดทุ้ม วิธีตีและหน้าที่เหมือนในวงปี่พาทย์เครื่องคู่
๓. ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่าฆ้องวงเล็กในวงปี่พาทย์ วิธีตีและหน้าที่เหมือนอย่างใน วงปี่พาทย์เครื่องคู่ บางทีก็เพิ่มซอสามสายคันเล็ก เรียกว่า ซอสามสายหลิบ อีก ๑ คัน