ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

          หลังจากที่มีการตัดสินใจจ้างงานแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ควรแจ้งข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างขององค์กรให้กับพนักงานใหม่ได้รู้ ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไป, สิทธิประโยชน์, ไปจนถึงรายละเอียดของงานในแผนกนั้นๆ ให้ได้รับทราบ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานสามารถรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้ครบถ้วนเพื่อการปรับตัวสร้างความคุ้นเคยกับองค์กรให้ได้เร็วที่สุด

บทความงาน > บทความผู้ประกอบการ > การจ้างงาน > 10 ขั้นตอนสรรหาผู้สมัครงานอย่างเป็นระบบ

10 ขั้นตอนสรรหาผู้สมัครงานอย่างเป็นระบบ

  • 15 March 2021

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

          ท่ามกลางผู้หางานจำนวนมาก HR จะทำอย่างไรให้ได้คนทำงานที่เหมาะสมมาร่วมงาน ซึ่งคนที่เหมาะสมนี้ ไม่เพียงแค่เราเลือกเขาเท่านั้น เขาต้องเลือกเราด้วยจึงจะได้ร่วมงานกัน หากบริษัทดูไม่เป็นมืออาชีพ ทำงานไม่เป็นระบบ ผู้สมัครงานก็อาจไม่เลือกบริษัทของคุณก็ได้ ดังนั้น HR จึงต้องมีกระบวนการคัดเลือก หรือ ขั้นตอนสรรหาผู้สมัครงาน อย่างมืออาชีพด้วย

 

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
 

1. จัดทำ Job Description

          ก่อนจะลงประกาศงาน คุณต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมเสียก่อน ตำแหน่งงานนั้น ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง ต้องการผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เพราะผู้หางานมักจะมองลักษณะงานที่สนใจเป็นหลัก ดังนั้น ประกาศงานที่มีรายละเอียดชัดเจนน่าเชื่อถือจะสามารถดึงดูดผู้สมัครงานได้ดีกว่าประกาศงานที่คลุมเครือหรือให้รายละเอียดน้อยเกินไป

2. กำหนดทีมผู้สัมภาษณ์งาน

          ทีมผู้สัมภาษณ์งานอาจไม่ใช่เพียง HR แต่รวมถึงผู้จัดการแผนก และหัวหน้างานด้วย เนื่องจากเป็นทีมที่จะต้องทำงานร่วมกัน จะได้ร่วมกันตัดสินใจเลือกคนที่สามารถเข้ากันกับทีมและองค์กรได้ดีที่สุด

3. เตรียมการสัมภาษณ์งาน

          กำหนดรูปแบบการสัมภาษณ์งาน เกณฑ์การคัดเลือก และเตรียมคำถามสัมภาษณ์งานที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของตำแหน่งงานที่ต้องการ รวมทั้งอ่านเทคนิคการสัมภาษณ์งานเพิ่มเติม

4. ดำเนินการสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ

          ระยะเวลาการสัมภาษณ์งานที่คุณใช้ สมมติว่า 1 ชั่วโมง ควรแบ่งเป็น 70% สำหรับผู้สมัครงานพูด และ 30% สำหรับ ผู้สัมภาษณ์งานพูด การให้สัดส่วนผู้สมัครงานได้พูดมากกว่าเพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้นำเสนอตนเอง ตอบคำถาม บอกเล่าประสบการณ์ของเขา เพื่อให้มีข้อมูลมาใช้ประเมินผลการสัมภาษณ์งานมากที่สุด

5. อธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจน

          สิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้คนที่เหมาะกับงานคือ ผู้สมัครงานต้องเข้าใจลักษณะของงาน และอยากทำงานนั้นจริง ๆ ผู้สัมภาษณ์งานจึงควรอธิบายรายละเอียดของงานให้ชัดเจนเข้าใจตรงกันตั้งแต่ตอนสัมภาษณ์งาน เนื่องจากบ่อยครั้งที่รับพนักงานเข้ามาทำงานแล้วกลับทำงานไม่นานก็ลาออก เพราะพบว่าไม่ใช่งานแบบที่คิดไว้

6. สื่อสารอย่างมืออาชีพ

          การสื่อสารที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานแบบมืออาชีพ ไม่ว่าผู้สมัครงานจะผ่านการคัดเลือกหรือไม่ ควรแจ้งผลแก่พวกเขาด้วย แม้จะไม่ได้ร่วมงานกัน แต่คุณก็สามารถสร้างความประทับใจต่อแบรนด์ของคุณได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

7. คัดเลือกผู้สมัครงาน

          การคัดเลือกผู้สมัครงานเข้าสู่การสัมภาษณ์งานรอบสุดท้ายควรเหลือคนที่ดีที่สุดไว้อย่างน้อย 3 คนเพื่อให้มั่นใจว่า หากคุณพลาดจากผู้สมัครงานอันดับหนึ่งคุณยังมีตัวเลือกที่ดีอย่างน้อยอีก 2 คนอยู่ในมือ

8. รับเข้าทำงาน

          เมื่อคุณตกลงรับผู้สมัครงานเข้าทำงานแล้ว ควรปูพื้นความรู้เกี่ยวกับบริษัท สินค้า อุตสาหกรรม ทิศทางองค์กร กฎระเบียบ แนวทางการทำงานให้แก่พนักงานเพื่อให้เขาสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และวางตัวได้อย่างเหมาะสม

9. ทำสัญญาให้ชัดเจน

          ก่อนที่พนักงานจะเริ่มงาน HR ควรจัดการเรื่องเอกสารโดยเร็ว โดยเฉพาะประเด็นที่จะเป็นข้อถกเถียงควรชี้แจง ให้รัดกุมที่สุด เช่น เงินเดือน ระยะเวลาทดลองงาน สวัสดิการที่จะได้รับ เป็นต้น

10 เริ่มทดลองงาน

          คุณสามารถกำหนดระยะเวลาทดลองงาน 3 – 4 เดือน โดยอาจให้เงินเดือนต่ำกว่าที่ผู้สมัครงานต้องการ หรือให้สวัสดิการเพียงบางอย่างในช่วงทดลองงาน แต่เมื่อผ่านการทดลองงานแล้วจึงได้ขึ้นเงินเดือนตามตกลงหรือได้สวัสดิการ ที่ครอบคลุมมากขึ้น เป็นต้น

          ในฐานะที่ HR คือประตูหน้าด่านขององค์กร เป็นหน้าที่ที่คุณต้องทำให้ผู้สมัครงานที่ใช่ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากองค์กร ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระหว่าง ขั้นตอนสรรหาผู้สมัครงาน อาจส่งผลเสียต่อองค์กรโดยรวมได้ แต่หาก HR ได้เตรียมความพร้อม และนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาระบบการจ้างงานให้ดีขึ้น เราเชื่อว่าความสำเร็จในการสรรหาผู้สมัครงาน จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

 

Loading…

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลงประกาศงานกับ jobsDB ช่วยให้พบผู้สมัครงานตรงใจได้ดียิ่งขึ้น

8 วิธีหาคนที่เหมาะสมมาสมัครงาน

การจ้างงาน  การจ้างงานให้ได้คนที่ใช่  การวางแผนจ้างงาน  ขั้นตอนการสรรหาคนทำงาน  ขั้นตอนการสรรหาผู้สมัครงาน  สรรหาคนทำงาน  สรรหาคนทำงานอย่างเป็นระบบ  สรรหาผู้สมัครงาน  สรรหาผู้สมัครงานอย่างเป็นระบบ

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 202310 ขั้นตอนสรรหาผู้สมัครงานอย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

ปีใหม่ต้องงานใหม่! 10 ข้อดีของการหางานใหม่ตั้งแต่ต้นปี

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

แนวทางพัฒนาตัวเองในยุค AI

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก จนบางครั้งมนุษย์อย่างเราๆ ก็ตามโลกดิจิทัลกันแทบไม่ทัน แต่นั่...

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

คำค้นหายอดนิยม

สัมภาษณ์งาน

หางาน

สมัครงาน

การเขียนเรซูเม่

การทำงาน

เรซูเม่

 HR 

COVID-19

แรงบันดาลใจในการทำงาน

ตัวอย่างเรซูเม่

คำถามสัมภาษณ์งาน

สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ

นักศึกษาจบใหม่

เงินเดือน

อาชีพเงินเดือนสูง

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

ขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศเปิดตัว ‘โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจ้างงาน’ จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชนกว่า 7 ภาคี มุ่งเป้าเสริมเรื่องการจ้างงานให้แก่คนไทย 250,000 ภายใน 1 ปี

วิธีสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานอย่างไร

1. จัดทำ Job Description. ... .
2. กำหนดทีมผู้สัมภาษณ์งาน ... .
3. เตรียมการสัมภาษณ์งาน ... .
4. ดำเนินการสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ ... .
5. อธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจน ... .
6. สื่อสารอย่างมืออาชีพ ... .
7. คัดเลือกผู้สมัครงาน ... .
8. รับเข้าทำงาน.

การคัดเลือกมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

การคัดเลือกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีตัวป้อนเข้า (input ) ที่ดีด้วย ตัวป้อนเข้าที่จะไปสู่การคัดเลือกนั้น มี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ 1. การวิเคราะห์งาน ( Job analysis) 2. แผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource plans) 3. การสรรหา (Recruitment)

ขั้นตอนใดถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของกระบวนการสรรหาบุคลากร

รอบสัมภาษณ์นั้นถือเป็นกระบวนการสรรหาบุคลากรที่สำคัญที่สุดกระบวนการหนึ่ง และฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ควรใส่ใจขั้นตอนนี้อย่างยิ่ง เพราะเป็นขั้นตอนที่จะทำให้คุณได้พูดคุยและทำความรู้จักกับตัวจริงของผู้สมัคร ในรอบสัมภาษณ์นี้ไม่ใช่เฉพาะเพียงฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เท่านั้นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ฝ่ายที่ต้องทำงานร่วมกับพนักงาน ...

การสรรหาคืออะไร มีความสําคัญต่อองค์การอย่างไร

การสรรหา หมายถึง กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความรู้ความเหมาะสมกับ ต าแหน่งที่องค์การต้องการจากแหล่งต่างให้สนใจสมัครเข้าร่วมงานกับองค์การ โดยผู้มีหน้าที่ใน การสรรหาบุคลากรจะต้องสามารถเข้าถึงแหล่งที่มาของบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ เหมาะสมกับงานให้เกิดความสนใจที่จะร่วมงานกับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจ า ...