จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่การติดต่อ

                    * จังหวัดอุตรดิตถ์ มีชายแดนติดต่อกับแขวงไซยบูลี สปป.ลาว 2 อำเภอ คือ   อำเภอบ้านโคกและอำเภอน้ำปาด ระยะทางแนวชายแดน ประมาณ 145 กิโลเมตร

                     * แชวงไซยบูลี มีเมืองชายแดนที่ติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ 4 เมือง คือ เมืองทุ่งมีไซ   เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน เมืองแก่นท้าว

ข้อมูลการค้าขายชายแดน

                     * ด้านสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง   น้ำมันหล่อลื่น สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์การเกษตร เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด   ปุ๋ย/สารเคมี อาหารสด/แห้ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

                     * ด้านสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์   เศษเหล็ก ของเก่า เหล้า บุหรี่ ไวน์ เบียร์ สมุนไพร สินค้าอุปโภคบริโภค   โทรศัพท์มือถือ ถ่านไม้ เครื่องจักรสาร เป็นต้น

ความจำเป็นในการยกระดับจุดผ่อนปรนภูดู่ เป็นจุดผ่านแดนถาวร

                     * เพื่อเพิ่มมูลค้าการค้าขายชายแดน การค้าผ่านแดน และการท่องเที่ยว ให้แก่ทั้ง ๒ ประเทศมากขึ้นเพราะด่านภูดู่-ด่านผาแก้ว สามารถเชื่อมต่อ เมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกประมาณ 309 กิโลเมตร ไปแขวงไซยะบูลี 194 กิโลเมตร ไปนครเวียงจันทร์ 238 กิโลเมตร และมาจังหวัดอุตรดิตถ์ 156 กิโลเมตร ไปเชียงใหม่ 405 กิโลเมตร ไปกรุงเทพ 547 กิโลเมตร ไปชายแดนแม่สอด(ตาก)-เมยวดี(พม่า) ประมาณ 422 กิโลเมตร

                     * การค้าขายผ่านจุดผ่านแดนถาวร สามารถค้าขายสินค้าได้หลาย ประเภท/ชนิด ยกเว้นสินค้าผิดกฎหมาย และสินค้าต้องห้าม สามารถค้าขายได้ไม่จำกัดปริมาณ และวงเงิน

                     * รายได้จากการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และค่าธรรมเนียม ผ่านจุดผ่อนปรนการค้าภูดู่ เป็นของจังหวัดน่าน ไม่ใช่รายได้ของจังหวัด อุตรดิตถ์ เนื่องจากจุดผ่อนปรมการค้าภูดู่ อยู่ในความดูแลของ ด่านศุลากรและด่านตรวจคนเข้า เมืองของจังหวัดน่าน            

                     * การเป็นจุดผ่านแดนถาวร จะทำให้มีนักท่องเที่ยว สามารถเข้า-ออกผ่าน ด่านภูดู่ ด่านผ่าแก้วได้สะดวกมากขึ้น และจะกระตุ้นจูงใจให้พ่อค้าไทย เดินทางไปค้าชาย ในเมืองต่างๆ ของสปป.ลาวเพิ่มมากขึ้น

                     * จุดผ่านแดนถาวร ช่วยจัดระเบียบการค้านอกระบบให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง ทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็น ระบบ สามารถควบคุม ตรวจสอบป้องปรามการส่งออก-นำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย และสินค้าต้องห้าม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง สามารถควบคุม และตรวจสอบบุคคลผ่านแดนเข้า-ออก ได้สะดวก รัดกุมมากยิ่งขึ้น

                     * ด่านภูดู่ สามารถเชื่อมโยงการค้า และการท่องเที่ยวได้หลายมิติ เช่น       

- เชื่อมอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) กับอาณาจักรล้านช้าง (หลวงพระบาง) ระยะทาง 695 กม.      

- เชื่อมเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง กับเมืองมรดกโลกสุโขทัยศรีสัชนาลัย ซากังลาว ด้วย ระยะทาง 550-650 กม.       

- เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก และเมืองเมยวดี ประเทศพม่า กับ สปป.ลาว ระยะทาง ๔๒๒ กม. ด้วยเพ็กเก็จทัวร์ วันเดียวเที่ยวสามประเทศ คือ พม่า-ไทย-ลาว       

- เชื่อมโยงอุตรดิตถ์-นครหลวงเวียงจันทร์ ด้วยระยะทางเพียง 394 กม.       

- เชื่อมต่อการขนส่งทางราง โดยมีรถไฟจากสถานีรถไฟศิลาาสน์ ไปเชียงใหม่,กรุงเทพฯ ท่าเรือคลองเตย ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสัตหีบ ได้สะดวกรวดเร็ว

ที่มา : mgronline.com  

จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง

จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ
แม่น้ำเหืองไทย - ลาว
ด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง
จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง

พื้นที่พรมแดนไทย (ล่าง) และลาว (บน)

ที่ตั้ง
ประเทศ
จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
 
ไทย
,
จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
 
ลาว
ที่ตั้ง

  • อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
  • ฝั่งไทย
    จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
    ทล.2480,
    จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
    ทล.2195 กม.ที่ 55+907
  • ฝั่งลาว
    จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
    ถนนหมายเลข 4

พิกัด17°41′21″N 101°23′37″E / 17.6893°N 101.3936°E
รายละเอียด
เปิดทำการพ.ศ. 2546
ดำเนินการโดย ● กรมศุลกากร
ประเภทจุดผ่านแดนถาวร

จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย - ลาว[1][2] หรือ ด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง[3] ตั้งอยู่ในอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เป็นด่านพรมแดนไทย-ลาว เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางกับทางหลวงหมายเลข 4 Route 4 (Laos)

จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง
ของสปป.ลาว ในแขวงไชยบุรี ซึ่งสามารถเดินทางไปยังเมืองเมืองแก่นท้าวและเมืองหลวงพระบาง อีกทั้งยังเป็นประตูไปสู่เมืองต่าง ๆ เพื่อการค้าและท่องเที่ยวทั้งในลาว ต่อไปยังเวียดนามและจีน

ประวัติ[แก้]

ด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง เดิมคือ ด่านศุลกากรท่าลี่ ได้จัดขึ้นตามกระทรวงการคลังฉบับที่ 49 พ.ศ. 2508 และต่อมากฏกระทรวงฉบับที่ 130 (พ.ศ. 2543) ได้กำหนดให้ด่านศุลกากรท่าลี่ เป็นที่สำหรับนำเข้า หรือส่งออกของทุกประเภท และต่อมา ได้กำหนดอนุมัติด่านพรมแดนและศุลกากรใหม่ โดยเพิ่มทางถนนจากสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว มายังด่านศุลกากรท่าลี่เป้นทางอนุมัติ และตั้งด่านพรมแดนนากระเซ็งแห่งใหม่ขึ้น และกำหนดเวลาขนส่งของเข้าหรือออกในราชอณาจักร ผ่านเขตทางบกทางอนุมัติ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 18.00 น.

เริ่มแรกเมื่อก่อตั้งด่านศุลกากรท่าลี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แต่งตั้งนายอำเภอท่าลี่ (นายทวี ทวีพูล) เป็นพนักงานศุลกากรทำการแทนกรมศุลกากร (นายด่านศุลกากร) และกรมศุลกากรได้ออกคำสั่ง แต่งตั้งข้าราชการไปประจำด่านศุลกกรท่าลี่ เปิดด่านตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2508 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 เห็นชอบให้ก่อสร้างสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว และด่านพรมแดน บ้านนากระเซ็งด่านศุลกรกรท่าลี่แห่งใหม่ ที่บริเวณสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว ตั้งอยู่ที่บ้านนากระเซ็ง ตำบลท่าฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย โดยมีข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่าย กำหนดให้เป็นด่านถาวรและด่านสากล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการค้าและท่องเที่ยวแก่กัน เนื่องจากจังหวัดเลย และแขวงไชยบุรี ต่างมีการค้าและท่องเที่ยวมานานมานับ 10 ปี ปัจจุบัน สปป.ลาว มีโครงการพัฒนาขยายปรับปรุงถนน จากแขวงไชยบุรี สู่เมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก ที่ระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร[4]

การเดินทาง[แก้]

ขนส่งสาธารณะ[แก้]

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้ร่วมกับ บริษัทนาหลวงขนส่งโดยสารผ่านแดนและท่องเที่ยว ประจำแขวงหลวงพระบาง เปิดให้บริการรถโดยสารระหว่างประเทศปรับอากาศมาตรฐาน 1(ข) สายที่14 อย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มกราคม 2557 [5]

รถโดยสารจะใช้เส้นทาง บขส.เลย-ด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง(ท่าลี่)-ด่านแก่นท้าว-แขวงไชยบุรี-แขวงหลวงพระบาง โดยจะออกเดินรถทุกวันจาก บขส.เลย เวลา 08.00 น. และจากแขวงหลวงพระบาง เวลา 07.00 น. (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ช.ม. รวมระยะทาง 394 ก.ม.)

รถยนต์ส่วนบุคคล[แก้]

ผ่านทางหลวงแผ่นดินสาย 2195 ถึงกิโลเมตรที่ 55+907 และแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2480 ระยะทาง 744 เมตรเข้าสู่สะพานมิตรภาพน้ำเหือง[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สะพานมิตรภาพน้ำเหือง

อ้างอิง[แก้]

  1. "ระงับการเดินทางเข้า-ออก ณ จุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพแม่น้ำเหืองไทย-ลาว จังหวัดเลย เป็นการชั่วคราว". loei.immigration.go.th.
  2. "ด่านศุลกากรท่าลี่ - Thali Customs House". thali.customs.go.th.
  3. "Thailand Tourism Directory - Digital Tourism". thailandtourismdirectory.go.th.
  4. "เว็บไซต์หลักของด่านศุลกากรท่าลี่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-24. สืบค้นเมื่อ 2015-04-30.
  5. บขส. เปิดให้บริการเดินรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ 14 เส้นทางจังหวัดเลย – แขวงไชยบุรี – แขวงหลวงพระบาง[ลิงก์เสีย]
  6. "แขวงทางหลวงเลยที่ 2 (ด่านซ้าย)". loei1.doh.go.th.

พรมแดน ด่านพรมแดน และจุดผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว

พรมแดนธรรมชาติ

  • สามเหลี่ยมทองคำ (สบรวก)
  • แม่น้ำโขง
  • ทิวเขาหลวงพระบาง
  • สุดแผ่นดิน
  • แม่น้ำเหือง
  • ผาชะนะได (อุทยานแห่งชาติผาแต้ม)
  • แม่น้ำสองสี
  • สามเหลี่ยมมรกต

จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง

จุดผ่านแดนถาวร มี ที่ไหน บาง

ด่านพรมแดนถาวร

  • สามเหลี่ยมทองคำ
  • บ้านเชียงแสน
  • เชียงของ
  • บ้านดอนมหาวัน
  • บ้านฮวก
  • บ้านห้วยโก๋น
  • ภูดู่
  • สะพานมิตรภาพแม่น้ำเหือง
  • บ้านปากห้วย
  • บ้านเชียงคาน
  • บ้านคกไผ่
  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
  • ท่าเสด็จ
  • บึงกาฬ
  • นครพนม
  • บ้านห้อม
  • มุกดาหาร
  • บ้านสงเปือย
  • บ้านปากแซง
  • ช่องเม็ก

จุดผ่อนปรน

  • บ้านสบรวก
  • บ้านสวนดอก
  • บ้านแจมป๋อง
  • บ้านหาดบ้าย
  • บ้านร่มโพธิ์ทอง
  • บ้านห้วยลึก
  • บ้านห้วยสะแตง
  • บ้านใหม่ชายแดน
  • บ้านห้วยต่าง
  • บ้านเหมืองแพร่
  • บ้านนาข่า
  • บ้านหนองผือ
  • บ้านอาฮี
  • บ้านเปงจาน
  • บ้านบุ่งคล้า
  • ตำบลจุมพล
  • บ้านหม้อ
  • บ้านห้วยคาด
  • บ้านม้วง
  • บ้านหนาดท่า
  • บ้านดอนแพง
  • บ้านธาตุพนมสามัคคี
  • บ้านท่าอุเทน
  • บ้านยักษ์คุ
  • หน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ
  • บ้านสองคอน
  • บ้านด่านเก่า
  • บ้านหนองแสง

อื่น ๆ

  • สะพานมิตรภาพน้ำเหือง (ท่าลี่–แก่นท้าว)
  • สะพานมิตรภาพ 1 (เมืองหนองคาย–นครหลวงเวียงจันทร์)
  • สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
  • สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม–คำม่วน)
  • สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
  • โครงการสะพานมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)
  • โครงการสะพานมิตรภาพ 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)
  • โครงการสะพานมิตรภาพ 7 (เลย–แขวงเวียงจันทน์)
  • โครงการสะพานมิตรภาพ 8 (อุบลราชธานี–จำปาศักดิ์)