ข้าราชการบำนาญ เบิกค่า ฟันปลอม ได้ หรือ ไม่

ตามที่กรมบัญชีกลาง ได้นำรายการและอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ...

Posted by สวัสดิการข้าราชการ on Wednesday, November 8, 2017

ใครที่มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือเป็นผู้ประกันตน ของสำนักงานประกันสังคม รวมทั้งเป็นข้าราชการ มีสวัสดิการเบิกค่ารักษาพยาบาล สามารถ "เบิกค่าทำฟัน" ได้ ซึ่งแต่ละสวัสดิการของรัฐนั้น ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่เหมือนกัน จะมีอะไรที่เบิกได้บ้าง ไปดูกันเลย...

สิทธิประกันสังคม

สำนักประกันสังคม ได้ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมกับประกันสังคม โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ไม่นับมาตรา 40 ผู้ประกันตนต้องส่งเงินครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน หากลาออกจากงานแล้วยังใช้สิทธิ์ได้อีก 6 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถรับบริการทางการแพทย์ได้ดังนี้

1. อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 900 บาท/ปี

2. การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิเบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 1,300 – 4,400 บาทต่อ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

2.1 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน

- 1 - 5 ซี่เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เงิน 1,300 บาท

- มากกว่า 5 ซี่เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท

2.2 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก

- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท

- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลที่ติดสติ๊กเกอร์ ระบุว่า "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ทำฟันไม่ต้องสำรองจ่าย"

สำหรับกรณีที่เข้ารับการรักษากับสถานพยาบาล ที่ไม่ได้ทำความตกลงเรื่องการเบิกจ่ายกับประกันสังคม ผู้ประกันตนจะต้องเตรียมหลักฐานไปยื่นรับเงินที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้

- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)

- ใบรับรองแพทย์

- ใบเสร็จรับเงิน

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ

- เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)

อย่างไรก็ตาม สามารถเบิกค่าทำฟันได้ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ


สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง

บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง สามารถเข้ารับบริการด้านทันตกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ดังนี้ 

- การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน ผ่าฟันคุด

- การทำฟันเทียมฐานฐานพลาสติก

- การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม

- การใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่

- การรักษาฟันคุดตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ 

* ยกเว้น การรักษารากฟันแท้ การจัดฟัน การทำฟันเพื่อความสวยงาม *

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่อยู่ ถ้ารักษาต่างโรงพยาบาลต้องมีหนังสือส่งตัวระบุโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จึงจะสามารถใช้สิทธิได้ โดยสิทธิบัตรทอง คุ้มครองค่าใช้จ่ายตามการวินิจฉัยทางการแพทย์และประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชม.


สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ประกอบด้วย บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลทางทันตกรรม สามารถเบิกได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ เช่น

- การอุดฟัน การถอนฟัน การผ่าฟันคุด

- การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร

- การรักษาโรคปริทันต์ การรักษารากฟัน การแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ

- การเคลือบฟลูโอไรด์ทั้งปาก

- การใส่เฝือกฟัน

- การฟอกสีฟันที่ตายแล้ว

- การใส่เครื่องมือปิดช่องเพดานโหว่

การใส่ฟันเทียมพลาสติกถอดได้ และครอบฟัน

โดยนำใบเสร็จจากสถานพยาบาลของรัฐไปเบิกจากหน่วยงานต้นสังกัดภายใน 1 ปี นับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ หรือใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลด้วยใช้บัตรประชาชน เฉพาะกรณีผู้ป่วยนอก ส่วนกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีที่ยังไม่มีบัตรประชาชนใช้สูติบัตรและบัตรประชาชนผู้ดูแล

เช็กอัตราค่าบริการทันตกรรม กรมบัญชีกลาง


ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม , สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กรมบัญชีกลาง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มัดรวม สิทธิประโยชน์ "บัตรทอง" คุ้มครองอะไร ใครสมัครได้บ้าง?

เกาะติดข่าวที่นี่website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

Tag

#ประกันสังคม#สิทธิทันตกรรม#สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม#สิทธิเบิกค่าทำฟัน#เบิกค่าทำฟัน#เบิกค่าทำฟัน กรมบัญชีกลาง#เบิกค่าทำฟันข้าราชการ#เบิกค่าทำฟันบัตรทอง#เบิกค่าทําฟันประกันสังคม

ข้าราชการเบิกค่าฟันปลอมได้ไหม

เดิมการเบิกจ่ายค่าฟันปลอมหรือการครอบฟัน ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ เนื่องจากกรม บัญชีกลางถือว่าฟันปลอม และครอบฟัน เป็นอุปกรณ์ ที่ยังไม่ได้กำหนดอัตราให้เบิกจ่ายไว้ ดังนั้นสิทธิ ประโยชน์ที่เกี่ยวกับฟันจะเบิกได้เฉพาะในกรณีของ การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษาคลองรากฟัน เท่านั้น ต่อมา กรมบัญชีกลางได้มีการประชุมร่วม

ข้าราชการ เบิก ค่า ทําฟัน จาก คลินิก ได้ ไหม

ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ประกอบด้วย บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาลทางทันตกรรม สามารถเบิกได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ เช่น - การอุดฟัน การถอนฟัน การผ่าฟันคุด

รากฟันเทียม เบิกตรง ได้ไหม

การรักษารากฟันเพียงอย่างเดียวจะเบิกประกันสังคมไม่ได้ จะเบิกได้ก็ต่อเมื่อ เป็นการใส่ฟันปลอมเข้าไปด้วย และมีเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับ จำนวนฟัน และ อายุ ของผู้เบิกด้วย ปัจจุบันเรื่องอายุนั้นถูกตัดทิ้งไปแล้ว แต่จำนวนฟัน ภายในระยะเวลา 5 ปีจะเบิกได้ 1,300 บาท ต่อไม่เกิน 5 ซี่ เกินกว่านั้นจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 บาท

ข้าราชการเบิกค่าทำฟันอะไรได้บ้าง

1. อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 900 บาท/ปี 2. การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิเบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 1,300 – 4,400 บาทต่อ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 2.1 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน