จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ไป ประเทศสิงคโปร์

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ภาษีที่ต้องเสีย = ปริมาณรวมลิตร x อัตราภาษีศุลกากรและ/หรืออัตราภาษีสรรพสามิต x ร้อยละของความแรงของแอลกอฮอล์

ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าสุราที่มีความแรงของแอลกอฮอล์ร้อยละ 5 จำนวน 75 ลิตร สมมติว่าภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับความแรงของแอลกอฮอล์ คือ 16 ดอลล่าร์สิงคโปร์ และ 60 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อลิตรของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลำดับ

ตามที่ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตจะเรียกเก็บจากการนำเข้าสุราตามความแรงของแอลกอฮอล์ ดังนั้น

ภาษีที่ต้องเสีย = 75 x (S$ 16+60) x 5% = S$285


2) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    ก) ผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมดยกเว้นบุหรี่

ภาษีที่ต้องเสีย = น้ำหนักทั้งหมด (กิโลกรัม) x อัตราภาษีสรรพสามิต

ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้ายาสูบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับผลิตภัณฑ์ยาสูบคือ 352 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อกิโลกรัม

ภาษีที่ต้องเสีย = 100 x 352 = S$ 35,200


    ข) บุหรี่

ภาษีที่ต้องเสีย = จำนวนมวนทั้งหมด x น้ำหนักต่อมวน (ทุกกรัมหรือเศษของกรัม) x อัตราภาษีสรรพสามิต

ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าบุหรี่จำนวน 100 มวน น้ำหนัก 1.5 กรัมต่อมวน สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับผลิตภัณฑ์บุหรี่คือ 38.8 เหรียญสิงคโปร์ต่อกรัมหรือเศษของกรัมต่อมวน โดยที่น้ำหนักต่อมวนของบุหรี่อยู่ระหว่าง 1 และ 2 กรัม น้ำหนักที่นำมาคำนวณภาษีที่ต้องเสีย คือ 2 กรัมดังนั้น

ภาษีที่ต้องเสีย = 100x 2 x S$ 0.388 = S$77.60


3) ยานพาหนะ

ภาษีที่ต้องเสีย = มูลค่าภาษีศุลกากร x อัตราภาษีสรรพสามิต

ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้ารถยนต์ซึ่งซื้อมาในราคา 100,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ โดยวิธีการนำเข้าแบบ FOB (Free on Board) โดยมีค่าขนส่งระหว่างประเทศ, ค่าการจัดการและค่าใช้จ่ายการประกันที่จะจัดส่งรถไปสิงคโปร์เป็นเงิน 1,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ สมมติว่าภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์คืออัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าภาษีศุลกากร

มูลค่าภาษีศุลกากรสำหรับรถยนต์ = 101,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์

ภาษีที่ต้องเสีย = 101,000 x 20% = S$ 20,200


4) น้ำมันเชื้อเพลิง

ภาษีที่ต้องเสีย = น้ำหนักทั้งหมด x อัตราภาษีสรรพสามิต

ตัวอย่างเช่น บริษัท A นำเข้าน้ำมันไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงกว่า 97 (RON 97) จำนวน 100 ลิตร สมมติว่าอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงกว่า 97 (RON 97) คือ 7.10 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อเดคาลิตร (1 เดคาลิตร =10 ลิตร)

หน่วยงานควบคุมดูแลการเก็บภาษีอากรของสิงคโปร์ คือ  Inland  Revenue Authority of Singapore (IRAS : http://www.iras.gov.sg)  ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance)  มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ อาทิ ภาษีรายได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้จากทรัพย์สิน ภาษีการขายและภาษีอื่นๆ โดยผู้ที่จะยื่นชำระภาษีนั้นจะต้องมีรหัส SingPass หรือ IRAS PIN เพื่อเข้าไปดำเนินการออนไลน์ในด้านข้อมูลภาษีของตนเอง ทั้งนี้ สิงคโปร์นับเป็นประเทศหนึ่งที่จัดเก็บภาษีรายได้ในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังมีมาตรการจูงใจทางด้านภาษี จึงทำให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์

กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร

ประเทศสิงคโปร์จัดเก็บภาษีตามหลักอาณาเขต คือ รายได้ที่เกิดจากกิจการในประเทศสิงคโปร์ และรายได้ต่างประเทศที่ได้รับในประเทศสิงคโปร์เท่านั้นต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์มีการนำระบบกลุ่มธุรกิจในเครือมาใช้ (Group Company Concept) ซึ่งทำให้บริษัทในเครือเดียวกันต้องมีการคิดราคากันแบบ Arm’s Length1  ปีภาษีในประเทศสิงคโปร์เหมือนประเทศไทย คือ เป็นปีปฏิทิน เริ่ม 1 มกราคม และสิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกๆ ปี เงินได้ของปีใด (Tax Year) จะต้องเสียภาษีในปีถัดไป (Assessment Year) เช่นรายได้ที่นิติบุคคลได้รับในปี 2560 ถือเป็น Assessment Year 2561

หลักถิ่นที่อยู่– นิติบุคคลจะถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ หากนิติบุคคลนั้น มีการควบคุมและการบริหารจัดการในประเทศสิงคโปร์ (Control and management of business in Singapore) และเมื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ นิติบุคคลดังกล่าวจะได้รับสิทธิพิเศษภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ประเทศสิงคโปร์มีกับต่างประเทศอีกด้วย

กฎหมายภาษีหลักในประเทศสิงคโปร์

ตารางกฎหมายภาษีหลักที่ใช้ในประเทศสิงคโปร์ มีด้งนี้

ชื่อกฎหมายประเภทภาษีที่บังคับใช้Income Tax Actภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาGoods and Services Actภาษีสินค้าและบริการProperty Tax Actภาษีทรัพย์สินStamp Duties Actอากรแสตมป์Customs Actอากรขาเข้า (Import Duty, Excise Duty)

ประเภทของภาษีอากร

ภายใต้  Income Tax Act ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเสียภาษี ดังต่อไปนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในประเทศสิงคโปร์และนิติบุคคลต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในประเทศสิงคโปร์ หากเงินได้นั้นเกิดในประเทศสิงคโปร์หรือได้รับเงินในประเทศสิงคโปร์  รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการลงทุนในสิงคโปร์นั้น จะต้องถูกนำมาคำนวณในการชำระภาษี เว้นแต่จะได้รับการยกเว้น ซึ่งจะต้องเป็นตามข้อกำหนดของกฎหมาย Income Tax Act และในการชำระภาษีนิติบุคคลนั้นจะหมายรวมถึงรายได้ที่เกิดจาก

  • กำไรที่เกิดจากการทำธุรกิจ
  • รายได้จากการลงทุน เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และค่าเช่า
  • ค่าสิทธิ Premium และกำไรที่เกิดจากทรัพย์สิน

ทั้งนี้ ไม่มีการเรียกเก็บ Capital Gain Tax ในประเทศสิงคโปร์ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ได้มีการเสนอว่า รายได้ที่บริษัทได้รับจากการขายเงินลงทุนในส่วนทุน (Equity investments) ไม่ต้องถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หากบริษัทนั้นมีส่วนได้เสียในบริษัทที่ขายไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งได้ถือไว้โดยบริษัทที่ขายไม่ต่ำกว่า 24 เดือนก่อนการขาย สิทธิพิเศษนี้มีผลบังคับกับการขายเงินลงทุนในระหว่าง 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เท่านั้น

สำหรับการขาดทุนสะสม ซึ่ง Income Tax Act อนุญาตให้บริษัทสามารถนำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในปีปัจจุบันไปใช้กับปีก่อนหน้าได้เป็นจำนวนไม่เกิน SGD 100,000 ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นสามารถนำไปหักกลบกับกำไรในอนาคตโดยไม่มีวันหมดอายุ หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนด   นอกจากนี้  Income Tax Act ให้ภาษีเงินได้ที่นิติบุคคลได้จ่ายไว้ถือเป็นภาษีสุดท้าย ดังนั้นจึงไม่มีการเรียกเก็บภาษีจากการนำส่งกำไรไปต่างประเทศ และผู้ที่ได้รับเงินปันผลก็ไม่ต้องนำรายได้เงินปันผลมาเสียภาษีอีก

บริษัทในสิงคโปร์และบริษัทข้ามชาตินั้นถูกกำหนดให้เสียภาษีต่อเมื่อเป็นบริษัทที่มีการบริหารและเปิดกิจการอยู่ในสิงคโปร์ โดยคำนวณจากรายรับที่เกิดขึ้นทั้งหมดในสิงคโปร์รวมไปถึงรายรับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศหากมีการนำเข้ามาในสิงคโปร์ด้วย การชำระภาษีจะเหมือนกันทั้งบริษัทที่อยู่ภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบริษัทต่างชาติที่มีสาขาอยู่ในสิงคโปร์จะไม่ถูกพิจารณาให้จ่ายภาษีในสิงคโปร์ และบริษัทที่อยู่ในประเทศจะมีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ เช่น

  1. การป้องกันในการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนภายใต้ข้อตกลงที่สิงคโปร์ได้ทำไว้กับกับประเทศอื่นๆ
  2. การยกเว้นภาษีในเงินปันผลที่เกิดขึ้นต่างประเทศ กำไรที่เกิดขึ้นจากสาขาในต่างประเทศและรายได้จากการให้บริการในต่างประเทศ
  3. การยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่ใน 3 ปีแรก

การชำระภาษีจะคิดจากรายได้ที่เกิดขึ้นในปีการเงินที่ดำเนินงานและจะถูกชำระในปีถัดไป โดยตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลได้กำหนดอัตราภาษีสำหรับบริษัทเป็นแบบอัตราเดียวคือที่ร้อยละ 17 ของรายได้ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบริษัทนั้นอยู่ในสิงคโปร์หรือต่างประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังมีนโยบายลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่

  • การยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทที่เริ่มธุรกิจใหม่ จะได้รับสิทธิพิเศษ 3 ปีแรก

บริษัทที่เปิดใหม่ในระหว่างปี 2553-2562 จะได้รับการยกเว้นภาษี ในอัตราดังตารางนี้

รายได้ (ดอลลาร์สิงคโปร์)% ภาษีที่ได้รับการยกเว้นจำนวนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น 0 – 100,000100%100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 100,001 – 300,00050%100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

การยกเว้นภาษีสูงสุดของปีภาษี คือ 200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 100,000+100,000 )

และบริษัทเปิดใหม่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษี ในอัตราดังตารางนี้

รายได้ (ดอลลาร์สิงคโปร์)% ภาษีที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีที่นำไปคำนวณ % 0 – 100,00075%75,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 100,001 – 200,00050%50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

การยกเว้นภาษีสูงสุดของปีภาษี คือ 125,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 75,000+50,000 )

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการเริ่มดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนวันแรกของปีภาษีสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

  • การยกเว้นภาษีบางส่วนสำหรับทุกบริษัท

     ตั้งแต่ก่อนปี 2562 ทุกบริษัทจะได้รับการยกเว้นภาษีบางส่วน ในอัตราดังตารางนี้

รายได้ (ดอลลาร์สิงคโปร์)% ภาษีที่ได้รับการยกเว้นจำนวนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น 0 – 10,00075%7,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ 10,001 – 300,00050%145,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

การยกเว้นภาษีบางส่วนสูงสุดของปีภาษี คือ 152,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 7,500+145,000 )

และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ทุกบริษัทจะได้รับการยกเว้นภาษีบางส่วน ในอัตราดังตารางนี้

รายได้ (ดอลลาร์สิงคโปร์)% ภาษีที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีที่นำไปคำนวณ % 0 – 10,00075%7,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ 10,001 – 200,00050%95,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

การยกเว้นภาษีบางส่วนสูงสุดของปีภาษี คือ 102,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 7,500+95,000 )

  • การลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

อนึ่ง สำหรับปีภาษี 2556 – 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ได้ประกาศงบประมาณ 2561 กรณีการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปีภาษี 2561 จะได้รับการลดหย่อนภาษีในอัตรา 40% ของภาษีนิติบุคคลที่ต้องชำระ แต่ไม่เกิน 15,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ( จากเดิมบริษัทสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ในอัตรา 20% ของภาษีที่ต้องชำระ แต่ไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์) ทั้งนี้สำหรับปีภาษี 2562 การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเปลี่ยนเป็นอัตรา 20% ของภาษีนิติบุคคลที่ต้องชำระ แต่ไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ โดยที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษี ดังนี้

ปีภาษีอัตราการลดหย่อนภาษีหักได้ไม่เกิน256220%10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์256140%15,000 ดอลลาร์สิงคโปร์256050%25,000 ดอลลาร์สิงคโปร์255950%20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์2556 – 255850%30,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

อนึ่ง การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของสิงคโปร์ มีดังนี้

ค่าใช้จ่ายที่หักได้ค่าใช้จ่ายที่หักไม่ได้ค่าใช้จ่ายในการผลิตAmortization (ค่าตัดจำหน่าย)ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารค่าเสื่อมราคา (capital allowance หักได้)หนี้สูญจากเจ้าหนี้การค้าหนี้สูญอื่น (ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า)เงินค่าตอบแทนกรรมการเงินบริจาคเงินเดือนกรรมการเงินค่าภาษีขาดทุนจากการด้อยค่าของเจ้าหนี้การค้าเงินงวดที่จ่ายสำหรับทรัพย์สินถาวรเงินเดือนและผลประโยชน์ของพนักงาน เงินประกัน ดอกเบี้ยจ่าย 

 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ( Withholding Tax)

ภายใต้กฎหมาย เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการชำระเงิน อาทิ ค่าสิทธิ (Royalty)  ค่าดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมสำหรับการให้บริการทางเทคนิค ให้แก่บุคคลหรือในนามของบริษัทให้แก่ผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ในสิงคโปร์นั้น จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ IRAS (Inland Revenue Authority of Singapore)

ข้อกำหนดสำหรับนายจ้างในการหักภาษีพนักงานที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักอยู่ในสิงคโปร์ (ทำงาน/อาศัยอยู่ในสิงคโปร์น้อยกว่า 183 วัน) นายจ้างจะต้องกรอกฟอร์ม IR21 ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนก่อนการสิ้นสุดสัญญาจ้าง และจะต้องทำจัดเก็บเงินทั้งหมดของผู้ถูกจ้างไว้ก่อนจนกว่าจะทำการชำระภาษีให้เรียบร้อย

ข้อกำหนดสำหรับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสิงคโปร์ ผู้จ่ายจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 22 ของรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น (มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2559) โดยจะต้องกรอกฟอร์ม IR37C และจะต้องทำการจ่ายภาษีก่อนวันที่ 15 ของเดือนที่ 2  นับจากวันที่ได้รับค่าตอบแทน โดยผู้เชี่ยวชาญจะรวมถึง ที่ปรึกษา ผู้บรรยายและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับผู้ที่ให้ความบันเทิง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ทำงานด้านการแสดง การเวที วิทยุหรือโทรทัศน์ ศิลปิน นักกีฬา และมีการอาศัยอยู่ในสิงคโปร์น้อยกว่า 183 วัน โดยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการให้บริการในสิงคโปร์

สรุปประเภทเงินได้และอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

แหล่งที่มาของรายได้อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายดอกเบี้ย ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม  การจ่ายเงินเนื่องจากการกู้ยืมเงิน15%ค่าสิทธิ หรือ หรือการจ่ายเงินสำหรับการใช้หรือสิทธิในการใช้ ข้อมูลหรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์10%รายได้ที่ได้รับจากผู้เชียวชาญ (ตัวอย่างเช่น ที่ปรึกษา ผู้ฝึกสอน เทรนเนอร์) ในการให้การบริการในสิงคโปร์17%ค่าเช่า หรือการจ่ายเงินสำหรับการใช้อสังหาริมทรัพย์15%รายได้ที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์โดยผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสิงคโปร์15%รายได้จากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในสิงคโปร์10%เงินปันผลไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขึ้นอยู่กับสถานะของแต่ละบุคคลที่ทำงานอยู่ในสิงคโปร์ว่า เป็นผู้มีถิ่นพำนักถาวรในสิงคโปร์หรือไม่ได้เป็นผู้มีถิ่นพำนักในสิงคโปร์และขึ้นอยู่กับจำนวนรายรับด้วย ซึ่งโครงสร้างการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดานี้จะขึ้นอยู่กับรายได้ โดยคิดจากรายรับจริงที่เกิดขึ้นหักค่าลดหย่อนต่างๆ(ถ้ามี) และคิดภาษีในอัตราระหว่าง 0-20 % โดยบุคคลที่ถูกกำหนดให้ต้องเสียภาษี ได้แก่

  • ประชาชนชาวสิงคโปร์ ผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในสิงคโปร์ (Singapore Citizen , Singapore Permanent Resident) หรือ
  • ชาวต่างชาติที่ทำงานและอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ติดต่อกันรวม 183 วัน หรือมากกว่าตามปีปฏิทิน (ยกเว้นผู้อำนวยการบริษัท)  

บุคคลนอกเหนือจากนี้จะถูกคำนวณชำระภาษีแบบ Non-Resident ซึ่งในการชำระภาษีดังกล่าวนี้ คิดรายได้ตามปีปฏิทิน (12 เดือน) และจะต้องชำระในปีถัดไป ตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้กำหนดอัตราการเสียภาษีเงินได้ ดังนี้

                               ตารางอัตราการเสียภาษี ที่ใช้คำนวณในปีภาษีตั้งแต่ 2561 เป็นต้นไป

รายได้ (ดอลลาร์สิงคโปร์)อัตรา (%)เงินภาษีที่ต้องจ่าย20,000 แรก
10,000 ถัดมา0
20
20030,000 แรก
10,000 ถัดมา–
3.50200
35040,000 แรก
40,000 ถัดมา–
7550
2,80080,000 แรก
40,000 ถัดมา–
11.53,350
4,600120,000 แรก
40,000 ถัดมา–
157,950
6,000160,000 แรก
40,000 ถัดมา–
1813,950
7,200200,000 แรก
40,000 ถัดมา–
1921,150
7,600240,000 แรก
40,000 ถัดมา–
19.528,750
7,800280,000 แรก
40,000 ถัดมา–
2036,550
8,000320,000 แรก
320,000 ขึ้นไป–
2244,550

ในปี 2560 รัฐบาลกำหนดส่วนลดเงินคืน (Personal Tax Rebate) ให้อีกถึงร้อยละ 20 จากจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย แต่สูงสุดไม่เกิน 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ และในการยื่นแบบฟอร์มเสียภาษีนั้น สามารถทำได้ 2 ทาง คือ ดำเนินการผ่านทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-file) ได้ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 18 เมษายน ของทุกปี หรือยื่นเอกสารเองโดยตรงที่สำนักงาน IRAS ก่อนวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี

อัตราการเสียภาษีสำหรับ Non-Resident

Non-Resident คือ บุคคลที่มีการพำนักอาศัยหรือทำงานอยู่ในสิงคโปร์น้อยกว่า 183 วัน จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15 จากรายได้ที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ หรือเสียภาษีตามอัตราดังตารางข้างต้น ขึ้นอยู่ว่าแบบไหนที่จ่ายภาษีมากกว่า โดยจ่ายในอัตราที่สูงกว่า ส่วนบุคคลที่ทำงานไม่เกิน 60 วันจะได้สิทธิยกเว้นภาษี

รายได้ของผู้อำนวยการ ค่าธรรมเนียมการให้คำปรึกษา และรายได้อื่นๆ  ตั้งแต่ปีภาษี 2561 ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 22 ( โดยปรับขึ้นจากเดิมอัตราร้อยละ 20 ในปี 2560 )

ภาษีสินค้าและบริการ (Goods & Services Tax-GST)

การเก็บภาษีสินค้าและบริการของสิงคโปร์มีอัตราร้อยละ 7  เรียกเก็บจากสินค้าและบริการทุกประเภทที่นำเข้ามาและจำหน่ายในสิงคโปร์ สำหรับการส่งออกสินค้าและการให้บริการในต่างประเทศไม่มีการเรียกเก็บภาษีนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย  GST Act และจะต้องมีเอกสารการขอรับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ส่วนการยกเว้น GST นั้นจะเป็นในด้านการให้บริการทางการเงิน การขายและการให้เช่าที่อยู่อาศัย การนำเข้าสินค้าจำพวกโลหะที่มีค่าและการจัดหาในประเทศเพื่อการลงทุน

อย่างไรก็ตามอัตราภาษีสินค้าและบริการ GST จะปรับขึ้นเป็นร้อยละ 9 ในระหว่างปี 2564 ถึง 2568 ตามคำแถลงงบประมาณประจำปี2561

ข้อกำหนดสำหรับธุรกิจในการขอจดทะเบียน GST

  • เป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เป็นเงินเกิน 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • เป็นธุรกิจที่คาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ภายใน 1 ปีข้างหน้า โดยอาจมาจากการเซ็นต์สัญญาการขายที่แน่นอนหรือมีการทำข้อตกลงทางธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • เป็นธุรกิจที่มีผลตอบแทนไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แต่สมัครใจจดจะเบียน GST

การเรียกเก็บและชำระ GST

บริษัทที่มีการจดทะเบียน GST แล้วนั้น จะมีการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นตามอัตราที่กำหนด ซึ่งเรียกว่าภาษีขาย (Output tax) และจะต้องจ่ายให้แก่หน่วยงาน Inland Revenue Authority  of  Singapore  (IRAS)  ส่วน  GST ที่เกิดขึ้นจากการสั่งซื้อสินค้าหรือค่าใช้จ่าย (รวมไปถึงการนำเข้าสินค้า) ของบริษัทนั้นจะเรียกว่า ภาษีซื้อ (Input tax) บริษัทสามารถที่จะเรียกร้องในส่วนของภาษีซื้อนี้คืนได้จาก IRAS

โดยบริษัทที่จดเบียน GST จะต้องยื่นหลักฐานรายงานทั้งภาษีขายและภาษีซื้อภายใน 1 เดือนหลังจากสิ้นสุดรอบการเงินที่กำหนด ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำในทุกๆไตรมาส ผลต่างระหว่างภาษีขายกับภาษีซื้อจะเป็น GST สุทธิที่ต้องจ่ายหรือคืนให้แก่ IRAS

ภาษีทรัพย์สิน (Property Tax)

ข้อกำหนดในการชำระภาษีทรัพย์สิน คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและเป็นไปเพื่อการลงทุน โดยไม่คำนึงถึงว่า ทรัพย์สินนั้นจะใช้เพื่อการอยู่อาศัยเองหรือปล่อยว่าง โดยจะแตกต่างกับภาษีรายได้ที่จะมีการเรียกเก็บก็ต่อเมื่อมีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการเช่าที่อยู่อาศัยแล้วเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ การถือครองทรัพย์สินถือเป็นข้อผูกมัดอย่างหนึ่งในการที่ต้องรับผิดชอบต่อการชำระภาษี

อัตราภาษีทรัพย์สิน (Property Tax Rate)

อัตราภาษีทรัพย์สินที่อยู่อาศัยนั้น แบ่งคำนวณได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ที่อยู่อาศัยที่เจ้าของอาศัยอยู่และที่อยู่อาศัยที่ปราศจากเจ้าของร่วมอาศัยอยู่ด้วย ส่วนทรัพย์สินอื่นๆ ถูกกำหนดให้มีการชำระภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของ Annual Value

Annual Value

คือ ราคาตลาดของค่าเช่าที่พักอาศัยต่อห้อง คูณด้วย 12 จะเป็นราคาค่าเช่าต่อปี ทั้งนี้จะไม่รวมค่าเฟอร์นิเจอร์และค่าธรรมเนียมในการบำรุงรักษา

อัตราภาษีที่เจ้าของบ้านเป็นผู้อยู่อาศัย (Owner-Occupier Tax Rates)

เป็นอัตราภาษีที่รัฐบาลออกมาเพื่อจูงใจแก่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ โดยจะได้รับการเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคอนโดมิเนียม แฟลตรัฐบาล (HDB) หรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ ที่มีเจ้าของพักอาศัยอยู่ด้วย จะสามารถใช้ตารางข้างล่างคำนวณภาษีในอัตราก้าวหน้า มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ มกราคม 2558 ดังนี้

Annual Value ($)อัตราการเสียภาษี (%)ภาษีที่ต้องจ่าย (SGD)8,000 แรก
47,000 ถัดมา0
40 1,88055,000 แรก
15,000 ถัดมา–
61,880 90070,000 แรก
15,000 ถัดมา–
82,780 1,20085,000 แรก
15,000 ถัดมา–
103,980 1,500100,000 แรก
15,000 ถัดมา–
125,480
1,800115,000 แรก
15,000 ถัดมา–
147,280
2,100130,000 แรก
มากกว่า 130,000 ขึ้นไป–
169,380

อัตราภาษีที่อยู่อาศัยที่เจ้าของบ้านมิได้อาศัยอยู่ (Non-Owner Occupied Residential Properties)

เป็นอัตราภาษีที่เรียกกับเจ้าของที่พักอาศัยโดยที่เจ้าของนั้นไม่ได้มีการพักอาศัยอยู่ ซึ่งอาจเป็นการปล่อยว่าง ทิ้งไว้หรือมีการเช่าเกิดขึ้น  ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคอนโดมิเนียม แฟลตรัฐบาล (HDB) หรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ โดยอัตราภาษีจะสูงกว่าแบบ Owner-Occupier  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ มกราคม 2558 สามารถคำนวณได้ดังตารางข้างล่าง ดังนี้

Annual Value ($)อัตราการเสียภาษี (%)ภาษีที่ต้องจ่าย ($)30,000 แรก
15,000 ถัดมา10
123,000
1,80045,000 แรก
15,000 ถัดมา–
144,800
2,10060,000 แรก
15,000 ถัดมา–
166,900
2,40075,000 แรก
15,000 ถัดมา–
189,300
2,70090,000 แรก
มากกว่า 90,000 ขึ้นไป–
2012,000

รายการทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 มีดังต่อไปนี้

  1. สโมสรกีฬา
  2. ห้องน้ำสาธารณะ
  3. สถานเลี้ยงเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียน
  4. บ้านพักสวัสดิการ
  5. โรงพยาบาล สถานพักฟื้น
  6. โรงแรม โฮเทล เกสเฮาส์
  7. เซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์
  8. ที่พักคนงาน
  9. ที่พักสำหรับนักศึกษา
  10. หอพักนักศึกษา

นอกจากนี้อาคารพาณิชย์และตึกอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและที่ดินจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของ Annual Value เช่นกัน

อากรแสตมป์ (Stamp Duty)

อากรแสตมป์เป็นเอกสารอากรที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ทุกอย่างในสิงคโปร์ รวมไปถึงหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องในการซื้อหรือสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยถ้ามีการเซ็นต์สัญญาในสิงคโปร์ ผู้ซื้อจะต้องทำการชำระภาษีภายใน 14 วันนับจากวันที่ออกเอกสาร แต่ถ้ามีการเซ็นต์สัญญาในต่างประเทศ จะต้องทำการชำระภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ระบุในใบเสร็จรับเงิน

เอกสารที่จะต้องทำการชำระอากรแสตมป์

1. สัญญาเช่า/ข้อตกลงในการเช่าที่อยู่อาศัย เป็นเอกสารที่มีการเซ็นต์สัญญาในกรณีที่มีการเช่าที่อยู่อาศัยเกิดขึ้น ซึ่งอากรแสตมป์นั้นจะถูกคำนวณจากราคาเช่าที่เกิดขึ้นจริงหรือราคาเช่าในตลาด ณ ขณะนั้น โดยจะเลือกเอาราคาที่มีมูลค่าสูงกว่า

2. เอกสารในการโอนที่อยู่อาศัย อากรแสตมป์ที่เกิดขึ้นจากการขาย การจัดซื้อ การเข้าถือครองสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • Buyer’s Stamp Duty (BSD) เป็นอากรภาษีที่ต้องจ่ายในการจัดซื้อหรือเข้าถือครองสิทธิในที่อยู่อาศัย
  • Additional Buyer’s Stamp Duty (ABSD) เป็นอากรภาษีเพิ่มเติม หากมีการซื้อหรือได้รับทรัพย์สินในที่อยู่อาศัยรวมถึงที่ดิน หากมีการดำเนินการเกิดขึ้นภายในหรือหลังจากวันที่ 8 ธันวาคม 2554
  • Seller’s Stamp Duty (SSD) เป็นอากรภาษีที่เกิดขึ้น หากมีการซื้อหรือได้รับทรัพย์สินในที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมภายในหรือหลังจากวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2553 และวันที่ 12 มกราคม 2556 ตามลำดับ โดยจะต้องทำการชำระอากรหากทรัพย์สินดังกล่าวมีการขายเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ถือครองอยู่

3. การจำนองที่อยู่อาศัย จะมีการเซ็นต์สัญญาเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการจำนองในที่อยู่อาศัยนั้นได้รับการอนุมัติกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และภาษีอากรจะถูกนำมาคำนวณโดยอ้างอิงจากยอดเงินกู้นั้นๆ

อัตราการจ่ายอากรแสตมป์ในการโอนที่อยู่อาศัย

Buyer’s Stamp Duty (BSD) หรืออากรแสตมป์สำหรับผู้ซื้อเมื่อมีการซื้อหรือการขายที่อยู่อาศัยเกิดขึ้น โดยคำนวณจากราคาซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงหรือใช้ราคาตลาด แต่จะเลือกอันที่มีมูลค่าสูงกว่า และผู้ซื้อถูกกำหนดให้เป็นผู้จ่ายอากรแสตมป์นี้ โดยตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่า อากรแสตมป์ใหม่ ดังนี้

มูลค่าที่อยู่อาศัยที่ต้องชำระอัตราค่าอากรแสตมป์ (%)180,000 แรก1%180,000 ถัดมา2%640,000 ถัดมา3%ส่วนที่เกินจากข้างต้น4%

Additional Buyer’s Stamp Duty (ABSD) เป็นอากรที่ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับทรัพย์สินที่อยู่อาศัย (รวมถึงที่ดิน) ต้องจ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจาก BSD

ประเภทของผู้ซื้อ% ค่าอากรซื้อที่อยู่อาศัยที่ 1% ค่าอากรซื้อที่อยู่อาศัยที่ 2% ค่าอากรซื้อที่อยู่อาศัยที่ 3 และจำนวนถัดไปคนสิงคโปร์ (Singapore Citizen)ไม่มี7%10%ผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ (Singapore Permanent Residents)5%10%10%ชาวต่างชาติ (Foreigner)15%15%15%

อากรขาเข้า

  • ภาษีศุลกากร (Custom Duty)

ภาษีศุลกากรเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้ามาในสิงคโปร์  ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศที่ภาษีศุลกากรส่วนใหญ่เป็น 0% ยกเว้นสินค้าบางประเภทได้แก่

1) สุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  

2) บุหรี่ ซิการ์ และยาสูบประเภทต่างๆ

3) รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถที่มีมอเตอร์

4) น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ

  • ภาษีสรรพสามิต (Excise Duty)

เป็นการจัดเก็บภาษีสินค้าที่ผลิตขึ้นในสิงคโปร์ หรือนำเข้ามาในสิงคโปร์ ซึ่งสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ก็เป็นประเภทเดียวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีศุลกากร

อนึ่ง เพื่อเป็นการรณรงค์ไม่ให้มีการสูบหรี่ในบุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการปรับภาษีสรรพสามิตของบุหรี่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 จากที่มีการเก็บภาษีในอัตรา 352 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 388 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อกิโลกรัม ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นก็มีการปรับขึ้นเช่นเดียวกันเป็นร้อยละ 25 นับตั้งแต่ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.customs.gov.sg/businesses/valuation-duties-taxes-and-fees/duties-and-dutiable-goods

อย่างไรก็ตามสินค้าต่างๆจะต้องเสียภาษี GST ซึ่งเป็นภาษีสินค้าและบริการที่ต้องชำระในอัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าที่มีการนำเข้า

ความร่วมมือทางด้านภาษีระหว่างประเทศ

สิงคโปร์มีข้อตกลงระหว่างประเทศร่วมกันในข้อตกลง ดังนี้

  • Avoidance of Double Taxation Agreements (“DTAs”)
  • Limited Treaties
  • Exchange of Information Arrangements (“EOI Arrangements”)
  • Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters
  • International Tax Compliance Agreements

การเข้าร่วมในข้อตกลง Double Taxation Agreement ระหว่างสิงคโปร์กับประเทศอื่นๆ นั้น ก็เพื่อการป้องกันในการจ่ายภาษีรายได้ซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความกระจ่างในการชำระภาษีรายได้จากหลากหลายประเภทที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศที่ร่วมในข้อตกลง นอกจากนี้ในสัญญาข้อตกลงยังรวมไปถึงการลดหย่อนและการยกเว้นทางภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นด้วย