ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จะเป็น

ผู้เป็นหุ้นส่วนที่จะเป็น

แน่นอนว่าการทำธุรกิจล้วนต้องมีการวางแผนและรู้แนวทางของกิจการว่าควรเป็นไปทิศทางใด ถ้าหากคุณสามารถเลือกได้ถูกทางก็จะแสดงถึงโอกาสและความเป็นต่อในการทำธุรกิจที่จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จและขยายกิจการ มีความมั่นคงและพื้นฐานที่ดี สำหรับการจัดตั้งธุรกิจของผู้ประกอบการในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายรูปแบบ แต่ละอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

ซึ่งการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการสร้างกิจการนั้นก็ต้องพิจารณาถึงลักษณะ แนวทางการบริหาร ทรัพยากรที่คุณมีตลอดจนเรื่องของเงิน และหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันก็คือกิจการหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ที่ไม่ใช่การเปิดห้างสรรพสินค้าแต่เป็นการบริหารจัดการธุรกิจและจดทะเบียนนิติบุคคล ที่ได้รับการขนานนามและพูดถึงกันอย่างมากมายว่าหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)มักจะเก๋าเกมในธุรกิจและมีโอกาสต่อยอดไปได้ไกล

ทำให้หลายคนมักจะเลือกที่จะเปิดกิจการพร้อมกับวางแผนการบริหารจัดการ จัดตั้งธุรกิจด้วยการเป็นหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)เพื่อให้สามารถทำเป้าหมายที่วางไว้ได้ประสบความสำเร็จ แล้วหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)เก๋าเกมอย่างไร ทำไมถึงเป็นที่สนใจและทางเลือกที่ได้รับการแนะนำจากคนในวงการธุรกิจ SME ไปหาคำตอบกัน

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

มาทำความเข้าใจความหมายของหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าเกี่ยวกับหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)และรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้คุณเห็นภาพรวมและแนวทางของการบริหารจัดได้อย่างดียิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วการทำธุรกิจจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. กิจการเจ้าของคนเดียว
  2. กิจการหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)
  3. บริษัทจำกัด

ซึ่งแน่นอนว่าหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากใช้เงินทุนในการเริ่มต้นที่น้อย สามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่ากิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด เหมาะทั้งสำหรับกิจการขนาดย่อม ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จะมีบุคคลร่วมลงทุนทั้งหมด 2 คนขึ้นไป ซึ่งผลกำไรที่ได้รับจากการดำเนินกิจการจะจัดแบ่งตามข้อตกลงและอัตราที่ได้ระบุไว้ในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

โดยหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) หรือ Partnership มีความหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น”

บทบัญญัติของมาตรา 1012 ความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  1. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ต้องมีผู้ร่วมลงทุน 2 บุคคลขึ้นไปพร้อมกับทำสัญญาระหว่างกัน
  2. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ต้องมีการร่วมทุนกัน โดยบุคคลที่เป็นหุ้นส่วนในธุรกิจจะต้องลงทุนร่วมกัน โดยสิ่งที่ต้องนำมาในการลงทุนหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)นั้นสามารถเป็นหลายอย่างร่วมกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
    • ลงทุนด้วยเงินสด
    • ลงทุนด้วยทรัพย์สิน เช่น อาคาร อุปกรณ์ ที่ดิน สินค้าหรือลูกหนี้ เป็นต้น
    • ลงทุนด้วยแรงงาน ที่ไม่ได้หมายถึงแรงกายแค่เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง ความรู้ความสามารถ สติปัญญา ชื่อเสียงและแรงกาย เป็นต้น
  3. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ต้องร่วมดำเนินกิจการร่วมกัน
  4. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ต้องมีการจัดแบ่งกำไรจากการทำธุรกิจตามที่ได้ระบุในสัญญาที่ตกลงกันไว้

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่การจัดตั้งหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จะต้องรู้ก็คือเรื่องของ ประเภทหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) 

ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นประเภทที่ผู้ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของกิจการทั้งหมดโดยไม่มีจำกัด ซึ่งเจ้าหน้าของกิจการสามารถที่จะเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัว อีกทั้งผู้เป็นหุ้นส่วนในกิจการห้างหุ้นส่วนทุกๆ คนจะมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการและตัดสินใจเกี่ยวกับตัวธุรกิจได้

ห้างหุ้นส่วน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
    เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะแยกออกจากตัวผู้เป็นหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนสามัญประเภทดังกล่าวจะเป็นหุ้นส่วนรูปแบบจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดาหนี้สินทั้งหมดของกิจการห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวนทั้งสิ้น ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญประเภทนี้ จะใช้คำนำหน้าชื่อกิจการห้างหุ้นส่วนว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะแยกออกจากตัวผู้เป็นหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนสามัญประเภทดังกล่าวจะเป็นหุ้นส่วนรูปแบบจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับบรรดาหนี้สินทั้งหมดของกิจการห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวนทั้งสิ้น ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญประเภทนี้ จะใช้คำนำหน้าชื่อกิจการห้างหุ้นส่วนว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

2. กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) 

หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) จะจัดแบ่งผู้เป็นหุ้นส่วนออกเป็น รูปแบบ คือ 

  • หุ้นส่วนรูปแบบจำกัดความรับผิด
    เป็นกิจการห้างหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิด คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคน จะรับผิดจำกัดเพียงแค่จำนวนเงินที่ตนเองได้ยอมรับว่าลงทุนในกิจการห้างหุ้นส่วนเท่านั้นและไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนของผู้จำการห้างได้
  • หุ้นส่วนรูปแบบไม่จำกัดความรับผิด
    เป็นกิจการห้างหุ้นส่วนประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิด โดยผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคน จะต้องรับผิดกับบรรดาหนี้สินทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนประเภทนี้จะสามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของกิจการได้

เราจะเห็นได้ว่ารูปแบบของการดำเนินหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)นั้นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงข้อตกลงที่ต้องมีความละเอียดในการสร้างเงื่อนไขและก่อตั้งกิจการ สำหรับใครที่สนใจอยากเริ่มต้นธุรกิจหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ควรที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการรับทำบัญชีสร้างระบบและจดทะเบียนหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ที่จะสามารถบริหารจัดการและอำนวยความสะดวก ตอบคำถามและวางแผนแนวทางให้คุณได้อย่างเป็นมืออาชีพ

จุดเด่นของหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

หลังจากที่เรียนรู้ความหมายและรูปแบบต่างๆ ของหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)แล้ว สิ่งต่อไปที่จะแสดงถึงความนิยมของการดำเนินการธุรกิจประเภทหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ก็คือเรื่องของจุดเด่นห้างหุ้นส่วน ข้อดีที่ได้รับการบอกต่อและแนะนำจากการดำเนินการธุรกิจอยู่เสมอ แล้วจุดเด่นของกิจการห้างหุ้นส่วนมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

  1. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)มีความพร้อมด้านเงินทุนที่มากกว่า เนื่องจากแหล่งเงินทุนจากหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป ที่จะสามารถเริ่มต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแหล่งเงินทุนมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียว
  2. นอกจากจะมีความพร้อมด้านเงินทุนแล้ว หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)ยังมีหุ้นส่วนหลายคนที่สามารถใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญในสายงานของตนเองและการบริหารที่ระดมสมอง ช่วยกันวิเคราะห์และร่วมกันตัดสินใจในการจัดการบริหารงานต่างๆ
  3. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จะช่วยให้คุณแบกรับความเสี่ยงที่น้อยลง เนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคน ช่วยกันเฉลี่ยในการรับภาระความเสี่ยงต่างๆ จากการทำธุรกิจห้างหุ้นส่วน
  4. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)สามารถจัดตั้งได้ง่าย มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนแค่เพียงต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวางระบบที่ดี รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งธุรกิจและจดทะเบียนที่ต่ำ ไม่แพง 
  5. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)สามารถที่จะขยายกิจการด้วยการรับหุ้นส่วนเพิ่มหรือจะเป็นการเพิ่มทุนก็ได้เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่ามีโอกาสเติบโตที่สูงเลยทีเดียว
  6. นอกจากหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จะสามารถจัดตั้งขึ้นง่ายเพียงแค่มีการทำสัญญาระหว่างผู้ที่เป็นหุ้นส่วนแล้ว ยังสามารถยกเลิกได้ง่ายด้วยเงื่อนไขและขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยาก
  7. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)สามารถเพิ่มทุนเท่าไหร่ก็ได้เนื่องจากจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนหลายๆ คน
  8. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) เป็นกิจการที่มีความน่าเชื่อถือด้านการเงินมากกว่ากิจการแบบเจ้าของคนเดียว เนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนจะรับผิดชอบในหนี้สินและภาระต่างๆ โดยไม่จำกัดจำนวนยกเว้นประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ดังนั้น จึงมักจะได้เครดิตที่ดีเนื่องจากมีหลักประกันที่มั่นคงนั่นเอง
  9. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)สามารถชักชวนบุคคลที่มีความสามารถ เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาร่วมกิจการได้

บทสรุป

ถึงแม้ว่าหจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)จะมีผู้ร่วมลงทุนหลายท่านแต่ก็มีอิสระในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น บริหารจัดการกันได้อย่างอิสระภายใต้เงื่อนไขที่ทำสัญญากันเอาไว้ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด)มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคงและขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการดำเนินกิจการในปัจจุบัน “ที่นอกจากจะเก๋าเกมแล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมพร้อมทั้งมีการกระจายความเสี่ยงอีกด้วย”