ที่มาของการคิด

ที่มาของการคิด
การคิด  เป็นกลไกอย่างหนึ่งของสมอง ในขณะที่มนุษย์กำลังคิด สมองจะดึงเอาข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในความทรงจำมารวมเข้ากับความคิดใหม่ๆ ให้เป็นเรื่องราวกิจกรรมทางความคิดที่มีวัตถุประสงค์ เฉพาะเจาะจง เป็นการจัดเรียงข้อมูลที่สมองได้รับและทำการแปลความหมายข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ความสำคัญของการคิด

ความสำคัญของการคิด

1.การกำหนดความเป็นตัวเรา
2.การคิดเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ
3.การคิดนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่างๆ ของโลก
4.สร้างความสามารถในการแข่งขันในสังคมแห่งความรู้

สาเหตุของการคิด

1.ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผลของแต่ละคน
2. ความอยู่รอด มีการแข่งขันและแก่งแย่งกันมากขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่ดีกว่า

3. ปัญหา เป็นต้นเหตุให้คิดเพื่อหาเหตุผลที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นหรือดีกว่าเดิม

4. ความต้องการสิ่งแปลกใหม่ การคิดและจินตนาการเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าสรรพสัตว์ทุกชนิด

5. ความสงสัย เนื่องจากต้องการแสวงหาความจริง เมื่อมีข้อมูล จึงต้องการหาคำตอบ

ประเภทของการคิด
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมายและการคิดอย่างไร้จุดหมาย (คิดไปเรื่อย ๆ)
1. การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยใช้เหตุและผล พิจารณาสถานการณ์ หรือข้อมูลต่าง ๆ
1.1 การคิดให้ลึกเชิงวิเคราะห์ จำแนกแจกแจงองค์ประกอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบ
1.2 การคิดให้กว้างอย่างสร้างสรรค์ ขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิม

1.3 การคิดแบบบูรณาการ เชื่อมโยงความคิดหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างถูกต้อง
1.4 การคิดในภาพรวมทั้งระบบการคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ ลำดับ ขั้นตอน

1.5 การคิดเชิงวิพากษ์ความตั้งใจที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
1.6 การคิดเชิงวิเคราะห์การคิดที่สามารถดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานเข้ากัน

1.7 การคิดเชิงเปรียบเทียบพิจารณาความเหมือนและต่าง
1.8 การคิดเชิงมโนทัศน์ความสามารถในการประสานข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่งมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด

1.9 การคิดเชิงประยุกต์นำสิ่งที่มีอยู่เดิมไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้เหมาะสมโดยหลักการเดิม
1.10 การคิดเชิงกลยุทธ์กำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

1.11 การคิดเชิงอนาคตความสามารถในการคาดการณ์ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ ขยายขอบเขตการมองให้กว้าง

2. การคิดอย่างไร้จุดมุ่งหมาย

เป็นการคิดเรื่องราวหนึ่งแล้วโยงไปคิดอีกเรื่องหนึ่งติดต่อกันโดยไม่มีข้อสรุป คิดแบบเรื่อยเปื่อยไม่มีเป้าหมาย คล้ายกับเป็นการเพ้อฝัน หรือคิดสร้างวิมานในอากาศ

ขอบข่ายของการคิดแบ่งได้ 3 กลุ่ม
1. ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกหรือพฤติกรรมที่ใช้ ประกอบด้วยการมองและการสังเกต เช่น การขยายความ ตีความ เปรียบเทียบ เป็นต้น

2. ลักษณะการคิด หมายถึง ประเภทหรือรูปแบบการคิด แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ การคิดอย่างมีเป้าหมายและการคิดอย่างไม่มีเป้าหมาย เช่น คิดคล่อง คิดรอบคอบ คิดไกล

3. กระบวนการคิด หมายถึง กระบวนการคิดที่มีความสลับซับซ้อนสูง ต้องอาศัยพื้นฐานการคิดหลายๆ ด้าน จึงจะพบแนวทางแก้ปัญหา เช่น กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์

การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียน 3 ด้านคือ
1. ด้านความรู้ (Knowledge : K) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
(1.1) เนื้อหาสาระของวิชานักคิด คือ สาระวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ประกอบด้วยเครื่องมือช่วยคิด กระบวนการคิด ทักษะการคิด
(1.2) ความรู้บูรณาการ คือ สาระเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นสภาพการณ์ที่กำหนดสภาพแวดล้อมรอบตัว ปัญหาในชีวิตประจำวัน ที่ถูกนำมาคิด ซึ่งเนื้อหาจะเป็นสาระของวิชาใดก็ได้ จึงเป็นความรู้เชิงบูรณาการ
2. ด้านกระบวนการ(Process : P) คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง ได้สร้างผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิตพื้นฐาน 7 ประการ ได้แก่
(1) ทักษะการรู้จักตนเอง
(2) ทักษะการคิด การตัดสินใจและการแก้ปัญหา
(3) ทักษะการแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
(4) ทักษะการปรับตัว
(5) ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
(6) ทักษะการวางแผน และการจัดการ
(7) ทักษะการทำงานเป็นทีม
3. เจตคติ (Attitude : A) คือ คุณลักษณะที่ปลูกฝังของรายวิชา ได้แก่ ใจกว้าง ขยัน ใฝ่เรียนใฝ่รู้ กระตือรือร้นช่างคิดผสมผสาน ขยัน ต่อสู้ อดทน เป็นธรรม มั่นใจในตนเอง ช่างวิเคราะห์ กล้าคิดกล้าเสี่ยง   มีน้ำใจ น่ารักน่าคบ เป็นต้น   ครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความคิดของผู้เรียน องค์ประกอบที่จะพัฒนาความคิดในตัวผู้เรียนอยู่ที่เทคนิคและวิธีการสอนของครูผู้สอน ที่จะช่วยกระตุ้น ส่งเสริม และพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้งอกงามขึ้น ครูก็ควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความเหมาะสม ความต้องการของผู้เรียน โดยหาเทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ แปลก ๆ มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง คอยติดตามให้กำลังใจพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการแสดงออกด้วยการพูด หรือการกระทำตามจินตนาการและความพึงพอใจของผู้เรียน ก็จะช่วยพัฒนาความคิดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม

ประโยชน์ของการคิดเชิงระบบ

  1. ช่วยให้เกิดความคิดเพื่อพัฒนาองค์กรในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ประสานงานร่วมกับบุคคลอื่นให้เป็นไปตามกระบวนการ และระบบการบริหารงานภายใน
  3. สามารถแก้ปัญหา ตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เพื่อให้มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับระบบภายในองค์กร ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบโดยการ เชื่อมโยงติดต่อกัน และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิ

เมนูนำทางเรื่อง