องค์ ภา โมโห หม่อม ก้อย Pantip

จากกรณีเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จออกแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ วังเทเวศร์ ทรงประกอบพิธีบวงสรวงเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2564 การนี้ ทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดกี่เพ้าสีแดง พร้อมพระเกศาทรงใหม่ ตัดสั้นคล้ายทรงทหาร เป็นที่แปลกตาไปจากเดิม กลายเป็นที่สนใจของพสกนิกรทั่วไป รวมทั้งเป็นกระแสในโลกโซเชียล

ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหา วัชรราชธิดา ทรงโพสต์ถึงเรื่องการตัดพระเกศาทรงสั้น ผ่านเฟซบุ๊กส่วนพระองค์ ในชื่อ Bajrakitiyabha Mahidol ในวันที่ 13 ก.พ.นี้ ว่า “และสุดท้ายท้ายสุด คำถามยอดฮิต ทำไมตัดผมสั้น?? ซึ่งที่จริง ตัดด้วยความชอบของตัวเอง ก่อนจะโอนย้ายเข้ามาในหน่วยตั้งแต่ช่วงปีใหม่ เพราะความจริง เป็นคนผมธรรมชาติ หยิก และฟูมากๆต้องยืดผม ไดร์ผม มาตั้งแต่อายุ 12 ปี ก่อนหน้านั้นถักเปียมาโดยตลอด แอบซ่อนไว้ อิอิ จนช่วงโควิดระลอกแรก ร้านทำผมปิด...เริ่มกลายร่าง...แหะๆ มาปีใหม่ 2564 โควิดมาระลอก 2 รวมกับอายุย่างเข้า 43 แล้ว ขอเถอะ หมดแรง modify ธรรมชาติของตัวเองแย้ววว”

รวมถึงทรงระบุอีกว่า “ต่อเรื่องผม...ทำไมถึงสั้นมาก?? เพราะว่า ‘ตัดเผื่อ’ ช่วงนี้เป็นช่วงฝึกหลักสูตรทักษะทางทหารเพิ่มเติม ไม่คิดว่าจะต้องออกทีวี เพื่อความสะดวก เลยตัดเผื่อ!! เพราะผมหนา และยาวเร็วม๊ากกกกก”

ขณะที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ เรารัก สมเด็จเจ้าฟ้า พัชรกิติยาภา : Our Beloved HRH Princess Bajrakitiyabha มีการโพสต์ข้อความในเรื่องนี้เช่นกันว่า ปัจจุบันทูลกระหม่อมภา ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ จึงทรงไว้พระเกศาตามระเบียบนายทหารราชวัลลภรักษาพระองค์ เรียนมาเพื่อทุกท่านทราบ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศเรื่องให้โอนรับข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารและพระราชทานยศทหาร ความว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับโอนข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นข้าราชการในพระองค์ ฝ่ายทหารและพระราชทานพระยศทหาร

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 มาตรา 10 มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 และมาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติยศทหารพุทธศักราช 2479

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณิีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการ ภาค2 สำนักงานอัยการสูงสุด ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการกองบัญชาการ ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอก) และพระราชทานพระยศเป็นพลเอกหญิง ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564

มีเหตุการณ์ที่ทำให้รัชกาลที่ 6 ทรงขัดเคืองพระทัย จึงทรงลดพระอิสริยยศลง นับเป็นเหตุการณ์ลดพระอิสริยยศของฝ่ายในครั้งสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

 

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระภรรยา 3 พระองค์และพระคู่หมั้น หนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา เดิมนั้นทรงมีสถานะว่า "สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี" แต่เพราะมีเหตุการณ์ที่ทำให้รัชกาลที่ 6 ทรงขัดเคืองพระทัย จึงทรงลดพระอิสริยยศลง นับเป็นเหตุการณ์ลดพระอิสริยยศของฝ่ายในครั้งสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

มีสาเหตุที่ทรงถูกลดพระอิสริยยศจากพระบรมราชินีมาเป็นพระวรราชชายามีหลายประการ แต่เหตุการณ์ที่เป็นเหตุสำคัญอาจเกิดขึ้นเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซ้อมละครเรื่องพระร่วง ครั้งนั้น ในบทบาทการแสดงต้องมีการแตะเนื้อต้องตัวกันระหว่างนายมั่นแสดงโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสาวใช้ของนางจันทร์แสดงโดยคุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ภาพนั้นคงไม่สบพระทัยของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี จึงทรงกระทืบพระบาท และโปรดให้ข้าหลวงของพระองค์ โห่ฮาและใช้เท้าตบพื้นพระที่นั่ง แสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ทรงพอพระทัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหยุดการซ้อม และเสด็จขึ้นทันที

องค์ ภา โมโห หม่อม ก้อย Pantip
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา

ขณะนั้น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีมีพระชันษาเพียง 21 ปี เป็นธรรมดาที่จะมีพระอาการหึงหวงต่างๆ และหลายครั้งก็ไม่ทรงสามารถเก็บกลั้นพระอารมณ์ได้ เช่น ทรงขอพระบรมราชานุญาตกลับพระนครก่อน ทำให้ต้องตระเตรียมเรือพระที่นั่งอย่างฉุกละหุก และอีกครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งให้คุณสุวัทนากราบพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระองค์ก็ทรงชักพระบาทหลบและเบือนพระพักตร์ เหตุเหล่านี้ก็เป็นเหตุให้พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระทัย (กัลยา, หน้า 231)

ไม่เพียงแต่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีเท่านั้น ยังมีกรณีคล้ายกันเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือกรณีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี อดีตพระคู่หมั้น และเคยได้รับการสถาปนาเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

แต่มีพระบรมราชโองการให้ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

องค์ ภา โมโห หม่อม ก้อย Pantip
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระวรกัญญาปทานเสด็จมาถึงพระราชวังพญาไท มหาดเล็กเดิมคนหนึ่งได้เข้าไปเพื่อจะรับพระหัตถ์ตามธรรมเนียมตะวันตก แต่พระองค์ไม่ทรงยินยอม ครั้นเมื่อเรื่องไปถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็กลายเป็นว่าทรงสะบัดมือ และแสดงพระกิริยาดูถูกมหาดเล็กเดิมคนนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว และอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการถอดถอนหมั้น (ศันสนีย์, หน้า 255)

จากเหตุการณ์สะบัดมือนั้น เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ และประพันธ์กลอนเชิงบริภาษว่า (ศันสนีย์, หน้า 256)

อย่าทะนงอวดองค์ว่างามเลิศ สวยประเสริฐยากที่จะเปรียบได้
อย่าทะนงอวดองค์ว่าวิไล อันสุรางค์นางในยังมากมี
อย่าทะนงอวดองค์ว่าทรงศักดิ์ จะใฝ่รักแต่องค์พระทรงศรี
นั่งรถยนต์โอ่อ่าวางท่าที เป็นผู้ดีแต่ใจไพล่เป็นกา
อย่าดูถูกลูกผู้ชายที่เจียมตน อย่าดูถูกฝูงชนที่ต่ำกว่า
อย่าทะนงอวดองค์ว่าโสภา อันชายใดฤๅจะกล้ามาง้องอน


อ้างอิง

"สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา". วิกิพีเดีย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2562.

"พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี". วิกิพีเดีย. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2562.

"พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า อินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พุทธศักราช ๒๔๖๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 41 (ตอน ง): หน้า 675. 15 มิถุนายน 2467. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562.

กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๑-๗. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2552,

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน. 2555, หน้า 255