วัตถุประสงค์ ของการเคหะแห่งชาติ

ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา กคช.พัฒนาที่อยู่อาศัยในทุกรูปแบบไปแล้วถึง 747,234 หน่วย ทั้งเคหะชุมชน บ้านเอื้ออาทร เคหะข้าราชการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ทั้งปรับปรุงชุมชนที่ดินเดิม และจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ ฟื้นฟูชุมชนดินแดง อาคารเช่า

Show

โครงการที่ชูเป็นเรือธงในช่วง 2 ปีหลังคือ “บ้านเคหะสุขประชา” บ้านเช่าพร้อมอาชีพ ตอนนี้โครงการนำร่องที่ทำสัญญาเช่ากับผู้ได้สิทธิแล้ว 2 โครงการคือ ฉลองกรุง กับ ร่มเกล้า รวม 572 หน่วย จัดตั้ง บมจ.เคหะสุขประชา โดยมี กคช.ถือหุ้นใหญ่ 49% และกลุ่มผู้ถือหุ้นอีก 6 ราย

ล่าสุดได้จัดทำโครงการต้นแบบภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุนกับเอกชน 3 พื้นที่ ได้แก่ โครงการวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โครงการลำลูกกาคลอง 12 จ.ปทุมธานี และโครงการธรรมศาลา จ.นครปฐม รวมถึงนำเสนอ รมว.การพัฒนาสังคมฯพิจารณาอีก 10 โครงการคือ ปทุมธานี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สระบุรี สระบุรี กำแพงเพชร นครสวรรค์ และระยอง

(อันที่จริงโครงการบ้านเคหะสุขประชาสามารถเดินหน้าได้เร็วกว่านี้ หากไม่ติดขัดข้อซักถามหยุมหยิมกล้าๆกลัวๆจากสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ)

นอกจากนี้ยังมี “บ้านเคหะสุขเกษม” โครงการบ้านเช่ารองรับสังคมผู้สูงอายุ เน้นการออกแบบ Universal Design โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โครงการรับคืนอาคารเช่า โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง มีทั้งชุมชนดินแดง ชุมชนห้วยขวาง ชุมชนรามอินทรา และชุมชนทุ่งสองห้อง โครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาโครงการแบบผสมผสาน (Mixed-Use) ตามเส้นทางโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) โครงการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ (Wellness Center) และการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ทุกโครงการได้รับการบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566

ในงานแถลงข่าวผลการดำเนินงานครบรอบ 50 ปี คุณทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการ กคช. กล่าวย้ำว่า แม้ภาพของ กคช.จะสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลัก แต่ก็ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นวิสัยทัศน์ของหน่วยงานตอนนี้จึงมุ่งไปที่ สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ผู้ว่าการ กคช.กล่าวด้วยว่า ในวาระ 50 ปีได้ปรับ วัฒนธรรมองค์กร เป็น 5S ได้แก่ Spirit รวมพลังใจในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล และการสร้างประโยชน์เพื่อสังคมไทย Skill มุ่งแสวงหาและเพิ่มพูนความรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก Service ให้บริการที่ตอบโจทย์ Speed รวดเร็ว ตรงเวลา และทันต่อสถานการณ์ Sustainability พัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน รวมทั้งเน้น ค่านิยม ที่มาจากคำว่า HOMES ได้แก่ Happiness to all เสริมสร้างความสุข Open to collaborate ประยุกต์ความร่วมมือ Mastering to innovate ยึดถือนวัตกรรม Efficient & Ethical process ประสิทธิภาพพร้อมคุณธรรม และ Service excellence ยกระดับการบริการ ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สร้างมุมมอง ทัศนคติ และทักษะต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ปัจจุบัน

ผมขอเป็นกำลังใจให้ กคช.สร้างบ้านให้ผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางได้ตรงตามวิสัยทัศน์และค่านิยม HOMES และอยากฝากท่านผู้ว่าการทวีพงษ์เร่งรัดการสร้าง “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะการดำเนินการล่าช้ามาก ทั้งที่ศูนย์นี้เป็นบิ๊กดาต้าที่อยู่อาศัยของทั้ง กคช.และหน่วยงานอื่นอีกหลายสิบแห่ง ที่จะแชร์ข้อมูลหลากหลายมิติสนับสนุนการทำงานร่วมกัน.

การเคหะแห่งชาติ (กคช.) รัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน เปิดทิศทางการดำเนินงานปี 2566 พร้อม วิสัยทัศน์และพันธกิจใหม่ “สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยประกาศเดินหน้า 6 โครงการสำคัญ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2570 (ฉบับปรับปรุงปี 2565) สู่เป้าหมายสร้างบ้านคุณภาพที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ สร้างความสุขในชุมชน และสร้างสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ ของการเคหะแห่งชาติ

นายทวีพงษ์  วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติได้ทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2570 (ฉบับปรับปรุงปี 2565) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) และแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ (พ.ศ. 2566 -2570) รวมถึงแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานแบ่งตามตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ปี 2566 เร่งรัดการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเพิ่มบทบาทบริษัทในเครือ (Speed & Strengthening) โดยเร่งรัดการพัฒนาที่อยู่อาศัยรูปแบบเช่าพร้อมอาชีพผ่านการร่วมลงทุนกับบริษัทในเครือ หรือบริษัทเอกชน รวมทั้งขยายบทบาทของ บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน) และบริษัท จัดการทรัพย์สินและชุมชน จำกัด (CEMCO) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติให้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งขยายผลการขอคืนอาคารเช่าเหมาจากเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพโครงการอาคารเช่าเดิมและอาคารเช่าใหม่ ตลอดจนขยายผลการยกระดับชุมชนที่อยู่ในความดูแลของการเคหะแห่งชาติให้เป็นต้นแบบของโครงการชุมชนอัจฉริยะและน่าอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Smart and Sustainable Community for Better Well-being : SSC) และมุ่งเน้นการจัดประโยชน์ทรัพย์สินแปลงใหญ่ให้สร้างมูลค่าเพิ่ม ระยะกลาง ปี 2567-2568 แสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Synergy & Supply Chain) ด้วยการแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในธุรกิจใหม่ รวมถึงเสริมสร้างอาชีพและเศรษฐกิจชุมชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ปรับปรุงและเพิ่มมูลค่าอาคารเช่า ตลอดจนขยายผลชุมชนต้นแบบ SSC ให้มากขึ้น ระยะยาว ปี 2569-2570 เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน (Sustainable Organization) โดยประชาชนมีที่อยู่อาศัย อาชีพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ บริษัทในเครือและพันธมิตรสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเคหะแห่งชาติ ยกระดับการบริหารอาคารเช่าโดยใช้ Big Data เทคโนโลยีนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี และขยายเครือข่ายพันธมิตรกลุ่มธุรกิจแบบครบวงจร

นายทวีพงษ์ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติได้ถ่ายทอดยุทธศาสตร์ฯ ที่ประกอบด้วย 6 วัตถุประสงค์ เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. การยกระดับชุมชนให้เข้มแข็งภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG 3. การฟื้นฟูชุมชนเมือง พัฒนาเมือง สู่การเป็น Smart City 4. การบริหารสินทรัพย์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 5. การสร้างความเชื่อมั่นและสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 6. การเพิ่มขีดความสามารถองค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการเคหะแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 (โครงการเชิงยุทธศาสตร์) จำนวน 31 โครงการ “จากนี้การดำเนินงานจะต้องบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน เห็นได้ว่าแผนยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ ปี 2566 มุ่งเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเพิ่มบทบาทให้กับบริษัทในเครือ ส่วนปี 2567-2568 เน้นแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างความยั่งยืน และในปี 2569-2570 การเคหะแห่งชาติจะก้าวสู่การเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าว

วัตถุประสงค์ ของการเคหะแห่งชาติ

สำหรับผลการดำเนินงาน ปี 2565 การเคหะแห่งชาติ สามารถดำเนินการตามแผนปฏิบัติการได้ 97.12% สามารถส่งมอบที่อยู่อาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมาย 6,673 หน่วย ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เกิดจากความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติยังได้รับคะแนนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA 97.96 คะแนน จาก 100 คะแนนเต็ม เพิ่มสูงขึ้น 0.03 คะแนน จากปี 2564 ที่ได้ 97.93 คะแนน ถือเป็นอันดับที่ 1 ของหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และอันดับที่ 5 ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้าร่วมการประเมินจำนวน 51 แห่ง รวมทั้งมีผลการประเมิน AA ในระดับประเทศ และอีกความสำเร็จหนึ่ง คือ การปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับลูกค้า ภายใต้โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (คบส.) ซึ่งการเคหะแห่งชาติได้รับวงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกว่า 966 ล้านบาท สามารถปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ปี 2563-2565 ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากกว่า 1,490 ราย

นายทวีพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนปฏิบัติการการเคหะแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2566 ได้กำหนด 6 โครงการสำคัญที่จะเร่งขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วย 1. โครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย “บ้านเคหะสุขประชา” ที่อยู่อาศัยประเภทเช่าพร้อมอาชีพ ในระดับราคาที่รับภาระได้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง พัฒนาด้วยแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG  มีเป้าหมายสร้างบ้านเช่า 100,000 หลังใน 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) สามารถสร้างอาชีพ มีรายได้จากการสร้างงานในพื้นที่ให้กับผู้อยู่อาศัยได้ 500,000 คน 2. โครงการที่อยู่อาศัยตามแนวโครงข่ายคมนาคม TOD พื้นที่ร่มเกล้า ช่วยกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการ และนักศึกษาจบใหม่ให้มีที่อยู่อาศัยได้มาตรฐานในราคาที่รับภาระได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำโครงการฯ ปี 2565-2566 3. โครงการบ้านเคหะสุขเกษม ที่อยู่อาศัยประเภทเช่าแบบครบวงจรสำหรับผู้สูงอายุและข้าราชการเกษียณ ตั้งเป้า 4,089 หน่วย (พ.ศ.2565-2571) โดยปี 2564 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการต้นแบบแล้ว 45 หน่วย และปี 2566 มีแผนดำเนินงานจำนวน 180 หน่วย  4. โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร Wellness Center เพื่อกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ข้าราชการเกษียณ จัดให้มีองค์ประกอบที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม ตั้งเป้าจัดสร้าง 852 หน่วย นำร่อง 3 พื้นที่ ประกอบด้วย นครราชสีมา (หมูสี) 500 หน่วย เชียงใหม่ (ไนท์ซาฟารี) 352 หน่วย และนครราชสีมา (สูงเนิน) ขณะนี้อยู่ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ฯ ทั้ง 3 พื้นที่ 5. โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ชุมชนรามอินทรา ชุมชนห้วยขวาง และชุมชนทุ่งสองห้อง เพื่อพัฒนาพื้นที่เมืองให้มีความน่าอยู่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองอย่างเหมาะสม สำหรับโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 1 (แปลง G) ได้ส่งมอบที่อยู่อาศัยให้กับผู้อยู่อาศัยเดิม จำนวน 334 ครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2-4 สำหรับผู้อยู่อาศัยเดิม 6,212 ครัวเรือน และกำลังก่อสร้างแปลง A (อาคาร A1) จำนวน 612 หน่วย ส่วนระยะ 3-4 เพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยใหม่ 13,746 ครัวเรือน ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ประชาชนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย 60,874 คน ส่วนโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนรามอินทรา ชุมชนห้วยขวาง และชุมชนทุ่งสองห้อง การเคหะแห่งชาติอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย โดยปีงบประมาณ 2566 ตั้งเป้าหมายเสนอแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองรามอินทราให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) พิจารณา และอยู่ระหว่างสำรวจกรรมสิทธิ์ของผู้อยู่อาศัยในโครงการเคหะชุมชนห้วยขวาง และเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง และ 6. โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ (คบส.) เพื่อสร้างโอกาสการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยปี 2566 ตั้งเป้าให้สินเชื่อผู้มีรายได้น้อยเช่าซื้อที่อยู่อาศัยกับการเคหะแห่งชาติจำนวน 352 ล้านบาท

วัตถุประสงค์ ของการเคหะแห่งชาติ

“เพื่อให้แผนการดำเนินงานต่าง ๆ ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน การเคหะแห่งชาติส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมทั้งการสร้างมุมมอง ทัศนคติ และทักษะต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ “สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” นายทวีพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

วัตถุประสงค์ ของการเคหะแห่งชาติ

Tagsกคช.การเคหะแห่งชาติขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์นายทวีพงษ์-วิชัยดิษฐพมสร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘จุติ’ รมว.พม. เปิดงาน Street Art คลองเปรมประชากร ขณะที่ พอช.พัฒนาที่อยู่อาศัยริมคลองแล้ว 10 ชุมชน

คลองเปรมประชากร / นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พม. เปิดงานศิลปะเด็กและเยาวชน ‘Street Art by Sand’ ที่ชุมชนประชาร่วมใจ 1 ริมคลองเปรมประชากร เขตจตุจักร

26 ชั่วโมงแห่งความตึงเครียด....เหตุเกิดที่บ้านมั่นคงชุมชนเลียบคลองสอง

เสียงปืนนัดแรกดังมาจากบ้านหลังหนึ่งในชุมชนบ้านมั่นคงเลียบคลองสอง ซอยจิระมะกร เขตสายไหม กรุงเทพฯ เมื่อเวลาประมาณ 10 นาฬิกาเศษของวันที่ 14 มีนาคม

ทุ่ม 7.7 พันล้านผุดโครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ

ครม.เห็นชอบโครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ วงเงิน 7,718.94 ล้านบาท ช่วยผู้มีรายได้น้อยที่ถูกไล่รื้อกว่า 2.7 หมื่นครัวเรือน

สาธิต ประกาศผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย 9 ข้อ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะ ส

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคีเครือข่าย

ยิ่งใหญ่ ! 50 ปี การเคหะแห่งชาติ ผนึกกำลัง 14 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ เดินหน้าขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ตั้งเป้ายกระดับเชื่อมโยงพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยสู่ระดับนานาชาติ 192 ประเทศ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการการส่งเสริมการขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้ “กิจกรรมวิชาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การเคหะแห่งชาติ”

พม. เปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนแผ่นดินทอง เขตหนองจอก พร้อมให้บริการสวัสดิการสังคมแบบ One Stop Service มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นประธานเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนแผ่นดินทอง เขตหนองจอก ณ ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย