วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

"เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคล"

นับจากที่ท่านได้เริ่มเข้ารับการบรรจุเข้าทำงาน... หน่วยงานที่เป็นด้านแรกที่ทุกท่านจะต้องได้พบ... นั่นคือ...หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ หรือกองบริหารงานบุคคล หรือหน่วยงานบุคลากร... แล้วแต่ส่วนราชการจะตั้งชื่อเรียก...แต่ทั้งหลายทั้งปวง นั่นคือ...หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรนั้น ๆ...

ท่านทราบหรือไม่ว่า เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคล คืออะไร?...

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่...

1. สรรหา โดยทำหน้าที่หาคนดี คนเก่ง เข้ามาทำงาน

2. พัฒนา โดยทำหน้าที่พัฒนาให้เป็นคนดี คนเก่งยิ่งขึ้น

3. รักษาไว้ โดยรักษาให้บุคลากรนั้น ๆ อยู่กับองค์กรได้นาน ๆ

4. ใช้ประโยชน์ โดยจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมและส่งเสริมให้บุคลากรทำงานให้กับองค์อย่างเต็มศักยภาพ

หรือเป็นคำย่อ ๆ ที่จำได้ง่ายสำหรับวัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร...นั่นคือ...

"สรรหา พัฒนา รักษาไว้ ใช้ประโยชน์"...

วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล
วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

Show
Skip to content

วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

  • หน้าหลัก
  • ทำสติ๊กเกอร์
    • สติ๊กเกอร์น้ำพริก
    • สติ๊กเกอร์ติดขวด
    • สติ๊กเกอร์ขนม
    • สติ๊กเกอร์ไดคัท
  • นามบัตร
    • ตัวอย่างนามบัตร
  • ผลงานเรา
    • ตัวอย่างผลงาน
    • ราคาจำนวนฉลากสินค้า
  • บทความ
  • ติดต่อเรา

การบริหารงานบุคคล คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้

Home/Article/การบริหารงานบุคคล คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้

  • View Larger Image
    วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

การบริหารงานบุคคล คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้

หลายๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนใหญ่ปัญหาเหล่านั้นล้วนมาจาก “คน” บางองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ การบริหารงานบุคคล มากขึ้น เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงาน หาคนที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้บุคคลากรมีความสามารถเหมาะสมกับงานที่ทำ งานที่ได้ก็จะออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารงานบุคคล คือ การจัดการบุคคล โดยจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้คนดี คนเก่ง มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล กับงาน หรือ องค์กร ตลอดจนส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิ และประสบความสำเร็จในการทำงาน

🔵 การบริหารงานบุคคล กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่ การบริหารงานบุคคล จะเน้นบริหารคน เน้นบริหารหน้าที่และบทบาทของบุคลากร ส่วน การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะเน้นภาพกว้างกว่าการบริหารคน เน้นการใช้กลยุทธ์ เพื่อให้สำเร็จและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ศึกษาทิศทางขององค์การ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้เข้ากับงาน และเสริมสร้างความสามารถเป็นประสบการณ์การทำงานให้แก่พนักงาน หลังจากนั้นคอยติดตามผลว่าเกิดประโยชน์กับองค์กรมากน้อยแค่ไหน

การบริหารงานบุคคล 4 หลัก

วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

โดยใน การบริการงานบุคคล นั้นได้กำหนดขอบข่ายและหน้าที่ไว้ 4 ข้อ ด้วยกันมีดังนี้

  • การจัดหาบุคลากร คือ การหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ และจำนวน ให้เพียงพอต่อบริษัทหรือองค์กร ที่จะสามารถทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ โดยจะเริ่มจากการวางแผนกำลังคน การสรรหา การคดเลือกเข้าสู่หน่วยงาน ตลอดจนการทดลองงาน
  • การบำรุงรักษาบุคลากรกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจ มีทัศนคติที่ดีกับองค์กร ช่วยให้เกิดอรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล โดยกระบวนการนี้ได้แก่การจูงใจ การให้ค่าตอบแทน การมอบหมายงาน การปฐมนิเทศ การหมุนเวียนตำแหน่ง การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความก้าวหน้า วินัย
  • การพัฒนาบุคลากร เป็นการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว ด้วยการที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางาน ความรู้ความสามารถ ทักษะและ ทัศนคติของบุคลากรให้เป็นไปทางที่ดีขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาแล้วนั้นปฏิบัติงานได้ผลตามวัตถุประสงค์ ของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยกิจกรรมที่พัฒนาบุคลากรได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการ , การฝึกอบรม , การปฐมนิเทศ , การส่งเสริมให้มีการศึกษา , การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
  • การให้พ้นออกจากงาน เป็นวาระสุดท้ายเมื่อพนักงานปฏิบัติมาถึงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในชีวิตการทำงาน ของพนักงานเช่น การลาออก เกษียณอายุ เลิกจ้าง เสียชีวิต เป็นต้น โดยสาเหตุของการให้พ้นสภาพมีดังนี้ การย้าย การโอน , การลาออก , การพ้นจากงานเพราะความเจ็บป่วย , การให้ออกชั่วคราว การไล่ออก , การเกษียณอายุ , การพ้นจากงานเนื่องจากตาย

หลักและระบบบริหารงานบุคคล

วัตถุประสงค์ ของ การ บริหาร งาน บุคคล

ระบบการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปหลักๆ ที่นิยมใช้มี 2 ระบบด้วยกัน คือ

  • ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System หรือ Spoil System) เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึง การนำสิ่งของ มาแลกตำแหน่ง ลักษณะที่สำคัญ คือ
    – ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ

    – ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร
    – มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน
    ข้อดี ของระบบอุปถัมภ์

    – รวดเร็ว แก้ไขสะดวก
    – เหมาะสมกับบางตำแหน่ง
    – มีความขัดแย้งในการตัดสินใจน้อย
    – สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรคการเมือง
    ข้อเสีย ของระบบอุปถัมภ์
    – ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
    – ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
    – มุ่งรับใช้คนมากกว่าหน่วยงาน
    – หน่วยงานพัฒนาได้ยาก
  • ระบบคุณธรรม (Merit System)เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของระบบอุปถัมภ์ โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก
    โดยความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้

    1.หลักความสามารถ (Competence) เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่
    2.หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity) เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน แก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลัก ประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฏหมาย โดยถือว่าทุกคน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
    3.หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security of Tenure) ซึ่งต้องได้รับการยอมรับและคุ้มครองตามกฎหมาย คือจะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้หลักการนี้มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพและเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง
    4.หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) คือ การที่ข้าราชการประจำต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถโดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดแต่ยังคงสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
    ข้อดีของ ระบบคุณธรรม
    – สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาค
    – ได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน
    – สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
    – ช่วยหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
    ข้อเสีย ระบบคุณธรรม
    – ดำเนินการได้ล่าช้า
    – ค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสูง
    – สร้างความสัมพันธ์แบบเป็นทางการมากเกินไป
    – ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง

By Neng.yu|2021-07-30T09:54:23+07:00July 30, 2021|Article|Comments Off on การบริหารงานบุคคล คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้

เป้าหมายสำคัญของการบริหารงานบุคคลคืออะไร

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มี4 วัตถุประสงค์หลัก คือ สรรหา พัฒนา รักษาไว้ ใช้ประโยชน์ สรรหา คือ หาคนดีคนเก่งเข้ามาทางาน การสรรหาประกอบด้วยการสรรหาแบบตั้งรับหรือแบบ ดั้งเดิม และการสรรหาเชิงรุก พัฒนา คือ รับเข้ามาแล้วพัฒนาให้เป็นคนดี คนเก่งยิ่งๆ ขึ้นไปอีก การที่จะพัฒนาให้เก่งขึ้นไปอีก

หลักการบริหารบุคคลมีหลักอะไรบ้าง

กระบวนการบริหารงานบุคคล มีขั้นตอนการปฏิบัติตอเนื่องกัน ดังตอไปนี้ 1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย 2. การจัดหาบุคคลเขาทํางาน 3. การฝกอบรมและพัฒนา 4. การบริหารจัดการคาตอบแทน 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6. การยายพนักงานและการทดแทน

ความสําคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง

1.ช่วยพัฒนาทักษะตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความก้าวหน้าในสายงาน 2.ทำให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น 3.ช่วยเพิ่มมาตรฐานการทำงานให้กับองค์กร

บริหารบุคลากรคืออะไร

การบริหารงานบุคคล คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์การเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสร้างแรงจูงใจด้านต่างๆ เพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจพิจารณาขอบเขตของงานด้านบริหารงานบุคคลได้แก่ การวางแผนกำลังคน Personnel Planning.