โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกาหลีใต้

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกาหลีใต้

Xinhua

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกาหลีใต้

โซล, 5 ก.ค. (ซินหัว) -- วันอังคาร (5 ก.ค.) เกาหลีใต้ประกาศแผนเตรียมเพิ่มอัตราส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อยู่ที่กว่าร้อยละ 30 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2030 ซึ่งเพิ่มจากระดับร้อยละ 27.4 ในปี 2021กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานเกาหลีใต้ กล่าวว่ารัฐบาลภายใต้การนำของยุนซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 พ.ค. จะขยายการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ด้วยการฟื้นการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชิน-ฮานุล (Shin-Hanul) หมายเลข 3 และ 4 และเดินหน้าใช้เครื่องปฏิกรณ์ที่มีอยู่เดิม สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนที่มุ่งทยอยลดการพึ่งพาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขณะนี้เกาหลีใต้รายงานการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 20 เครื่อง จากทั้งหมด 24 เครื่อง โดยรัฐบาลชุดก่อนได้พยายามลดจำนวนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เปิดดำเนินงานให้เหลือ 17 เครื่องภายในปี 2034ทั้งนี้ รัฐบาลของยุนตั้งเป้าส่งออกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 10 เครื่อง ภายในปี 2030 โดยจัดสรรเงิน 4 แสนล้านวอน (ราว 1.08 หมื่นล้านบาท) สำหรับการพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์แบบโมดูลขนาดเล็ก (SMR) ในประเทศ

Tag

Clip Cr. Arirang News
เกาหลีใต้ (เมื่อเช้าวันศุกร์ 4 มี.ค.2022) หลายพันคนต้องอพยพออกจากบ้านหลังจากไฟป่าในเขตอุลจิน (Uljin) จังหวัดคย็องซังเหนือ อยู่ทางตะวันออกเกาหลีใต้ ลุกลามเข้าปกคลุมเมืองและคุกคามสถานีพลังงานนิวเคลียร์ในอุลจิน ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์ไฟป่ารุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

ประธานาธิบดี มุน แจอิน (Moon Jae-in) เรียกร้องให้พยายามอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บล้มตายและความเสียหายในวงกว้าง ประชาชนราว 6,000 คนได้รับการอพยพออกจากพื้นที่ซัมชอก ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโซลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 330 กม. (205 ไมล์) ในขณะที่นักผจญเพลิงจัดการกับไฟ

อย่างไรก็ตาม ลมแรงและความพยายามจากนักดับเพลิงได้ผลักไฟป่าไปทางทิศใต้ สามารถหลีกเลี่ยงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮานึน (Hanul) “โชคดีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บล้มตายในชั่วข้ามคืน และสิ่งอำนวยความสะดวกหลัก เช่น คอมเพล็กซ์ก๊าซธรรมชาติซัมชอก และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Hanul ยังคงปลอดภัย” โฆษกประธานาธิบดี พัค คยอง-มี กล่าว

ไฟดังกล่าวกระตุ้นให้ประธานาธิบดีมุน แจอิน ออกสัญญาณเตือนในบ่ายวันศุกร์ เนื่องจากเปลวไฟลุกลามไปรอบ ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฮานุลในอุลจิน

อย่างไรก็ตาม พบว่าพื้นที่มากกว่า 14,800 เอเคอร์ถูกทำลาย บ้านเรือนมากกว่า 150 หลังถูกทำลาย รวมถึงโครงสร้างอื่นๆ 53 แห่ง แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหลังจากเกิดไฟป่าในเช้าวันศุกร์

ข้อมูลอ้างอิง https://news.sky.com/story/south-korea-thousands-flee-their-homes-after-wildfire-engulfs-city-and-threatens-nuclear-power-station-12557995

ผู้นำเกาหลีใต้ประกาศระงับก่อสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” แห่งใหม่ๆ ทั่วประเทศ

เผยแพร่: 19 มิ.ย. 2560 16:27   ปรับปรุง: 19 มิ.ย. 2560 22:36   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - ประธานาธิบดี มุน แจอิน แห่งเกาหลีใต้ ประกาศล้มเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ๆ ทั่วประเทศ วันนี้ (19 มิ.ย.) พร้อมให้คำมั่นจะผลักดันเศรษฐกิจแดนโสมขาวที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชียให้เติบโตก้าวหน้าต่อไปได้ โดยไม่พึ่งพาพลังงานปรมาณู

มุน ซึ่งชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายเมื่อเดือน พ.ค. เคยให้สัญญาไว้ขณะหาเสียงว่าจะค่อยๆ ลดการใช้พลังงานปรมาณู และหันมาส่งเสริมพลังงานที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม เป็นต้น

วิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้า ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิเมื่อปี 2011 ทำให้ชาวเกาหลีใต้เริ่มหวาดกลัวภัยรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ ซึ่งมีอายุการใช้งานเก่าแก่ยาวนาน

“เราจะหันหลังให้กับการพึ่งพาพลังงานปรมาณูเป็นหลัก และเปิดประตูสู่ยุคใหม่ที่พลังงานนิวเคลียร์จะเป็นเพียงอดีต” มุน กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในพิธีปิดการใช้งานเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โครี-1 ซึ่งเป็นเตาปฏิกรณ์หน่วยแรกของประเทศ

“ผมจะยกเลิกการเตรียมก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งใหม่ๆ ส่วนที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันก็จะไม่มีการต่ออายุอีก”

มุน เตือนว่า เตาปฏิกรณ์หลายหน่วยตั้งอยู่ใกล้ชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และหากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หลอมละลายก็จะ “ส่งผลกระทบรุนแรงชนิดที่ไม่อาจคาดเดาได้”

“เกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เกิดจากแผ่นดินไหวก็อาจจะก่อหายนะที่ร้ายแรงได้”

เกาหลีใต้มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใช้งานอยู่ 25 หน่วย ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนความต้องการในประเทศได้ราว 30 เปอร์เซ็นต์ ทว่า ส่วนใหญ่จะทยอยหมดอายุการใช้งานในช่วงปี 2020-2030 และขึ้นอยู่กับ มุน ว่าจะตัดสินใจต่ออายุการใช้งานเตาปฏิกรณ์บางส่วนออกไปอีกหรือไม่

มุน เคยประกาศว่า จะพยายามปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้หมดทั้งประเทศ แม้ต้องใช้เวลาหลายสิบปีก็ตาม ขณะที่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชันภายในองค์กรนิวเคลียร์เมื่อช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงแผ่นดินไหวที่เกิดอย่างต่อเนื่องในปีที่แล้ว ก็ยิ่งทำให้ชาวโสมขาวไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

มุน ยังรับปากวันนี้ (19) ว่า จะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถูกรัฐบาลในอดีตต่ออายุการใช้งาน 30 ปี ให้ยืดยาวออกไปอีก 1 ทศวรรษ จนถึงปี 2022 และเตรียมนำเสนอ “นโยบายยุคหลังถ่านหิน” (post-coal policy) ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อลดมลพิษในอากาศ เนื่องจากปัจจุบันเกาหลีใต้จัดเป็นประเทศที่มีค่าอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศสูงที่สุดในกลุ่มสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งตอบสนองความต้องการใช้พลังงานถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ จะทำให้คนเกาหลีใต้ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นลิบลิ่ว


เกาหลีใต้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไหม

ปัจจุบัน เกาหลีใต้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 20 โรง ผลิตไฟร้อยละ 40 ของความต้องการใช้ในประเทศ และมีแผนที่จะสร้างเพิ่มอีก 18 โรง ภายในปี 2573 เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นร้อยละ 60.

ประเทศไหนมีโรงไฟฟ้านิวเคลีย

สำหรับประเทศในทวีปเอเซียซึ่งมีการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น 54 โรง (กำลังก่อสร้าง 3 โรง) เกาหลีใต้ 18 โรง (กำลังก่อสร้าง 2 โรง) อินเดีย 14 โรง (กำลังก่อสร้าง 8 โรง) ไต้หวัน 6 โรง จีน 5 โรง (กำลังก่อสร้าง 6 โรง) ปากีสถาน 2 โรง และอิหร่าน กำลังก่อสร้าง 2 โรง

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศจีน มีกี่แห่ง

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 6 โรง มีกำลังผลิตไฟฟ้า 5 GWe อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 โรง และมีเครื่องปฏิกรณ์วิจัย 4 เครื่อง

เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร

ทั้งเหตุการณ์ในฟุกุชิมะและเชอร์โนบิลบังคับให้ประชาชนในบริเวณนั้นหลายพันคนต้องทิ้งบ้านของตัวเอง โดยยังไม่มีโอกาสได้กลับคืนถิ่นเนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นถูกปนเปื้อนไปแล้ว หายนะภัยนิวเคลียร์นี้ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบต้องเผชิญกับแรงกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากกัมมันตภาพรังสี พวกเขาต้องพราก ...