ข่าว ปัญหา ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ประเทศไทย

"ประเทศไทย 4.0" หรือ Thailand 4.0 เป็นนโยบายที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งตาม "โรดแมป" ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานราชการทุกแห่งเข้าไปสร้างความรับรู้ความเข้าใจกับกับประชาชนในทุกระดับ ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้เปลี่ยนเป็น "คนไทย 4.0" ซึ่งหมายความถึงคนไทยที่มีความรู้และทักษะอาชีพที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมีความสามารถรู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผลักดันนโยบายนี้

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคแรกในการผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 กลับเป็นเรื่องพื้นฐานอย่าง "คำจำกัดความ" ที่หลายฝ่ายยังเข้าใจไม่ตรงกัน

"สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือคิดว่า นโยบาย Thailand 4.0 หมายถึงการใช้เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการพัฒนาประเทศ ทั้งที่จริงๆ มันเป็นแค่พาร์ทเดียวเท่านั้น ผมอยากให้ช่วยเขียนตรงนี้ให้หน่อย" นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หนึ่งใน "สถาปนิก" ผู้ผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 คนสำคัญ กล่าวกับ 'บีบีซีไทย'

นายสุวิทย์กล่าวว่า Thailand 4.0 คือ โมเดลในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามแนวคิดของ คสช. ให้เกิดผลออกมาเป็นรูปธรรม เนื่องจากขณะนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนตาม เพื่อให้พ้นจากกับดัก 3 อย่าง คือ 1.กับดักรายได้ปานกลาง เพราะเราใช้เครื่องยนต์เศรษฐกิจเดิมมา 50-60 ปีแล้ว ต้องเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมมาเพิ่มรายได้ 2.ความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุก-จนกระจาย ต้องหาวิธีกระจายความเจริญออกไปนอกกรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลก็เริ่มทำแล้วด้วยการแบ่งการพัฒนาออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด และ 3.การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพราะเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจ ไม่ได้คำนึงถึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายสุวิทย์คือผู้เปิดเผย แนวคิดเรื่อง Thailand 4.0 ต่อสาธารณชนเป็นคนแรก เมื่อ 13 สิงหาคม 2558 สมัยเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในงานส่งมอบวาระการปฏิรูปของ สปช. ให้รัฐบาลเข้ามาสานต่อ กระทั่งถูก พล.อ.ประยุทธ์ดึงเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปลายเดือนเดียวกัน ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทีมงานเดียวกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง เปลี่ยนจากการเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างมูลค่า จากทำมากได้น้อย ให้เป็นทำน้อยได้มาก ซึ่งประเทศไทยยุค Thailand 4.0 จะเป็นยุคแห่งการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อพ้นกับดักดังกล่าว

จนถึงปีพุทธศักราช 2565 (ค.ศ. 2002 แปลให้เพื่อให้ร่วมสมัยกับคน “เจนใหม่”?) นับเป็นเวลา 90 ปี แห่งการสมาทานระบบ “เสรีประชาธิปไตย” (Liberal democracy) แบบตะวันตก (ยุโรป+อเมริกัน) ผสานร่วมอย่างแนบแน่นกับ 60 ปี แห่งการสมาทานระบบเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยมบริโภคเสรี” (Consumption Capitalism) แบบอเมริกัน (ในฐานะ “เมืองพึ่ง”) มาเป็น “ระบบเศรษฐกิจกระแสหลัก” ของประเทศไทย สิ่งนี้ได้ก่อเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทยบ้าง?

ตอบให้ง่ายและสั้นที่สุดก็คือ ก่อเกิดภาวะ “ฉุดไม่อยู่ กู่ไม่กลับ” ขึ้นใน “กระบวนทัศน์” (ระบบการให้คุณค่าและระบบความเชื่อหลัก) ใน “กระแส” สำนึก (Conciousness) ของประชาชนคนไทยส่วนใหญ่!

สิ่งนี้เกิดจากการ “ถูกโปรแกรม” จาก “โปรแกรมเมอร์” (Programer) ทั้งระดับ Master และระดับ ลูกน้อง(สาวก)ของระบบทุนนิยมโลกและทุนนิยมท้องถิ่นแบบ “ผลิตซ้ำ” แบบซ้ำแล้วซ้ำอีก!

ขณะที่ “ระบบการเมือง” ที่อาจเรียกว่าเป็น “ประชาธิปไตย” แบบ “ทุลักทุเล” หรือ “ลักปิดลักเปิด” กล่าวคือ มีการสลับลำกันระหว่างระบบ “เลือกตั้งตัวแทน” กับระบบ “รัฐประหาร” ตลอดยุคสมัยอันยาวนาน 90 ปี

ลักษณะจำเพาะหรือที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “อัตวิสัย” (“ความขัดแย้งภายใน”) ของสังคมไทย อาจนับเป็นเหตุปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็น “อุปสรรค” ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การเมือง แบบที่เพิ่งรับสมาทานเข้ามาเป็น “สรณะ” ใหม่

ระบบคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งเป็นรูปแบบ ความสัมพันธ์บางประการที่เป็น “คตินิยม” ซึ่งผู้คนในสังคมไทยคุ้นชินมาอย่างยาวนาน เช่น “ระบบอุปถัมภ์” (ซึ่งมีความจำเป็นยิ่งในสังคมเกษตรกรรมแบบเก่า)ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาระบบการเมือง สังคมที่ต้องการ “ความโปร่งใส” (ในระบบโครงสร้างหลักของประเทศ เช่น ระบบราชการพลเรือน และทหารตำรวจ รวมถึงระบบทื่เป็น “โครงสร้าง” ทางสังคมอื่นๆ

กระทั่งถึงกับมีงานวิจัยบางชิ้นของฝรั่งตะวันตก (โดยเฉพาะอเมริกัน) เรียกสิ่งที่เป็นปัญหาดังกล่าวนี้ว่า  “ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาโครงสร้างหลวม” ( The loosly structure Society)!

แต่ที่น่าจะเป็นปัญหามากที่สุดก็คือ ในห้วงยามของ “การพัฒนาไปสู่ความทันสมัย”โดยเฉพาะหลังจากสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สถาปนา “เครื่องมือ” ในการพัฒนาประเทศคือ “แผนพัฒนาฯ” ขึ้นแล้ว และได้รับการส่งต่อสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ในช่วงเวลากว่า 60 ปี (จากพ.ศ. 2504 ปัจจุบัน)

เพราะพบว่า ในห้วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยได้สูญเสียสิ่งที่เป็น “ทรัพยากรอันทรงค่าของสังคม” ไปจนแทบจะหมดสิ้น ทั้งในส่วนที่เป็น “กายภาพ” และ “จิตภาพ”

ในส่วนของ “กายภาพ” อันหมายถึง “ทรัพยากรธรรมชาติ” หรือสิ่งที่เป็นภูมิลักษณ์ทั้งหมด เราต้องสูญเสีย พื้นดิน แหล่งน้ำ แร่ธาตุ  หิน อากาศบริสุทธิ์ ป่าไม้(ทุกขนิด ตั้งแต่ป่าดิบชื้นจนถึงป่าชายเลนและป่าพรุ ฯ) ภูเขา ทุ่งหญ้า ฯลฯไปจนแทบจะหมดสิ้น เพียงเพื่อส่งเสริม “ระบบการผลิตเพื่อขาย” ตามแบบแผนของระบบทุนนิยม เพื่อก่อให้เกิด “กำไรสูงสุด” แก่กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆจำนวนที่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วต้องถือว่าน้อยมาก แต่เป็นผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางเศรษฐกิจไว้ในมือไว้โดยตลอด!

ก่อเกิดความเหลื่อมล้ำแทบทุกด้านขึ้นในสังคม เกิดแผ่นดินสูญสิ้นคุณภาพ อากาศเป็นพิษ น้ำเน่า ป่าไม้ถูกทำลาย (เพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว) สินแร่หมดประเทศอย่างรวดเร็ว ฯลฯ

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การสูญเสียทาง “จิตภาพ” อันหมายถึงคุณค่าทางความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของผู้คนในสังคม สังคมไทยกลายเป็น “สังคมรากขาด” ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อองค์คุณที่เป็น “พลังอ่อน” (Solf power)อันได้แก่วิถีวัฒนธรรม( super structure)ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าในเรื่อง ระบบคุณธรรม-จริยธรรม ศาสนา จารีต-ประเพณี พิธีกรรม-ความเชื่อ ศิลปกรรม(ศิลปการแสดง/ทัศนศิลป์ และ วรรณศิลป์ ทั้งของชาติ ชนชาติ และ ท้องถิ่น) 

รวมไปถึงรูปแบบของการบริโภคปัจจัย 4  นับแต่เรื่อง ระบบอาหาร ระบบการบำบัดรักษาโรค ระบบเครื่องแต่งกาย และ ระบบที่อยู่อาศัย!ให้เข้ากับระบบคุณค่าแบบระบบทุนนิยม เสรีประชาธิปไตยได้เลย!

ผู้ที่เห็นถึงหายนะภัยดังกล่าวนี้อย่างแจ่มชัด คือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ได้ทรงศึกษาและทรงเสนอทางเลือกเป็นทางออก(ในทำนอง “ทางกลับ คือการเดินทางต่อ” ของพระ “ติช นัท ฮันท์” แห่งเวียดนาม)ไว้ให้สังคมไทยอย่างชัดเจน ในเรื่องของระบบที่เรียกว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยทรงใช้ “ราก” ทางความเชื่อที่เป็น “แก่น” ของสังคมไทย คือแก่นแท้ของศาสนาพุทธในเรื่อง “มัชฌิมาปฏิปทา” มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และอย่างเห็นผล (สำหรับผู้รับสมาทานมาปฏิบัติอย่างที่เห็นจริงแล้วในปัจจุบัน)

แต่ก็ดูเหมือนสังคมไทย(ทั้งระดับชนชั้นที่ครองอำนาจรัฐและมหาชนกระแสหลัก)จะไม่รับสิ่งดังกล่าวนี้ ยังคงดุ่มเดินไปตามกระแสหลักของระบบทุนนิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา แบบที่เรียกได้อย่างเต็มปากว่า  “ฉุดไม่อยู่ กู่ไม่กลับ” อย่างแท้จริง!

ในขณะที่สำนึกเรื่องสำคัญๆที่เคยเป็ระบบคุณค่าควบคุมสังคมไทยให้สงบร่มเย็นอยู่ได้ อย่างยาวนาน(อย่างน้อยก็นับหลายร้อยปี)อย่างเรื่อง “กฎแห่งกรรม”/ “นรก-สวรรค์” / “ทำดีได้ดี-ทำชั่วได้ชั่ว”/ “พรหมวิหาร 4” / “คารวธรรม”ฯลฯ กลายเป็นเรื่อง “เร่อร่า-ล้าหลัง”/ “เชย” / “ไม่เป็นวิทยาศาสตร์” ฯลฯ โดยทุกอย่างต้องใช้ “กฎหมาย” มาทดแทน(ตามหลักที่เรียกให้ดูหรูว่า “หลักนิติรัฐ” นั่นแหละ!)

สังคมไทยปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยภาพของสิ่งที่ใครต่อใครชอบพูดกันจนชินปาก คือ “นักการเมืองชั่ว”/ “การคอร์รัปชัน”/ยาเสพติดเต็มเมือง/ “อาชญากรล้นคุก”/ “ลูกฆ่าพ่อแม่”/ “แหล่งกามารมณ์สะพรึบสะพรั่ง”/ “รวยกระจุก จนกระจาย”/

…และ “ชุมชน ครอบครัวล่มสลาย”!

นี่เองคือผลิตผลแห่งการพัฒนาของระบบการเมืองแบบ “Democrecy” ในรอบ 90 ปี (2475-2565) และ แผนพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยแบบทุนนิยมในรอบ 60 ปี (2505-2565) ที่ชัดเจนยิ่งของประเทศไทย!

ถ้า “กู่ไม่หยุด ฉุดไม่อยู่” เช่นนี้ ก็คงต้องเตรียมรับกับ “วิกฤติแห่งความเน่าเหม็น” (ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก) ที่จะตามมาในทุกๆด้านกันเถอะ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เมื่อถึงวันที่ต้อง “ทิ้งโลก” (เพราะช่วยกันทำจนเละหมดแล้ว) นายหัว “โจ ไบเดน” แห่งสหรัฐฯ กับ ท่านประธาน “สีจิ้นผิง” แห่ง “จีนแดง” จะยอมให้นายกฯ ลุงตู่ของเราได้พลอยอาศัยยานอวกาศอพยพไปอยู่ดาวอังคารหรือดวงจันทร์หรือเปล่าน้า  ใครรู้ช่วยเฉลยที!!!