เทคนิคการสอน รูป แบบใหม่ ในยุคดิจิทัล

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สบค.) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของท่านซึ่งได้แวะเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ ของ สบค.

โปรดทราบว่านโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะแสดงอยู่บนเว็บไซต์นี้ ทั้งนี้ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สบค. จะมีข้อความเตือนอย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งจะกระทำล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ

ขอบเขตของนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติของสบค. ต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับหรือจัดเก็บอันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ โดยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุได้ถึงตัวตนของบุคคล และมิใช่ข้อมูลที่โดยปกติสาธารณชนจะเข้าถึงได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง ที่อยู่หรือที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ใช้กับเว็บไซต์ของบุคคลที่สามซึ่งเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์นี้ หรือเชื่อมโยงไปจากเว็บไซต์นี้

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ผู้ประสงค์จะใช้บริการผ่านเว็บไซต์นี้ อาจต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าว ตัวอย่างของการดำเนินการที่ผู้ใช้บริการต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การให้ชื่อสำหรับจัดทำประกาศนียบัตร การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น

การใช้ การแลกเปลี่ยน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะกระทำไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการเท่านั้น สบค.อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจากหน่วยงานอื่น มารวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้กฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.

สบค. จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปจำหน่าย หรือนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นใด อันเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.
  • เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กำหนดตามกฎหมาย ตามคำสั่งศาล ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
  • เป็นการดำเนินการตามที่จำเป็นในกรณีที่อาจกระทบถึงความปลอดภัยในสวัสดิภาพ ชีวิต และร่างกายของบุคคลอื่น หรือในกรณีที่มีการละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บไซต์ของ สบค.
การรักษาความปลอดภัย

สบค. มีมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติภายในเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารของท่าน ซึ่งรวมถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลความลับ นอกจากนี้ สบค. ยังมีการใช้โปรโตคอล Secure Socket Layer (SSL) Protocol เพื่อจัดให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้และสบค. กระทำผ่านช่องทางสื่อสารแบบปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว

การใช้คุกกี้

สบค. ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์นั้นสามารถให้บริการท่านในครั้งต่อไปได้ตรงตามความต้องการของท่าน แต่ท่านสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลคุกกี้ได้ อนึ่ง หากท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสบค. โดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (search engine) โปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวอาจมีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลของท่าน ท่านจึงควรศึกษานโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยโปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวด้วย

ข้อตกลงการใช้งาน

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ (สบค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างประโยชน์จากการเรียนรู้ ให้กับสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของ สบค.ในการบริการวิชาการสู่สังคม

เนื้อหาและสื่อนี้ต้องการให้นักเรียน ประชาชน สามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์และ เผยแพร่ต่อได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับสาธารณะเท่านั้นและไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำเพื่อใช้ในเชิงวิชาชีพ

ท่านมีอิสระที่จะอ่านและพิมพ์บทความ ข้อความ และสื่ออื่น ๆ นี้โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งปันและนำบทความและสื่ออื่น ๆ ของเรา กลับมาใช้ใหม่ภายใต้ใบอนุญาตแบบ Creative Common และ แบบเปิด ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  • ความรับผิดชอบ - ท่านต้องรับผิดชอบต่อการแก้ไขของคุณ (เนื่องจากเราเป็นผู้ให้บริการเฉพาะเนื้อหา และเนื่องจาก เป็นเนื้อหาทางวิชาการ ตัวเลข ข้อมูล ความรู้ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา ท่านจะต้องใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง)
  • ความสุภาพ – ต้องเคารพสภาพแวดล้อมทางการใช้งานที่ดีต่อสังคมและไม่ก่อกวนผู้ใช้รายอื่น
  • พฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย - ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่น ๆ
  • ไม่เป็นอันตราย – ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของเรา

เมื่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นเร่งกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เรียกได้ว่าเป็นดิสรัปชันลูกใหม่ที่เข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว ภาพการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนที่ต้องปรับเปลี่ยนกะทันหันเข้าสู่โหมด social distancing ผลักดันธุรกิจทุกภาคส่วนให้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิตัลเข้ามาใช้ ปรับธุรกรรมและกิจกรรมทุกอย่างมาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์

เทคนิคการสอน รูป แบบใหม่ ในยุคดิจิทัล

อริญญา เถลิงศรี Chief Capability Officer & Managing Director - SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน แม้การเรียนรู้ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็ต้องปรับเรื่องรูปแบบการเรียนการสอน ปรับหลักสูตรมาเป็นแบบออนไลน์และ virtual classroom มากขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน และไม่สามารถคาดเดาได้ 

โจทย์ธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้องค์กรและหน่วยงานต่างต้องกลับมาทบทวนแผนการทำงานที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีทั้งหมด เร่งมองหานวัตกรรมและกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามสภาวะการณ์อย่างทันท่วงที ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนโจทย์และความท้าทายของบุคลากรในองค์กรที่ต่างออกไปจากเดิม หลายคนต้องเผชิญกับกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนไป บทบาทการทำงานแบบใหม่ ต้องประชุม ประสานงานกันผ่าน virtual meeting และต้องพัฒนาทักษะใหม่อย่างเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนความสามารถทางด้านเทคโนโลยี และไขว่คว้าโอกาสใหม่ๆ ไว้ได้ในโลกที่ไม่หาความแน่นอนไม่ได้ เพราะทุกคน ทุกองค์กรต่างล้วนหาทางเอาตัวรอด

เมื่อโจทย์การทำงาน โจทย์การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ในวันนี้ คนจำนวนไม่น้อยที่ลุกขึ้นมาหาคอร์สเรียนพัฒนาทักษะด้วยตนเอง ต่างจากในอดีตที่องค์กรต้องคอยผลักดันว่าพนักงานต้องเรียนอะไร เข้าหลักสูตรไหน แต่ทุกวันนี้ ความต้องการและเทรนด์การเรียนรู้ได้ต่างออกไปแล้ว พวกเรากำลังถูกกระตุ้นให้เร่งเรียน เร่งนำมาปรับใช้เพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น 4 เทรนด์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น มีดังนี้

1. การเรียนรู้แบบ Just in Time

ทุกวันนี้ คำว่า Just in time ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อความเร็วเข้ามามีบทบาทกับการทำงาน ธุรกิจอุตสาหกรรมต้องปรับตัว บทบาทการทำงานเปลี่ยน ร้านค้าไม่สามารถเปิดร้านได้ ขายหน้าร้านไม่ได้เหมือนเดิม คนจึงเริ่มตระหนักว่าเราต้องเริ่มพัฒนา skillset อะไร หลายคนลุกขึ้นมาเรียนแบบ Just in time เรียนขายของ ลงโฆษณาบน Facebook เรียนทำอาหาร เรียนตัดต่อวิดิโอรีวิว ทำทุกอย่างบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องมีเจ้านาย หรือคนมาบอกว่าวันนี้ต้องเรียนอะไร แต่ละคนลุกขึ้นมาเรียนเอง แล้วนำไปลองลงมือทำเองมากขึ้น 

สิ่งเหล่านี้ทำให้นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น คนเริ่มมองว่าเราต้องเริ่มทำอะไรให้เร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนได้ทันท่วงที คว้าโอกาสใหม่ๆ ได้มากกว่าที่เคย ตัวอย่างเช่น TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นสัญชาติจีนที่มีอายุเพียง 4 ปี แต่กำลังขยายฐานผู้ใช้ไปทั่วโลก แม้ในระหว่างที่โควิดกำลังระบาดอย่างรุนแรงในจีนและทั่วโลก ByteDance เจ้าของแพลตฟอร์ม TikTok กลับมีการฟอร์มพาร์ทเนอร์ใหม่ถึง 18 ราย ซึ่งทำให้บริษัทสามารถขยายและเติบโตไปในโอกาสใหม่ๆอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยตัดสินใจจับมือกับ Huanxi Media Group เจ้าของโรงภาพยนตร์ และผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และรายการทีวีเจ้าใหญ่ในจีน และสรุปดีลนี้ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นแค่ 15 วินาที แต่จะต้องมาเริ่มธุรกิจใหม่กับการสตรีมมิ่งหนังยาว 2 ชั่วโมง บริษัทต้องรื้อฟังก์ชั่น ฟีเจอร์ตัวเองใหม่เกือบทั้งหมด แต่ด้วยทีมผู้บริหารที่ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ พร้อมที่จะปรับตัว และเปิดตัวเองเพื่อรับกับโอกาสใหม่ๆ จึงทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ครองใจฐานผู้ใช้ได้ทั่วโลก

เพราะเทรนด์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือ การเรียนที่ต้องนำไปใช้ได้เลย เรียนตอนนี้ คืนนี้ เอาไปใช้พรุ่งนี้ เอาไปใช้เลย ไม่ต้องเยิ่นเย้อมาก มุ่งเน้น How-to ที่ตอบสนอง emergent needs ของคนที่ตอบเผชิญกับรูปแบบธุรกิจ การบริการและการทำงานที่เปลี่ยนไปได้ทันที

2. การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเป้าหมาย (Purpose-driven)

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นได้ชัดขึ้นว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป สิ่งที่ทำอยู่ ประสบการณ์ที่สั่งสมมา ความรู้ที่เรียนมาไม่สามารถตอบโจทย์โลกยุคนี้ได้อีกต่อไปแล้ว คนเริ่มมองไปไกลขึ้นว่า หากอยากจะทำอาชีพนี้ต่อ ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองอย่างไร ต้องอัพเกรดทักษะไหน อย่างงาน data science, project management, digital marketing และ sales ที่ต้องปรับตัวมาอยู่ในระบบ อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นได้ ดังนั้น คนเริ่มวางแผนและมองระยะไกลขึ้น ว่าอยากจะทำอะไร เป็นอะไร และรักษางานในอาชีพไหนต่อ ทักษะอะไรที่จะมาตอบโจทย์ เตรียมตัวเองให้พร้อมรับมือและฝ่าคลื่นดิสรัปชันลูกต่อๆ ไป

3. การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Truly Blended)

เมื่อสถานการณ์โควิด พฤติกรรมของคนทั่วโลกอยากพัฒนาตนเองมากที่สุดในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น จึงลุกขึ้นมาควักกระเป๋าและจ่ายเงินหาคอร์สเรียนเอง โดยในช่วงที่มีกาปิดเมืองจีน กว่า 70% ของประชากรในประเทศจีนตื่นตัวในการเรียนรู้ วิ่งไปสู่ Blended Learning และกว่า 68% ของคนในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ลุกขึ้นมาหาคอร์สพัฒนาทักษะเรียนรู้แบบผสมผสาน เพราะกลัวตนเองจะตกงาน และสูญเสียรายได้ ทำให้การเรียนรู้มีมิติมากกว่าในอดีต คนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนออนไลน์อย่างเดียวแล้ว แต่ในวันนี้ มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่รวมรูปแบบการเรียนหลากหลายทั้ง ห้องเรียนเสมือนจริง แบบ webinars สามารถทำแบบประเมินวัดความเข้าใจออนไลน์ มีการโค้ชติวตัวต่อตัว ที่แม้จะอยู่บ้านแต่ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์การเรียนได้ไม่ต่างจากไปเรียนในห้องเรียน 

ในโลกดิจิตัล การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่เรียนในห้องเรียนอีกต่อไปแล้ว แต่คนมองหาการเรียนรู้ multichannel ที่สามารถเข้าถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ ไม่ว่าจะเป็น podcast หรือรูปแบบการเรียนผ่านเกม (gamification learning) ที่ทำให้คนรู้สึกมีส่วนร่วม และสนุกไปกับการเรียนรู้

4. การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะเก่งรอบด้าน (T-Shape Development)

T-shape Development เป็นเรื่องที่นิยมพูดถึงกันมาในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ บริษัทที่มีคนในลักษณะ “T-Shape people” อยู่มาก จะยิ่งคว้าโอกาสได้ทันที และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันการ เพราะคนส่วนใหญ่เกิดมาด้วยความรู้ลึก ความรู้เฉพาะทาง ประสบการณ์หล่อหลอมเราเก่งด้านนั้น ด้านนี้ อย่างหลายคนที่จบสาย Marketing, Sales หรือ Finance มาแล้วทำงานด้านนั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือความรู้กว้าง ในวันนี้เราจะบอกเหมือนในอดีตไม่ได้แล้วว่า คนนี้ทำสาย HR ไม่เกี่ยวกับ Marketing ไม่ต้องเข้าอบรม หรือเข้าประชุมนี้ แต่อยากให้มองว่า หาก HR เก่งด้านการตลาด เก่งด้านการสื่อสาร เก่งด้านการขาย HR ก็จะช่วยทำให้องค์กรเผชิญกับความท้าทายได้ คนที่จะช่วยให้องค์กรวิ่งไปตอบภาพใหม่ ตอบโอกาสขององค์กรได้ คือ T-Shape employee บริษัทที่สามารถมี performance สูงและเติบโตมากในช่วงนี้ คือองค์กรที่มีพนักงานลักษณะนี้ที่มากพอ พนักงานที่มีความรู้กว้าง สามารถเรียนรู้ได้จากทุก interaction กับลูกค้าและทุกคนในองค์กร และสามารถช่วยยกระดับองค์กรให้มองได้กว้างขึ้น 

จะเห็นได้ชัดว่า จากวิกฤตโควิด-19 คนไม่ได้รอการผลักดันให้เข้าเรียนอีกต่อไป แต่กลับกระตุ้นตนเองขึ้นมาอัพเดตทักษะใหม่ๆ คิดสิ่งใหม่ ลองทำสิ่งใหม่ๆ ดังนั้น เทรนด์การเรียนรู้ที่กำลังมาแรงและตอบโจทย์คนยุคใหม่ได้ คือ การเรียนรู้ให้เร็ว เรียนเดี๋ยวนี้ ใช้พรุ่งนี้  (Just in time Learning) การเรียนที่เพิ่มทักษะใหม่ เปิดโอกาสรับอาชีพใหม่ที่ตอบโจทย์อนาคต (purpose-driven) และสุดท้าย คนในยุคทุกวันนี้ไม่เชื่อว่าการเรียนรูปแบบเดียวจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนเดิมแล้ว แต่ต้องเป็น Blended Learning การเรียนรู้ที่ผสมผสานหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันถึงจะตอบโจทย์และโดนใจที่สุด เพราะในวันนี้การที่จะรู้ลึกอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องรู้กว้างด้วย เพื่อที่จะคว้าโอกาสใหม่ๆ ได้ก่อนใคร 

ตัวอย่างบริษัทที่เป็นแบบอย่างในเรื่องการพัฒนาคน คือ Microsoft นำทัพโดย Satya Nadella ซีอีโอผู้ที่เชื่อว่าเราจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเราต้องอยากรู้อยากเห็น และเราจำเป็นต้องมีความพร้อม ความตั้งใจ เพราะที่เรากำลังจะอยู่กับอะไรที่ไม่มีความแน่นอนอีกแล้ว เราไม่ได้อยู่ในยุคที่เราจะมีความแน่นอนอีกแล้ว ดังนั้น เราจะต้องเสี่ยงกับอะไรหลายๆ อย่างไร เพื่อที่จะวิ่งไปได้เร็ว และกุญแจที่จะปลดล็อคให้ก้าวไปสู่โอกาสที่มากขึ้นได้ก็คือ Growth Mindset 

Satya ทำให้คนในองค์กรเชื่อว่าเราอยู่ในวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องเปลี่ยนจาก ‘know it alls’ หรือคนที่ไม่มี motivation ในการเรียนรู้ คิดเสมอว่าเรียนเองได้ พูดได้ตามทฤษฎี แต่ไม่ลองลงมือทำสักที ไปเป็น ‘learn it alls’’ หรือการฟังคอนเซปต์แล้วพยายามลองทำ เรียนรู้แล้ว เรียนรู้อีก แล้วมาปรับ ลองอะไรที่ไม่เคยลอง ออกนอก comfort zone เพื่อหาวิธีใหม่ตลอดเวลา คนที่บอกว่ารู้แล้ว เข้าใจแล้ว ไม่ใช่คนสำเร็จ แต่กลับเป็นคนที่ได้เอาไปลองแล้ว ทำแล้ว จึงจะเป็นคนที่สามารถต่อยอดและประสบความสำเร็จนการคว้าโอกาสใหม่ๆ ให้อยู่หมัดได้

เปิดโลกแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้แล้วกับ SEAC พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่จะพาคุณอัพเดทสกิลรอบด้าน ปรับแนวคิดให้ทันโลก ด้วยหลักสูตรระดับเวิร์ลด์คลาส ตั้งแต่วันนี้ที่ https://www.yournextu.com